หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานต่างประเทศ (๘๓) : อินเดีย - ประกันความลำบาก???


ชีวิตแต่งงานของคานธีที่เริ่มขึ้นเมื่ออายุ ๑๓ ปี และมีพ่อเป็นคนตัดสินใจเลือกลูกสะใภ้ให้ พ่อของคานธีเป็นคนมีตำแหน่งสูงทางสังคม ในทางหน้าที่การงานเป็นถึงรัฐมนตรีของรัฐราชโกฏ ยืนยันว่าการคลุมถุงชนมีจริงและแท้จริงแล้วผู้ชายต่างหากเป็นคนสำคัญในสังคม อินเดีย

จากนั้นเราก็เดินทางต่อไปยังอีกที่หนึ่ง คราวนี้รถแล่นเข้ามาแถวๆที่ตั้งของสถานที่ราชการหลายแห่ง แล้วหยุดจอดที่หน้าบ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งมีรูปวาดใหญ่ของมหาตมะ คานธีติดอยู่ตรงหน้าประตู  บริเวณแถวๆหน้าประตูมีแผงขายสินค้าอยู่ราวๆ ๒-๓ แผง

ภายในบ้านที่พวกเรากำลังจะเข้าไปมีห้องแสดงชีวประวัติของคานธีอยู่ มีห้องโชว์หุ่นขี้ผึ้งแสดงชีวิตครอบครัวของคานธีไว้ด้วย ที่นี่เป็นที่ซึ่งคานธีใช้ชีวิตอยู่เกือบปี ก่อนจะเสียชีวิตเพราะถูกลอบทำร้าย

บรรยากาศ ณ มุมหนึ่งของกรุงเดลี เช้าวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓

เขาว่าชีวิตผู้หญิงอินเดียยิ่งกว่านิยาย บ้านไหนมีลูกสาวอยู่ในบ้าน บ้านนั้นไม่ค่อยมีความสุขเท่าไร แต่ดูเหมือนบรรยากาศในบ้านคานธีที่เห็นจากห้องหุ่นซึ่งอยู่ในบ้านนั้นค่อน ข้างสดใสและมีความสุข

เขาเรียกที่นี่ว่า “Gandhi Smriti”  รัฐบาลอินเดียเป็นเจ้าภาพดูแลสถานที่แห่งนี้ บ้านนี้ได้รับบริจาคมาจากนักธุรกิจคนหนึ่งชื่อ BIRLA

บางคนที่รู้จักเล่าว่าการแต่งงานที่นี่จะเน้นที่วรรณะ ศาสนาและฐานะของผู้ชายและส่วนใหญ่เป็นการคลุมถุงชน สตรีแทบจะเลือกคู่เองไม่ได้เลย  ประเพณีนี้ก็เหมือนมุสลิมส่วนใหญ่ที่บ้านฉันที่คู่แต่งงานไม่เคยเป็นคู่รัก กันในช่วงก่อนแต่งงาน และสตรีออกเรือนเร็วเหมือนกัน

ชีวิตแต่งงานของคานธีที่เริ่มขึ้นเมื่ออายุ ๑๓ ปี และมีพ่อเป็นคนตัดสินใจเลือกลูกสะใภ้ให้ พ่อของคานธีเป็นคนมีตำแหน่งสูงทางสังคม ในทางหน้าที่การงานเป็นถึงรัฐมนตรีของรัฐราชโกฏ ยืนยันว่าการคลุมถุงชนมีจริงและแท้จริงแล้วผู้ชายต่างหากเป็นคนสำคัญในสังคม อินเดีย

 

โดยรอบบริเวณบ้านมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นอนุสรณ์สถานอยู่หลายจุด และดูเหมือนการสร้างยังไม่สิ้นสุดลง

การที่สตรีเป็นฝ่ายไปสู่ขอผู้ชายและเสียค่าสินสอดจำนวนมากให้ ทั้งๆที่ถูกคลุมถุงชนนั้นจึงน่าจะมีเหตุผลบางอย่างซ่อนอยู่  ถามไกด์ท้องถิ่นถึงเหตุผล เขาตอบแค่ว่าเป็นการประกันล่วงหน้าของสตรีว่าจะมีชีวิตที่สุขสบายได้ตลอดชีวิตเมื่อแต่งงานไป

ฟังแล้วเห็นภาพว่าสินสอดเป็นเหมือนเงินฝากฝ่ายชายไว้ก่อนแบบการจ่ายค่าประกันชีวิต  ประกันความลำบากที่จะเกิดขึ้นในชีวิตหลังแต่งงาน เป็นเงินก้นถุงที่สมทบให้ฝ่ายชายใช้เป็นทุนต่อชีวิตสร้างครอบครัวใหม่ ซึ่งทำให้สตรีสบายใจว่าเมื่อมาอยู่ด้วยแล้วชีวิตจะไม่ลำบาก

แม้ว่าบรรยากาศโดยรอบของบ้านจะโปร่งตาและผ่อนคลาย แต่ฉันกลับรู้สึกว่ามันแข็งๆ ไร้ชีวิตชีวายังไงไม่รู้

อย่างนี้ปรากฏการณ์คดี ๘ พันล้านที่ชัยปุระก็เป็นเรื่องที่ชวนให้ไปค้นหาทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ด้วยซินะ

รู้สึกแปลกๆและเหมือนเรื่องขัดกับที่สังคมอินเดียระบุว่าเขาให้ความสำคัญกับสตรียังไงไม่รู้ซิ

๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 417632เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2011 19:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท