หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานต่างประเทศ (๗๕) : อินเดีย - สายลมโชยผ่านไป


การยึดหลักว่า “ประชาชนที่พูดภาษาเดียวกันจะอยู่ในเขตปกครองเดียวกัน” จะทำให้แต่ละรัฐมีอาณาบริเวณไม่เท่ากัน เพราะปริมาณของผู้ใช้ภาษาร่วมกันจะไม่เท่ากันเสมอไป ที่เขาแบ่งได้ทำได้โดยไม่เกิดปัญหา ผู้ปกครองเขาคิดอย่างไรกันจึงร่วมมือทำกันมา คุยกันพูดกันอย่างไรจึงลงตัว น่าสนใจนะ

เรื่องนอกโปรแกรมทำให้มีการแบ่งกลุ่ม ใครจะชมเมืองอยู่กันต่อ ใครไม่อยากรถจะพากลับที่พัก เอาเข้าจริงรถเบี้ยวเฉยเลย ขับรถวนพาคนที่จะกลับที่พักกลับมารอคนที่ไปชมเมืองที่จุดเดิมซะนี่

ส่วนของเมืองที่เพื่อนพากันไปชมกันต่อ เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งของเมืองนี้ ชื่อว่า “วังสายลม” หรือ “พระราชวังฮาวามาฮาล”

อยู่ในวังหลวงกัน บรรยากาศในกลุ่มเป็นอย่างที่เห็น ซ้ายมือสุดเป็นหุ่นกระบอกมือที่มาตั้งวงเล่นให้ดู ตัวหุ่นสีสันสวยดี

วังนี้สร้างด้วยหินทรายสีแดงและสีชมพู สูง ๕ ชั้น (๑๕ เมตร) เขาว่าสร้างด้วยจินตนาการที่มีต่อมงกุฏพระวิษณุ ตึกก็เลยมีส่วนโค้งเว้า มีรูพรุนเหมือนดั่งมงกุฏ

รูพรุนนั่นคือหน้าต่าง มีตั้ง ๙๓๕ บานแนะ  พระราชาสร้างไว้ให้สตรีในวังได้เห็นโลกภายนอกบ้าง ไม่รู้ว่าวังนี้เป็นฮาเร็มของพระราชาหรือเปล่า ยังมีการใช้สอยอยู่หรือเปล่า ไม่ได้ยินใครเล่าให้ฟัง

ไม่ได้เข้าไปชมข้างในกัน  เดินสำรวจตลาดที่อยู่ใกล้เท่านั้นเอง ยามโพล้เพล้ที่นี่สวยอีกแบบ มีนกพิราบเกาะอยู่ทีี่ฐานวังเป็นฝูงด้วย

จากมงกุฎพระวิษณุสร้างจินตนาการจนเป็นวังสวยงามอย่างนี้ได้ บอกฝีมือสถาปนิกและวิศวกรมือหนึ่งของสมัยนั้นว่าไม่โบราณสักนิด

ชีวิตของผู้คนแถวนี้ ดูเหมือนจะอิงอยู่กับการค้าขายเป็นหลัก สินค้ามีหลากหลาย ส่วนใหญ่ที่เห็นเป็นกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า กระเป๋า ผู้คนที่เดินอยู่ข้างถนนเป็นคนต่างถิ่นซะมากกว่าคนพื้นถิ่นซะอีก

เขาว่าที่รัฐนี้มีภาษาพูดที่เรียกว่า “ภาษาราชสถาน” เป็นภาษาหลัก ภาษาหลักของกลุ่มอินโด-อารยันนี้มีสำเนียงหลัก ๘ สำเนียง ขอบันทึกชื่อมันไว้หน่อยที่นี่ พาคริ เสขวาตี ธุนธารี ฮารัวตี มาร์วารี เมวารี และวาคริ แล้วยังมี ภาษามัลวีอีก ภาษามัลวีนี้มีพูดในปากีสถานด้วย

ไหนๆก็เล่าเรื่องภาษาแล้ว เชื่อไหมว่าภาษาพูดของคนอินเดียแตกต่างกันถึง ๑,๖๕๒ ภาษา นี่ยังไม่นับภาษาพูดที่มีคนพูดกันน้อยกว่า ๑ แสนคนนะนี่ อะไรจะขนาดนั้น

บรรยากาศริมถนนฝั่งตรงข้ามกับวังสายลม วังที่มีชื่อเรียกขานเพราะหน้าต่างกว่า ๙๐๐ บานที่มีไว้ช่วยระบายลมให้วังฉ่ำเย็น

เขาศึกษาบ้านเมืองเขาด้วยการทำแผนที่แสดงเขตพื้นที่การใช้ภาษาต่างๆ เพื่อใช้เป็นภาษาการศึกษาด้วย

ภาษาราชการของเขามี ๑๘ ภาษา คือ ๑.ภาษาอัสสัมมีส (Assamess ๒. ภาษาเบงกอลี (Bengali ๓. ภาษาคุชราตี (Gujarati ๔. ภาษาฮินดี ๕. ภาษากรรณาฑ (Kanada) ๖. ภาษาเเคชมีรี (Kashmiri ๗. ภาษามาลายาลัม (Malayalam) ๘. ภาษามารฐี (Marathi) ๙. ภาษาโอริยา (Oriya) ๑๐. ภาษาปัญจาบี (Panjabi) ๑๑. ภาษาสันสกฤต (Sansakrit) ๑๒. ภาษาทมิฬ (Thamil) ๑๓. ภาษาเตลุกู (Telugu) ๑๔. ภาษาอูระดู (Uradu) ๑๕. ภาษาสินธี (Sindhi) ๑๖. ภาษาโกนกานี (Konkani) ๑๗. ภาษามณีปูรี (Manipuri) ๑๘. ภาษาเนปาลี (Nepali)

น่าสนใจมากถึงวิธีคิดของเขาก็คือ เขาใช้เกณฑ์ของภาษาที่ประชาชนพูดเป็นหลักกำหนดในการแบ่งเขตการปกครองประเทศอินเดียออกเป็นรัฐ (state)

การยึดหลักว่า “ประชาชนที่พูดภาษาเดียวกันจะอยู่ในเขตปกครองเดียวกัน” จะทำให้แต่ละรัฐมีอาณาบริเวณไม่เท่ากัน เพราะปริมาณของผู้ใช้ภาษาร่วมกันจะไม่เท่ากันเสมอไป  ที่เขาแบ่งได้ทำได้โดยไม่เกิดปัญหา ผู้ปกครองเขาคิดอย่างไรกันจึงร่วมมือทำกันมา คุยกันพูดกันอย่างไรจึงลงตัว น่าสนใจนะ

ชีวิตข้างถนนมีอิสรภาพในการแสดงออกที่เมืองเราปฏิเสธและหมิ่นแคลน แต่คนที่นี่ รัฐที่นี่เขาถือเป็นเรื่องธรรมชาติให้ทำได้ไม่ขวางกัน

ชมตลาดกันจนจวนมืด จึงกลับถึงโรงแรมกัน กินข้าวอาบน้ำกันแล้ว กรรมการบริหารรุ่นก็เชิญกันประชุม กว่า่จะเลิกกันก็เลยสี่ทุ่มแล้ว สมาชิกที่ไม่เกี่ยวใช้เวลากันตามอัธยาศัย

อาหารมื้อเย็นวันนี้ พวกเรา็ใช้บริการของโรงแรม เมนูมื้อเย็นมีผักสลัด และมีผลไม้ให้เลือกเยอะดี

คืนนี้ก่อนนอนมีงานให้ทำ มีคนป่วยใหม่อีกคนในคณะเกิดขึ้น โดนอากาศร้อนแล้วเย็นสลับกับเดินทางไม่ได้พัก คนอายุเลยเลขสี่กันแล้วทั้งนั้นก็เลยเป็นเรื่อง  พี่อวบมีไข้นอนคลุมโปงอยู่ในห้องพัก แวะไปดูอาการแล้วเห็นหลับได้สบายพอที่จะพักผ่อนได้ค่อยโล่งใจ

บรรยากาศในห้องอาหารยามค่ำ ขวาสุดเป็นอาหารชนิดหนึ่งคล้ายๆแกงสมรมบ้านเรา

๘ สิงหาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 416888เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2010 01:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อังคารอรุณสวัสดิ์ค่ะพี่หมอ

อินเดีย มนต์เสน่ห์แห่งความหลากหลายน่าดึงดูดใจ ส่งความสุขก่อนปีใหม่นะคะ :)

อีกหนึ่งประเทศที่อยากไป แต่ยังไม่ได้ไปค่ะ

อ่านแล้วต้องยอมรับว่าอินเดียสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหลือเชื่อ เช่นการอยุ่ร่วมกันของความหลากหลายแต่เป้นหนึ่งเดียว คืออินเดีย ไม่ว่าทางการเมือง ศาสนาและวัฒนธรรม มีปัญหาขัดแย้งเป็นของธรรมดา แต่ทุกส่วนบอกว่าเป็นคนอินเดีย

จะมีที่อดนึกสงสัยไม่ได้ด็ตรงที่เอกลักษณ์ความเป็น "พุทธ" ซึ่งค่อนข้างเชื่อมโยงกับอินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราณ กลับขาดหายไปในโครงสร้างสาธารณรัฐ แม้จะมีผู้นำอย่าง ดร.อัมเบดการ์ หรือผู้นำคนอื่นๆ หลายคนที่เป็นฮินดูแต่ใจเป็นพุทธ แต่พลังพุทธก็หายไปจากสาธารณรัฐ(ยกเว้นที่ปรากฏในธงชาติอินเดีย) นักการเมืองพุทธมีค่อนข้างน้อย ทั้งในระดับประเทศและรัฐ รัฐพิหารเป็นรัฐที่มีพุทธสถานสำคัญแต่คนส่วนใหญ่ก็เป็นฮินดู อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือที่มีคนเชื้อสายไต ก็ลืมความเป็นไต พูดได้แต่ภาษาอัสสัมเมสซึ่งผสมกับภาษาฮินดีแล้ว จะมีก็ชาวไตพาเกที่ยังคงพูดภาษาไต(คล้ายภาษาเหนือบ้านเรา)ได้

ถ้าคิดตามหลักที่ว่าพูดภาษาใดก็ให้อยู่ด้วยกัน น่าเสียดายที่ว่าชาวอัสสัมเลิกพูดภาษาไตแล้ว และชนเผ่าไตกลุ่มอื่นๆ อีก  5 กลุ่มก็ค่อยๆ ลืมเลือนความเป็นไตเข้าไปทุกที  

ดังนั้นถ้าจะบอกว่าความเป็นพุทธซึ่งต้องเป็นหนึ่งในความหลากหลายของอินเดียก็หายไปอย่างน่าเสียดายในโครงสร้างของประเทศ

แค่ฝากมาให้ช่วยกันคิดต่อไปครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท