ทำอย่างไรให้เกิดการขับเคลื่อนหลักสูตร 2551 แบบมีพลัง


หลักสูตร เป็นเครื่องมือสำคัญ เป็นกรอบแนวทางการจัดประสบการณ์แก่เยาวชน เป็นกรอบในการพัฒนากำลังคนของประเทศ เป็นต้นตอของปัญหาการมีหรือไม่มีคุณภาพของคน เป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคน ต้องให้ความสำคัญ...หากยังหวังที่จะให้ประเทศนี้เจริญอย่างยั่งยืนในอนาคต

อ่านบทความ ท่านเลขาธิการ สพฐ. ในรายการ “พบเลขาธิการ สพฐ. ทุกวันอังคาร” ฉบับ อังคารที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่ได้นำเสนอเรื่อง ผู้เชี่ยวชาญชาวนิวซีแลนด์ ได้ให้ข้อคิดสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ ดังต่อไปนี้

        การนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ จะต้อง :-

1. สร้างความเข้าใจ (และการยอมรับ) ในหลักสูตรใหม่ร่วมกัน

ในทุกระดับ

2. สร้างสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่อการผลักดันการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน โดยมีเครื่องมือและข้อมูลเพื่อการประเมินผลที่ดี

3. ในประเทศนิวซีแลนด์ พบว่าวิธีการที่ดี คือ การสร้างเครือข่ายครู ที่จะพบปะ แลกเปลี่ยนกันถึงแนวทางการจัดการสอนที่ดี โดยมีตัวอย่างที่ชัดเจนว่าวิธีการสอนที่ดีคืออะไร

4. ที่สำคัญ ต้องมีผลการประเมินความรู้ของนักเรียน ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจว่า อะไรที่ควรดำเนินการต่อ (ถ้าส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน) อะไรที่ควรเลิกทำ (ถ้าไม่ส่งผลต่อนักเรียน)

5. ในประเทศนิวซีแลนด์ ได้มีการออกกฎหมายที่จะผลักดัน ให้ครูเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ทุกโรงเรียนรายงานต่อสาธารณชนว่าอะไรในหลักสูตรที่ทำได้ดี และอะไรที่ ยังทำไม่ได้ดี พร้อมแผนว่าจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร อย่างไรก็ดีในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงต้องพยายามหาความสมดุลใน 3 ส่วน กล่าวคือ ต้องสร้างวัฒนธรรมที่วางบนพื้นฐาน ของข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน โรงเรียนต้องมีอิสระที่จะจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียน แต่ องค์กรกลางก็ต้องให้ข้อมูลที่จะ Benchmark ให้โรงเรียนได้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของตนกับผลงานในระดับอื่นๆ 

 

                ในการประชุมคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา กทม.เขต  2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551  สำนักงานเขตพื้นที่ได้เสนอขออนุมัติ “กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2”  คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุม คือ  “ทำอย่างไรที่จะให้ผู้เกี่ยวข้อง ทุกระดับ “เข้าใจและยอมรับหลักสูตรใหม่ ร่วมกัน”  เพื่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนหลักสูตร เพราะในอดีตที่ผ่านมามักพบว่า เมื่อเราไปถามผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร ก็จะได้รับคำบอกว่า “ให้ไปถามฝ่ายวิชาการก็แล้วกัน ผม ไม่ค่อยรู้เรื่องหลักสูตรมากนัก”   เมื่อไปถามคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ก็จะได้รับคำตอบว่า  “เรื่องนี้ เป็นรายละเอียดระดับปฏิบัติการ ควรไปถามโรงเรียน  คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ไม่ทราบหรอก”   เมื่อไปสัมภาษณ์ ถามความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรกับศึกษานิเทศก์งานการวัดและประเมินผล ก็จะได้รับคำบอกว่า “ผมรับผิดชอบนิเทศงานด้านการวัดและประเมินผล จะไม่ค่อยรู้เรื่องหรือถนัดในเรื่องหลักสูตรการสอนหรอก”   ...หลังจากฟังคำตอบจากทุกคนแล้ว เราก็สรุปได้ว่า “ผู้เกี่ยวข้อง ทุกระดับ ไม่ค่อยรับรู้ และไม่เข้าใจหลักสูตร  อย่างแท้จริง”  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว “จะเกิดแรงผลักเพื่อขับเคลื่อนหลักสูตรได้อย่างไร”  จะเป็นการยากอย่างยิ่งที่จะทำให้หลักสูตรใหม่บรรลุผลตามเจตนารมณ์

                ถึงเวลาที่ต้องกระตุ้นให้ทุกคน ทุกระดับ รวมถึงพ่อ-แม่ของเด็ก จะต้องร่วมรับรู้ว่า หลักสูตรใหม่  2551 เน้นอะไร ..จะต้องทราบว่า หลักสูตรนี้ เน้นความเป็นคนดี อย่างน้อย 8 ประการ คือ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์   2)  ซื่อสัตย์สุจริต  3) มีวินัย  4) ใฝ่เรียนรู้  5) อยู่อย่างพอเพียง  6)มุ่งมั่นในการทำงาน  7) รักความเป็นไทย และ 8) มีจิตสาธารณะ  และ เน้น การเป็นคนเก่ง(สมรรถนะ) 5 ประการ คือ  1) ความสามารถในการสื่อสาร   2) ความสามารถในการคิด  3) ความสามารถในการแก้ปัญหา    4) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และ 5) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

        หลักสูตร เป็นเครื่องมือสำคัญ  เป็นกรอบแนวทางการจัดประสบการณ์แก่เยาวชน เป็นกรอบในการพัฒนากำลังคนของประเทศ  เป็นต้นตอของปัญหาการมีหรือไม่มีคุณภาพของคน  เป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทุกคน ต้องให้ความสำคัญ...หากยังหวังที่จะให้ประเทศนี้เจริญอย่างยั่งยืนในอนาคต 

หมายเลขบันทึก: 230316เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2008 06:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดียามเช้าค่ะท่านอาจารย์

กราบสวัสดีปีใหม่ สุขภาพกายในสุขสมบูรณ์นะคะ อาจารย์พี่ชาย

หลักสูตร  มีความสำคัญมากในการวางแผนจัดการเรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

มีความสุขในการทำงาน  รักษาสุขภาพนะคะ

ด้วยความเคารพค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • ที่โรงเรียนเป็นโรงเรียนนำร่องหลักสูตรใหม่ค่ะ
  • แต่คณะครูยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่
  • คงต้องศึกษากัน ต้องประชุมสัมมนากันอีกพักใหญ่ค่ะ
  • แต่เห็นด้วยกับการปรับหลักสูตรมาก ๆ เพราะหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีข้อบกพร่องมากมาย
  • ยิ่งใช้คุณภาพการศึกษายิ่งต่ำ ยิ่งแย่ (ความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ)
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีดีนะคะ

เรียน ครูอ้อย และ คุณ Lovefull

  • ฝากครูอ้อย เตียมการในการทดลองนำร่องการใช้หลักสูตรอย่างเต็มที่นะครับ ช่วยเรียนท่าน ผอ.ด้วยนะครับว่า "ผมฝากความหวังการทดลองนำร่องการใช้หลักสูตรไว้ที่ โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศัย ด้วยครับ เป็นโรงเรียนทดลองนำร่อง 1 ใน 3 ใช่ไหมครับ" อยากให้ทดลองอย่างเป็นระบบ เช่น เรื่อง "รูปแบบการบริหารจัดการกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่อส่วนรวมของนักเรียน" "รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์" "การพัฒนาสมรรถนะทั้ง 5 ตัว(หาข้อสรุปทีละตัวก็ได้ครับ)" อย่าลืมเชิญกรรมการสถานศึกษา และเครือข่ายผู้ปกครองร่วมวิจัยทดลองนำร่องด้วยนะครับ
  • สำหรับ อ. Lovefull ผมฝากทดลองเช่นเดียวกับข้างต้นนะครับ  อย่าลืมนะครับ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน

คุณ สายธาร และ ผอ.ประจักษ์

  • ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยม แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ให้กำลังใจ

๑.ให้ความรู้และให้ ร.ร.คิดเองก่อน

๒.ระดมความคิดร่วมกันทั้งผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง

๓.นำมาปรับปรุง พัฒนา สานต่อ

ทุกวันนี้ข้างบนคิดให้ นำร่อง แล้วมาบังคับใช้ ตราบใดที่ไม่ให้ความรู้และให้ร.ร.คิดเองก่อน ท่านก็คงคอยป้อนเหยื่อตลอดไป

ปัญหา ผู้บริหาร ครู ไม่รู้เรื่องหลักสูตรก็แนะนำให้เขาเปลี่ยนงานเสียเถอะ อย่ามาเป็นผู้ขวางทางแก่คนรุ่นหลังเลย คนอยากทำงานมีมากมายแต่เขาไม่มีโอกาส เพราะรัฐมัวแต่อุ้มค่อม จ้างไม่คุ้มเงิน หรอกรัฐกินไปวันๆ ให้ออกไปก็อดตาย

    การขับเคลื่อนหลักสูตร ผมคิดว่าน่าจะต้องขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรมครับ

   การจัดอบรมอย่างเดียว  ผมว่าไม่น่าจะขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าใดนัก

คุณ เมธี และ คุณ small man~natadee

  • เห็นด้วยกับคุณเมธีครับที่เน้นให้โรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ระดมสมอง ร่วมคิดกันอย่างจริงจัง
  • ในกรณีที่ข้างบนเป็นคนคิด ขณะนี้ ดูแล้ว เป็นเพียงกรอบกว้างๆ เพื่อให้ ร.ร.50,000 มีกรอบในการพัฒนาเยาวชนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก(แต่ในอนาคต อาจเน้นให้แต่ละเขตพื้นที่ออกแบบหลักสูตรเองมากขึ้น  ส่วนกลางอาจจะกำหนดเพียงคุณลักษณะหรือสมรรถนะอันพึงประสงค์ระดับชาติ เท่านั้น)
  • ในเร็ว ๆ นี้ ผมคิดว่าน่าจะมีระบบในการตรวจสอบ ประเมินศักยภาพของผู้บริหาร และครู ในเรื่องหลักสูตรอย่างจริงจัง จะได้ไม่ต้องให้ออกหรือเปลี่ยนงานกันหมด(ควรทดสอบความรู้กันอย่างจริงจัง เช่น ในปี 2552  ในการประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน ควรจัดให้มีการตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจเรื่องหลักสูตรใหม่กันกยอ่งจริงจัง) 
  • ที่คุณ  small man บอกว่า "ต้องขับเคลื่อนกันด้วยวัฒนธรรม" ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ  ลองเสนอวิธีการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นจะดีไหมครับ เพื่อ เขตพื้นที่ต่าง ๆ จะได้คิดออก หรือเห็นเป็นรูปธรรม
ครูกระปุกหนองหน่อง

เห็นด้วยกับแนวคิดของอาจารย์ค่ะ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรจะรู้เรื่องหลักสูตรใหม่ที่จะต้องใช้ในปี 2552 โรงเรียนดิฉันไม่ใช่โรงเรียนนำร่อง แต่มีความตั้งใจจริงที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดีค่ะ

สวัสดีปีใหม่ 2552 ครับ ครูกระปุกหนองหน่อง

  • ในปี 2552 เราคงจะต้องเรียนรู้ และเตรียมการเพื่อรองรับหลักสูตรใหม่กันอย่างเป็นระบบนะครับ  โรงเรียนนำร่องก็ต้องเร่งรีบหน่อย  โรงเรียนทั่วไปก็ควรเริ่มศึกษาและเตรียมการเช่นกัน
  • ใครที่คิดจะวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ในปี 2552 ควรจะคิดให้สอดคล้องกับบริบทของหลักสูตรใหม่

เห็นด้วยกับแนวคิดและหลักการของท่านอย่างยิ่ง แต่อยากฝากข้อคิดไว้ว่า

" แนวคิดและหลักการ เป็นเรื่องที่ง่ายและสวยหรู แต่

การปฎิบัติตามความเป็นจริงป็นเรื่องทียากและทรมานของมนุษย์ "

เรียน ท่าน นพรัตน์สิงขร

  • ขอบคุณครับที่ติดตาม
  • ผมเองเชื่อว่า ในการวาดฝัน ต้องวาดให้สวยหรูพอสมควร...ถ้า "แค่ฟังความฝัน ก็ ฝันแบบเละเทะ แล้ว..ตอนทำจริงคงจะยากที่จะประสบความสำเร็จ" นะครับ(แต่ต้องไม่ท้อถอย...หากไม่ได้ดังฝัน) ดูที่ http://gotoknow.org/blog/sup004/245377?page=1

หลักสูตรคือเศษ...กระดาษ....เปื้อนอักษรบันทึกมวลประสบการณ์อันเลิศเลอ..ถ้าขาดการนำไปใช้...อย่างเข้าใจ..และศรัทธา

เรียนท่าน ดร.สุพักตร์ ที่นับถือ

ปัญหาที่เกิดจากผู้ใช้หลักสูตร เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก ต้องใช้เวลาอีกนาน

คงค่อยเป็นค่อยไป เพราะเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน

ขอเป็นกำลังใจให้ท่านนะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • ครูอ้อย กับเพื่อนครู กลุ่มสาระฯละ 2 คน  จะต้องเข้ารับการอบรม เรื่อง หลักสูตร ในวันที่ 12-13 มีนาคมนี้ที่ รร.สตรีวิทยา 2 ครูอ้อยจะได้พบท่าน หรือเปล่าคะ

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

คุณ ท. ณเมืองกาฬ

  • ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมและร่วมแสดงความคิดเห็น
  • เรื่องการใช้หลักสูตรในรอบนี้ น่าจะต้องจริงจังนะครับ คงต้องช่วยกันทุกฝ่าย

 

ครูอ้อย

  • เอาใจช่วยนะครับ ขอให้ร่วมวางแผนกันอย่างจริงจัง  ผมคงจะไม่ได้ไปร่วมในวันที่ 12-13 มี.ค. ครับ

มันต้องลองทำดู เข้าบังคับมาก็ต้องทำครับ ไม่เป็นไรถึงจะเปลี่ยนกีครั้ง ก็ยังไม่เท่ากับหลักสูตรเดิม

ดีใจมากที่ยังมีคนพูดความจริงอยู่บ้าง ทำให้การใช้หลักสูตรเป็นไปได้บ้าง เพราะตลอดเวลาของการใช้หลักสูตรแต่ละยุคตั้งแต่หลักสูตร2503 เป็นต้น จนถึงหลักสูตร 2551 นักเรียนและครูตลอดจนผู้บริหารไม่ว่าระดับไหนๆ ก็ไม่ได้ปรับอะไรมากนักพออบรมหลักสูตรเสร็จ ก็เปลื่ยนตำรา ครูก็สอนตามตำราใหม่ เยาวชนก็เรียนตามตำราใหม่ แล้วก็จบ เพราะไม่มีแรงจูงใจทั้งภายในและภายนอก เด็กสมัยนี้จึงขาดคุณธรรม 8 ประการ เพราะขาดตัวอย่างที่ดีทางสังคม โดยเฉพาะนักการเมือง

นายทองย่อม สาครสูงเนิน

เรียน ท่านอาจารย์ ผมหนักใจมากในการนำหลักสูตรไปใช้ เพราะครูส่วนใหญ่อ่านหนังสือน้อย ไม่ค่อยอ่านเลย ครูทุกวันนี้ ( ครูใน รร. ในศูนย์ 9-10 รร. ที่ผ่านมาต้นปีการศึกษา ครูมาร่วมกันทำหลักสูตร ในระดับสถานศึกษา เพราะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ครูน้อย จะทำหลักสูตรให้สมบุรณ์ทุกสาระ จึงระดมกัน แต่ใช้เวลามาก ครูอายุมาก เมื่อได้หลักสูตรมาแล้ว ไม่นำไปใช้ สอนเหมือนเดืม ไม่วางแผนการสอน เคยสอยอย่างไร ก็สอนอย่างที่ เคย เมื่อ 20-30 ปีก่อน ขาดการใช้สื่อเพราะไม่ได้วางแผนการสอน ยึดตัวเองเป็นสำคัญ ผอ. นิเทศ กำกับ ติดตาม ก็ปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟาง ผมมาวิเคราะห์ดูแล้ว พบว่าครูมีปัญหาทางด้านรายได้ ไม่พอกับรายจ่าย เป็นหนี้ ทำตัวรสนิยมสูง ใช้เงินเกินตัว กู้ทุกธนาคารที่เขาให้สิทธิกู้ ขาดการวางแผน ขาดความพอตี หนักใจมากฐานะผ้บริหาร จะมีจิตใจมาวางแผนการสอน นักเรียนจึงขาดคุณภาพ เพราะครูขาดความเอาใจใส่เท่าที่ควร ผอ.ก็นิเทศ กำกับตืดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงาน แต่พอจะนำผลมาพิจารณาความชอบจะไม่ให้ก็สงสาร อาจารย์ช่วยเสนอแนะแนวทาง ให้ด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

เรียนท่านอาจารย์ ที่เคารพ ที่โรงเรียนไม่ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร ปี 51ค่ะ ให้บุคลากรไปอบรม และให้จัดอบรมกันเอง อยู่ที่จังหวัดอุดรธานี และโรงเรียนเอกชนของเราก็โชคร้ายที่ สพท ไม่ให้เข้าร่วมด้วย จึงต้องอบรมเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท