ชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย ตอนที่ 1


นิยามและความเป็นมา

        ชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะการแบ่งชนกลุ่มน้อยตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ

1. ชนกลุ่มน้อย (Minorities) ในประเทศไทย

2. ชนท้องถิ่นดั้งเดิม (Indigenous peoples) ในประเทศไทย

        ชนกลุ่มน้อย ในประเทศไทย นอกจากความเข้าใจทั่วๆ ไป ก็ได้มีความพยายามในการให้ความหมายของคำว่าชนกลุ่มน้อยไว้ เช่น ให้หมายถึง กลุ่มชนที่อพยพเข้ามาอยู่รวมกันในดินแดนของประเทศไทยโดยกลุ่มชนนั้นยังมีความผูกพันระหว่างกันในด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมและความเป็นอยู่อย่างเดียวกัน แต่แตกต่างกับประชาชนส่วนใหญ่เจ้าของประเทศ และชนกลุ่มนั้น ๆ มีความรู้สึกในด้านจิตใจของตนเองถึงความแตกต่างดังกล่าว

        นอกจากนี้ยังได้หมายถึง กลุ่มชนที่รวมกันอยู่ในดินแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยกลุ่มชนนั้นมีความผูกพันระหว่างกันในด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมและความเป็นอยู่อย่างเดียวกัน แต่แตกต่างกับประชาชนส่วนใหญ่เจ้าของประเทศนั้น ๆ และกลุ่มชนนั้น ๆ มีความรู้สึกในด้านจิตใจของตนเองถึงความแตกต่างกันดังกล่าว แล้วลำพังถ้าชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศต่าง ๆ ประกอบอาชีพและอาศัยอยู่ด้วยความสงบสุขเช่นเดียวกับปวงชนที่มีอิสรภาพและสันติสุข ปัญหาทั้งหลายในเรื่องชนกลุ่มน้อยในแต่ละประเทศคงจะไม่เกิดขึ้น แต่ชนกลุ่มน้อยหาเป็นเช่นนั้นไม่ หลายประเทศในตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียประสบปัญหาชนกลุ่มน้อย ขณะที่กำลังเร่งรัดพัฒนาประเทศอยู่ ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งซึ่งนับได้ว่ามีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย ซึ่งมีทั้งปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อันอาจนำมาสู่ปัญหาใหญ่ ต่อไปในภายหลังได้

        หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในองค์การสหประชาชาติได้พยายามริเริ่มก่อตั้งฐานะของชนกลุ่มน้อย กำหนดองค์ประกอบของความเป็นชนกลุ่มน้อย เช่น ควรจะหมายรวมเฉพาะกลุ่มชนที่ไม่อาจแสดงความเด่นในฐานะเป็นเจ้าของประเทศ และประสงค์จะอนุรักษ์เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียม หรือพฤติกรรมการกระทำที่มีความแตกต่างจากชนกลุ่มใหญ่ ซึ่งก็ยังมีข้อจำกัดมากมาย เช่น องค์ประกอบทางด้านจำนวนของชนกลุ่มน้อยที่เป็นจำนวนประชากรส่วนน้อยกว่าประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ และมีความเป็นอยู่เรียบง่าย รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการผสมกลมกลืนกับชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ

        ความเข้าใจความหมายของคำว่า ชนกลุ่มน้อย ภายในประเทศไทยยังไม่ตรงกับองค์ประกอบของความเป็นชนกลุ่มน้อยหรือชนท้องถิ่นดั้งเดิมขององค์การสหประชาชาติเท่าใดนัก โดยประเทศไทยยอมรับความเป็นชนกลุ่มน้อยในลักษณะที่กว้างขวางกว่านิยามขององค์การสหประชาชาติ แต่ในขณะเดียวกันในองค์กรระหว่างประเทศ ประเทศไทยกลับได้พยายามปฏิเสธการยอมรับว่ามีชนกลุ่มน้อยตามคำนิยามของกฎหมายระหว่างประเทศต่อองค์การสหประชาชาติ ซึ่งแม้จะปฏิเสธเช่นนั้น องค์การสหประชาชาติก็ถือว่าประเทศไทยมีชนกลุ่มน้อย และได้นำประเด็นปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชนกลุ่มน้อยของประเทศไทยมาพิจารณาด้วย ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยต้องมีภาระหน้านที่เกินกว่าตราสารระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกซึ่งได้กำหนดพันธกรณีไว้ หรือในบางครั้งการไม่เข้าใจถึงความหมายของชนท้องถิ่นดั้งเดิมอย่างเพียงพอ ก็ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในสังคมลุกลามยืดเยื้อตลอดมา

        ชนท้องถิ่นดั้งเดิม เป็นกลุ่มชนที่ยังคงลักษณะวัฒนธรรมประเพณีที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม แต่ก็มีบางกลุ่มชนที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมของคนไทยจนกลมกลืนแทบเป็นวัฒนธรรมเดียวกัน เช่น ไทยจีน ไทยมาเลย์ ไทยโซ่ง ฯลฯ  ซึ่งจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์สสามารถแบ่งตามลักษณะของการอาศัยอยู่ในประเทศไทยดังนี้

       1. ญัฮกุ้ร (Nyahkur)

       2. มอเก็น หรือชาวเล (Morken)

       3. ซาไก หรือสินอย เงาะ ชาวป่า (Sakai, Senoi)

       4. ชอง (Chong)

       5. เซมัง หรือเงาะป่า (Semang)

       6. ลัวะ (Lua)

       7. ไทเขิน (Tai Kheun)

       8. มลาบรี หรือผีตองเหลือง (Mlabri , phi tongn luang)

       9. ละว้า

      10. กะเหรี่ยง

      11. ไทยเบิ้ง

      12. ไทยมลายู หรือไทยมาเลย์ หรือไทยมุสลิม

        โดยเหตุที่ชนท้องถิ่มดั้งเดิมที่เป็นไทยมลายู หรือไทยมาเลย์ หรือไทยมุสลิมเป็นชนกล่มน้อยที่มีจำนวนมากในประเทศไทย และปรากฎกรณีความไม่สงบเป็นระยะ ๆ ตลอดมา จนเกิดเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงยิ่งขึ้น จึงควรทราบถึงความเป็นมาของชนท้องถิ่นดั้งเดิมประเภทนี้เพื่อประกอบการวิเคราะห์สิทธิของชนกลุ่มน้อยต่อไป

        ไทยมลายู หรือไทยมาเลย์ หรือไทยมุสลิม ชนกลุ่มกลุ่มนี้เรียกชื่อรวม ๆ ว่าเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ในสี่จังหวัดภาคใต้ อันประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล แทนที่จะเรียกกันเป็นจังหวัดมีสภาพสังคมและวัฒนธรรมบางอย่างแตกต่างไปจากคนไทยในภาคอื่น ๆ เช่น การนับถือศาสนา การแต่งกาย การใช้ภาษาพูด ขนบธรรมเนียมประเพณี และเคยมีอิสระในการปกครองในฐานะประเทศราชมาด้วยกันหรือภายใต้อาณาจักรเดียวกัน

        ทางราชการได้เรียกจังหวัดต่าง ๆ ดังกล่าววว่าสี่จังหวัดภาคใต้เรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2506 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ใช้คำว่า "จังหวัดชายแดนภาคใต้" แทนการเรียกว่า "สี่จังหวัดภาคใต้"

        ชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้นั้นมีความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของตนเองค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "อารยธรรมปัตตานี" หรือารยธรรมอิสลามและเมืองปัตตานี ที่ตกอยู่ในอำนาจของประเทศไทยตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด

        สมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาเขตของไทยยังคงแผ่คลุมแหลมมลายูทั้งหมด เมืองปัตตานียังคงขึ้นกับไทย โดยมีฐานะเป็นเมืองประเทศราช

        สมัยกรุงธนบุรี เมืองปัตตานียังคงอยู่รวมกับกรุงศรีอยุธยาต่อมา จนกระทั้ง กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 เมืองปัตตานีจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ เรื่อยมาตลอดสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งในสมัยนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีตีได้แต่เมืองนครศรีธรรมราชเท่านั้น ไม่ได้เสด็จลงไปปราบหัวเมืองมลายู

        สมัยยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตรงกับพ.ศ. 2328 พระเจ้า อังวะปะดุง ยกกองทัพเข้ามาตีประเทศไทย กองทัพหลวงยกกองทัพลงไปปราบปรามพม่าที่หัวเมืองมลายู เมื่อตีพม่าแตกหนีกลับไปหมดแล้ว จึงได้เลยออกไปยังหัวเมืองแขก คือเมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี เมืองตรังกานู ให้มายอมเป็นเมืองขึ้นดังแต่ก่อน พระยาปัตตานีขัดขืน กองทัพไทยจึงยกไปตี ได้เมืองปัตตานี และทรงได้ตั้งเชื้อสายของเจ้าเมืองปัตตานีเดิมเป็นพระยาปัตตานี เรียกว่า "รายาปัตตานี" มีหน้าที่ ปกครองดูแลเมืองปัตตานี และให้อยู่ในความดูแลของเมืองสงขลาต่อไป

        ปี พ.ศ. 2334 ปัตตานีก่อการกบฏขึ้น จึงได้มีการจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองปัตตานีเสียใหม่ ในปีพ.ศ. 2359  ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลโดยใน พ.ศ. 2444 ได้ตั้งข้อบังคับสำหรับการปกครองดินแดนส่วนนี้ เรียกว่า "กฎข้อบังคับสำหรับปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง ร.ศ. 120"  จนกระทั่ง ปีพ.ศ. 2449 จึงได้ปรับปรุงอาณาเขตหัวเมืองทั้ง 7 ใหม่ และยกขึ้นเป็นมณฑลชื่อว่า "มณฑลปัตตานี" 

โปรดติดตามตอนต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #ชนกลุ่มน้อย
หมายเลขบันทึก: 50822เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2006 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ข้อมูลดีมากๆค่ะและรบกวนขอประวัติของ ชนกลุ่มว้าได้ไหมค่ะรบกวนส่งอีเมล์ที่

[email protected]ขอบคุณมากคะ

ขอประวัติชาวญัฮกุร หรือชาวบน ชาวดง โดยละเอียดด้วยครับ เพราะเป็นกลุ่มชนมอญโบราณที่มีอยู่ในท้องที่ที่ผมรับผิดชอบ คือ ตำบลตะขบ ตำบลบ่อปลาทอง ตำบลลำนางแก้ว อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา

-เยอะมากเลยนะคะ ชนกลุ่มน้อยในไทยเรา

-

  1. ญัฮกุ้ร (Nyahkur)

       2. มอเก็น หรือชาวเล (Morken)

       3. ซาไก หรือสินอย เงาะ ชาวป่า (Sakai, Senoi)

       4. ชอง (Chong)

       5. เซมัง หรือเงาะป่า (Semang)

       6. ลัวะ (Lua)

       7. ไทเขิน (Tai Kheun)

       8. มลาบรี หรือผีตองเหลือง (Mlabri , phi tongn luang)

       9. ละว้า

      10. กะเหรี่ยง

      11. ไทยเบิ้ง

      12. ไทยมลายู หรือไทยมาเลย์ หรือไทยมุสลิม

 

-เพิ่มเติมรายละเอียดอีกหน่อยนะคะ จะได้อ่านสนุกมากขึ้นค่ะ

-ขอบคุณค่ะ

ข้อมูลชัดเจนดีมากค่ะ เข้าใจความหมายของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมขอไทยกับต่างประเทศชัดเจนดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท