เพาะกล้าทำกับเครื่องดำนา


      คืนวันศุกร์ที่ 22 ต.ค. 53 แช่พันธ์ข้าวปลูก "เชี้ยง" ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวนาปีปลูกเยอะแถวพัทลุง ได้พันธุ์มาแบบฟลุ๊ก ประมาณ 40 กก แช่ไว้เพาะไปประมาณ10 กก. เช้า 8.00 น. เริ่มนำลงกะบะ เย็น ได้ 80 กะบะ ไม่รดน้ำ เอาไปลงนาเลย
      คืนวันเสาร์ทำต่ออีก30 ถาด รดน้ำหมักไว้ สังเกตุจะมีรากออกมา เช้าวันอาทิตย์ที่ 24 ต.ค. ทำต่ออีก 30 ถาด ครบ 60 ถาด  เย็นวันอาทิต์เอาออกไปวางที่แปลงนาอีก 60 เช้า

     วันจันทร์ทำต่ออีก 59 ถาด รดน้ำหมักไว้ เอาออกวางที่แปลงนา 19.00 - 21.30 น.
รวมได้พันธุ์ข้าวปลูก 199 ถาด คาดว่าจะได้ประมาณ 4 ไร่ เศษ
     เริ่มเพาะ  23-25 ต.ค. 53 ครบกำหนด 18 วัน ในวันศุกร์ที่  12 พ.ย.  53
ครบกำหนด 20 วัน ในวันอาทิตย์ที่  14 พ.ย.  53
      ตอนนี้เตรียมดินทำเทือกไนาร้างไว้ครบเดือนแล้ว กะว่าจะแปรซ้ำอีกทีในวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 6-7 พ.ย. 53

หมายเลขบันทึก: 404608เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2010 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

แวะเข้ามาทักทายครับ

สามารถ update ข้อมูล เพื่อการเพิ่มผลผลิต "นาดำ" แบบครบเครื่อง ได้ที่ บลอก ต้นกล้า ครับ

ขอบคุณครับ / กำลังต้องการข้อมูลอยู่พอดีครับ

จุดเด่นของข้าวพันธุ์นี้คือสิ่งใดครับ หรือว่าเหมือนกับพันธุ์อื่นๆ

สวัสดีครับ

ก่อนการปักดำด้วยรถดำนา ขอให้เช็คก่อนนะครับว่าสภาพดินที่เหมาะสมก่อนดำด้วยเครื่องนั้นควรเป็นอย่างไร

1.ควรเช็คก่อนว่าดินในแปลงที่จะดำนั้นเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย วิธีเช็ค

ให้เอาดินในนามาบดแล้วบรรจุในขวดน้ำ เติมน้ำด้วย เสร็จแล้วให้เขย่า แล้วปล่อยให้ตกตะกอน

การสังเกตุ : เมื่อตกตะก่อนแล้วปรากฏว่าทรายมากกว่าดิน หรือดินมากกว่าทราย (ในขวด) ที่มีมากก็คือดินนั้นๆ

2.เมื่อรู้ว่าดินอะไรแล้ว ให้เช็คความตึงของหน้าผิวดินก่อนปักดำ ดังนี้

2.1 ถ้าเป็นดินทราย ให้ใช้ปลายนิ้วมือจะเป็นนิ้วชี้ก็จะดี ตวัดไปที่ผิวดินในแปลงปักดำ ให้ดูผลคือ

ถ้าตวัดไปแล้วยังเป็นรอยนิ้วเต็มๆ แสดงว่าหน้าดินตึงและแข็งเกิน ไม่เหมาะแก่การปักดำ ถ้าดำไปรับรองกล้าลอยอยู่บนดิน

ถ้าตวัดแล้วดินไหลกลบมิดอย่างเร็ว แสดงว่าเหลวไป ให้รอก่อน ถ้าขืนดำรับรองกล้าล้มหรือมิดจมโคลน

ถ้าตวัดแล้วดินไหลมากลบครึ่งหนึ่งของรอย นั้นแหละครับเหมาะสมที่สุด ดำมากอตั้งตรงสวย ดำไม่ลึกมาก แตกกอดี

2.2 ถ้าเป็นดินเหนียว ให้ใช้ลูกกอล์ฟ หรือทำดินให้เป็นก้อนเท่าลูกกอล์ฟหรือลูกมะนาว ยืนแล้วปล่อยโยนที่ระดับความสูง 1 ม.

ถ้าหลังโยนแล้ววางอยู่บนผิวดินแบบไม่ยุบเลย แสดงว่าหน้าดินตึงและแข็งเกินไป

ถ้าหลังโยนแล้วจมหายไปในดิน ก็หน้าดินเหลวจนเป็นวุ้น ก็ต้องรอก่อน

ถ้าหลังโยนแล้วจมครึ่งโผล่ครึ่ง นั้นแหละเหมาะสมที่สุด

ถ้าหน้าดินแข็งเกิน การแก้ไขต้องเตรียมแปลงใหม่ ครับ

สำคัญที่สุด ก่อนดำต้องป้องกันหอยเชอรี่ก่อน ถ้าดำต้นกล้าขณะที่หอยเต็มแปลง พรุ่งนี้รับรองไม่เหลือ

ใช้รถดำนา ไม่ใช่ยาวิเศษครับ เราต้องศึกษาและให้ความสำคัญเรื่องเทคนิคการป้องกันและดูแล รับรองคุ้มค่าแน่นอน ครับ

ตอบ 4.

Ico32

อ้ายต๋อง ใจ๊หัวออกแฮง ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ กำลังต้องการข้อมูลจากผู้รู้ออยู่พอดีเลยครับ สงสันนิดหนึ่ว่า การทดสอบผิวดิน(เทือก) ต้องเปิดน้ำออกหมดไหมครับ / ดำทั้งน้ำได้ไหม? หรือต้องเปิดน้ำออกให้แห้งสนิท?

คุณชนันท์ การเช็คสภาพดินที่เหมาะสมกับการปักดำของรถดำหลังการทำเทือก

1.ไม่ต้องปล่อยน้ำจนหมดแปลง แค่ท่วมหลังมือก็พอ เพราะน้ำคือหัวใจของการควบคุมวัชพืช

2.ระดับน้ำที่รถดำนาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพคือ ท่วมหลังมือ แต่ก็สามารถดำได้ที่ระดับน้ำลึกไม่เกิน 10 ซม.

3.ระดับน้ำที่พอดี สามารถดำที่ความเร็วสูงได้ แต่จะให้ดีคือ 0.8 ม./วินาที(ระดับที่คนเดินทำงานแล้วไม่รู้สึกเหนื่อย) ถ้าลึกต้องช้าๆ 4.การเช็คความตึงหน้าดินก็คือระดับน้ำที่เรามองเห็นได้ครับ(ท่วมหลังมือดีที่สุด) รถดำของคุณชนันท์ เป็นยี่ห้ออะไรและรุ่นไหนครับ มันมีเทคนิคอีกพอสมควร (ผมมีของคูโบต้าทั้งเดินตามและนั่งขับ) แชร์ให้ได้ ข้าวเกรียบปลาปัตตานี หร่อยจังหู้ ต้นตำรับเป็นของปัตตานีหรือไม่ เห็นทอดที่ปทุมฯเยอะแต่ก็พิมพ์ว่าข้าวเกรียบปลาปัตตานี

ขอบคุณครับ คุณอ้ายต๋อง

1) ผมซื้อคูโบต้าเดินตามป้ายแดงมาครับ ผ่อนไป 12 งวดแล้ว ยังไม่เคยดำ เพราะติดที่วัสดุเพาะ ไม่มีแกลบดำครับ ปีที่แล้วซื้อรถดำนามาเพื่อเป็นแรงขับในการหาความรู้ ปีนี้เลยเริ่มต้นแบบเริ่มจากศูนย์(ซีโร่)

2) ข้าวเกรียบปลาปัตตานี เป็นสูตรเฉพาะของชาวบ้านที่ี่ครับ เขาใช้"ปลาหลังเขียว" ซึ่งมีมากหน้าอ่าวปัตตานี ชนิดที่ตกเบ็ดพวงใช้เหยื่อปลอมโสก ได้คราวละเป็นสิบตัว เรียกว่าเป็นพวงเลยครับ เมื่อสิบปีที่แล้วผมพักผ่อนเสาร์-อาทิตย์ ทำบาปอยู่ในทะเลครับ ก่อนขึ้นบกมาทำนา เข้าใจว่าแถวปทุมที่ทอดข้าวเกรียบปลาปัตตานีนั้น เขาสั่งข้าวเกรียบที่ตากแห้งแล้วไปทอดขายครับ ผมเคยส่งไปให้ญาติที่ลำพูนขายเหมือนกันใช้วิธีนี้ครับ ทำที่อื่นคงลำบากตรงที่วัตถุดิบ "ปลาหลังเขียว" คงหายาก นอกจากเมืองติดทะเล (เช่น สมุทรสาคร) อยากทานข้าวเกรียบปลา อีเมล์ที่อยู่มาให้ซิครับ ผมจะส่งไปให้ลองชิม แล้วลองเปรียบเทียบดูว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

3) อยากมาเที่ยวปัตตานียินดีต้อนรับครับ ไม่ได้รุนแรงอย่างที่เป็นข่าวครับ ที่นี่มีนาร้างเยอะ ผมกำลังเอาตนเองเข้าต่อสู้กับนาร้าง(ของชาวบ้าน)อยู่ครับ ลงมือทำเป็นตัวอย่างแล้วค่อยขยายผล  จัดหาและลงทุนเทคโนโลยีด้วยตนเอง ไม่เรียกร้อง(จากรัฐ) ไม่สนใจว่าใครจะเห็นหรือไม่  ผมเชื่อใน ทำคือธรรม ครับ

เมื่อเช้า 28 ต.ค. 53 หลังจากเริ่มลงเมล็ดพันธุ์ 5 วัน ออกไปดูกล้าถาดที่เพาะไว้ พบว่างอกแล้ว สูงประมาณ  1-2 ซ.ม. โดยส่วนใหญ่ก็งอกสม่ำเสมอดี  มีประมาณ 10 ถาด ที่วางไม่ถึงน้ำจึงยังไม่งอก   พึ่งแตกราก แสดงว่าความชื้นยังไม่พอ เลยย้ายถาดให้ลงในน้ำแฉะๆ ลึกประมาณ 1/2 ของความสูงถาด อีกทั้งพบว่าถาดที่โรยทับหนาๆ กล้างอกดีกว่าถาดที่โรยบางๆ เมื่อโดนน้ำแล้วโผล่เมล็ด แสดงว่าถ้ากลบเมล็ดให้หมดอาจจะงอกดีกว่า ได้สมมุติฐานความรู้ใหม่แล้วครับ

ดีครับ อย่ารอเลย Gov ไหนๆก็เห็นธรรมแล้ว ก็มีคติให้ "ความสำเร็จต้องสร้างบนความสำเร็จล่วงหน้า"

มีปัญหาเรื่องแกลบดำมาเพาะกล้า เห็นใจเหมือนกันจะแนะนำดิน ก็ 4 แดด 8 ฝนอีก แต่ก็อดแนะนำไม่ได้ เอาไปเลย

นำดินย่อยตากให้แห้งพอจะบดด้วยเครื่องได้ และหาแกลบดิบเก่าค้างปีมาผสมอัตรา ดิน 1 : แกลบ 2 (โดยปริมาตร)ผ่านเครื่องบด

ให้ละเอียด ก็สามารถใช้เป็นวัสดุเพาะและมีน้ำหนักเบาหน่อย ผ่านกระบวณการเพาะปกติ รับรองต้นกล้างอกมาอวบ แข็งแรงกว่า

แกลบดำเพียว(พอดีผมชอบทดลอง ก็เอาต้นกล้าที่พร้อมดำ ทั้ง 2 วัสดุเพาะ มาตากให้แห้งแล้วชั่งน้ำหนัก ผลกล้าที่เพาะแบบดิน

ผสมมีน้ำหนักมากกว่าแกลบดำ 26% แสดงว่ากล้าแข็งแรงกว่า)

ส่วนเตาเผาแกลบ ผมรู้จักอาจารย์เกษตรบางพูน ท่านมีเตาเผาแบบกุนตัง เดี๋ยวหาได้แนะนำอีกที

อื่นๆดีครับมันต้องมีความเป็นนักวิทย์ฯด้วย ข้าวถ้างอกต้องระวังแดดแรงเผารากที่โผล่มาอาบแดดนะครับ รากแรกตายเม็ดนั้นตาย

รีบเอาแกลบดำปิดรากทันที อย่าให้วัสดุเพาะแห้งแรกๆให้น้ำครึ่งถาด จนกว่าใบแรกโผล่มาบานก่อนค่อยให้น้ำท่วมขอบถาด

ขอบคุณสำหรับข้อมูลข้าวเกรียบ ผมเป็นคนเหนือนี่แหละที่ผมฝันอยากไปสักครั้งเพราะใต้สุดผมไปแค่หาดใหญ่

     วันทีผมบันทึกนี่ (2 พ.ย. 53 ตีสองเศษ) ถาดกล้าคงจะเรียบร้อยลอยหายวับไปกับสายน้ำแล้ว ครั้งสุดท้ายที่ไปดู คือ 18.00 น. ของเย็น 31 ต.ค. 53 เพราะเห็นฝนตกหนักติดต่อกันสองวัน ส่วนใหญ่ เห็นกล้างอกดีสูงประมาณ 1-2 นิ้ว มีประมาณ 5-7 ถาดไม่งอกเลย คงเป็นเพราะรากโดนแดดอย่างที่ว่านั่นแหละ เพราะหว่านเมล็ดเสร็จเอาออกแปลงเลย แถมกลบแกลบน้อยอีกต่างหาก

      วันที่ 1 พ.ย. 53 ผมกลับจากทำงานพบว่าน้ำทั้งทุ่งนองขาวโพลน คิดว่าถาดกล้า 200 ใบ คงจะลอยหายวับไปกับสายน้ำแล้ว หรือถ้ายังอยู่บางส่วนคงเน่าตายเรียบ เย็นวันที่ 2 พ.ย. 53 น้ำยังสูงอยู่ พึ่งลดลงจากที่เคยสูงสุดประมาณ 50 ซ.ม. เมื่อบ่ายสามถึงห้าโมงเย็น ต้องออกแรงเปิดประตูระบายน้ำ ช่วยกัน(จริงๆ) 4 คน จนท.ของชลประทาน 2 คน ผมกับชาวบ้านอีก 2 คน เปิดได้ประมาณเมตรเศษ แต่น้ำไหลได้เต็มที่แล้วแหละ เช้าเดี๋ยวค่อยไปดูอีกทีว่าจะโผล่ไหม คืนนี้ทั้งคืนจัดว่าฝนหยุดแล้ว มีโปรยปรายนิดหน่อย

      พูดถึงหาดใหญ่หนักหนาสาหัสกว่าเยอะครับ แม้เขาไม่ได้ปลูกข้าวแต่ก็เสียหายมากกว่า ของผมถาดหายไปเพียง 200 ใบ ของเขาหายไปทั้งเนื้อทั้งตัว หมดเนื้อหมดตัวไง

เสาร์ที่ ๖ พ.ย. ๕๓ ไปสำรวจมาแล้ว ลอยน้ำหายไป ๗๐ถาด เก็บคืนมาได้ ๒๐ ถาด ติดอยู่ตามสมทุมพุ่มไม้ และที่ไม่ลอยตามน้ำเพราะมีรากชอนลงตามรูเล็กๆ ยึดติดกับพื้น ๑๓๐ ถาด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท