หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานต่างประเทศ (๓๒) : อินเดีย - มหาวิทยาลัยสร้างชาติ


สร้างชาติ ทำให้มีอาชีพเหมาะสม สร้างจิตสำนึก คือ หน้าที่ของครูที่อินเดียมีภารกิจทำให้ชาติของเขา

ก่อนที่จะเล่าเรื่องที่สถานทูตต่อ ขอย้อนมาเล่าเรื่องการแลกเปลี่ยนที่ IPCS เพิ่มอีกหน่อยเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของพวกเรา ๔ส.๒ ก่อนเริ่มการเรียนรู้ ประสบการณ์ที่โกลกาตาก็ถูกถอดบทเรียนนำมาใช้ซ้ำ เราขอตกลงกับเจ้าบ้านว่าขอให้ ๑-๒ คนในพวกเราเป็นล่ามช่วยแปล  และคนที่ได้รับมอบหมายจากพวกเราก็ไม่พ้นคุณเซี้ย อีกคนที่ช่วยพวกเราทำหน้าที่ล่ามก็เป็นพี่โจ และเมื่อพี่โจทำหน้าที่ไปสักระยะหนึ่ง ก็เปลี่ยนคิวมาเป็นคุณต้นไม้ (สุชาติ ชยางกูร)

การที่ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยในอินเดียมาเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง มีเบื้องหลังที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน

ผู้รู้เล่าให้ฉันฟังว่า ก่อนที่อินเดียจะได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ สังคมในอินเดียแตกแยกโดยสิ้นเชิง มีการแตกคอ เป็นก๊กเป็นเหล่า เป็นฝักเป็นฝ่าย เป็นพวก การแตกคอกันเหล่านี้เป็นผลจากการแบ่งแยกแล้วปกครองของอังกฤษนะเอง

ที่จริงวิธีนี้ไม่น่าได้ผลเพราะอินเดียมีสังคมแบ่งชนชั้น ต่างคนต่างอยู่อยู่แล้ว แล้วยังมีการแบ่งเป็นฮินดู มุสลิมอีก แต่มันก็ได้ผลแฮะ เวลามีเรื่องขัดแย้งกัน อังกฤษแค่ลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้นเอง นี่เองอังกฤษจึงปกครองอินเดียได้นานถึง ๒๐๐ ปี

เรื่องนี้ไปเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยตรงที่ ผู้นำสมัยหนึ่งคิดว่าความแตกแยกคือปัญหาหลักของอินเดีย และต้องมีการแก้ไขเพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ คิดไปคิดมาก็มาลงตัวที่ทำอย่างไรคนอินเดียจึงจะมีสำนึกชาตินิยม ความยากจนจะแก้ได้ด้วยการมีคนมีความรู้มาช่วยผลิต ความสามัคคีระหว่างคนแก้ได้ด้วยการมีจิตสำนึกที่ดีซึ่งจะได้จากศาสนา

สถาบันอุดมศึกษาจึงถูกมอบหมายหน้าที่มาตั้งแต่นั้นให้มีภารกิจ ๓ อย่าง สร้างชาติ ทำให้มีอาชีพเหมาะสม สร้างจิตสำนึก รู้อย่างนี้ฉันก็ไม่แปลกใจแล้วว่านักวิชาการที่ IPCS มารวมกลุ่มเพื่อทำงานที่เอื้อประโยชน์ของชาติได้อย่างไร

ฟังบรรยายด้วยภาษาต่างประเทศที่นี่อีกรอบ ฉันก็รู้จักตัวเองมากขึ้นในเรื่องความถนัดทางภาษา ไม่มีคนแปลก็ฟังได้อย่างหนึ่ง มีคนแปลก็ฟังได้อีกอย่างหนึ่ง 

ได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการฟังว่า ๒ หูเรานี้ทำเรื่องแปลกๆบ่อยมากเมื่อทำงานร่วมกันกับสมองของเรา 

ฟังคน ๓ คนแปลให้ฟัง กับคำแปลความที่ใช้ความรู้ของตัวเองแล้วเกิดคำถาม..จุด…จุด…จุด..กับตัวเอง มากมาย

เป้าหมายอินเดียที่พวกเราจะไปดูงานที่จริงเป็นจัมมูร์แคชเมีย แต่ช่วงก่อนหน้าพวกเราจะมานั้นที่นั่นประกาศเคอร์ฟิว ท่านทูตจึงไม่สนับสนุนให้ไปดูงานกัน  แต่แม้จะไม่ได้ไปถึงที่เองก็ไม่เสียเที่ยว คนรู้เรื่องแคชเมียร์ลึกมากพอได้มาพูดให้ฟัง มีเรื่องของปากีสถานอีก เป็นชั่วโมงการดูงานที่เข้มข้นดี

อดีตทูตอิหร่านของอินเดียเล่าว่า เรื่องของจัมมูร์แคชเมียร์ที่เกิดความรุนแรงนั้น จุดเริ่มต้นมาจากความต่างด้านอัตลักษณ์ มีฝ่ายหนึ่งต้องการคงอัตลักษณ์ของตนไว้แล้วลงมือปกป้อง ทำให้เกิดข้อตกลงว่าใครที่นับถือฮินดูให้อยู่ที่จัมมูร์แคชเมียต่อไป ใครที่นับถือมุสลิมแล้วอยากไปอยู่ปากีสถานก็ให้ไป แล้วเมื่อแยกประเทศสำเร็จแล้ว อเมริกาก็เข้ามาแทรกแซงเป็นแบ็คปากีสถาน อินเดียก็มีสหภาพโซเวียตเป็นแบ็ค

เรื่องราวจากจัมมูร์แคชเมียร์ ทำให้คิดถึงคนปากีสถานในบ้านเรา ไม่รู้ว่าคนที่มีรากเหง้ามาจากปากีสถานแล้วใช้สัญชาติไทย ณ วันนี้มีอยู่เท่าไร

แล้วก็นึกต่อไปว่าปัญหาของปักษ์ใต้บ้านเรามีมหาอำนาจมายุ่งหรือเปล่า ระแวงมากไปหรือเปล่าก็ไม่รู้เนอะค่ะ

๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 403094เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2010 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ พี่หมอเจ๊
  • วันนี้ ดูงานที่ไหนคะ

สวัสดีค่ะIco64

  ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท