หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานต่างประเทศ (๖๙) : อินเดีย - จุดเกาะเกี่ยวกับไทยที่น่าสนใจ


ที่น่าสนใจอีกมุมก็คือการต่อสู้คดีลักษณะนี้อาจยืดเยื้อนาน ๕๐-๑๐๐ ปี และถือเป็นคดีประวัติศาสตร์โลกเพราะไม่เคยมีใครกล้าฟ้องร้องหรือเรียกร้อง สิทธิ์ใดๆเหนือเชื้อพระวงศ์และเป็นเรื่องราวระหว่างคนชาติไทยกับเชื้อพระ วงศ์ที่เป็นคนชาติอื่นที่รัฐไทยควรสนใจด้วยนะเออ

ที่แห่งแรกของเมืองสีชมพูที่พวกเราไปดูกัน ชื่อ City Palace ที่นี่เขาปิดห้าโมงเย็น วังนี้เป็นวังใหม่สร้างขึ้นใจกลางเมืองเพื่อใช้แทนวังเดิมที่อยู่บนเขา ภายในวังเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงของใช้ส่วนพระองค์ของมหาราชาแห่งเมืองชัย ปุระไว้ให้ดู เขาว่ากันว่าส่วนหนึ่งของวังนี้ปัจจุบันยังมีการใช้สอยเป็นวังหลวงอยู่

ยุคที่อังกฤษปกครองอินเดีย เมืองนี้ยังมีพระราชาปกครองอยู่ แต่เป็นการปกครองที่อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงเดลีอีกต่อ แล้วพระราชาก็ถูกลดอำนาจลงเมื่ออังกฤษให้เอกราชแก่อินเดียในปี พ.ศ. ๒๔๙๐

ไม่รู้ว่าเพราะอายุการปกครองโดยพระราชาของเมืองชัยปุระที่มีมายาวนานกว่า ๕๐๐ ปี วังหลวงยังมีการใช้สอยอยู่ และมีรายได้จากการบริหารวังเหล่านี้หรือเปล่า โบราณสถานที่มีลักษณะเฉพาะต่างๆของเมืองนี้จึงยังคงรักษาไว้ได้

เมืองชัยปุระนี้อยู่ในรัฐราชสถานของอินเดีย รัฐราชสถานเกิดขึ้นมาจากการรวมแคว้นเล็กๆเข้าด้วยกัน ๑๙ แคว้น

ไม้ใหญ่ต้นนี้เติบโตอย่างสวยงามในถิ่นแดนนี้

ในยุคแรกของการปกครอง เยาวหราล เนรูห์ ได้จัดลำดับการปกครองไว้ให้แบบแบ่งหน้าที่ผู้นำไว้ชัดเจน มีประมุขที่ให้ทำหน้าที่รัฐพิธี งานราชการ และทำหน้าที่ใน ๒ หน้าที่หลักแทนเมื่อประมุขหลักไม่อยู่หรือไม่อาจทำหน้าที่ได้ แคว้นใดเป็นเมืองหลวง เมืองรอง ชัยปุระเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด จึงได้ทำหน้าที่เรื่องงานราชการ

มีเรื่องที่ทำให้ทึ่งเมื่อได้ยิน ทายาทของมหาราชาแห่งแคว้นชัยปุระนี้มีความเกี่ยวดองกับผู้คนเชื้อชาติไทยเยอรมัน สัญชาติไทยด้วยนะ

ความเป็นมาก็มีอยู่ตรงความสัมพันธ์ระหว่างพระราชาที่เป็นรองประมุขรัฐราชสถานในยุคแรกผู้มีพระนามว่า พระเจ้าชัย ซิงห์และมหารานีองค์ที่ ๓ ของพระองค์ ทั้ง ๒ พระองค์มีพระโอรสด้วยกันองค์หนึ่ง พระนามว่า เจ้าชายจากัต (Jagat)  เจ้าชายพระองค์นี้มีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า เทวราช สิงห์ (Devraj Singh)

ต้นอะไรไม่รู้ รู้แต่ว่าเป็นพืขตระกูลถั่ว และเจ้าต้นนี้น่าจะช่วยให้ดินแถบนี้ดีขึ้น

พระเจ้าชัย ซิงห์เป็นโอรสของพระเจ้าไสว มน ซิงห์ (Swai Man Singh) มหารานีองค์แรกของท่านสิ้นพระชนม์ไปก่อน แล้วก็มีมหารานีองค์ที่สองซึ่งได้็เลิกกันไปเพราะไม่มีโอรส ธิดา จึงมีมหารานีองค์ที่ 3  ทรงพระนามว่า “คยาตรีเทวี” เป็นพระนัดดาของมหาราชาพโรทะ (Baroda) ซึ่งอยู่ทางใต้ของรัฐราชสถาน แต่เหนือเมืองบอมเบย์หรือเมืองมุมไบในปัจจุบัน และเป็นผู้มีชื่อเสียงมาก

ศักดิ์ฐานะของมหารานี คยาตรีเทวีเมื่อยังทรงดำรงพระชนม์อยู่นั้น เป็นผู้ร่ำรวยที่สุดในแคว้นราชสถาน เป็นสตรีที่นิตยสารโวคจัดอันดับให้เป็นสตรีที่สวยที่สุดในโลก ๑ ใน ๑๐ คน

ทรงเป็นสตรีนักการเมืองสังกัดพรรค Swatantra คู่แข่งพรรคคองเกรสของนางอินทิรา คานธีด้วย และเป็นสตรีที่มีพลานามัยแข็งแรงก่อนจะสิ้นพระชนม์ที่อายุ ๙๐ ปี

เมืองนี้มีแต่สีมพูจริงๆ แม้แต่ต้นไม้ก็ปลูกชนิดที่ให้ดอกสีชมพูด้วย สวยแปลกตาดีเมื่อมีสีเขียวด้วย

พระองค์ประสูติและโตในอังกฤษ ความเป็นสตรีที่เลอโฉมและนำแฟชั่น กับชีวิตที่ทรงเลือกเข้าอภิเษกกับพระราชาที่มีมหารานีอยู่ก่อนแล้ว ๒ พระองค์บ่งบอกลักษณะความเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจให้เห็น การที่ทรงปฏิบัติอย่างนี้กระมัง ที่โน้มนำให้วัฒนธรรมอินเดียถูกนำขึ้นเปรียบเทียบกับอเมริกาผ่านสตรีหมายเลข หนึ่งด้วยกันอย่างแจคเกอลิน เคเนดี้

ฉันว่าเทรนด์ค่านิยมของชีวิตหรูหราของชนชั้นสูงในอินเดียอาจจะมาจากอิทธิพล ที่พระองค์มีต่อสังคมก็เป็นได้นะ

เมื่อพระองค์ได้รับพระยศเป็นควีนมัม-พระราชมาตาของเจ้าชายจากัต ซิงห์ พระโอรสก็ทรงอภิเษกกับ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต พระธิดาองค์เล็กในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต-ม.จ.ปิยะรังสิต รังสิต สว.สรรหา พ.ศ. ๒๕๕๑ ภายหลังมีนัดดาให้พระองค์แล้วคือ นางสาวลลิตยา กุมารี และนายเทพราช ซิงห์ หลังครองชีวิตคู่ด้วยกัน ๗ ปี ทั้งคู่ก็ได้หย่าร้างกันในปี พ.ศ. ๒๕๓๐

เมื่อพระมหาราชาจากัต ซิงห์สิ้นพระชนม์ เรื่องราวของย่า-หลานเกี่ยวกับเมืองชัยปุระก็กระหึ่มขึ้นในเมืองไทย เป็นข่าวการขอความเป็นธรรมจากระบบยุติธรรมอินเดียต่อการเป็นทายาทมรดกมูลค่า ราว ๘ พันล้านบาท ที่มีชิ้นหลักคือ พระราชวัง Jai Mahal มูลค่าพันโกฎิหรือราว ๑๐ ล้านล้านบาท ซึ่งปัจจุบันถูกนำไปใช้ในกิจการโรงแรมเครือ Taj Group ในชัยปุระของผู้เป็นปู่ที่ีควรจะเป็นของทายาทเพียง ๒ คนแต่กลับตกเป็นของผู้เป็นย่าทั้งหมด โดยเหตุอ้างไว้ในพินัยกรรมว่าบุตรที่ไปอยู่ในการดูแลของมารดาหลังการหย่าร้างกับบิดาแล้ว ไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์มรดกของบิดา

มองเห็นแค่ส่วนเสี้ยวเดียวอาจจะไม่จุใจ เลยถ่ายมาให้เห็นเต็มตาซะหน่อย ต้นขึ้นตรงแหน๋วดีเนอะ

เรื่องของการทวงความยุติธรรมนี้จบลงอย่างไร มีมุมน่าสนใจให้ติดตามในแง่มุมของการปฏิบัติต่อคนชาติของอินเดีย และชวนศึกษาถึงการมีสิทธิทำกินและการมีถิ่นที่อยู่อาศัยให้กับคนอินเดียโพ้นทะเลในระบบการจัดการประชากรของอินเดียว่าเป็นอย่างไร

ที่น่าสนใจอีกมุมก็คือการต่อสู้คดีลักษณะนี้อาจยืดเยื้อนาน ๕๐-๑๐๐ ปี และถือเป็นคดีประวัติศาสตร์โลกเพราะไม่เคยมีใครกล้าฟ้องร้องหรือเรียกร้องสิทธิ์ใดๆเหนือเชื้อพระวงศ์และเป็นเรื่องราวระหว่างคนชาติไทยกับเชื้อพระวงศ์ที่เป็นคนชาติอื่นที่รัฐไทยควรสนใจด้วยนะเออ

ส่วนเรื่องกอสซิปของพระราชมาตานั้นยังมีอีกมาก สนใจก็ติดตามค้นหาต่อกันนะคะ

๘ สิงหาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 414739เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2010 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท