( ๙ ) ๙๐ ปียังไหว


อายุไม่เป็นปัญหาที่จะเป็นผู้จัดการมรดก

                                                                                                               

                มีหลายท่านกล่าวว่า อายุเป็นเพียงตัวเลข แต่หัวใจไม่มีวันแก่

วันวาเลนไทม์ ที่ผ่านมา ไม่เห็นจะอาย คุณตาคุณยาย ชาวจังหวัดสุรินทร์ อายุ 75 และ 74 ปี ตามลำดับ ยังตกลงแต่งงานกันในวันวาเลนไทม์ปี่ที่ผ่านมา

ายุจึงไม่เป็นสิ่งต้องห้ามในเรื่องของความรักแต่อย่างใด ไฉนเลยตามกฎหมายไทย ใยจะต้องมาหวงห้ามในสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการจะเป็นด้วยเล่า

                 คุณยุพินกับคุณยุทธนา อยู่กินด้วยกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และไม่มีบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ ขณะที่อยู่ด้วยกันมีที่ดินอยู่ 3 แปลง มีชื่อบุคคลทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ และอีกแปลงมีชื่อคุณยุพาน้องสาวของคุณยุพินมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน

                   ต่อมาเมื่อเดือนมกราคม 2542 คุณยุพินขี้เกียจหายใจ จึงขอลาลับกลับบ้านเก่าไปเสียก่อน ปล่อยทิ้งให้คุณยุทธนา นอนห่อเหี่ยวเปลี่ยวเอกาอยู่คนเดียวในบั้นปลายของชีวิต อย่างน่าสงสาร

                   ส่วนคุณยุพา เมื่อพี่สาวลาลับไปแล้ว จะหันมาร่วมหอลงโลง.. เอ้ย.. ลงเรือนด้วยกันกับคุณยุทธนา ดูจะไม่ไหว สู่จะขอเอาที่ดินทั้ง 3 แปลงเป็นของตนดีกว่า ก็ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดิน เพื่อดำเนินการ แต่กลับได้รับคำแนะนำว่า ทำไม่ได้ เพราะคุณยุพิน ไม่ได้ตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ขอให้ไปร้องต่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายเสียก่อน

                   คุณยุพาจึงต้องไปยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของคุณยุพินพี่สาว โดยอ้างว่าการจัดการมรดกขัดข้อง และตนเองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย  เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก

                   คุณยุทธนาพี่เขย  เมื่อได้ทราบก็ไม่รอช้า รีบยื่นคำร้องขอคัดค้านต่อศาลทันที่ ขอเข้าร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของนางยุพาผู้ตายด้วย

                   คุณยุพาก็คัดค้านทันทีเช่นกัน โดยคัดค้านว่าคุณยุทธนาเป็นสามีที่มิชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ใช่ทายาท และแถมคัดค้านว่าแก่เกินแกง  เพราะมีอายุมากกว่า 90 ปี แล้ว ทำอะไรก็ไม่ไหว ยังจะมาขอเป้นผู้จัดการมรดกอีก ไม่มีส่วนได้เสีย และไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก

                   ตามกฎหมาย กองมรดก ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆเว้นแต่โดยสภาพและ เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

        กองมรดก จะตกทอดแกทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หากไม่มีก็ตกแก่แผ่นดิน

                 ผู้มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้แก่ทายาท หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการ

                 าเหตุที่จะร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก ได้แก่ทายาทหรือผู้รับพินัยกรรมสูญหาย หรืออยู่ต่างประเทศหรือเป็นผู้เยาว์ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก

                บุคคลที่กฎหมายห้าม ไม่ให้เป็นผู้จัดการมรดก ได้แก่ผู้ยังไม่บรรลุนิติภาว ะหรือ  บุคคลวิกลจริต หรือ เ ป็นบุคคลล้มละลาย

                เมื่อดูตามกฎหมายแล้ว เห็นว่าผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ต้องเป็นทายาทหรือผู้รับพินัยกรรมโดยตรงทุกกรณี การที่คุณตายุทธนาอยู่กินกับคุณยายยุพิน ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้ง 3 แปลงร่วมกัน จึงมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย

                 

               ่วนที่คัดค้านว่าคุณตายุทธน า มีอายุ 90 ปี แล้ว  ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกนั้น เมื่อคุณตาสามารถมายื่นคำร้องและมาเบิกความต่อศาลได้ แถมยังมีสติสัมปชัญญะดี มีความูร้สึกรับผิดชอบและสามารถทำนิติกรรมได้ ก็ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงเป็นผู้จัดการมรดกได้

             ศาลจึงมีคำสั่งให้บุคคลทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ ... อายุจึงเป็นเพียงตัวเลขเท่านั้น

                     ... หากมีปัญหาคราใด อย่าลืมไปปรึกษาอัยการ  หรือ โทรไปที่   1157 ...!!!

 

 

                                                

คำสำคัญ (Tags): #ผูจัดการมรดก
หมายเลขบันทึก: 238985เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2009 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มาอ่านเรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณมากมายค่ะ

มีความสุข ในการทำงาน นะคะ

เอาส้มมาฝากค่ะ

อายุเป็นเพียงตัวเลขจริงๆค่ะ..

ขอบคุณค่ะ

@ เพิ่งจะถึงบางอ้อเกี่ยวกับคุณสมบัติ "ผู้จัดการมรดก"

@ พ่อแม่เสียชีวิต มีลูก ๙ คน ท่านทิ้งมรดกไว้ให้ลูกๆ แต่มีข้อแม้ว่าที่ดินจะต้องแบ่งให้ลูกๆ เพียง ๕ คนเท่านั้น อีก ๔ คนจะไม่ได้รับส่วนแบ่งในกองมรดก เรียนถามว่า ถ้าหากจะทำการแบ่งและโอนมรดกเป็นชื่อลูกๆ ทั้ง ๕ คน โดยลูกทั้ง ๙ คนขาดคุณสมบัติของผู้จัดการมรดก จำเป็นที่จะต้องจ้างทนายให้ดำเนินการให้หรือไม่ครับ แล้วกรณีการฟ้องผี(ปิดประกาศ ๓๐ วัน)ถ้าไม่มีลูกๆ คนไหนคัดค้านจึงจะสามารถทำการโอนได้ เป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า

@ ขอบพระคุณครับ

  • สวัสดีอาจารย์สายธาร
  • ขอบคุณท่ติดตาม
  • ขอให้มีความสุข
  • สวัสดีคุณชาญวิทย์
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม
  • ขอให้มีความสุขครับ
  • สวัสดีครูอ๋อย
  • ขอบคุณที่มาให้กำลังใจ
  • ขอให้มีความสุขครับ
  • สวัสดีคุณไทบ้านฝา
  • กรณีที่ถามมรดกของผู้ตาย ยอมตกทอด แก่ทายาททุกคน เพราะผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้ การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกให้ยื่นต่อ สคช.จังหวัดที่ท่านอยู่ได้
  • กรณีปิดประกาศ ๓๐ วัน หากไม่มีทายาทคัดค้านเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้ ถ้ามีการคัดค้านจะแนะนำให้ไปฟ้องต่อศาล เจ้าหน้าที่จะชลอไว้ก่อน
  • ขอบคุณครับ

ยังงี้เสนอ อจ.สคช.ให้พิมพ์เป็นรูปเล่มแจกจ่ายได้เลยครับ อ่านเข้าใจง่ายดีกว่ามีแต่เรื่องตัวบท เพราะเราหยิบมาอ่านเองยังไม่ค่อยอยากอ่านเลย แจกไปแล้วชาวบ้านเขาก็คงไม่อยากอ่านเหมือนเรา แต่ถ้าเขียนแบบนี้ เข้าท่าครับ...หนับหนุน อิอิ

  • สวัสดีครับท่านอัยการชาวเกาะ
  • ดีใจที่ท่านหนับหนุน
  • และขอขอบพระคุณที่ท่านมาแวะเยี่ยมครับ

@ เห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านอัยการชาวเกาะ

@ ขอบขอบพระคุณอย่างสูงที่ให้ความกระจ่างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท