หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานต่างประเทศ (๘๖) : อินเดีย - สนใจหน่อยน่า


กฎระเบียบด้านสุขอนามัยของร้านอาหาร เทศบาลของแต่ละเมืองก็แตกต่างกัน ที่แน่ๆครัวที่ใช้ประกอบอาหารต้องสะอาดและปราศจากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค ไม่ว่า แมลงวัน หนู แมลงสาบ ฯลฯ

พวกเราใช้เวลาอยู่ที่ Gandhi Smrti อยู่ประมาณชั่วโมงเศษๆ  ก็เคลื่อนขบวนไปกินอาหารกลางวัน วันนี้มีโปรแกรมสำคัญที่ได้คิวแทรกมาให้ได้ใช้เวลาเรียนรู้ เป็นโอกาสสำคัญที่ถือว่าเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดีของทุกคนซึ่งได้เวลานัดหมายมาเป็นช่วงบ่ายของวันนี้

ร้านอาหารที่เราไปเติมท้องกันให้อิ่มเป็นร้านเล็กๆชื่อฟูจิยะ บรรยากาศภายในสบายๆ คนไม่มากนัก  ดูๆไปแล้วร้านนี้จัดร้านคล้ายร้านอาหารญี่ปุ่น อาหารที่จัดมาให้วันนี้เป็นเซ็ทเมนูคล้ายอาหารไทย รสชาดอาหารที่เสิร์ฟชิมดูแล้วฝีมือยังแพ้กุุ๊กไทย

ผ่านไปที่ถนนไหนๆของเดลีก็จะเห็นการให้โอกาสทำอาชีพที่รัฐบาลอินเดียให้กับคนของเขา ไม่เอาแต่รักษาหน้าตา

พูดถึงร้านอาหารในอินเดีย ภาคธุรกิจเขาว่าร้านอาหารไทยยังมีอยู่น้อย ทั่วอินเดียมีแค่ ๘๐ ร้าน และเป็นร้านที่มีขนาดเล็ก

ได้ยินว่าที่กรุงเดลีร้านส่วนใหญ่ไปแฝงตัวตั้งอยู่ในโรงแรมระดับ ๔-๕ ดาว เมืองที่มีร้านอาหารไทยมากหน่อยก็จะเป็นเดลีและมุมไบ

ทุกอย่างเป็นอาชีพสุจริต แม้จะต้องนั่งกินข้างถนน ก็ไม่เห็นจะต้องรู้สึกอายใครเลย

ภาคธุรกิจเมืองไทยวิเคราะห์ว่ายังมีเมืองอื่นๆที่มีศักยภาพให้ผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจร้านอาหารไทยได้อีกมาก ตัวอย่างเช่น เมืองโกลกัตตาที่พวกเราได้ผ่านมาแล้ว บังคาลอร์ซึ่งเป็นเมืองเศรษฐกิจรายได้สูงจากธุรกิจคอมพิวเตอร์

สังเกตเห็นในวันนี้ว่าลูกค้าที่เดินเข้าร้านมิได้มีแต่พวกเรา มีชาติอื่นเข้ามาด้วยพอสมควร ลูกค้าคนอินเดียมีบ้าง สิ่งที่เห็นบอกใบ้ว่าคนอินเดียเริ่มออกมารับประทานนอกบ้านบ้างแล้ว

 

บรรยากาศร้านฟูจิยะเป็นอย่างนี้ โปร่งโล่ง มีรถราไม่มากนัก หม้อไฟร้อนมีเกี๊ยวใส่เส้นหมี่ให้ลอง รสชาดไม่ถูกกับลิ้นฉันเลย

ท่านทูตได้เล่าไว้ว่าจะมาลงทุนที่นี่ คนที่มาควรศึกษาอินเดียให้มาก เพราะมีระเบียบในด้านธุรกิจหลายเรื่อง

ผู้รู้ด้านธุรกิจบอกมาว่า อินเดียให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นในธุรกิจร้านอาหารได้ไม่เกิน ๔๙ % ของทั้งหมด

ร้านอาหารที่จะลงทุนก็ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อาคารสถานที่ที่จะเปิดร้านจะใช้เช่าหรือเป็นเจ้าของก็ต้องยื่นขอใบอนุญาตเปิดร้านอาหารพร้อมหลักฐานการเป็นนิติบุคคลกับเทศบาลแต่ละเมือง

 

หน้าตาอาหารออกมาอย่างนี้ ไม่รู้ว่าเป็นวัสดุดิบหรือเปล่า ถ้าใช่บ้านเราก็ยังมีโอกาสทำการตลาดในอินเดียได้อีกมาก

และถ้าต้องการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ด้วยก็ต้องยื่นขออนุญาตต่างหาก

กฎระเบียบด้านสุขอนามัยของร้านอาหาร เทศบาลของแต่ละเมืองก็แตกต่างกัน

ที่แน่ๆครัวที่ใช้ประกอบอาหารต้องสะอาดและปราศจากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค ไม่ว่า แมลงวัน หนู แมลงสาบ ฯลฯ

เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านสาธารณสุขของแต่ละเมืองจะออกมาสุ่มตรวจเป็นประจำ

ทางสัญจรเพื่อไปตามนัด ตลอดทางมีสีเขียวให้มองคล้ายๆแถวสวนลุมบ้านเรา

ไม่ใคร่รู้ว่าร้านอาหารไทยในอินเดียมีระบบแฟรนไชส์หรือเปล่า รู้แต่ว่าแฟรนไชด์อาหารจานด่วนอย่างเช่น แมคโดแนล ขายดี

ท่านทูตเคยให้ข้อมูลว่ามีร้านอาหารไทยที่เริ่มใช้ระบบแฟรนไชด์แล้วชื่อร้าน บางกอก นัมเบอร์วัน ร้านแรกตั้งขึ้นที่ในเดลีนี่เอง

อีกร้านที่เขาว่ามาแรงในอินเดียและคิดจะเปิดแฟรนไชด์คือร้านอิษฎา ร้านแรกตั้งขึ้นที่เมืองไฮเดอราบัดที่พวกเราได้ผ่านกันมาแล้ว ร้านนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศไทยที่ถนนอโศก

สภาพจราจรยามฝนตกในวันที่เราใช้งาน รถไม่ติดเป็นตังเมเหมือนบ้านเรา

บรรยากาศระหว่างกันและกัน หลังจากใช้ชีวิตด้วยกันมาหลายวัน

คนไทยที่ไปตั้งร้านอาหารเล่าให้ฟังว่าทุนเริ่มต้นไม่มาก เริ่มต้นที่หลักแสนก็ทำได้

ร้านอาหารที่เกิดได้ง่ายส่วนใหญ่แล้วเจ้าของร้านเป็นลูกครึ่งไทย-อินเดีย

หลังจากที่อิ่มท้องกันแล้ว ก็ทะยอยตามกันออกมา รวบรวมพลแล้วเดินทางต่อไปยังเป้าหมาย สำนักงานกรรมการการเลือกตั้งอินเดียที่นัดหมายสำคัญในภาคบ่าย

ในที่สุดก็มาถึงแล้วที่นัดหมายพิเศษของพวกเรา งานวันนี้จะได้เรียนอะไร ตื่นเต้นจัง ใช่ไหมพวกเรา

๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 417745เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2011 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท