ศึกษานิเทศก์กับ การทำหน้าที่หัวหน้าชุดโครงการวิจัย


ศึกษานิเทศก์ควรมีทักษะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดทำชุดโครงการวิจัย และการบริหารจัดการในฐานะหัวหน้าชุดโครงการวิจัย โดยมีครู-คณาจารย์ เป็นทีมงานวิจัยหรือเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบดูแลโครงการวิจัยย่อย ๆ

                ศึกษานิเทศก์ ถือเป็นผู้นำทางการศึกษา เป็นนักวิชาการที่มีบทบาทสำคัญในการ “คอยกระตุ้น สนับสนุน ชี้แนะ ทิศทาง หรือเทคนิควิธีในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ครู-คณาจารย์ หรือบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา” นอกจากการนิเทศงาน ด้วยการสอนงาน  การให้คำปรึกษา  การจัดอบรม สัมมนา การผลิตสื่อเสริมความรู้แก่ครู  การนำเสนอสาระน่ารู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น บทความทางวิชาการ การนำเสนอต่อที่ประชุม  การนำเสนอผ่านเว็บไซด์ ฯลฯ ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่า สิ่งหนึ่งที่ศึกษานิเทศก์ควรมีทักษะอีกประการหนึ่ง  คือ  การจัดทำชุดโครงการวิจัย และการบริหารจัดการในฐานะหัวหน้าชุดโครงการวิจัย โดยมีครู-คณาจารย์ เป็นทีมงานวิจัยหรือเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบดูแลโครงการวิจัยย่อย ๆ ในชุดโครงการวิจัย  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

        ชุดโครงการวิจัย เรื่อง  รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในกลุ่มวิชาอาชีพ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2   ประกอบด้วย 5 โครงการย่อย คือ 1) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน วิชา งานประดิษฐ์ดอกไม้สด ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน....  2) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิชา งานใบตอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน.....  3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน วิชา การปลูกพืชสมุนไพร ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน....ฯลฯ (มีครูเข้าร่วมโครงการ 5 คน  สอนคนละโรงเรียน  คนละวิชา  แต่เป็นวิชาในกลุ่มวิชาอาชีพทั้งหมด ครูแต่ละคน ถือเป็นเจ้าของโครงการวิจัยย่อย ที่มีลักษณะของการวิจัยและพัฒนาหรือการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งครูทั้ง 5 คน จะต้องเขียนรายงานการวิจัยเป็นเล่มของตนเองให้แล้วเสร็จ  ก่อนที่ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าชุดโครงการจะเขียนรายงานการวิจัยในภาพรวม

        ชุดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดเสริมทักษะพื้นฐานเพื่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  มีครูร่วมโครงการ 4 คน แต่ละคนจัดทำชุดเสริมทักษะพื้นฐานก่อนเรียนเรื่องใด ๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ ตามที่ตนเองเคยประสบปัญหาในการสอน เช่น  ครูคนที่ 1 ทำการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาชุดเสริมทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานก่อนเรียน เรื่อง ทฤษฎีความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน....”   ครูคนที่ 2 เรื่อง “การพัฒนาชุดเสริมทักษะพื้นฐานก่อนเรียน เรื่อง  สมการกำลังสอง  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน.....”  ฯลฯ    หลังจากครูแต่ละคนทำการวิจัยแล้วเสร็จ และเขียนรายงานการวิจัยเล่มของตนเอง เรียบร้อยแล้ว  ศึกษานิเทศก์หัวหน้าชุดโครงการวิจัย จะเขียนรายงานการวิจัยในภาพรวม โดยนำเสนอผลให้เห็นว่า การจัดทำชุดเสริมทักษะพื้นฐานเพื่อการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องใด ๆ มีผลดีต่อเด็กหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

        การทำการวิจัยในลักษณะของชุดโครงการวิจัย โดยมีศึกษานิเทศก์เป็นหัวหน้าชุด จะเกิดผลดี คือ 1) เป็นการนิเทศงานแบบร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปรึกษาหารือ  2) ทุกคนที่ร่วมในการวิจัย มีผลงานวิจัยเป็นของตนเอง สามารถนำเสนอเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะได้   3) ศึกษานิเทศก์จะมีความรู้แตกฉาน มีองค์ความรู้สำหรับการนิเทศเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ 4) ครู-อาจารย์ จะมีเพื่อนคู่คิด  ทำให้งานวิจัยไม่ใช่เรื่องยาก  ทำให้ได้องค์ความรู้และประสบการณ์ในการสอนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในที่สุด จะสามารถชี้นำตนเองในการพัฒนางานได้   ฯลฯ(พรรณนาไม่หมด)

       ในความคาดหวังของผม ผมคิดว่า ในแต่ละรอบปี ศึกษานิเทศก์แต่ละคน น่าจะร่างชุดโครงการวิจัย และ ประกาศรับสมัครครูเข้าร่วมในชุดโครงการวิจัย อย่างน้อยปีละ 1 ชุดโครงการ

หมายเลขบันทึก: 248763เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2009 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะอาจารย์

เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมาอาจารย์ไปบรรยายที่โรงเรียน เตรียมพัฒน์ฯ ใจอยากทำทุกอย่างที่อาจารย์พูดให้ฟัง ยินดีช่วยโรงเรียนเต็มที่ตามแต่เขาจะสั่งค่ะ ขณะนี้ทัศนาพร ทำโครงการพัฒนาครูผู้วิจัยที่โรงเรียน โดยหวังว่าการคุยกันเรื่องงานวิจัยระหว่างครูกับครูด้วยกันจะได้ผลดีกว่าในอดีต เป้าหมายปีงบประมาณนี้เพียง 20 คน มากกว่านี้ไม่ไหวค่ะ เพราะรับอ่านให้เขาครบ 5 บท นัดมาคุยกันวัน เสาร์- อาทิตย์ ขณะนี้ทำต่อเนื่องประมาณ 3 ครั้งแล้วค่ะ ผลตอบรับ ดีมาก ยังไม่จบโครงการ น่าจะไปโยงกับคำว่าชุดโครงการวิจัย ที่ท่านเขียนได้ใช่ไหมคะ

สมัครเป็นลูกศิษย์ท่านอีกคนคะ

..ทัศนาพร กันพรหม..

ขออนุญาตนะคะ เราเป็นครูสอนมัธยม สนใจงานวิจัยเกี่ยวกับวิชางานคหกรรม เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนางาน พัฒนาการเรียนรู้

มาลี จุลบุรมย์

  • สวัสดีครับ อ.มาลี
  • จะให้ช่วยอะไรไหมครับ

เรียน ท่านอาจารย์ที่นับถือ

๑. ผมมีความสนใจอย่างมากในความคิดเห็นของท่านอาจารย์ที่เสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของ ศน.ในฐานะ หน.โครงการวิจัยและพัฒนาของครู คือ หัวข้อหรือปัญหาของผม ใน สพท.ที่ผมทำงานอยู่ ครูมีปัญหาเรื่องการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะภารกิจภาคบังคับที่ต้นสังกัดสั่งการมาว่า จะต้องสอนประวัติศาสตร์ สัปดาห์ละ ๑ ชม. ในทางปฏิบัติคือ ? ผมจึงสนใจที่ส่งเสริมให้ครูมีความตระหนักและมองเห็นความสำคัญของการสอนประวัติศาสตร์ ผม ( เป็น ศน. ) ควรทำอย่างไรดี ขอความคิดเห็นจากท่านอาจารย์ด้วยครับ ...

๒. อยากได้หนังสือชุดฝึกกิจกรรมการประเมินของท่านอาจารย์ครับ ... ( แต่เดิม - ผมก็มีแล้วแต่มี : S.Goodhope / ส.ผู้หวังดี หยิบอ่านเพื่อสอบ ผอ.สพท. ไม่ได้บอกกล่าว...เพราะ ผมมี เจ้านายระดับรอง ผอ.สพท.ตั้ง ๑๒ คน เลยจับมือใครดมไม่ได้ ... ) จึงอยากอีกหนึ่งชุดครับ จะต้องทำอย่างไรบ้าง ?

อยากให้อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้

1.รูปแบบการประกันคุณภาพการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

2.รูปแบบการวิจัยโครงการเพิ่มประสิทธิภาพสถานศึกษาที่ตำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท