หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเีีรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานในประเทศ (๒๒) : ภาคตะวันออก - รู้จักมาบตาพุด


ภาพรวมทั่วประเทศมีนิคมอยู่ทั้งหมด ๔๓ แห่ง ดำเนินการแล้ว ๓๕ แห่ง อยู่ในภาคตะวันออก ๑๓ แห่ง ภาคอื่น ๒๕ แห่ง ที่เหลืออยู่ที่มาบตาพุด ทั้งหมดมีโรงงาน ๓,๕๐๕ แห่ง ลงทุนมูลค่า ๒.๒ ล้านล้านบาท ใช้แรงงานทั้งหมด ๔๖๕,๐๐๐ คน

ผู้แทนของกนอ.มาเล่าให้ฟังว่า ภาพรวมทั่วประเทศมีนิคมอยู่ทั้งหมด ๔๓ แห่ง ดำเนินการแล้ว ๓๕ แห่ง อยู่ในภาคตะวันออก ๑๓ แห่ง ภาคอื่น ๒๕ แห่ง ที่เหลืออยู่ที่มาบตาพุด  ทั้งหมดมีโรงงาน ๓,๕๐๕ แห่ง ลงทุนมูลค่า ๒.๒ ล้านล้านบาท ใช้แรงงานทั้งหมด ๔๖๕,๐๐๐ คน

มาบตาพุดมี ๕ นิคม ๑ ท่าเรือ ๑๔๗ โรงงาน มูลค่าลงทุน ๐.๙ ล้านล้านบาท ใช้แรงงาน ๓๐,๐๐๐ คน นิคมทั้ง ๕ นิคม มีความหนาแน่นของโรงงานไม่เท่ากัน

พื้นที่เขตนิคมในภาพรวม ๑๘,๘๔๗ ไร่ ท่าเรือ ๒,๙๑๕ ไร่

นิคมที่มีขนาดเล็กที่สุดที่นี่ มีพื้นที่ ๕๔๐ ไร่ มีโรงงานอยู่ ๔ ราย

นิคมที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดที่นี่ มีพื้นที่ ๑๐,๒๑๕ ไร่ มีโรงงานอยู่ ๖๗ ราย และไม่ใช่พื้นที่ที่มีโรงงานหนาแน่นที่สุด

นิคมที่มีโรงงานหนาแน่นที่สุด มีพื้นที่ ๓,๓๑๒ ไร่ มีโรงงานอยู่ ๔๕ ราย

นิคมที่มีโรงงานหนาแน่นน้อยที่สุด มีพื้นที่ ๓,๒๒๐ ไร่ มีโรงงานอยู่ ๑๐ ราย

ท้องฟ้าเหนือพื้นที่โรงงานเป็นอย่างนี้เอง รู้สึกว่าเมฆที่นี่หน้าตาแปลกๆ

การพัฒนาที่นี่เกิดขึ้นตามมติครม. แบ่งเป็น ๒ ระยะ ระยะแรกปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ระยะที่ ๒ ปีพ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ละระยะกำหนดให้พัฒนาในพื้นที่เพียง ๑,๔๐๐ ไร่โดยประมาณ

ปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมีให้แก้มา ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ เริ่มจากเรื่องกลิ่นรบกวนจากโรงงานปิโตรเคมีและโรงกลั่น ปัญหาเป็นไปอยู่ ๓ ปี แก้ได้ด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่าย

ปี ๒๕๔๘ มีปัญหาใหม่เรื่องภัยแล้ง น้ำไม่พอใช้ แก้ไปได้โดยการจัดหาแหล่งน้ำเพิมเติมให้พื้นที่

ปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมามีปัญหาใหม่อีกเรื่องศักยภาพในการรองรับของพื้นที่ สารระเหยที่เป็นมลพิษ สุขภาพคนที่เสื่อมถอย แก้โดยแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ การจัดการสารระเหยที่เป็นมลพิษให้ลดลงจากเดิม ๑๐-๒๐%  กากของเสียอันตรายกำจัดให้ได้  ๔๖๑,๙๗๔ ตัน น้ำเสียกำจัดให้ได้ ๗ แสนลบ.เมตร และหาความสามารถในการรองรับมลพิษของพื้นที่ (Carrying Capacity)

ท้องฟ้าแถบเมืองระยองนี่แปลก มีแต่เมฆหนาๆครึ้มๆคล้ายเมฆฝน แต่ไม่มีฝน รู้สึกว่าอากาศไม่ปลอดโปร่งเอาซะเลย คนอยู่ อยู่กันได้ไงนะ

สิ้นปี ๒๕๕๒ การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการทะลุเป้า มีแต่เรื่องของ Carrying Capacity ที่ยังหาคำตอบไม่ได้ ฟังว่าที่หาคำตอบไม่ได้เพราะไม่รู้จะเอาค่าตัดสินของประเทศไหนมาใช้ดี จะใช้แบบผสมผสานก็ไม่แน่ใจว่าใช้ได้ไหม ทำนองนี้แหละ

๑๕ กันยายน ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 420988เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2011 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท