ถอดบทเรียนบันทึก"ดังลมหายใจ" ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบเปรียบเทียบความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ที่ได้รับ


ประเทศของเรามีความมั่นคงเป็นไทยมาได้จนทุกวันนี้เพราะเรามีสถาบันครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น สมาชิกครอบครัวมีความรับผิดชอบร่วมกัน

ถอดบทเรียน ความรู้กลุ่ม"ดังลมหายใจ" บันทึกที่ 9 สุขภาวะในองค์รวมแห่งชีวิต

ของของ ผศ.ดร.วิรัตน์  คำศรีจันทร์ :

 http://gotoknow.org/blog/wirat-kamsrichan/291923

               

ภาพ:ดร.วิรัตน์  คำศรีจันทร์

 การอ่านเรื่องเล่าของอดีตที่ผ่านมาทำให้เกิดการผสมผสานความรู้เดิม และความรู้ใหม่ขึ้นมา ด้วยการเปรียบเทียบความคิด ข้อปฏิบัติ จากเหตุการณ์ หรือความรู้เดิม กับความรู้ ใหม่ที่ได้ ในบันทึกได้กล่าวถึงกบฏบวรเดช ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปีพศ.2475 จอมพลป.พิบูลสงคราม ผู้นำชาตินิยม เป็นแกนนำในการทำรัฐประหารและปราบกบฏ ทำให้นึกถึงยุคผู้นำพาไปแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยมองเห็นภาพชีวิตประจำวัน วัฒนาธรรมไทยในสมัยผู้นำพาไป นึกถึงภาพที่โกลาหลของผู้หญิงไทยที่คุ้นเคยกับการนุ่งผ้าโจงมากกว่า แต่แล้วเมื่อมีแถลงการณ์ประกาศให้หันมานุ่งกระโปรงก็ยังสามารถปรับตัวกลายเป็นแหม่มสวมกระโปรงตามผู้นำไปได้ไม่ยาก อีกทั้งห้ามกินหมากซึ่งคนไทยยุคก่อนนั้นพากันเคี้ยวหมากทั้งผู้หญิงผู้ชาย ให้หันมาเคี้ยวหมากฝรั่งแทน เคี้ยวหมาก ให้สวมหมวกก่อนออกนอกบ้าน บันทึกนี้จึงทำให้ได้ทบทวนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของไทยในสมัยที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อจอมพลป.พิบูลสงครามอีกครั้ง และทำให้รู้สึกภูมิใจไปด้วยกับการให้ความสำคัญภาษาไทย ถ้าจะต้องใช้ภาษาชาตอื่นมาเขียนป้ายก็ให้ใช้ภาษาไทยขึ้นก่อน ภาษาชาติอื่น แม้ว่าการนำคำว่า”สวัสดี”เมื่อพบกัน และพูด”ราตรีสวัสดิ์” เมื่อจากกันมาใช้แรกๆคงจะกระดากพิลึก แต่เมื่อนานไปๆ ก็กลายเป็นภาษาพูดที่นิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้วัฒนธรรมการแต่งกายมีการปรับเปลี่ยนจากสวมรองเท้าเฉพาะเจ้านายชั้นสูง และกลุ่มข้าราชการ  ก็อนุญาตให้ประชาชนสวมรองเท้า สวมหมวกก่อนออกจากบ้าน  กินผัดไทย ข้าวผัด นับว่าเป็นรัฐนิยมที่สั่งการอะไรออกมาประชาชนต้องทำตามทันที 

ความเจริญที่ยังไปไม่ถึงกล่าวในบันทึกนี้ ”แม่ รวมทั้งคนรุ่นแม่และก่อนหน้านั้น จึงมีไม่น้อยที่ไม่รู้วันเดือนปีเกิดของตนเองเลย เพราะการตั้งชื่อ แจ้งเกิด ออกสูติบัตร และแจ้งการตาย เพิ่งจะเริ่มทำอย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงหลังปี ๒๕๐๐ มาแล้ว ก่อนหน้านั้นชาวบ้านใช้จำเอาแล้วก็ให้ผู้ใหญ่หรือคุณครูไปแจ้งอำเภอให้ ซึ่งบางทีก็รวมกัน ๔-๕ ปีจึงจะไปทำให้กันสักครั้งหนึ่ง ซึ่งก็จำสลับกันบ้าง ลืมบ้าง จำไม่ได้เลยช่วยกันคิดขึ้นเองเสียใหม่กับข้าราชการบนอำเภอนั่นเลยบ้าง”

ตรงจุดนี้ฉันอ่านไปก็ถึงญาติที่เกิดพร้อมกัน แต่เนื่องจากเขาเกิดที่ปากน้ำโพ  พ่อแม่ก็เพิ่งไปแจ้งเกิดภายหลังที่ย้ายกลับมาอยู่กรุงเทพฯ เขาเลยมีอายุน้อยกว่าฉันถึง 4 ปี เป็นเรื่องล้อกันจนทุกวันนี้ เพราะกว่าเขาจะเรียนป.1 ฉันก็ขึ้นป.4แล้ว

สมัยนั้นประชากรไทยยังน้อย  รัฐส่งเสริมให้มีลูกมาก  ปี2499-2500 ธนาคารโลก ได้ส่งคนมาสำรวจภาวะเศรษฐกิจของไทย และได้สรุปผลการสำรวจมาว่าถ้าประชากรไทย เพิ่มมากขึ้นอย่างนี้จะเกิดปัญหาด้านที่เรียน อาหาร ที่อยู่ไม่พอ สาธารณูปโภคไม่พอ มีการแจกถุงอนามัยจำนวนมาก แต่ประชาชนก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องอับอายที่จะไปรับจากทางราชการ

    สำหรับเรื่องการคลอดโดยหมอตำแยในบันทึกของท่านอ.ดร.วิรัตน์  คำศรีจันทร์

ฉันไม่เคยเห็นนอกจากแม่เล่าให้ฟังเพราะแม่มีพ่อทำคลอดให้ จนมาถึงน้องๆจึงมีพยาบาลมาช่วยพ่อทำคลอด ฉันจึงไม่เคยเห็นแม่อยู่ไฟการคลอดโดยหมอตำแยนั้นน่าหวาดเสียวสำหรับฉัน และออกจะกลัวด้วยซ้ำ

การทำคลอดจะใช้ไม้ไผ่รวกที่คม ตัดสายสะดือ และอาบน้ำล้างคราบไขออกจากตัวเด็กให้นอนในกระด้ง คนดูแลจะเป็นญาติผู้ใหญ่หากมีพี่สาวคนโตที่พอจะช่วยแม่ได้ก็จะได้ช่วย นับเป็นวิถีแห่งความผูกพัน สร้างสายใยรักในครอบครัวที่สัมผัสได้ด้วยกายและจิตวิญญาณ

 เรื่องการอยู่ไฟ คนในเมืองจะกินยาขับน้ำคาวปลา แต่บ้านเรือนที่ห่างไกลไม่ต้องอาบน้ำนอนบนซีกไม้ที่พ่อบ้าน ก่อฟืนไฟบนแผ่นสังกะสี ให้ความร้อนเพื่อการอยู่ไฟ  แม้การเช็ดตัวเช็ดใช้ไพล ข่า ใบมะขามต้มในหม้อดิน รวมทั้งนำมาดื่มด้วย

 การขับถ่ายของหญิงคลอดบุตรใหม่นั้น อ่านแล้วรูสึกเข้าใจว่าความเชื่อต่อผีกระสือที่ชอบมากินอาจมนั้นทำให้เกิดภูมิปัญญาในการแก้ปัญญา ละจับกระสือขึ้นแม้ว่า ฉันจะเคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก็ไม่เคยเห็นเช่นกัน

กิจกรรมสุขภาพแบบพึ่งตนเอง เป็นความฉลาดที่จะทำให้คนในสังคมนั้นมีความสุขใจ

“คือการต้อนรับจิตวิญญาณและผูกแขนรับขวัญ อีกทั้งการเตรียมลงอู่ก็น่าทึ่งนะคะ” หลังการเกิด ๓ วัน พ่อก็จะเตรียมอู่มาแขวน แล้วก็เอากล้วยน้ำว้าสุก ๑ ลูก ข้าวสวยปั้นเล็กๆ ๑ ก้อนวางลงในอู่เพื่อมอบเป็นของต้อนรับลูก จากนั้น ยายหรือญาติคนหนึ่งก็จะยกกระด้งขึ้นหมุนช้าๆ พร้อมกับร้องว่า “ลูกของใครหนอ หากเป็นลูกสู ก็ให้มารับเอาไปเถิด หลังจากนี้แล้ว ก็เป็นลูกหลานของกู” ร้องซ้ำๆและวนกระด้ง ๓ รอบแล้วก็วางลง จากนั้น ก็จะอุ้มลูกแม่ไปวางลงในอู่ให้พ่อและญาติๆเริ่มไกวเปล” เป็นความผูกพันความรัก ความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้องที่มีให้กันโดยธรรมชาติ แสดงให้เห็ฯถึงจิตใจอันดีงามของคนสมัยก่อน

ในเรื่องอาหารหญิงหลังคลอด คือกินข้าวต้มกับเกลือหรือไม่ก็ปลาเค็ม ทำให้คิดไปว่าคนสมัยก่อนคงกลัวแสลงค่ะ

ประเทศของเรามีความมั่นคงเป็นไทยมาได้จนทุกวันนี้เพราะเรามีสถาบันครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น สมาชิกครอบครัวมีความรับผิดชอบร่วมกัน

มีกิจกรรมครอบครัวร่วมกัน มีความเคารพ และให้เกียรติกัน มีคุณธรรมประจำใจ อันเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาด้วยความเต็มใจและยึดมั่นศรัทธา เทิดทูนองค์พระประมุขของชาติเรา

หมายเลขบันทึก: 434107เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2011 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

มาติดตามอ่านการถอดบทเรียนของพี่ต้อยค่ะ  อ่านแล้วทำให้ต่อยอดกับความคิดความอ่าน ประสบการณ์ของเจ้าของบันทึกค่ะ

นำมาแลกค่ะ  อันนี้แบบเห่ย ๆ ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/krukim/434012

  • ชวนออกไปเห็นเรื่องราวต่างๆหลายมิติดีจังเลยครับ สนุกดีครับ
  • เมื่อก่อนนี้เด็กๆและครอบครัวไทยต้องปลูกผักสวนครัวด้วยครับ
  • เป็นยุคที่การปลูกผักสวนครัวและมีความนิยมไทย ก็เป็นการแสดงความรักชาติอย่างหนึ่ง

Ico48

ขอบคุณค่ะน้องครูคิม

พี่ห่างการอ่านบันทึกดีๆไปหลายบันทึก

ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์และให้ความบันเทิง

กับการอ่านที่ให้ทั้งข้อคิด แนวทางการแก้ปัญหา

มุมคิดที่ชาญฉลาดที่ละเปิดเผยอย่างองอาจ

งานสกัดความรู้นี้อยากร่วมกิจกรรมแต่เนื่องจากภารกิจสังคม

ในช่วงนั้นหาช่องว่างให้ได้อย่างอย่างลุ่มลึกได้ยาก

จึงได้อ่านผ่านไปๆ ด้วยหวังว่ามีเวลาเมื่อไหร่

ก็จะกลับมาเก็บเล็กผสมน้อยตามศักยภาพของตัวเอง

พอมีโอกาสก็กลับมาอ่านแต่ก็พลาดที่ตีความผิดไป

ต้องขออภัยด้วยค่ะ

Ico48

เรียนท่านอ.วิรัตน์

คนในสมัยนั้นกลัวผีกระสือมากอีกทั้งยังมีผีจีนที่พากันกระโดดหยองๆไปยังป่าช้า ทั้งป่าช้าในสมัยนั้นก็ดูออกจะมากด้วย ส่วนผีกระสือนี่ร้ายมาก(ตามคำบอกเล่า) และที่เจอหลักฐานค่ะ เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจากแม่คลอดน้องสาว พี่ชายซักผ้าทั้งหมดให้แม่และเอาไปตากไว้หลังบ้าน สมัยก่อนราวตากผ้าจะอยู่หลังบ้านไม่มีใครตากผ้าหน้าบ้านให้คนอื่นเห็น และลืมเก็บผ้าถุงของแม่ เช้าขึ้นมาแม่ถามหาผ้าถุงพี่ก็ไปดึงจากราวผ้ามา

ปรากฏว่าแม่ตกใจมากที่ผ้านุ่งของแม่ และเสื้อของน้องมีรอยเหมือนคนมาเช็ดปากเลอะเทอะไปหมด แม่กับพ่อจึงปรึกษากัน มีชาวบ้านมากระซิบให้พี่ชายตำพริกครกใหญ่ แล้วเอาผ้าที่เปื้อนแช่ พอตะวันตกดินก็ให้เอาไปตากที่เดิม พวกเราแอบเฝ้ามองผีกระสือตามรูฝาบ้านแต่ก็ไม่เห็นมีดวงไฟอะไรมาที่บริเวณราวผ้าเลย รุ่งเช้าสว่างแล้วเพื่อนบ้านก็มาที่บ้าน แม่ให้พี่ชายไปเก็บผ้ามาดูก็ปรากฏร่องรอยยับได้ยินเพื่อนบ้านพูดว่ามันมาหาอาจมกิน แล้วเที่ยวเช็ดปาก ต่อไปห้ามตากผ้าในตอนเย็น และให้สังเกตหญิงสาวในต.ด้วยว่าใครปากพอง และไม่ออกมานอกบ้านบ้าง ทำให้เห็นความคิดของคนรุ่นก่อนกับวิธีการจับผิดใครคือผีกระสือ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่Ico48 krutoiting

รบกวนขอข้อมูลเพิ่มเติมว่า พี่Ico48 krutoitingเขียนบันทึกเพื่อเป็นข้อมูลในประเด็นใดของกลุ่มค่ะ หรือว่าเป็นประเด็นใหม่เลย รบกวนพี่แจ้งด้วยนะคะ หนูจะได้ update บันทึกเพิ่มเติมในบันทึกกิจกรรมน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ ^_^

 

Ico48

ขอบคุณค่ะ

การอ่านบันทึกของพี่ในg2kทำให้พี่ได้ความรู้เพิ่มขึ้น และยังสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิม ประสบการณ์เดิมที่พี่ไม่เคยคิดว่าจะเป็นประโยชน์ แต่เมื่ออ่านไปเขียนไปจึงสัมผัสว่ามันมีคุณค่าไม่มากก็น้อย สำหรับบันึกนี้ขอให้เป็นประเด็นเดิมนะคะ หรือว่ามันเสนอความคิดต่างมุมเข้าไปแล้วขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะที่ชวนมาอ่านมุมมองดีๆในยุคสมัยก่อนที่เห็นธรรมชาติของความเป็นอยู่ที่น่าสนใจจริงๆ..ขอต้อนรับเข้าสู่การถอดบทเรียนกลุ่ม "ดังลมหายใจ" ค่ะ

สวัสดีค่ะ

        มาชื่นชมและให้กำลังใจค่ะ  ครูต้อยติ่งถอดบทเรียนได้ดีมากอ่านแล้วเข้า

ใจถึงเหตุการณ์ในสมัยก่อนได้ลึกจริงๆค่ะ 

        เรื่องผีกะสือที่บ้านครูดาหลาก็มีความเชื่อเช่นนี้ตอนเด็กๆมักได้ยินยายเล่า

เรื่องคล้ายกันนี้ให้ฟังค่ะ

Ico48

ขอบคุณพี่ใหญ่มากค่ะ

การถอดบทเรียนของพี่ใหญ่

ช่วยให้ความกระจ่างมากค่ะ

เย้!

Ico48KRUDALA

ขอบคุณค่ะที่มาช่วยพี่ถอดบทเรียน

บังเอิญสิ่งที่ท่านอ.ดร.วิรัตน์กล่าวไว้ในบันทึกดังลมหายใจ

พี่มีอดีตบรรยากาศที่ผ่านมาในเวลานั้นพอดี

และน่าจะเป็นคุณแม่ยุคเดียวกันด้วยค่ะ

ในสมัยที่แม่คลอดน้อง

พี่ยังได้เห็น และจับต้องชุอยู่ไฟของแม่

เป็นอุปกรณ์อยู่ไฟในสมัยนั้นที่สามารถนำติดตัวผู้อยู่ไฟได้ค่ะ

มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายผืนผ้า

เมื่อมันอยู่บนเอวผู้ใช้จะดูคล้ายสายคาดเอวลดน้ำหนักสมัยนี้

ข้างในบรรจุถ่านอะไรที่พี่เองจำไม่ได้ ต้องกลับไปถามให้กระจ่างจากพี่สาว

รู้แต่ว่ามันมีความร้อน เวลาใช้ก็เอาผ้าขนหนูวางที่หน้าท้องก่อน

แล้วจึงวางสายชุนี้แล้วปิดทับด้วยผ้าคาดอีกผืนหนึ่งค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ครูต้อย

  • แวะมาติดตาม การถอดบทเรียนของพี่ครูค่ะ
  • ไม่ได้ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ขอเป็นผู้เก็บเกี่ยวไว้เป็นต้นทุนทางปัญญาสำหรับตัวเองนะคะ
  • ขอบพระคุณค่ะ พี่ครูสบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่ครูต้อย

ประเด็นตามหัวข้อบันทึกเลยใช่ไหมคะ "การเรียนรู้แบบเปรียบเทียบความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ที่ได้รับ" หนูจะเพิ่มลงไปในบันทึกรวบรวมประเด็นค่ะ

รบกวนพี่ครูต้อยยืนยันอีกครั้งนะคะ

ขอบคุณค่ะ ^_^

Ico48

ขอบคุณน้องอิงจันทร์มากค่ะ

ร่วมเพิ่มทุนปัญญา อย่างมีความสุขค่ะ

Ico48

ขอบคุณค่ะน้องมะปรางค์

ตามประเด็นที่น้องว่าเลยค่ะ

คาดว่าพรุ่งนี้จะได้ส่งการบ้านอีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท