สุนทรียเสวนา : การจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้


”การรู้จักรับฟังคนอื่น” เป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น นับตั้งแต่ในบ้าน สามี-ภรรยา จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันอย่างราบรื่นผาสุกหากรู้จักรับฟังซึ่งกันและกัน ในที่ทำงาน เจ้านายรับฟังความคิดเห็นลูกน้อง ก็จะได้งานที่มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนร่วมงานรับฟังซึ่งกันและกัน ก็จะเป็นทีมเวิร์กที่ดี

กิจกรรมสุนทรียเสวนา

 

วิทยากร นายแพทย์ จิตเจริญ ไชยาคำ (หมอJJ)

สรุปสิ่งที่ได้จากกิจกรรมได้ดังนี้

 

แนวคิดที่สำคัญ เพื่อใช้ในการทำงาน ตลอดจน เพิ่มแนวคิดในการทำงานเพื่ออย่างเป็นสุข และมีประสิทธิภาพ

 

- วิทยากรให้ ผู้เข้าร่วม มองต่างมุม ต่างคนต่างความคิด แต่ละคนย่อมมีความคิดที่แตกต่างกัน และเมื่ออยู่รวมกันจะสามารถมาอยู่รวมกันได้อย่างไร บางสังคม บางหน่วยงาน แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า (ดูภาพแสดงความคิดเห็น) โดยแต่ละคนจะเห็นแล้วตีความภาพได้ไม่เหมือนกัน ซึ่งไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด เป็นแค่เพียงมุมมอง โดยในกิจกรรมนี้แสดงให้เห็นว่า ทุกคนนั้นมีความคิดเห็น หรือมุมมองเป็นของตนเอง เสมอ และในบางสถานการณ์คำตอบที่ถูกต้องก็ไม่มีเสมอไป และการที่แต่ละคนมีความเห็นไม่ตรงกัน ไม่จำเป็นที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง เสมอไป

- วิทยากร ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จัดกลุ่ม โดยที่ในแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกกลุ่มที่มีอายุน้อย (น้องใหม่) รวมอยู่ด้วย โดยวิทยากรตั้งกติกาของกิจกรรมนี้คือ มอบหมายให้สมาชิกกลุ่มที่มีอายุน้อยเป็นหัวหน้ากลุ่ม ซึ่งหมายความว่าผู้ที่จะต้องพูดมากที่สุด โดยการให้น้องใหม่ วิทยากรได้ตั้งคำถามง่ายๆ แต่คำตอบหลากหลาย ให้กลุ่มช่วยกันขบคิดหลายคำถาม เป็นลักษณะคำถามปลายเปิด เช่น KM คืออะไร? กิจกรรมนี้มีประโยชน์อย่างไร? มีความเห็นว่าชีวิตที่มีความสุขเป็นอย่างไร? เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มจะต้องช่วยกันคิดหาคำตอบ โดยแต่ละข้อสามารถตอบได้เพียงคำตอบเดียว โดยที่น้องใหม่ เป็นหัวหน้ากลุ่ม

จุดประสงค์ของกิจกรรมนี้มิได้ ต้องการหาคำตอบว่า KM คืออะไร แต่เป็นการ เปิดโอกาสให้น้องใหม่ในองค์กรได้มีโอกาสพูดหรือเสนอความคิดเห็น เนื่องจากบางครั้งผู้ใหญ่มักถือว่าตนเองมีประสบการณ์มากกว่า เลือกจะไม่รับฟังความคิดเห็นของน้องใหม่เพราะยังด้วยประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม กิจกรรมนี้แสดงให้เห็นว่า ความคิดเห็นจากผู้อื่นมีความสำคัญเสมอ ไม่ว่าจะจากใครก็ตาม

จากกิจกรรมนี้ แม้จะสรุปได้ว่า ผู้ใหญ่ควรที่จะรับฟังผู้น้อย หรือเปิดโอกาสเคารพความคิดของผู้อื่นแม้ว่าจะมีระดับที่น้อยกว่าตนเอง น้องใหม่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมก็ได้เห็นว่า บางครั้งหากตนเองมีความคิดที่น่าสนใจ หรือจะช่วยพัฒนางานได้ ก็ควรที่จะเสนอให้ผู้ใหญ่ทราบ โดยบางครั้งผู้ใหญ่อาจจะไม่นำไปปรับใช้ตามที่เสนอ แต่อย่างน้อยการเสนอความคิดเห็นของตนเองนั้นก็ความประเป็นประสงค์ที่ดี ซึ่งอาจจะได้รับคำแนะนำหรือคำสอนที่ดีจากผู้ใหญ่ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า นำไปสู่การพัฒนาตนเอง

 

วิทยากรได้ให้แง่คิดสรุปดังนี้

การรู้จักรับฟังคนอื่นเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น นับตั้งแต่ในบ้าน สามี-ภรรยา จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันอย่างราบรื่นผาสุกหากรู้จักรับฟังซึ่งกันและกัน ในที่ทำงาน เจ้านายรับฟังความคิดเห็นลูกน้อง ก็จะได้งานที่มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนร่วมงานรับฟังซึ่งกันและกัน ก็จะเป็นทีมเวิร์กที่ดี

11  พย. 2551

 

หมายเลขบันทึก: 263304เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2009 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ น้าอึ่งอ๊อบ

ชอบกิจกรรมแบบนี้จังเลยค่ะ อิอิ

พลอลล่าจ๋า

เก็บเรื่องเล่าไว้นานมาก

วันนี้มีโอกาสนำมาลง

ทยอยลงเรื่อย ๆ

กิจกรรมที่พลอล่าทำน้าก็ติดตามเสมอค่ะ

บางอย่างก็นำมาปรับใช้

ไว้มีโอกาสมาเชียงใหม่ แวะมาคณะเภสัชศาสตร์ บ้างนะคะ

มีกอดอุ่น ๆ และ อิอิอิ

44  จำได้ว่า เมื่อครั้งเป็น "ป้าจิตอาสา" เลี้ยงหลานชายมาตั้งแต่ตัวเท่าฝาหอย...ป้าจะเป็นฝ่ายนั่งฟังหลานชายพูดจ้อๆๆตามประสาเด็ก..จวบจนหลานชายโตเป็นหนุ่มเบญจเพศแล้ว..ป้ายังเป็นผู้ฟังที่ดีอยู่ต่อไปอีก...ทำให้ป้าได้รับรู้พัฒนาการของเด็ก..ตัวจริง.เสียงจริง..จนป้ากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเด็กไปโดยไม่รู้ตัว..แถมด้วยสัมพันธภาพที่แปรเปลี่ยนไปเป็นเพื่อนซี้..คู่หูคู่ฮาต่างวัย.ที่กลมกลืน..มาจนทุกวันนี้ค่ะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท