แก้บน...ขอหวย


ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ เป็นสิ่งสืบทอดมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ดีงาม

เป็นการร่วมพิธีกรรมที่ทำให้ได้นั่งคิดพอสมควรกับการเข้าร่วมพิธี "แก้บน" และ "การขอหวย" ของพี่น้องชาวมหาสารคาม ที่อยากมาเล่าต่อและช่วยกันให้แง่คิดกัน

ศาลท่านย่าแปลงคำ

เรื่องของการแก้บน คงไม่ได้แปลกอะไรกับสังคมบ้านเรา เพราะเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมา เรื่องของเรื่อง คือ พิธีที่ผมได้เข้าร่วม เป็นการแก้บนของคุณพ่อที่บนให้ลูกสาวสอบได้งานหลังจการเรียนจบ ซึ่งทุกอย่างก็เป็นไปตามปรารถนา จึงแก้บนด้วยขบวนกลองยาว ซึ่งเป็นที่ทราบว่าเป็นความชื่นชอบของ "เจ้าแม่สองนาง"ศาลเจ้าแม่แปลงคำ บ้านปอภาร อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งนอกจากจะเป็นกิจกรรมตามความเชื่อแล้ว ผมได้สัมผัสกับบรรยากาศที่ดีๆ คือ

  • เป็นการรวมญาติกันแบบไม่ได้นัดหมาย แม้ว่าจะไม่มีใครรู้ว่ามีการทำพิธี แค่พอเสียงกลอง ขบวนผู้คนมากขึ้น ญาติพี่น้องบ้านไกล้เรือนเคียงต่างพากันมาร่วมพิธี และถามสารทุกข์สุกดิบ ตามเรื่องตามราวเพราะไม่ได้เจอกันนาน
  • เป็นการสืบสานความเชื่อที่เป็นสิริมงคล
  • เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ จากรุ่นสู่รุ่น
  • แม้ว่าการบน ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็เป็นพิธีที่สร้างความเชื่อมมั่นและศรัทธาของผู้ประกอบพิธี ภายใต้กรอบของการทำดี จึงนับว่าเป็น "ความเชื่อ" ที่ไม่ได้สร้างความเสื่อม

ศาลท่านย่าแปลงคำ

แต่สำหรับเหตุการณ์ต่อจากการแก้บน ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วพิธีกรรมนี้ยังคงเป็นคำถามในใจ คือ "การขอหวย" โดยหลังจากแก้บนเสร็จสรรพ ด้วยฤกษ์งามยามดี วันที่ 30 ธ.ค. พอดิบพอดี ซึ่งตรงกับวันหวยออก เจ้าภาพพร้อมทั้ง ผู้ดูแลศาลเลยถือโอกาสอัญเชิญเจ้าแม่เข้าทรง ซึ่งร่างทรงก็คือผู้หญิงที่มาร่วมพิธีแก้บน ซึ่งได้รู้ภายหลังว่า การอัญเชิญร่างทรงจะเป็นใครก็ได้ เพียงแต่ต้องเป็นผู้หญิงที่ไม่ดื่มสุรา และพิธีก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแต่ถือดอกไม้ ธูปเทียน ภาวนา ต่อศาลเจ้าแม่ สักพักท่านก็ลงประทับร่างทรง พร้อมกับเสียงกลองยาวบรรเลง ร่างทรงก็แสดงท่ารำตามจังหวะ ผู้เข้าร่วมพิธีต่างก็พยายามถามเจ้าแม่ถึง "ตัวดี" งวดนี้ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ มีเพียงท่ารำที่ผิดแปลกไป ทุกคนเลยต่างพยายามดูท่าทางเพื่อจะนำมา "ตีเป็นเลขเด็ด" ประมาณสัก 15 นาที พิธีเป็นอันสิ้นสุด แต่สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงกันอีกกว่าชั่วโมง คือ เจ้าแม่บอกตัวไหน ?.....

ผมอาจจะเล่าเหตุการณ์พิธีไม่ละเอียดมากนัก แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมอยากนำประเด็นเพื่อ ลปรร. ดังนี้

1. ผมเองเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติที่ยังพิสูจน์ไม่ได้เสมอ.....แต่ไม่เชื่อในสิ่งที่ไม่มีเหตุผล

2. ผมเชื่อว่าการขอหวยเป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน ไม่ได้สืบสานมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ผมจึงไม่เห็นด้วยกับความเชื่อดังกล่าว

3. การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ หนีไม่พ้นเรื่องของการผสมผสานระหว่างความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ ที่ก่อให้เกิดปัญญา ความรู้ที่ถูกต้อง ที่ถ่ายทอดต่อไปยังคนรุ่นต่อไปได้ 

ศาลท่านย่าแปลงคำ

โดยรวมแล้วทั้ง 2 พิธี ในเหตุกาณ์เดียวกัน ผมว่ามีจุดต่างที่น่าคบคิด และสร้างกระบวนการเรียนรู้ต่อ เพื่อให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาที่แท้จริง

ด้วยความเคารพรัก   

หมายเลขบันทึก: 156726เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2007 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
กันยารัตน์ บัวพัฒน์

บ้านเกิดอยู่บ้านปอภารค่ะ

พ่อกับแม่เป็นคนบ้านปอภาร

แต่มาทำมาหากินที่กรุงเทพฯ.....

สวัสดีครับคุณกันยารัตน์

  • ดีใจครับที่ได้เจอคนบ้านใกล้เรือนเคียง
  • ขอให้มีความสุข และประสบความสำเร็ตครับ

ด้วยรัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท