รายงานผลการพัฒนาทักษะการอ่าน ภาษาไทย ป.1


วิจัยในชั้นเรียน

หัวข้อวิจัย รายงานผลการพัฒนาทักษะการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เรื่อง การอ่านแจกลูกสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนบ้านสนามสามัคคี สโมสรโรตารี่ 2 อำเภอขุขันธ์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึก

ผู้วิจัย นางสมคิด มงคลปีที่วิจัย 16 พฤษภาคม - 31 ธันวาคม 2550

 

บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านแจกลูกสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสนามสามัคคี สโมสรโรตารี่ 2 อำเภอขุขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2550 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึก

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านแจกลูกสะกดคำ ของเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรง1เรียนบ้านสนามสามัคคี สโมสรโรตารี่ 2 อำเภอขุขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2550 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึก

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านแจกลูกสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสนามสามัคคี สโมสรโรตารี่ 2 อำเภอขุขันธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 หลังเรียนโดยใช้ชุดฝึก

วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว มีการสอบก่อนและหลังการทดลอง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสนามสามัคคี สโมสรโรตารี่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รายงานสภาพปัญหาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 1/2550 ชุดฝึกทักษะการอ่านวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านแจกลูกสะกดคำ จำนวน 40 เรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้ เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสำหรับใช้ในการวิจัย จำนวน 40 แผน แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน จำนวน 40 ข้อ ใช้ทดสอบนักเรียนก่อนและหลังการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการพัฒนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา และเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึก
การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาทักษะการอ่านวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านแจกลูกสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โดยใช้ชุดฝึกของนักเรียนก่อนและหลังเรียน ใช้วิธีการคำนวณหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกของนักเรียนก่อนและหลังการพัฒนา ใช้วิธีการคำนวณหาค่าที (t-test) แบบมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว การวัดความพึงพอใจในการใช้ชุดฝึก ใช้วิธีคำนวณหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows Version 11.5 วิเคราะห์ข้อมูล
สรุปผลการวิจัย
1.
ผลการพัฒนาทักษะการอ่านวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านแจกลูกสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 โรงเรียนบ้านสนามสามัคคี สโมสรโรตารี่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยใช้ชุดฝึก ก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 21.32 ของคะแนนเต็ม ซึ่งอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ และหลังการพัฒนานักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ93.41ของคะแนนเต็ม ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
2.
ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการอ่านวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านแจกลูกสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสนามสามัคคี สโมสรโรตารี่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยใช้ชุดฝึก ก่อนและหลังการพัฒนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3.
ผลการศึกษาความพึงพอใจการพัฒนาทักษะการอ่านวิชาภาษาไทย ภาษาไทย เรื่องการอ่านแจกลูกสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสนามสามัคคี สโมสรโรตารี่ 2 ปีการศึกษา 2550 โดยใช้ชุดฝึก ภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 5, S = 0) และในรายข้อพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ คือ เนื้อหาสาระน่าสนใจ กิจกรรมเหมาะสมกับเนื้อหา การร่วมกิจกรรม การเอาใจใส่นักเรียนของครูผู้สอน การใช้สื่อประกอบการเรียน ลักษณะชุดฝึกมีความเหมาะสม ( = 5, 5 , 5, 5, 5, 5, และ S = 0, 0, 0, 0, 0, 0, )


ปัญหาและข้อเสนอแนะ
. ปัญหา เรียงลำดับได้ดังนี้
1.
ครูขาดความพร้อม ด้านสื่อ/อุปกรณ์และงบประมาณ
2.
ความขาดแคลนด้านสื่ออุปกรณ์ของนักเรียน ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
. ข้อเสนอแนะ เรียงลำดับได้ดังนี้
1.
ควรจัดให้มีการพัฒนาครูอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะทำให้ครูได้รับความรู้ ประสบการณ์ในการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
2.
ควรจัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่นแบบฝึกการปฏิบัติ คู่มือการเรียนการสอน ตลอดจนสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ
3.
ควรสนับสนุนให้ครูได้มีโอกาสศึกษางานวิจัยในชั้นเรียนที่หลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอด

คำสำคัญ (Tags): #ศน.ศก.3
หมายเลขบันทึก: 155792เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2007 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท