การประเมินคุณภาพของครู คศ.3 และ คศ.4


ครูมีวิทยฐานะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน...แต่คุณภาพของเด็กไม่เปลี่ยนหรือพัฒนามากขึ้น ตามวิทยฐานะของครู อีกทั้งรัฐก็ไม่มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาคุณภาพที่มากพอ ..เราจะแก้ปัญหานี้กันอย่างไร

       เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ได้ร่วมประชุมคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 และในวันที่ 13 พ.ย.2551 ได้ร่วมประชุมคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา กทม.เขต 2  จากการประชุมทั้ง 2 รายการนี้ ทำให้ทราบว่า ในปีงบประมาณ 2552  เขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทย จะได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาน้อยมาก งบประมาณที่ สพฐ. ได้รับ ในวันนี้  ส่วนใหญ่จะเป็นหมวดเงินเดือนและค่าตอบแทน  และในอนาคต งบประมาณในหมวดนี้ นับวันแต่จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผู้เสนอขอเลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษ(คศ.3) และเชี่ยวชาญ(คศ.4) จำนวนมาก ซึ่งทั้ง 2 ตำแหน่งนี้ จะได้รับเงินวิทยฐานะเดือนละ 5,600 x 2 บาท  และ 9,900x 2 บาท ตามลำดับ โดยนัยนี้ น่าจะสรุปได้ว่า ในอนาคต รัฐจะต้องจ่ายค่าวิทยฐานะให้แก่ข้าราชการครูในแต่ละเดือน เป็นจำนวนมาก  น่าจะมีผลทำให้งบประมาณเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั่วไปในแต่ละปี น้อยลง เป็นลำดับ..........แล้ว........เราจะแก้ปัญหาเหล่านี้กันอย่างไร

       ในทัศนะของผู้เขียน เห็นว่า ในเมื่อรัฐต้องจ่ายค่าตอบแทนวิทยฐานะ หรือนำเงินพัฒนาคุณภาพจำนวนมาก ไปจ่ายเป็นค่าตอบแทนวิทยฐานะหมดแล้ว  รัฐจะต้องผลักดันให้ข้าราชการครูกลุ่มนี้ แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ในการแสดงความรับผิดชอบให้สมกับวิทยฐานะ  ข้าราชการครูที่มีวิทยฐานะ คศ.3  ต้องแสดงความรับผิดชอบให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลดีต่อนักเรียนมากกว่า ครู คศ.2 หรือครูทั่วไป   หรือ  ครูเชี่ยวชาญ(คศ.4) ก็ต้องแสดงตนให้เห็นว่า ได้ทำหน้าที่ครูแกนนำในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน จนมีผลทำให้คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมีมาตรฐานสูงขึ้น เป็นลำดับ   หรือ อีกนัยหนึ่งก็ คือ เมื่อสิ้นปีการศึกษา ครูชำนาญการพิเศษ(คศ.3) หรือครูเชี่ยวชาญ(คศ.4) จะต้องจัดทำรายงานสรุปผลงาน เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบของตนเอง หรือแสดงให้เห็นว่าตนเองทำงานได้อย่างมีคุณภาพสูงกว่าครูทั่วไป.....ตามข้อเสนอนี้ ผมหมายถึงว่า ต่อจากนี้ไป ควรมีการประเมินคุณภาพครูที่มีวิทยฐานะ กันอย่างจริงจัง(รวมถึง ผศ. รศ. และ ศ. ใยนระดับอุดมศึกษาด้วย) เพื่อผลักดันให้ครูเหล่านี้ ทำงานอย่างมีคุณภาพ หรือทำตนเป็นแกนนำในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน  เพราะต่อจากนี้ไป อาจไม่มีงบประมาณเพื่อการพัฒนาคุณภาพที่จัดสรรมาให้เพื่อการพัฒนางานอีกต่อไปแล้ว(คุณภาพต้องอยู่ในตัวบุคคล)   หากไม่เป็นเช่นนี้แล้ว  ปัญหาที่เรามักจะได้ยิน และมีแนวโน้มได้ยินบ่อยมากขึ้น คือ  “ครูมีวิทยฐานะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน...แต่คุณภาพของเด็กไม่เปลี่ยนหรือพัฒนามากขึ้น ตามวิทยฐานะของครู”.....

เราในฐานะครู คศ.3 และ คศ.4 หรือผู้มีวิทยฐานะทั้งหลาย มาช่วยกันเถอะครับ แสดงความรับผิดชอบ ให้เห็นว่า เราทำงานอย่างมีคุณภาพมากกว่าครูทั่วไปที่ไม่มีวิทยฐานะ หรือมีวิทยฐานะต่ำกว่า...ช่วยกันแสดงให้สังคมเห็นว่า เรามีคุณภาพสมกับตำแหน่งวิทยฐานะอย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 223167เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2008 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการประเมินค่ะ..การได้มาซึ่งวิทยฐานะยากลำบาก รัฐต้องใช้งบประมาณมาก..ดังนั้นศักยภาพที่แสดงให้เห็นว่าคุณภาพของเด็กไม่ได้สวนทางกัน..แต่มีข้อจำกัดในการทำเหมือนกันน่ะค่ะ(ต้องถามนักรับจ้างทำวิจัยกระมัง)

  • ยังไงก็เป็นกำลังใจให้คุณครูทำหน้าที่ให้เต็มที่ เต็มความสามารถ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • สำหรับค่าตอบแทนนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ครูผู้สอนได้รับจากการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดและมีประสิทธิภาพตามที่ได้เขียนรายงานวิจัยมาเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ครู คศ.3 หรือ ครู คศ.4 นั้น  ที่จะได้รับนั้น.....เป็นเรื่องที่  บุคคลทั่วๆไปตั้งความหวังว่า.....จะต้องประพฤติปฏิบัติให้สมกับสิ่งที่ได้รับมา
  • ดังนั้น  เราชาวครูยินดีและพร้อมเสมอที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนากันอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
  • ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ  ที่กระตุ้นให้ครูได้รับรู้และเตรียมตัวไว้

อาจารย์สบายดีนะคะ  ครูอ้อยกำลังสรุปรายงานวิจัยอยู่ค่ะ

ครูแอน

  • ขอบคุณครับ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น
  • ถ้าสัดส่วนคุณภาพการศึกษา แปรผันตามสัดส่วนครูที่มีวิทยฐานะ ผมคิดว่า จะมีการส่งเสริมให้ครูเข้าสู่วิทยฐานะกันอย่างแพร่หลายและจริงจังมากขึ้นอย่างแน่นอนครับ จะเกิดผลดีต่อความก้าวหน้าของครูในรุ่นต่อ ๆไป ครับ

ครูอ้อย

  • ผมสบายดีครับ ขอบคุณที่ถามถึง  คงจะสบายดีเช่นกันใช่ไหม
  • เมื่อวานนี้ ไปประชุมกรรมการเขต กทม.เขต 2 ก็ได้พูดคุยกันเรื่องจุดเน้นของเขตพื้นที่ ในปีการศึกษา 2552 จุดเน้นหนึ่งที่มีการเสนอกัน คือ "ส่งเสริมให้ครูก้าวสู่วิทยฐานะและจัดให้มีการประเมินมาตรฐานวิทยฐานะอย่างต่อเนื่อง"...ถ้าสามารถทำให้เป็นรูปธรรมใน กทม.เขต 2 ก็น่าจะเป็นแนวทางแบบอย่างสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาอื่น ๆ ครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

คือครูลี่ได้ คศ.3 เชิงประจักษ์ รุ่นแรกและรุ่นเดียวแต่ไม่ใช่รุ่นที่อบรม แล้วได้นะคะ ครูลี่ส่งแล้วผ่านเลยไม่ได้แก้ไม่ได้อบรม ตอนนี้กำลังทำคศ.4 อยู่ค่ะ แต่จริงๆแล้วชอบการประเมินแบบเชิงประจักษ์มากกว่าค่ะ เพราะครูลี่บรรยายไม่เก่ง อายค่ะ

ครูลี่

  • จริง ๆ แล้ว การประเมินเชิงประจักษ์น่าจะดีที่สุดนะครับ จะให้ผลการประเมินตรงตามสภาพจริง  ในการประเมินเพื่อ ขอวิทยฐานะ คศ.3 ผมเองอยากให้ใช้วิธีนี้มากที่สุด

จริงๆแล้ว นะคะ ครูลี่ก็รอการประเมินที่ทาง กคศ. บอกว่ามีเกณฑ์ใหม่ ที่เป็นการประเมินเชิงประจักษ์ คือส่งผลงานพร้อมใบสมัครน่ะค่ะ แต่ก็เลื่อนแล้วเลื่อนอีกครูลี่ก็เลยสมัครไปเมื่อเดือนเมษายน 51 เพราะครูลี่ไม่มีเวลาแล้ว (ใกล้เกษียณแล้วค่ะ)แต่พอให้เขียนรายงาน 20 - 50 หน้าครูลี่ชักอยากจะถอยอย่างที่บอกน่ะค่ะว่า ครูลี่ไม่รู้จะเขียนว่าไง เขียนไม่เก่ง นี่เป็นความเครียดของครูที่บรรยายความดีความเก่งไม่เป็นน่ะค่ะ อาจารย์ ไม่ทราบเขาคิดเกณฑ์ออกมาได้ยังไงนะคะ อยากต่อว่า ขอบคุณอาจารย์นะคะที่เปิดโอกาศให้แสดงความคิดเห็น (หรือแสดงความคับอกคับใจก็ไม่ทราบนะคะ)

  • เป็นความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ไม่เอาเปรียบสังคม ยอมรับในคุณค่าของตนเองโดยดุษฎีภาพ
  • ชื่นชมความคิดค่ะ
  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะให้มีการประเมินเชิงประจักษ์
  •  สำหรับครูที่มีวิทยฐานะ ควรได้รับการประเมิน เป็นระยะ เพื่อให้สมฐานะครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ
  •  แม้แต่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ยังมีอายุงานเพียง 5 ปี
  • ครบ 5 ปี ก็ต้องประเมินต่อใบอนุญาต ฯ น่าจะทำแบบนี้บ้างนะคะ เพื่อคุณภาพ และประสิทธิภาพค่ะ
  • เอาใจช่วย ครูลี่ นะครับ ส่งแบบเก่า กับแบบใหม่(ไม่รู้จะเมื่อไหร่) ไม่น่าจะแตกต่างกันมากนัก
  • ขอบคุณ คุณครูวรางภรณ์ และ คุณเอิ้องแซะ ที่เห็นด้วยในความคิด  อันที่จริง เป็นระเบียบของ ก.ค.ศ.อยู่แล้วนะครับ ในการประเมินเพื่อปกป้องวิทยฐานะเป็นระยะ ๆ แต่ไม่มีการปฏิบัติกันอย่างจริงจังสักที
  • ในความคิดผม ผมคิดว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา สามารถดำเนินการได้เลย โดยประกาศเป็นหลักการหรือแนวปฏิบัติของเขตพื้นที่การศึกษา(หน้าที่แรกของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ คือ กำหนดหลักเกณฑ์ นโยบาย หรือแนวปฏิบัติในการบริหารงานบุคคล ของเขตพื้นที่...แต่ในปัจจุบัน ยังไม่ได้ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในเกือบทุกเขตพื้นที่)

องค์เทวี จากฟ้า มาจุติ

ทรงสิริโฉมนาถ พิลาสแสน

จักรีวงศ์ ดำรงศักดิ์ ภักดิ์ทั่วแดน

พระมาตรแม้น ร่มฉัตร บำบัดภัย

พระโสทร เชษฐภคินี

พระเมตตา บารมี นี้ยิ่งใหญ่

ทำนุราษฏร์ ทุกข์เข็ญ เย็นทั่วไทย

เป็นที่พึ่ง กายใจ ให้ทุกชน

การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม

ทรงชูชุบ อุปถัมภ์ นำเกิดผล

คนพิการ ด้อยชีวิน ทรงยินยล

ทุกแห่งหน ทรงพัฒนา ค่าชีวัน

มาวันนี้ ถึงครา ทรงลาลับ

เสด็จกลับ คืนห้วง สรวงสวรรค์

ราษฎร์หวนหา อาลัย ใจผูกพัน

มาพร้อมกัน ส่งกัลยา สู่ฟ้าเทอญ

ดีใจมากที่จะถูกประเมิน ชอบมาก เพราะเท่าที่ผ่านมา ครูที่ลงมือทำผลงานด้วยตนเองมีน้อยมาก ส่วนมากจ้างค่ะ จ้างจริง ๆ ถ้าประเมินเป็นเอกสาร ครูเหล่านี้ก็จ้างอีก คนที่รวยที่สุดคือครูที่รับจ้างทำผลงาน ครูที่จ้างก็เป็นหนี้ต่อไป ส่วนคนที่น่าสงสารที่สุดคือ คุณภาพของนักเรียนไทย ไชโย ประเทศไทย รู้อย่เต็มอกว่าเข้าจ้างทำ แต่ทำอะไรเขาไม่ได้ สงสารประเทศไทยค่ะ

ครูคศ. 3 คนใหม่ หมาด ๆ

เรียน อ.ดร สุพักตร์

เคยอ่านบทความของอาจารย์หลายหน ชอบแนวคิดค่ะ และถูกใจมากกับบทความด้านบน ดิฉันพยายามทำผลงาน เก็บงานอยู่ 3 ปี จึงส่ง ได้รับอนุมัติ ไม่ต้องแก้ไขเลย (ไม่ได้เก่ง แต่ศึกษาและทำจริง ๆ ) ครูบางคนทำ 3 เดือน ไม่รู้ว่าหาประสิทธิภาพสื่ออย่างไร บางคนบอกสื่อฉันดีสามารถทำขายได้ แต่หารู้ไม่สื่อที่ทำสอนเด็กได้แต่ข้อเท้จจรอง รู้ จำ แต่ไม่รู้ว่ากระบวนการที่จะให้เด็กคิด สร้างองค์ความรู้ทำอย่างไร ครูบางคนทำแผนการจัดการเรียนรู้ก็ไม่เป็น แผนฯ ถือเป็นหัวใจสำคัญ ทฤษฎีการเรียนรู้ไม่รู้จัก สอนแต่จำข้อเท็จจริง ไม่สอนให้สร้างความรู้

อยากให้มีการประเมินอย่างที่อาจารย์ว่า สิ้นปีสรุปรายงาน จัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนอย่างไร เกิดกระบวนการสร้างความรู้อย่างไร มีร่องรอยหลักฐานปรากฏ ครูที่จ้างเขาทำผลงานจะได้เลิกซะที หันมาจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กคิด เด็กทำ ครูต้องคิดกระบวนการเรียนการสอนใหม่ ๆ อยู่เสมอ ต้องตื่นตัว ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ได้ วิยฐานะแล้วนอนกิน ทิ้งเด็ก

ปัจจุบันเด็กไทยมีความประพฤติที่ถดถอยลง ครูชำนาญการพิเศษทั้งหลายต้องมาช่วยกันสร้างคุณภาพการศึกษา พัฒนาให้เด็กไทยพร้อมที่จะก้าวไปแข่งขันกับต่างประเทศ ถ้าครูทำไม่ได้ก็คืนวิทยฐานไป เอาไว้แต่ระดับ คศ. พอ เสียดายงบประมาณ

ครูที่รับเงินเดือนไปเลี้ยงชีพตนและครอบครัว หากไม่ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ ไม่จริงใจ ไม่สนใจประสิทธิภาพในการเรียนการสอนผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน และมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาในตัวผู้เรียนที่พบทันที รัฐจ้างให้มาสอนให้เด็กเป็นคนดีมีคุณธรรม รู้รับผิดชอบชั่วดีปรับตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ครูที่ทำได้ทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนจะเป็นแบบอย่างที่ดีได้อย่างไร เราควรตั้งใจพัฒนาตัวเราเองให้มีคุณภาพสมคำว่าครู ขอให้กำลังใจครูที่เป็นครูด้วยจิตวิญญาณ อย่าท้อถอยสังคมต้องการครูอย่างท่าน อย่าด่วยตัดสินใจลาออกก่อนนะคะ ประเทศชาติของเราต้องการคนดี ให้คอยดูแลคนไม่ดีไม่ให้มีโอกาศแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมา รักคุณครูทุกคนค่ะ ครูวารุณี

เคยเข้าร่วมประชุมกับ ดร.สุพักตร์ บรรยายเก่งมากๆ อยากเข้าร่วมกิจกรรมกับดร.อีกถ้ามีโอกาส และเห็นด้วยกับการประเมินวิทยฐานะครู คศ.3,คศ.4 อย่างน้อย 3 ปีน่าจะประเมินสักครั้ง ดิฉันได้อาจารย์ 3 ระดับ 8 ตั้งแต่ปี 45 ซึ่งกว่าจะได้ส่งใช้เวลาในการเตรียมการนานถึง 10 ปี และดำน้ำส่งไปโดยที่ไม่รู่ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน ส่ง ส.ค.45 กว่าจะรู้ผล ม.ค.47 ซึ่งลืมไปแล้ว และได้ส่งผลงานเชิงประจักษ์ผ่านไปแล้ว 1 ภาคเรียน หลายคนบอกว่าสมัยนี้ คศ.3 จ้างเขาทำ รุนแรงไปหรือเปล่า ในโรงเรียนดิฉันจะยุให้ครูทำผลงานกันมากๆโดยการรวมกลุ่มช่วยเหลือกัน และผ่านเกือบทุกคนที่ส่ง แต่อย่างว่าผลสัมฤทธ์นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ทุกกลุ่มสาระ (กรรมตกที่เด็ก)

ดร.สุพักตร์ พิบูลย์
  • ขอบคุณครูใต้และทุกท่านนะครับ ที่ติดตามผลงาน
  • ปัจจุบันผมเขียนบทความสั้น ๆ ให้ข้อคิดด้านการศึกษาอีกช่องทางหนึ่งผ่านทาง

 https://www.facebook.com/home.php#!/suphak.pibool

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท