ตอนที่ ๒ ความน่าสนใจของ “กระบวนการทำงานแบบห้าคูณหกคูณหก”


ที่ผมพูดมาก็เป็นประเด็นหลักๆ ที่ผมคิดว่าโครงการห้องเรียนแม่อายนี้มีความน่าสนใจ (จริงๆ มีมากกว่านี้ แต่จะพูดถึงเพียงแค่นี้ก่อน) และเป็นสิ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจเข้าร่วมเป็นทีมงานด้วย มีหลายคนเคยสงสัยและถามผมเหมือนกันว่าทำไมต้องไปช่วยเหลือคนเหล่านี้ ในเมื่อพวกเขาไม่ใช่คนไทย สำหรับผม ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่พวกเขาเป็นคนไทยหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าพวกเขาเป็นคน เหมือนกันกับพวกเรา และเป็นสิ่งที่ผมเคยอ่าน ได้เคยเห็นประสบการณ์การทำงานของคนอื่นๆ รวมทั้งเชื่อมั่นว่าการช่วยเหลือคนเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อความมั่นคงของประเทศไทย ยังไงคนเหล่านี้ก็อยู่ในเมืองไทย เรามีทางเลือกที่จะช่วยเหลือให้พวกเขามีชีวิตอย่างมีคุณค่า เป็นประโยชน์กับสังคมไทย หรือเราจะทอดทิ้งให้ให้พวกเขาต้องประสบกับปัญหา แล้วต้องทำทุกอย่างเพื่อให้มีชีวิตรอด ซึ่งบางครั้งอาจเป็นภัยต่อตัวพวกเขาเอง ต่อสังคมและประเทศไทย สำหรับผม ผมเลือกทางแรกเหมือนกับอีกหลายๆ คน

 

บันทึกแนวคิดการทำงานแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล *

ตอนที่ ๒ ความน่าสนใจของ “กระบวนการทำงานแบบห้าคูณหกคูณหก”

  

เมื่อครั้งที่แล้วผมได้พูดคร่าวๆ ไปแล้วถึงแนวคิด “ห้าคูณหกคูณหก” ว่าหมายถึงอะไร พร้อมกับสัญญาไว้ด้วยว่าจะมาพูดขยายความในส่วนของหกตัวที่สอง ซึ่งก็คือ “กระบวนการทำงานของคนหกแถว” ซึ่งก่อนที่จะให้รายละเอียดดังกล่าว ผมคงต้องบอกกับผู้อ่านว่าผมได้รับการบอกกล่าวจากคนที่มีส่วนร่วมในการริเริ่มคิดและทดลองปฏิบัติ แนวคิดกระบวนการทำงานของคนหกแถว นี้ว่า “แนวคิดดังกล่าวยังไม่นิ่ง ยังต้องได้รับการพัฒนาไปเรื่อย” ซึ่งก็ทำให้ผมมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น ในการเขียนสรุปตามความเข้าใจของผมเองซึ่งเป็นคนหนึ่งในทีมงานดังกล่าว พร้อมทั้งกล้าที่จะนำเสนอความเห็นโดยหวังที่จะให้เกิดการพัฒนาต่อไป

 

ใจจริงอยากเริ่มโดยการพูดถึง ที่มาของแนวคิด “กระบวนการทำงานของคนหกแถว ก่อนว่ามาจากไหนและแตกต่างจากกระบวนการทำงานทั่วไปอย่างไร แต่ติดขัดตรงที่ตัวผมเองก็ไม่แน่ใจว่ารู้จริงหรือไม่ มีคนพูดให้ฟังเหมือนกันแต่ว่าความจำไม่ดีเลยไม่กล้าเขียน ถ้าจะให้ดีก็คงต้องให้คนที่มีส่วนร่วมในการคิดริเริ่มในช่วงแรกๆ ได้ออกมาเขียนเล่าสู่กันฟัง เอาเป็นว่าสิ่งที่ผมจะพูดถึงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผมเห็นว่าน่าสนใจ เมื่อตอนที่มีคนพูดถึงคนหกแถวให้ผมฟังแล้วชักชวนให้เป็นส่วนหนึ่งของคนหกแถวก็แล้วกัน

 

สิ่งที่น่าสนใจประการแรก คือ เมื่อคิดถึงงานที่คนทำงานหกแถวจะต้องทำนั้น มันช่วยให้ผมเห็นภาพการทำงานแบบเป็นองค์รวมที่ค่อนข้างครบถ้วน ทั้งในส่วนของ ๑) การเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงของกรณีศึกษา ) การรวบรวมและศึกษากฎหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสถานะบุคคล ๓) การวิเคราะห์กฎหมายและนโยบายเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหาสถานะของกรณีศึกษา  ๔) การให้ความรู้ ให้คำแนะนำทางกฎหมายแก่เจ้าของปัญหา ) การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย (ที่ไม่ใช่การฟ้องคดี) ๖) การผลักดันให้มีการแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถขจัดอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล ๗) การผลักดันเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหรือนโยบาย ๘) การทำงานกับสื่อสารมวลชน ทั้งในแง่ของการนำเสนออุปสรรคและความสำเร็จ หรือการทำงานกับสื่อในการผลักดันเชิงนโยบาย ๙) การใช้กระบวนการยุติธรรมในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล ซึ่งการจับให้มาอยู่รวมใน “กระบวนการทำงานของคนหกแถว” น่าจะช่วยสามารถแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลได้ดีขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก และผมเองก็ยังสงสัยอยู่ในตอนนั้นว่ามันจะเป็นจริงได้แค่ไหน

ความน่าสนใจประการที่สอง อยู่ที่กระบวนการทำงานแบบห้าคูณหก (จะได้พูดถึงรายละเอียดกระบวนการทำงานในภายหลัง) กำหนดให้เจ้าของปัญหาเป็นศูนย์กลาง เน้นการสนับสนุนให้เจ้าของปัญหา มีความรู้ความเข้าใจในข้อเท็จจริงของตัวเอง มีความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง ได้ทดลองฝึกกรอกคำร้องซึ่งจะช่วยให้มีความมั่นใจในเมื่อต้องไปทำด้วยตัวเอง นอกจากนั้นการทำงานแบบนี้ ช่วยเพิ่มความหวังของการที่เจ้าของปัญหาจะสามารถใช้ความรู้ ประสบการณ์ของตัวเองไปแนะนำหรือช่วยคนอื่นได้ด้วย

 

ประการที่สาม การกำหนดคนในแต่ละห้อง แต่ละแถวอย่างชัดเจน (อย่างน้อยในช่วงแรกผมก็ได้รู้ชื่อของคนที่รับผิดชอบในแต่ละแถว ทั้ง ๔ แถว ของห้องเรียนทั้ง ๕ ห้อง) ทำให้เห็นแนวทางการทำงานที่มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนและชาวบ้านชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ได้รู้ว่าจะมีคนจากหน่วยงานราชการ (ส่วนกลาง) อย่างคุณอุดมเขตและคุณวีนัส จากกระทรวงมหาดไทย หรือว่าจะเป็นคุณวีรวัฒน์ อดีตข้าราชการระดับสูงของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น ที่ได้ให้คำมั่นว่าจะมาร่วมกันทำงาน ทำให้ผมเองอยากเข้าไปร่วมเป็นสมาชิกในทีมมากขึ้น

 ประการที่สี่  คนที่ชวนผมเข้าไปร่วมทีมได้บอกว่า กระบวนการทำงานแบบนี้ เน้นการสร้าง ทบทวนและพัฒนา องค์ความรู้ร่วมกัน ก็เหมือนกับว่าเรามาร่วมกันเรียนรู้และทดลองวิธีการใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล ซึ่งก็ช่วยแก้ปัญหาข้อกังวลของตัวผมเองที่คิดว่าตัวเองมีความรู้ไม่พอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องมารับผิดชอบ ห้องเรียนที่ ๔ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเกิดนอกไทย ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรไทย ที่ตัวผมเองไม่เคยทำงานในเรื่องดังกล่าวมาก่อนเลย นอกจากนั้น การที่ได้รู้ว่าคนอื่นในทีมเป็นผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ ความสามารถในเรื่องดังกล่าว ก็ช่วยได้เยอะ เพราะเรามีหน้าที่รวบรวม และเขียนขึ้นมาก่อน ยังไงก็มีคนช่วยตรวจสอบและแก้ไขให้อีกที

 ความน่าสนใจประการที่ห้า ผมคิดว่านอกจากการที่เราจะได้มีส่วนเข้าไปช่วยเหลือและสนับสนุนให้เจ้าของปัญหาแก้ไขปัญหาสถานะของตัวเองแล้ว การที่โครงการนี้กำหนดเป้าหมายหลักประการหนึ่งไปที่การผลิตคู่มือเป็นสิ่งที่น่าลงทุนลงแรง เพราะเห็นว่านอกจากจะช่วยเหลือนักเรียนให้ห้องเรียน ๑๐๐ คนแล้ว (ของทั้ง ๕ ห้องเรียน) องค์ความรู้ที่อยู่ในคู่มือยังเป็นประโยชน์กับคนอื่น ในพื้นที่อื่นๆ ที่เจอปัญหาอย่างเดียวกันสามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของตัวเอง หรือสำหรับองค์กรอื่นๆ สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อีกด้วย

  

 

ประการที่หก ซึ่งเป็นประเด็นหลักประการหนึ่งที่ทำให้ผมตัดสินเข้าร่วมในทีมได้ง่ายขึ้น คือลักษณะการทำงานแบบ ห้าคูณหกคูณหกการรวมหัวกันคิด แต่แยกงานกันทำ หรือถ้าจะให้พูดอีกอย่างก็คือเป็นการระดมคนที่ไม่ค่อยว่าง เพราะมีงานประจำของตัวเองอยู่แล้ว ให้สามารถมาทำงานร่วมกันได้ ที่เป็นแบบนี้รูปแบบการทำงานแบบ ๕ คูณ ๖ นี้ ไม่ได้กำหนดให้คนที่เข้าร่วมทีมต้องทำงานประจำทุกคน (ไม่ต้องมานั่งทำงานประจำอยู่ที่แม่อาย) คนส่วนใหญ่จะทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง แล้วใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่คือ อีเมล์ ในการติดต่อ นำเสนอร่างงานเขียนและรับความคิดเห็นจากคนอื่นในทีมงาน จะมีมาเจอกันบ้างก็เป็นครั้งคราว ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เช่นการประชุมจัดทำคู่มือ หรือมาประชุมกันก่อนในวันเสาร์และจัดห้องเรียนให้กับเจ้าของปัญหาในวันอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่งการกำหนดกระบวนการทำงานแบบนี้ ก็ช่วยให้ผมซึ่งมีงานประจำอยู่แล้ว (เป็นชาวสวน) สามารถเข้ามาร่วมกันทำงานได้ เพราะถ้าให้มาทำเต็มเวลา ก็คงจะทำได้ยากหรือไม่ได้เลย ซึ่งน่าจะเหมือนกับหลายๆ ท่าน

 

และประการสุดท้าย โครงการนี้เป็นความพยายามที่จะรวบรวมคนที่มีใจ (ในการทำงานเพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน) โดยใช้กฎหมายเป็นพื้นฐานหลักในการแก้ไขปัญหา (จะต้องไม่ทำผิดกฎหมาย และยึดถือกฎหมายเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา) ดังนั้นจึงต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่าภายใต้กฎหมายปัจจุบัน มีทางออกอะไรบ้าง แล้วใช้กฎหมายหรือนโยบายนั้น และถ้าติดขัดตรงไหนก็แก้ประสานงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้รู้ถึงอุปสรรค เพื่อที่จะได้นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายรอง หนังสือสั่งการ หรือแม้แต่การร่วมทำงานกับหน่วยงานรัฐและองค์กรต่างๆ ในการผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายและนโยบายเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง

 

 

พูดถึงความน่าสนใจไปแล้ว หลายคนคงอยากรู้แล้วสินะครับว่าที่ผมพูดถึงกระบวนการทำงานของทีมแม่อายนั้น เค้าทำกันอย่างไร คราวหน้าผมจะมาพูดถึง ประสบการณ์การทำงาน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นของหกตัวที่สอง ในแนวคิดกระบวนการทำงานแบบ ห้าคูณหกคูณหก

 

ที่ผมพูดมาก็เป็นประเด็นหลักๆ ที่ผมคิดว่าโครงการห้องเรียนแม่อายนี้มีความน่าสนใจ (จริงๆ มีมากกว่านี้ แต่จะพูดถึงเพียงแค่นี้ก่อน) และเป็นสิ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจเข้าร่วมเป็นทีมงานด้วย มีหลายคนเคยสงสัยและถามผมเหมือนกันว่าทำไมต้องไปช่วยเหลือคนเหล่านี้ ในเมื่อพวกเขาไม่ใช่คนไทย สำหรับผม ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่พวกเขาเป็นคนไทยหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าพวกเขาเป็นคน เหมือนกันกับพวกเรา และเป็นสิ่งที่ผมเคยอ่าน ได้เคยเห็นประสบการณ์การทำงานของคนอื่นๆ รวมทั้งเชื่อมั่นว่าการช่วยเหลือคนเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อความมั่นคงของประเทศไทย ยังไงคนเหล่านี้ก็อยู่ในเมืองไทย เรามีทางเลือกที่จะช่วยเหลือให้พวกเขามีชีวิตอย่างมีคุณค่า เป็นประโยชน์กับสังคมไทย หรือเราจะทอดทิ้งให้ให้พวกเขาต้องประสบกับปัญหา แล้วต้องทำทุกอย่างเพื่อให้มีชีวิตรอด ซึ่งบางครั้งอาจเป็นภัยต่อตัวพวกเขาเอง ต่อสังคมและประเทศไทย สำหรับผม ผมเลือกทางแรกเหมือนกับอีกหลายๆ คน

 

 * โดย กานต์ เสริมชัยวงค์, ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒, (ขออุทิศให้กับใหญ่ กฤษฎา ยาสมุทร ผู้ล่วงลับ)

หมายเลขบันทึก: 260112เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2009 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเรียนรู้ การทำงานแบบ ห้าคูณหกคูณหก ขอบคุณมากค่ะ

มาอ่านต่ออีกแล้ว และรอจะอ่านประสบการณ์ในตอนต่อไปค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท