หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานต่างประเทศ (๓๕) : อินเดีย - เด่นด้วย ดังด้วย


ความมีอำนาจที่ก่อตัวขึ้นมาอย่างเงียบๆของประเทศในเอเชียอย่างนี้ไม่ได้ มีแต่อินเดีย หากแต่ยังมีอีกอย่างน้อย ๒ ประเทศที่ตะวันตกต้องจับตา นั่นคือ จีน ญี่ปุ่น แมว ๓ ตัวในสายตาของตะวันตกกลายเป็นเสือขึ้นมาแล้ว เมื่อรวมตัวกันน่ากลัวสำหรับตะวันตกทีเดียว ๓ ประเทศนี้มีคนเรียกเขาว่า “ชินเดียปอน” (จีน อินเดีย นิปปอน) ชื่อนี้เคยได้ยินผ่านหู เคยอ่านผ่านตาบ้างไหม

เห็นตัวเลขจากท่านทูตก็เห็นศักยภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่มี พลเมืองอันดับสองของโลกแห่งนี้ชัดเลย ฟังท่านทูตแล้วฉันเห็นวิธีคิดคนอินเดียว่าเขาเห็นวิกฤตเศรษฐกิจเป็นเพียง คลื่นที่ส่งจากประเทศพัฒนาแล้วมากระทบตัวเขา จะตัดรากเหง้าของปัญหาก็ต้องไปทำกับประเทศพัฒนาแล้ว เขาจึงส่งเสียงชวนนานาประเทศให้มาร่วมกันปรับปรุงโครงสร้างของสถาบันการเงิน ด้วยกัน โดยขอให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถร่วมกำหนดทิศทางและนโยบายการเงินของโลกได้ และขอให้นานาประเทศมาร่วมอย่างทั่วถึงมุมคิดและวิธีคิดของผู้รู้ด้าน เศรษฐกิจนี้บอกว่าเขารู้จักประเทศเขาดี  ฟังเรื่องนี้แล้วก็นึกถึงคนของประเทศเราไปด้วย

ตัวเลขมีความหมายผูกโยงไปถึงการดูแลชนชั้นรากหญ้าร่วมไปด้วย

ไม่ได้แค่ดูแลแต่คนรวยเลยนะเออ

ความฮอตของวิธีคิดและผลงานตัวเลขที่เห็นๆนี้ มั๊งที่ตะวันตกต้องเริ่มหันมามองอินเดียในมิติใหม่  ที่เคยมองว่าเป็นประเทศเคยรวยแล้วจนเพราะมีประชากรมาก ยากจนและสกปรก ไม่น่าสน กลายเป็นอีกมุม

ความมีอำนาจที่ก่อตัวขึ้นมาอย่างเงียบๆของประเทศในเอเชียอย่างนี้ไม่ได้ มีแต่อินเดีย หากแต่ยังมีอีกอย่างน้อย ๒ ประเทศที่ตะวันตกต้องจับตา นั่นคือ จีน ญี่ปุ่น แมว ๓ ตัวในสายตาของตะวันตกกลายเป็นเสือขึ้นมาแล้ว เมื่อรวมตัวกันน่ากลัวสำหรับตะวันตกทีเดียว ๓ ประเทศนี้มีคนเรียกเขาว่า “ชินเดียปอน” (จีน อินเดีย นิปปอน) ชื่อนี้เคยได้ยินผ่านหู เคยอ่านผ่านตาบ้างไหม

การพัฒนาประเทศที่เขาให้ความสำคัญอย่างมาก คือ การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพลเมืองระดับรากหญ้า พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจ และมีบทบาทใน จี-๒๐  และภายใต้ปัญหาท้าทายด้านความมั่นคงทั้งภายในและภายนอก สินค้าอุปโภคบริโภคราคาสูง รัฐบาลผสมที่มีถึง ๑๑ พรรค ของอินเดียก็นำพารัฐนาวาไปจนใกล้ถึงฝั่งฝันได้ และนี่ก็คือสิ่งที่ทำให้รัฐบาลที่มีพรรคคองเกรสเป็นผู้นำการบริหารประเทศได้ รับโอกาสเข้ามาทำงานเป็นวาระ ๒ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยมีอายุการทำงาน ๕ ปี  เป็นอะไรที่ต่างอย่างไร เหมือนอย่างไรกับประเทศไทยเรา วิเคราะห์กันดูเอง

ในเรื่องของการต่างประเทศ นโยบาย look east ของเขาที่เริ่มขึ้นในปี ๒๕๓๔ ลงล็อกพอดีกับนโยบาย look west ของบ้านเรา ฝ่ายเราให้ความสำคัญกับเขาในฐานะของประเทศมหาอำนาจและตลาดขนาดใหญ่และดำเนิน นโยบายเชิงรุกในลักษณะเพิ่มความสัมพันธ์ให้แนบแน่นมากขึ้น

เขามีความสัมพันธ์กับบ้านเรามาตั้งแต่วันที่ ๑ สค. ๒๔๙๐ ในระดับอัตรราชทูต และยกระดับเป็นเอกอัครราชทูตเมื่อ ๓ ตค. ๒๔๙๔ ความใกล้ชิดกันมีมากขึ้นเริ่มขึ้นเมื่อนายราจีฟ คานธีมาเยือนไทยในปี ๒๕๒๙

ความเหมือนและความต่างกับบ้านเราเรื่องการต่างประเทศมีอย่างนี้ : indepentdent Foreign Policy เน้นผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ส่งเสริมหลักการ Multi Polarity  เป้าหมายของเขาอยู่ที่ permanent member of UNSC และ Global Power ในศตวรรษ ๒๑

กลไกความร่วมมือที่เรามีกับเขาจะเป็นแบบความร่วมมือทวิภาคี เช่น Joint Commission for Bilateral Cooperation Joint Working Group ระดับอธิบดี กลไก JWG on Security ที่มีความร่วมมือ ๗ ด้านหลัก คือ การแลกเปลี่ยนข่างกรอง ความร่วมมือทางการทหาร การปราบปรามยาเสพติด การต่อต้านการฟอกเงิน การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมทางเศรษฐกิจและอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และการโยกย้ายถิ่นโดยผิดกฎหมาย

เรื่องราวที่ได้รับฟังเข้มข้น ดึงดูดความสนใจของพวกเรามากมายทีเดียว

มี ๒ ด้านที่เขาให้ความสำคัญ คือ การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ  ฉันเดาว่านี่มั๊งที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญของอินเดียได้มาช่วยวิเคราะห์และให้คำ ปรึกษาเพื่อการลดปัญหาความรุนแรงในภาคใต้แก่เราอย่างเต็มใจ

เขามีความสัมพันธ์กับพม่า ปากีสถานและจีน เป็นความร่วมมือเพื่อการเฝ้าระวังและลดปัญหาการก่อการร้ายจากผู้ที่ไปแฝงกาย แล้วเข้ามาก่อการในอินเดีย กรณีของจัมมูร์แคชเมียร์เกี่ยวข้องกับทั้งปากีสถานและจีน

เขามีความสัมพันธ์กับพม่า จีน สหรัฐ รัสเซีย และอาฟริกา มีทิศทางเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและการทหารให้กับบ้านเขา พลังงานที่เขาจับตามีทั้งน้ำมัน แก๊ซธรรมชาติ และนิวเคลียร์

เขาให้ความสำคัญมากขึ้นกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมองอาเชียนเป็นจุดยุทธศาสตร์ จึงเพิ่มบทบาทในเวทีอาเชียน ARF

บทบาทเด่นๆของอินเดียในเวทีโลกมีหลายเรื่อง ในจี-๒๐ ผลักดันการปฏิรูปกฎระเบียบการเงินระหว่างประเทศ ต่อต้าน protectionism ใน WTO ผลักดัน Doha round  ใน UN มีบทบาทเด่นด้าน peacekeeping  ใน BRIC เป็นส่วนหนึ่งของ Leading Emerging Economies แล้วยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งอีกทั้งมีบทบาทนำใน NAM ที่เคยเล่าไว้แล้ว

เขาผลักดันตัวเองไปสู่ความเป็นมหาอำนาจชัดเลยเนอะ เขาเรียกร้องให้นานาชาติร่วมกันแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์อาหารและน้ำมันบนหลัก การของความเท่าเทียม เป็นพี่เอื้อยดูแลน้องๆในการกำหนดความสำเร็จของ Doha develop round ใน WTO ที่ผลของการเจรจาต้องเกื้อกูลต่อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประเทศกำลังพัฒนา ประเทศพัฒนาลดการอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตร และการเข้าถึงสินค้าที่ไม่ใช่การเกษตร เรียกร้องให้ประชาคมโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้สัดส่วน per capita เพื่อช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม เร่งรัดตัวเองในการจัดทำ Comprehensive Convention on International Terrorism และแสดงความจำนงค์ชัดเจนที่จะเป็นสมาชิกถาวรของ UNSC

๖ สิงหาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 405508เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2010 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หมอเจ้ครับ

รายงานเริ่มเข้มข้นขึ้นทุกที เป็นบันทึกที่สามารถเอาไปใช้ประกอบการศึกษาของรุ่นได้นะครับ

ด้วยการที่คนอินเดียที่ไปตั้งรกรากในประเทศต่างๆ ตั้งแต่สมัยที่เป็นประเทศในอาณานิคมของอังกฤษ ทำให้ทุกวันนี้ คนอินเดียในต่างประเทศมีบทบาทในทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้นๆ ค่อนข้างสูง ดังนั้นตลาดของอินเดียจึงหมายถึงโลกทั้งใบด้วย นโยบายของเขาชัดเจนดังที่หมอเจ้กล่าวมานะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท