บริหารด้วยทฤษฎี X, Y, Z


ผมเรียนทฤษฎี X  และทฤษฎี Y  ของดักลาส  แมคเกรเกอร์ (Douglas Mc Gregor) มานานแล้ว  พอมาเห็นทฤษฎี Z  ก็เข้าใจเอาว่าคงเป็นการต่อยอดทฤษฎี X  และทฤษฎี Y  แต่พออ่านรายละเอียดกลับนะจังงัง  ไปกันคนละทิศเลย  เอามาเข้าแถวเรียงกันได้ยังไง  ขอขยายความความงง  เผื่อจะมีคนเข้าใจเหมือนผม  จะได้แลกความรู้ (สึก) กัน

ในการบริหารนั้น  มีการนำทฤษฎีเชิงจิตวิทยามาใช้จำนวนมาก  เพราะการบริหารเป็นการทำงานกับ “คน” และทฤษฎีจิตวิทยาก็พูดเรื่อง “คน”  การศึกษาทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการควบคุมกำกับพฤติกรรมของมนุษย์  การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน  และภาวะผู้นำ  จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้บริหาร

Donglas Mc Gregor ได้ค้นพบแนวคิด “พฤติกรรมองค์การ”  และสรุปว่า กิจกรรมการบริหารจัดการล้วนมีสาเหตุรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviors) ซึ่งเป็นไปตามกรอบทฤษฎี X  และทฤษฎี Y  คือ
           ทฤษฎี X (Theory X)  คือคนประเภทเกียจคร้าน  ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ  มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ  มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด  และมีการลงโทษเป็นหลัก
           ทฤษฎี Y (Theory Y)  คือคนประเภทขยัน  ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม  ท้าทายความสามารถ  สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก  และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
           สรุป  Donglas Mc Gregor  เห็นว่าคนมี 2 ประเภท  และการบริหารคนทั้ง 2 ประเภท  ต้องใช้วิธีการบริหารแตกต่างกัน

ผมคิดว่าคนในโลก  คงไม่มีแค่ 2 ประเภท  แบบทฤษฎี X  และทฤษฎี Y โดยสิ้นเชิงเท่านั้น  ประเภทที่มีมากที่สุดน่าจะเป็น ทฤษฎี XY  คือ  บางครั้งขี้เกียจ  บางครั้งขยัน  แต่ขี้เกียจมากกว่าขยัน หรือจะเป็นทฤษฎี YX  คือ  บางครั้งขยัน  บางครั้งขี้เกียจ  แต่ขยันมากกว่าขี้เกียจ  ไม่เชื่อลองตรวจสอบอารมณ์ของท่านเองก็ได้ว่า  ระหว่าง X, Y, XY  และ YX  ท่านอยู่ในประเภทไหน?

ผมงง  เมื่ออ่านพบทฤษฎี Z  คิดว่าคงมีคนประเภทใหม่เข้ามาอีก  ที่ไหนได้ไปคนละเรื่องแบบ “ไปไหนมา  สามวา  สองศอก” เลยทีเดียว

ทฤษฎี Z  คืออะไร?

ทฤษฎี Z (Theory Z)  คือ  การบริหารงานแบบญี่ปุ่น  ที่มีลักษณะเด่น 7 ประการ  ได้แก่
           1.  การจ้างงานตลอดชีพ (Lifetime Employment)  การจ้างงานลักษณะนี้  เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์กร  และมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  คนที่อยู่ในบริษัท (องค์กร) นานๆ อาจได้รางวัล (reward) เป็นหุ้นของบริษัทด้วย
           2.  การประเมินผลงาน (Evaluation) เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาระดับสูง  ที่จะต้องประเมินผลงานผู้ใต้บังคับบัญชา  และผลงานดังกล่าวจะเกี่ยวกับระบบการจ่ายเงินโบนัส  เป็นการให้รางวัลการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบและความสามารถ
           3.  การเลื่อนตำแหน่งแบบช้าๆ (Slow Promotion)  มีความสัมพันธ์กับระบบการจ้างงานตลอดชีพ  และระบบอาวุโส (Seniority System) ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการปฏิบัติงาน  และผลการปฏิบัติงาน
           4.  การทำงานที่ถนัด (Non-Specialized Career Paths) พนักงานจะทำงานตรงกับความถนัด  และความสามารถของตนเอง  ไม่นิยมการสับเปลี่ยนตำแหน่งให้พนักงานได้ทำหน้าที่ต่างๆ ไปเรื่อยๆ (ไม่เห็นด้วยกับ Re-engineering ที่พนักงานจะทำงานหลายๆ อย่าง  หรือสลับตำแหน่งไปเรื่อยๆ)
           5.  มีการควบคุมแบบไม่เด่นชัด (Implicit Control Mechanism) ใช้มากที่สุด  คือ  มักใช้การควบคุมที่ไม่เป็นทางการ  โดยใช้สมุดคู่มือการปฏิบัติงาน  การให้รายละเอียดหรือการอธิบายการทำงาน  จะใช้วิธีบอกกล่าวมากกว่าเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
           6.  การร่วมตัดสินใจ (Collective Decision Making) ลักษณะของการบริหารที่มีการร่วมตัดสินใจ  ปรากฏไม่เด่นชัด  ยิ่งถ้าเป็นบริษัทข้ามชาติที่ร่วมทุนด้วยแล้ว  การทำกิจกรรมในลักษณะที่เป็นกลุ่มๆ ยังไม่ค่อยแพร่หลาย
           7.  ความผูกพันทั้งหมด (Wholistic Concern) ผู้บริหารขององค์กรจะเข้าร่วมกิจกรรมโดยรวมไม่บ่อยครั้งมากนัก  ยิ่งถ้าเป็นบริษัทข้ามชาติด้วยแล้วผู้จัดการจะเข้าร่วมกิจกรรมเป็นครั้งคราวเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตาม  การบริหารงานสไตล์ญี่ปุ่น (Theory Z) ก็ยังสร้างความผูกพันในองค์กรสูง  หากเปรียบเทียบกับการบริหารสไตล์อเมริกัน

การบริหารคงต้องประยุกต์ทฤษฎี Z ให้เข้ากับพฤติกรรมองค์กร  โดยใช้ทฤษฎี X, Y, XY  และ YX    ในการบริหารพฤติกรรมมนุษย์

การบริหารยากที่สุดตรงที่ต้องบริหาร “คน”

หมายเลขบันทึก: 99135เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2007 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

เห็นด้วยกับอาจารย์เลยค่ะว่า "คน" เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ยากที่สุด เพราะ คนมีทิฐิเป็นป้อมปราการ มีความรู้ที่ได้มาจากที่ไหนนักไม่รู้มาเป็นอาวุธ ทำร้ายทั้งเพื่อนฝูง องค์การ และ ที่สุดทำลายมิตรภาพระหว่างตนเองกับเพื่อนที่มีอาวุธมาด้วยกันนั่นแหละ

คนที่บริหารง่าย คือคนที่รู้น้อย เพราะอาวุธมีน้อย  แต่หากคนได้นำความรู้ความสามารถมาใช้ในเชิงบวกพร้อมๆกัน โลกคงสนุกดีนะคะ 

รออ่านความคิดเชิงวิเคราะห์ วิพากษ์ของอาจารย์อีกนะคะ

ขอบคุณค่ะ 

เรียน  ดร.วัฒนา  บรรเทิงสุข

ขอบคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

และขอบคุณที่รออ่านด้วยครับ

อยากรบกวนหน่อยค่ะ

คือตอนนี้กำลังทำวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการของประชาชนท้องถิ่นว่าอยากให้มีข้อมูลอะไรในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้าง

อาจารย์ให้หาทฤษฎีความต้องการประกอบ หาได้แต่ของ Maslow ไม่ทราบว่าอาจารย์พอจะรู้จักทฤษฎีอื่นที่เข้าข่ายบ้างมั๊ยค่ะ

ถ้าอาจารย์สะดวก Mail บอกญิ๋งหน่อย จะขอบคุณมากๆ เลยค่ะ

[email protected]

  • เรียนรองศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ นพรัก
  • แวะเข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ และขออนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • กำลังอ่านเกี่ยวกับพฤติกรรมองค์การ  โชคดีที่มาเจอ 
  • เห็นด้วยกับอาจารย์ ค่ะ  คน บริหารยากที่สุด  
  • ธรรมชาติสอนให้คนรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ตนอยู่  ซึ่งก็แล้วแต่ว่าใครจะปรับมากน้อยเพียงใด บวก หรือ ลบ  ธรรมชาติของคนในองค์กร ส่วนใหญ่ไม่ค่อยที่จะอยากปรับเปลี่ยน จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารอย่างท่านอาจารย์ต้องใช้กลยุทธ์หลากหลายในการบริหารคน
  • แล้วหนูจะเข้ามาติดตามอ่านต่อนะคะ
จะ x  หรือ y มันอยู่ที่ตัวเรานั่นแหละ

ผ่านมาเจอ ผมเลยอยากเสนอแบบคนรู้น้อยนะครับคงไม่ว่ากันนะครับ  ทำไมคนถึงบริหารยากที่สุด  อะไรคือสาเหตุ  เมื่อมาที่สาเหตุเราจะพบว่า สาเหตุมากมายที่สัมพันธ์กับตัวคนเมื่อรวบรวมแบ่งกลุ่มแนวคิดคนจะพบว่ามีมากกลุ่ม   การแก้ปัญหาจึงลำบาก   ไม่เหมือนเครื่องยนต์กลไกล ที่เราสามารถแบ่งกลุ่มปัญหาได้   ผมคิดว่าบางทีคนเราก็ไม่ต่างจากเชื้อโรค   ที่มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ

หรือพูดอีกทีคนบางคนก็เปรียบเสมือน มะเร็งที่เข้ามาทำร้ายร่างกาย   การแก้ปัญหาทางการแพทย์ก็ได้แก่ตัดทิ้ง  ทำลายส่วนที่เป็นมะเร็ง   แต่บางทีมะเร็งก็กลับเข้ามาอีก  ดังนี้โอกาศที่จะบริหารคนได้ดีที่สุดคือ  คุณต้องเป็นผู้เลือกคนเข้ามาในองค์กรด้วยตนเอง  ดังเช่นชาวจีนสมัยก่อนที่มีเจ้านาย  ลูกน้องที่จงรักภักดี      ดังนี้นถ้าคุณไม่สามารถเลือกคนในองค์กรด้วยตนเอง   ก็บริหารได้ยากยิ่ง(ในการเลือกคนก็ต้องมีความรู้   ความสามารถ  ที่สูงเช่นกันจึงจะได้คนที่รักองคฺกร)  

อาจารย์คับผมกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกฝึกปฏิบัติงานจริงของนักศึกษา

ของคณะบริหาร

ผมต้องทำอย่างไรบ้างคับ

ช่วยบอกหน่อยนะคับ ขอบคุณคับ

ขอแสดงความยินดีกับท่านอาจารย์ด้วยครับกับตำแหน่งกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต1 (ในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ)

ผมเป็นศิษย์ของอาจารย์ที่ศูนย์อุตรดิตถ์รุ่นที่ 2 ครับ (ได้ A ด้วย) ยังระลึกถึงท่านและทีมอาจารย์มน.เสมอครับ

นาย สมชาย อิ่มโพธิ์

สัวสดีครับ  อาจารย์ที่เครพ

ก่อนแสดงความคิดเห็นผมต้องขอบอกอาจารย์ก่อนนะครับว่าผมเพิ่งหัดใช้

comฯ และเหตุที่จําเป็นต้องศึกษาก็มาจาก  ความบังเอิญ  ที่ผม  ค้นพบ

กายภาพ ของ  จํานวน จึงต้องเริ่มหัดการพิมพ์  ซึ่งต่อมาก็เป็นcomฯ

และที่ผมต้องเรียนบอกกับอาจารย์ก็เพราะ  ผมอาจไม่รู้ทั้งด้านการศึกษา

และการมีมารยาท ในการสื่อของด้านนี้  ถ้าหากว่า  ผมล่วงเกินอาจารย์

ผมต้องขอโทษดว้ยนะครับ

 

ผมขอขอบคุณอาจารย์ที่เปิดความรู้อันเปรียบดังแสงส่วางที่สวยงามสู่ที่มืด จาก ความรู้ของอาจารย์ที่เสนอแบบการศึกษา สังเกตุจาก ประโยชน์ของ สัญลักษณ์ ตัวอักษร คือ x-y-zซึ่งเป็นผลจาก การค้นพบ การใช้ประโยชน์ ของ สัญฯตัวอักษร จาก เรื่อง ของ จํานวน สุ๋ ประโยชน์ที่หลากหลายไปทุกๆสาขาวิชา และโดยเฉพาะที่ อาจารย์ได้นําเสนอความสําคัญที่เกิดจาก การใช้ x-y สุ๋การใช้ z กับ การบริหาร ซึ่งตามที่อาจารย์ได้สอนผมไว้ ผมจึงขอทดลองนําเสนอการจัดเรียงการใช้x-y-zดังนี้จะถูก ต้องใหมครับ อาจารย์ช่วยตรวจสอบและขอคําแนะนําจากอาจารย์ด้วยนะครับผมขอขอบคุณล่วงหน้าครับ ตามความคิดของผม ผมมีความคิดเห็นตามหลักการทางทฤษฏี ของ x-y แต่ตรง z ผมคิดว่า เป็นการใช้เพื่อเป็นตัวสร้างแนวทาง ความถูกต้อง เมื่อ จะต้อง ทัาการประมวลผล ลงบนแนวแกนของ z ขอขอบคุณอาจารย์มากครับและผมจะรอคอยคําแนะนําจากอาจารย์นะครับ ดว้ยความเครพนับถือ ผล จาก แนวแกน ของ x-y

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ที่เคารพ

หนูกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับ ทฤษฎี z ค่ะ ขออนุญาติ ขอข้อมูลด้วยนะคะ

สวัสดีครับ ท่าน ดร.สมบัติ นพรัก ..อ่านบทความของท่านแล้วมีความสนใจครับ

...กลุ่มพัฒนาคุณภาพ (quality control circle..ประเทศญี่ปุ่นปรับปรุงขึ้นหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง อีกต่อมาไม่นาน ประเทศที่แพ้สงครามอย่างประเทศญี่ปุ่นก็ขึ้น มาครอง อำนาจท่างเศรษฐกิจโลก

.ทฤษกฏี (Z.)น่าสนใจมากครับ พอดีผมทำงานในบริบัท ญี่ปุ่น ผมเห็นการทำงาน การคิด การกินการเทียว การเล่นกีฬา ตีกอล์ฟ ทุกอย่างมีความเกียวข้องกลับการบริหารทั้งสิ้น.ประชากรของประเทศที่พัฒนาอย่างญี่ปุ่นล้วนมีคุณภาพ ขยัน อดทน งานมาก่อนเงิน

คนญี่ปุ่นรักองค์กร ถ้าทำงานใหนก็ไม่นิยมย้ายงาน ผมเคยถามว่าทำไม ไม่คิดเหมือนคนไทยชอบย้ายงานบ่อยๆ ผมได้คำตอบว่า ประเทศ เขานั้นเทคโนโลยีต่างๆเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คนที่จบใหม่ย่อมมีความรู้ใหม่มากกว่าคนที่จบนานแล้ว ดังนั้นการเปลี่ยนงานจึงไม่จำเป็น...มีอีกหลายอย่างเกียวกับ ทฤษฏีแนวคิด การบริหารแบบคนญีปุ่น..

..ขอบคุณครับ ..ไมตรี แวงวรรณ..นศ.รัฐศาสตร์ มศธ..

นายประถมพร นำมีเงิน

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ที่เคารพรักครับ

กระผมสนใจบทความและเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีxและทฤษฎีyเป็นอย่างมาก

อ่านบทความแล้วทำให้กระผมสนใจเป็นอย่างมาก

น.ส. ชลิตา ทับทิมแดง

ตอนนี้กำลังทำวิจัยเรื่องพฤติกรรมมนุดอยู่แต่ไม่ค่ยใจ อาจารยืให้ส่งรายงานด่วนขอให้ช่วยแสดงความคิดเห็น ขอแบบด่วนนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ผมหาทฤษฎีz มาหลายครั้งแล้วไม่เจอสักที่ ขอผู้ที่มีความรู้ช่วยแนะนำผมหน่อยคับ

ขอบคุณคับ

สวัสดีคะ อาจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก

คือตอนนี้หนูต้องทำรายงานส่งอาจารย์วันเสาร์นี้แล้วคะ หนูได้ทำเรื่องทฤษฏีของอับราฮัม มาสโล และ ดักลาส แมคเกรเกอร์ และข้อขัดแย้งของทฤษฏีทั้สองด้วยคะ หนูหาข้อขักแย้งไม่เจอจริงๆคะ อาจารย์ช่วยหน่อยนะคะ ตอบกลับที่ [email protected] คะ ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งคะ

สวัดีครับครูครับ

                   แทบจะไม่มีโอกาสได้แสดง  ความรู้ทีมีได้เลย  ....ถ้าไม่มีครู

รูป ปริมาณ ของ คติ ในมิติ  คือ จินตนาการ และ กรอบ ของ  รูป แบบ  มิติ ( รูป แบบ )

กการแทน และ การสร้าง  รูป  แบบ ในาการอธิบาย  หลักการ หรือ เนื้อหา ของ เรื่องนั้นๆ  ก็โดยอาศัย  การแสดง แแทน  ของ สัญฯ  ตัวอักษร ( ปรัชญา)  และ สัญฯ ตัวเลข แสดง ลักษณะ ของ  ปริมาณ

ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่ขาดไป  ในการสร้างความเข้าใจ  กับ  สิ่งที่ต้องการศึกษา

ครู ครับ ผมเสียใจมาก  กับ  คนไทนที่หัวใจเป็นทาส

ผมผิดใหมครับ ที่ ไม่ได้เป็น ดร

ผมผิดใหมครับ ที่ดัน เป็น พ.ข.ร  

คนไทยทํากับคนไทยอย่างนี้หรือครับ     ตลาดการศึกษาออนไลน์

เขาทํากันด้านๆอย่างนี้หรือครับ

สุขสบายดีใหมครับท่าน  ดร ( ที่ไม่ได้อะไรมาให้ประเทศ)

มีความสุขดีใหมครับ  คุณ รัชนีย ศรีบุญเที่ยง  นิสิต โครงการช้างเผือก

กราบเรียน อาจารย์ที่เครพและศัธธาอย่างยิ่ง

เดือน ธันวาคม 2549 ผมได้ค้นพบ รูป ปริมาณ ของ คติ ใน มิติ โดย บังเอิญ ขณะที่ผมกําลัง

จะไปขอจดลิขสิทธิ์ ที่สํานักงานพานิชย์จังหวัดพิษณุโลก ณ.พระอุโบสถ หลวงพ่อพระพุทธชินราช

การค้นพบ ในครั้งนั้น ทําให้ผมพบว่า ความจริงแล้ว วิชา คณิตฯ ที่เราเคยเชื่อกันว่า มีลักษณะ ทางการเรียนเป็น รูปแบบ ของ

นามธรรม ทางปริมาณ แต่โดยแท้จริงแล้ว เราเรียนรู้เกี่ยวกับ ปริมาณ ที่มี รูปลักษณ์ เป็น รูปธรรม ทางปริมาณ เพราะ ปริมาณ

(จานวน) ที่เรานํามาศึกษา นั้น มีที่มา จาก การนับหรือการวัดแล้วนับ หรือ/และ ผสมกัน ของ ที่มา จาก การนับ-การวัดแล้วนับ

หาค่า ปริมาณ จริง จากข้อมูล ที่เราต้องการเรียนรู้ และ ได้นํามาสร้าง มิติ ของ เนื้อหา ของ เรื่องนั้นๆ โดยผ่านการสแดงแทน ด้วย

การแทน ของ สัญลักษณ์ ต่างๆ ทางทฤษฏี ทางจํานวน(ปริมาณ)

นัยอีกนัยหนึ่ง ของ ไอสไตน์ คือ การบอก ปริมาณ ของ คติ (การบอกปริมาณจริงบนเส้นกราฟ(หรือเส้นบอกปริมาณจริง

แบบคติ) ของ ปริมาณ ทั้งแบบ มีความสัมพันธ์ และ ไม่มีความสัสพันธ์

กล่าวได้ว่า ไอสไตน์ เกือบพบ รูป ปริมาณ ของ คติ

ที่มี รูป แสดงได้ดังนี้คือ เมื่อ a=b และ b=c แล้ว ดังนั้น a=c

a

___________

b

___________

c

____________

กรายขอบคุณอาจารย์ด้วยความเครพ-ศัธธา อย่างยิ่งครับ

ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่เปิดโอกาสให้มีเวทีของการแสดงได้ซึ่ง ความคิด

อาจารย์ครับ ผมกล่าวว่า ไอสไตน์ ท่านเข้ามาพบ รูป ปริมาณ ของ คติ ที่มีความต่อเนื่อง จาก ทฤษฏีบท ของ ครู

ปิทาโกรัส ใน ความสัมพันธ์ ที่ อัศจรรย์ ของ ความยาวรอบรูป ของ สามเหลี่ยมมุมฉาก ที่มีรูปแบบ ไม่ต่าง จาก

กรณี ความสัมพันธ์ ของ ความยาวของเส้นรอบรูปวงกลม กับ เส้นผ่านจุดศูนย์กลาง อันเป็นที่มา ของ ความเป็น เอกลักษณ์

ของ ค่า พาย ส่วนที่ผมกล่าวว่า ท่านไอสไตน์ เข้ามาพบ รูป ปริมาณ ของ คติ ใน มิติ ( เฉพาะ ส่วนที่สัมพันธ์กัน ของ ปริมาณ

ที่กล่าวถึง) เพราะว่า ไอสไตน์ ท่านค้นพบ วิธีการ นํา ปริมาณ ของ คติ ( ความจริง เป็น ปริมาณจริง แต่นํามาบอก ความสัมพันธ์

ของปริมาณ ใน แบบของคติ (นามธรรม ทางปริมาณ) คือ การค้นพบ เส้นบอกปริมาณ ของ คติ คือ เส้นบอกปริมาณ x กับ y

และ z

ผมอาจกล่าวว่า นั่น คือ การค้นพบ ทฤษฏี สัมพันธ์ภาพ ทางปริมาณ ที่แสดงได้ดังนี้ครับ

รูปแบบ ของ มิติ ใน คติ มีดังนี้ครับ

เมื่อ a = b และ b = c ดังนั้น a = c

ดัง รูป ของ ปริมาณ อขง คติ ประกอบแสดงได้ดังนี้

a __________ หน่วย

b ___________ หน่วย

c ___________ หน่วย

หรือเมื่อเราต้องการสร้างความเข้าใจให้กับเด็กๆ ของ เราๆ ก็ นํา เรื่องของเศษส่วน มานําเสนอ คือ

เมื่อทํากาแบ่งปริมาณทั้ง 3 แล้ว เราจะได้ว่า

1/2 = 2/4 และ 2/4 = 3/6 ดังนั้น 1/2 = 3/6

แต่ 1/2 ไม่เท่ากับ 0.5 ครับ

กราบขอบคุณอาจารย์ และขอคุณพระคุ้มครองรักษา...ครูครับ

ขอบคุณที่ให้ความรู้เพื่อนำไปสอบครับ

สวัดีครับอาจารย์-ครูทุกๆท่าน

ความจริงแล้วผมได้ทําแนวของการศึกษาเชิงปริมาณไว้พอสมควรแล้วและก็ต้องการเผยแพร่และทําธรุกิจเพื่อนํารายได้จากการสร้างผลงานนี้ได้นํามาใช้ในส่วนที่จําเป็นต่อสังคมโดยผมก็ไม่ได้จํากัดประเทศใดๆแต่จํากัดที่ความต้องการของสังคมเช่นสร้างสถานพยาบาล-ช่วยเหลือคนพิการฯอ่านๆดูแล้วเหมือนๆผมจะเพ้อไปแต่ถ้าผมได้จัดประชุมวิชาการแล้วก็จะเข้าใจผมดีครับ

ตอนนี้หลังจากได้ไปติดต่อสอบถามข้อมูลจากสภาวิจัยแห่งชาติแล้วผมก็กําลังเก็บรวบรวมข้อมูลในการเสนอเข้าประชุมครับ

กราบเรียนอาจารย์ที่เครพและนับถืออย่างยิ่ง

บังเอิญผมได้หนังสือเกี่ยวกับคณิตฯเป็นการอธิบายความหมายของภาษา(คําศัพย์)ของวิชาคณิตฯซึ่งผมอ่านแล้วคิดว่าดีครับผมจึงนําบอกอาจารย์(ไม่ทราบว่านํามะพร้าวมาขายถึงสวนเลยหรือเป่ลาครับ)

เป็นการนําเสนอและแนะนําการใช้เครื่องหมาย + ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้วก็ไม่ค่อยจะสนใจกันมากนักแต่ที่เขาเสนอผมว่าน่าสนใจมากครับคือเขาเขียนว่า การบวกนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นการเพิ่มเสมอไป เช่น 5 + (-3) = 2 และ 2 + 0 = 2

ผมขอจบแค่นี้ก่อนนะครับคุณครูวันหน้าผมจะเข้ามาใหม่ครับครู

ด้วยความเครพและนับถืออย่างยิ่ง

กราบเรียนอาจารย์ที่เครพและนับถืออย่างยิ่ง

อาจารย์สืบเนื่องจาก การนําเสนอเกี่่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย + ในทางทฤษฏีการทางจํานวนผมได้อ่านหนังสือของประเทศเกาหลีเขาเสนอแนวทางเพิ่มมาอีกแนวทางหนึ่งคือ เมื่อ + ด้วย 0 แล้ว จํานวน(ปริมาณ)นั้นจะมีค่าคงเดิมผมจึงขอเสนอแนวทางในการให้นิยามจํ่กัดเกกี่ยวกับ สัญลักษณ์ ของ เครื่องหมาย + ดังนี้ครับ

เมื่อใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย + แล้วเราจะได้ค่าของจํานวน(ปริมาณ)ได้ 3 กรณ๊คือ

1 เพิ่มขึ้น

a + b = c

2 + 3 = 5

2 คงที่

a + b = a

2 + 0 = 2

3 ลดลง

a + b = c

2 + -2 = 0

ผมต้องรบกวนหาข้อเสนอแนะคําสอนจากอาจารย์ด้วยครับว่าจะสร้างแนวรูป ของ มิติ ใน กรณีขององค์ความรู้การนําใช้เครื่องหมาย + เช่นนี้จะได้ใหมครับ

ขอแสดงความเครพและนับถืออย่างยิ่ง

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ได้

ถ้าพูดถึงทฤษฎี Z จะนึกถึงของ Ouchi ซึ่งเป็นที่ยอมรับกว้างขวาง

แต่ยังมี ทฤษฎี Z โดย Maslow ซึ่งเป็นการต่อยอด ทฤษฎี Y ของ McGregor มาอีก ถ้าอาจารย์มีเวลา

รบกวนวิเคราะห์ให้ความเห็นของอาจารย์ด้วยนะครับ

http://www.maslow.org/sub/theo... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท