ภัทรานิษฐ์
นางสาว ภัทรานิษฐ์ เจริญธรรม ภัทร(จิ๋ว) เจริญธรรม

บูชาเทพเจ้ากวนอู ขจัดความชั่วร้ายด้วยความซื่อสัตย์


ถามหา "คุณธรรม" ถามหาต้นแบบ เทพเจ้า "กวนอู"

ถามหา "คุณธรรม" ถามหาต้นแบบ เทพเจ้า "กวนอู"

1.คุณสมบัติแห่งความศรัทธา

       หากจะตั้งคำถามถามชาวจีนทั่วไปว่า บุคคลใดในตำนานประวัติศาสตร์จีนที่เป็นที่น่านับถือถึงขนาดกราบไหว้บูชาเป็น เทพเจ้า คงไม่ต้องถึงกับต้องใช้บริการ เช่น เอแบคโพลล์มาทำการสำรวจประชามติดังกล่าว เพราะคำตอบที่เป็นเอกฉันท์ คือ : "กวนอู" (กวนกง) ชื่อ "กวนอู" โด่งดังจากนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ "สามก๊ก" ที่พวกเราย่อมรู้จักคุ้นเคยดี และตามชุมชนชาวจีนอย่างเช่น เยาวราชยังมีศาลเจ้า "กวนอู" ที่ชาวจีนต่างอาชีพต่างชนชั้นวรรณะกราบไหว้บูชา  ชาวจีนตั้งแต่ชนชั้นกรรมาชีพถึงนักบริหารต่างบูชา กวนอู เพราะถือว่าเขาคือสัญลักษณ์แห่งคุณธรรม (เหริน) การรู้คุณและตอบแทนคุณ (อี้) ความซื่อสัตย์ (จง) และความกล้าหาญ (หย่ง)  "ขงจื๊อ" อาจถูกนับถือ โดยเฉพาะในหมู่ปัญญาชนว่าเป็น "นักปราชญ์ชั้นปรมาจารย์" ผู้เป็นเสาหลักแห่งอารยธรรมจีน แต่กวนอูนั้นเป็น "วัตถุบูชา" (Icon) ของปัจเจกบุคคลจีน จากแง่มุมของนักปฏิบัติค่านิยมอันเลิศล้ำ (ตามแบบฉบับจริยธรรมของลัทธิขงจื๊อ) บวกกับความกล้าหาญ (ถึงขั้นไม่กลัวตาย) หรืออีกนัยหนึ่ง ขงจื๊อ สอนให้คนรู้จักค่านิยมของการอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมที่มีคุณธรรม ส่วนกวนอูถูกมองเป็น นักปฏิบัติ (Activist) ที่เชิดชูปกป้องคุ้มครองความเป็นธรรมของสังคม  กิตติศัพท์ของ "กวนอู" ถูกเผยแพร่เป็นตำนานโดยปลายปากกาของนักเขียนมีนามว่า หลอก้วนจง แห่งราชวงศ์หมิง เมื่อห้าร้อยปีก่อน และต่อมาชาวบ้านได้เทิดทูนและยกระดับความเคารพนับถือต่อกวนอู เป็นเทพเจ้า (เซิ่งตี้จวิน) เมื่อราวสองสามร้อยปีที่ผ่านมา โดยสร้างศาลเจ้าให้เป็นที่บูชากราบไหว้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจเจกบุคคลจีน จุดธูปเทียนบูชากวนอู มิใช่เพราะเขาได้กลายเป็น "เทวดา" ที่มีอำนาจบันดาลโชคลาภหรืออำนาจวาสนา แต่คนทั่วไปกราบไหว้เพื่อขอแรงดลใจจากเทพเจ้า ที่เป็นสัญลักษณ์ของบุคคลที่มีคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และความกล้าหาญ ฉะนั้นการบูชาเทพเจ้ากวนอูคือการรำลึกถึงวีรกรรมความดีที่ได้สร้างไว้ใน ตำนานประวัติศาสตร์

2.สามัคคีมีชัย
         ความเชื่อถือที่มีต่อกวนอูมิใช่ขึ้นอยู่เพียงแต่คุณสมบัติของตัวเองเท่านั้น การบูชากวนอูในประวัติศาสตร์จีนในยุคหลัง (ราวสาม-สี่ร้อยปีที่ผ่านมา) ยังไปโยงกับการสามัคคีด้านกิจกรรมทางการเมือง หรือธุรกิจในสังคมจีน โดยชาวจีนได้อ้างอิงถึงตอนหนึ่งในนวนิยาย "สามก๊ก" ที่กวนอูเข้าร่วมพิธีสาบานตนเป็น พี่น้องร่วมสาบาน กับเล่าปี่ และเตียวหุย (สามัคคีในสวนท้อ) ผู้ปลุกระดมสร้างชุมชนหรือขบวนการการเมืองในจีน (รวมทั้งผู้จัดตั้งสมาคมลับที่เป็นที่รู้จักกันว่า "อั้งยี่" ด้วย) ต่างยึดถือการเซ่นไหว้ "เทพเจ้ากวนอู" เป็นพิธีการส่วนสำคัญ และแม้แต่นักธุรกิจจีนที่รวมตัวจัดตั้งสมาคม หรือชมรมทางธุรกิจก็ต้องประกอบพิธีร่วมเซ่นไหว้เทพเจ้าผู้นี้ เพื่อโชคลาง (โดยเฉพาะในสายตาของนักธุรกิจจีน คุณสมบัติของกวนอู กล่าวคือ "ธารแห่งธุรกิจ" (ซางเต้า) ของสังคมนักธุรกิจที่มีเอกภาพ ยึดหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย ซึ่งจะนำไปสู่สภาพแวดล้อมที่ฝรั่งเรียกว่า ("Win-Win") ในนิยาย "สามก๊ก" ผู้เขียนได้สร้างตัวละครกวนอูเป็น "แบบอย่าง" ที่นักปกครองรุ่นหลังใช้เป็น "จิตวิทยาฝูงชน" (Mass Psychology) มีส่วนทำให้กวนอูถูกยกฐานะขึ้นเป็น เทพเจ้า ในที่สุด  สำหรับ "จริยธรรม" (เต๋อ) ที่กวนอูอ้างถึงทั้ง 4 ประการ (คือความซื่อสัตย์ การตอบแทนบุญคุณ จริยธรรม และความกล้าหาญ) ใน "สามก๊ก" นั้นมีตัวอย่างมากมายซึ่งต่อไปจะขอกล้าวอ้างถึงบางข้อเพื่อประโยชน์ในการ เสริมความเข้าใจ -ความซื่อสัตย์ คนทั่วไปเทียบกวนอูให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ เพราะเขาซื่อสัตย์ต่อราชวงศ์ฮั่นและต่อเล่าปี่ (พี่ร่วมสาบาน) และไม่สยบต่อโจโฉจนวาระสุดท้ายเมื่อคราวที่ถูกกดดันให้ยอมจำนนต่อโจโฉเพื่อ พิทักษ์ครอบครัวของเล่าปี่ กวนอูได้ยื่นเงื่อนไขในการยอมจำนน 3 ข้อ ต่อโจโฉ (ผู้หวังจะหมายปองให้กวนอูสวามิภักดิ์) คือ

1.การยอมจำนนครั้งนี้เป็นการจำนนต่อราชสำนักฮั่น แต่มิใช่ต่อโจโฉ (ในฐานะผู้สำเร็จราชการ)

2.โจโฉจะจัดที่อยู่อาศัยโดยแยกส่วนพำนักของกวนอูและของครอบครัวของเล่าปี่ (ฮูหยินและหลาน)

3.เมื่อมีข่าวเล่าปี่เมื่อไร กวนอูจะพาครอบครัวของเล่าปี่ไปสมทบ

โจโฉออกปากรับเงื่อนไขทั้งสามเพื่อหวังโน้มน้าวกวนอู และสุดท้ายกวนอูก็สามารถหลบหลีกปัญหา หนีพ้นเงื้อมมือขอโจโฉได้สำเร็จ ประเด็นที่คนทั่วไปตระหนักคือความจงรักภักดีของกวนอูต่อเล่าปี่ จากต้นจนปลาย โดยไม่เปิดโอกาสให้โจโฉซื้อตัวได้ แม้อยู่ในท่ามกลางความคับขัน ด้วยการตั้งเงื่อนไขทั้งสามข้อแสดงต่อโจโฉว่า แม้กวนอูจะต้องทนความอับอาย (โดยต้องอยู่ภายใต้อาณัติโจโฉ) แต่ก็ไม่ยอมน้อมตนสวามิภักดิ์

-ความสำนึกบุญคุณ หลังจากแตกทัพและพ่ายศึกที่ "ชึปิ" (เชียะเปี๋ยะ) สูญเสียพลทหารไปกว่าแปดแสนคน โจโฉและผู้ติดตามเพียงหยิบมือหนึ่งได้พยายามหลบหนีแต่มิวายถูกกวนอูตามทัน และการที่จะถูกจับเป็นหรือจับตายนั้น อยู่ที่การตัดสินใจของกวนอูเท่านั้น แต่กวนอูกลับปล่อยให้โจโฉหนีไป ทั้งๆ ที่เสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าละเว้นหรือทรยศต่อหน้าที่ ซึ่งมีโทษถึงตาย แต่การแสดงความปรานีต่อโจโฉครั้งนี้ก็เพื่อต้องการตอบแทนบุญคุณของโจโฉที่ ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกวนอู ตอนที่กวนอูและครอบครัวของเล่าปี่ ถูกโจโฉจับตัวไว้เป็นประกัน ซึ่งโจโฉได้ปล่อยตัวพวกเขาตามสัญญาในเวลาต่อมา (คนรุ่นหลังมองเห็นว่ากวนอูเป็นผู้รู้คุณและตอบสนองบุญคุณของโจโฉ อันเป็นหลักการอันสูงส่ง)

-จริยธรรม  คุณธรรม กวนอูถูกยกย่องเป็นผู้มีคุณธรรมในตัวอย่างที่โจโฉไม่ได้ทำตามเงื่อนไขที่สอง ของกวนอู เกี่ยวกับการแยกพำนักเป็นสัดส่วน โดยให้กวนอูอยู่ร่วมกับฮูหยิน ในห้องนอนเดียวกัน กวนอูแก้ปัญหาที่หลับนอน ซึ่งมีเตียงเดียว โดยกวนอูจุดเทียนนั่งอ่านตำรา (คัมภีร์ "ชุนชิว") เป็นการทรมานสังขารตนเองเพื่อรักษาหลักการ "คุณธรรม" ว่าด้วยการทำความอดสู อับอาย หรือทำร้ายความมีน้ำใจอันแสนบริสุทธิ์ของคนอื่น  ด้วยการใช้ความระมัดระวังในพฤติกรรมของตัวเอง

-ความกล้าหาญ ชื่อกวนอูเลื่องลือด้วยความกล้าหาญในช่วงหลายปีที่ต่อสู้อยู่เคียงข้างเล่า ปี่ กวนอูได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ตนเองมีทั้งความกล้าหาญ และความชาญฉลาด จึงเป็นที่ยกย่องของคนจีนทั่วไป ตัวอย่างที่มักถูกยกขึ้นอ้างอิงคือ กรณีที่กวนอูทะลวงค่ายศัตรู (เหยินเหลียง มิใช่ เหยินปิน ขุนพลเอกของ หยวนเซ่า) โดยลำพัง และตัดคอขุนพลผู้นี้ก่อนถอยกลับ จนโจโฉยกย่องให้เป็น "สุดยอดแห่งวีรบุรุษ"

3.ความหมายของความสำเร็จของกวนอู
         แม้กวนอูจะถูกชาวจีนรุ่นหลังสรรเสริญ นับถือเป็นเทพเจ้า กิตติศัพท์ของกวนอูกระฉ่อนมาถึงทุกวันนี้เพราะกวนอูเป็นตัวแทนของหลักการ "จริยธรรม" ที่สังคมจีนเทิดทูนบูชาว่าบุคคลที่เข้ามารับใช้สังคม(ไม่ว่าจะเสนอตัวเองหรือถูกสภาพแวดล้อมบังคับ) พึงจะปฏิบัติตามค่านิยมดังกล่าว

วีรบุรุษใน "สามก๊ก" แม้เป็นตัวละครที่ถูกจินตนาการขึ้น แต่ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญโดยปัจเจกบุคคลจีน (ซึ่งส่วนใหญ่ถูกจัดอยู่เป็นจำพวกที่ต้องต่อสู้กับความไม่ถูกต้องหรือ เงื่อนไขไม่เป็นธรรมในสังคม) นั้น เพราะพวกเขาเหล่านี้ทำกิจกรรมร่วมกันหรือรวมพลังเพื่อต่อสู้

สิ่งที่ประทับใจคนอ่านนิยายดังกล่าวคือ คำปฏิญาณตนร่วมกันของเล่าปี่ เตียวหุย และกวนอู ในสวนลูกท้อที่ว่า "แม้ (เราทั้งสาม) จะไม่สามารถเกิดในวัน เดือน ปีเดียวกัน แต่ก็ยอมตายในวัน เดือน ปีเดียวกัน!"

คำปฏิญาณดังกล่าวแม้จะเป็นเพียงการจินตนาการที่มาจากนวนิยาย  ฝูงชนหรือกลุ่มชนจึงใช้ถ้อยคำดังกล่าวมาเป็น "คำอ้าง" ในการระดมพลและสร้างเอกภาพ

         แม้กวนอูจะถูกชาวจีน รุ่นหลังสรรเสริญ นับถือเป็นเทพเจ้า แต่ใน "สามก๊ก" กวนอูต้องจบบทบาทด้วยการถูกสังหาร(ตัดศรีษะ) โดยนักรบรุ่นเด็กกว่า และขั้วอำนาจที่กวนอูสนับสนุน (กลุ่มอำนาจเล่าปี่) ก็มิได้เป็นฝ่ายกำชัยชนะในการต่อสู้ เพื่อชิงความเป็นใหญ่ใน "สามก๊ก" อย่างไรก็ตาม กิตติศัพท์ของกวนอูกระฉ่อนมาถึงทุกวันนี้เพราะกวนอูเป็นตัวแทนของหลักการ "จริยธรรม" ที่สังคมจีนเทิดทูนบูชาว่าบุคคลที่เข้ามารับใช้สังคม (ไม่ว่าจะเสนอตัวเองหรือถูกสภาพแวดล้อมบังคับ) พึงจะปฏิบัติตามค่านิยมดังกล่าว

สาเหตุที่ กวนอู โดนสังหาร เพราะถูกลิบองแม่ทัพแห่งฮ่อก๊กจับตัวไป  กวนอูไม่ยอมสวามิภักดิ์(ยอมตนหรือมอบตนอยู่ใต้อำนาจ) จึงถูกซุนกวนสั่งประหารพร้อมกับกวนเป๋งบุตรบุญธรรม

เรื่อง ท่านกวนอู เป็น  ตำนาน ฉะนั้น

ตำนาน ก็คือ พงศาวดาร, เรื่องเล่า, นิทาน  แต่สะท้อนสังคมได้ในยุคปัจจุบัน  เป็นบางตอน  บางเรื่อง  แต่การถึงแก่กรรมของกวนอู ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยง และควรทำตัวอย่างไรจะไม่่ถึง แก่กรรมเหมือนท่านกวนอู  ฝากทิ้งท้ายไว้เป็นข้อคิดค่ะ

เรื่องที่เล่ามาทั้งหมด ใช้เป็นสื่อในการเรียน  การสอนวิชา

ประวัติศาสตร์  วิชาสังคมศึกษา  และวิชาภาษาไทยได้ค่ะ

 


หมายเลขบันทึก: 251684เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

  • จะบูชาเทพองค์ใดก็แล้วแต่คุณธรรม ของท่าน
  • บูชาให้ตรงคุณธรรม  ความดี
  • หรือให้คล้ายๆคุณธรรม ของตัวท่าน แล้วจะขลังและศักดิ์สิทธิ์
  • ถ้ามองกว้างๆก็ให้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านนับถือนะคะ
  • ขอให้โชคดี

ฝนตกยังอากาศร้อนคิดถึงครับ

คิดถึงเช่นกันค่ะ หายร้อนแล้วยังคะ

ขอให้  สิ่งศักดิ์สิทธิ์  คุ้มครองค่ะ

สวัสดีครับ

ไปดูน้ำใจของทุกท่านที่บล็อกผม

ขอบคุณครับ

มาชม

สงสารกวนอูตอนใกล้จบชีวิตนะ

ไม่คู่ควรที่กวนอูจะตายอย่างนั้น ก็แล้วแต่กรรมเวรของใครนะครับผม...

อัดโต้ย ! สามก๊ก คือ  ละคร อาจารย์อย่าเชื่อ ตะ (แหลงใต้)

ความจริงแล้วหลีกเลี่ยงได้นะ กวนอูโดนตัดศรีษะ เพราะไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจใครต่างหากล่ะ  อ่านให้ดีๆนะคะ

 

แกล้งไม่รู้ ใช่ไหม ไม่เชื่อหรอก

ก็ต้องยอมคนไง  รับใช้คนอื่นน่ะ เป็นไหม

ฮาๆๆๆๆๆๆ อิๆๆๆๆ เอิ้กๆๆๆๆๆ

 

สวัสดีครับ คุณภัทรานิษฐ์ เจริญธรรม

แวะมาขอบคุณในไมตรีจิตที่สวยงาม ยามบ่ายคล้อยตะวันลอยลับลงต่ำ

ว่ง ๆ คุยกันไหมนะครับผม...อิ อิ อิ.

                                        

ด้วยความยินดีค่ะ

 

แวะมาบูชาเทพเจ้ากวนอูด้วยคนค่ะ

สวัสดี ครับ   P

วันนี้ผม ตามคุณ Add มาอีกแล้ว ครับ

ขออนุญาต มานั่งอ่าน....นาน ๆ ครับ

ขอบคุณ ครับ

       

   ด้วยความยินดีค่ะ

   ขอให้โชคดีค่ะ

การงานคงราบรื่นดีนะคะ น้อง แสงแห่งความดี

ที่นั่นฝนตกไหมคะ

มาชม

ทายทัก ก่อนพักผ่อนนอนหลับในราตรีนี้ที่ยังยาวไกลแสนไกล...หลับรึยังนี่

อิ อิ อิ

บุญรักษานะครับ

แวะมารับความรู้ค่ะ

ผู้ไมยอมสยบใต้...ผู้มีอำนาจ มักมีจุดจบแบบกวนอูไม่ยุติธรรมเลยค่ะ

  • สวัสดีค่ะ อ.ยูมิ เวลานั้นน่ะ
  • ยังนอนไม่หลับ หรอกค่ะ
  • คอมฯก็เครื่องแฮ้ง
  • ตอนนี้อยู่ร้านเน็ตค่ะ
  • ขอบคุณที่มาชมค่ะ
  • แต่ก็ยังคุยกับ ชาวโกทูโนได้ค่ะ

สวัสค่ะครูต้อย krutoi

ถ้ามีอำนาจแล้ว ใช้อำนาจในทางที่ผิดๆก็ไม่ดีนะค่ะ

กล้าแต่ไม่ควรบ้าบิ่นนะ

ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ ครูต้อย

 

  1. ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ
  2. ซ่อมคอมฯเสร็จแล้ว
  3. คุยกันต่ออีกนะ

มาทายทัก

ยามค่ำคืน

บุญรักษานะครับผม

มาแล้ว ก็ดีแล้ว ก๊ากๆๆ อิอิๆ

โอ๊ย หัวเราะท้องแข็งเลยครับท่าน

หลับให้สบายนะคะ ท่านสุภาพบุรุษขี่ม้าขาว

ของชาวบล็อก

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท