ผลงานประเภท R&D...ตัดสินคุณภาพกันที่ “ตัวนวัตกรรม” หรือ “ตัวรายงาน”


ในการพิจารณาและตัดสินคุณภาพผลงานประเภทวิจัยและพัฒนา หากทราบจุดเน้นในการตัดสินคุณภาพที่เป็นที่เข้าใจตรงกัน จะช่วยลดความคลาดเคลื่อนและความขัดแย้งในการตัดสินคุณภาพได้

          ในงานวิจัยประเภท “วิจัยและพัฒนา(The Research and Development)”   ผลลัพธ์ที่สำคัญที่ได้จากงานวิจัยประเภทนี้ คือ 1) สิ่งประดิษฐ์/วัตถุ ที่เป็นชิ้น เป็นอัน(Materials)   เช่น จรวด  รถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์  โทรศัพท์มือถือ  ชุดการสอนของครู  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ชุดฝึกทักษะ/แบบฝึก ฯลฯ   และ 2) รูปแบบ/กระบวนการ/วิธีการ/ระบบงาน(Process/Procedure/System)  เช่น  ระบบ Q.C.   ระบบ TQM   ระบบ ISO    รูปแบบการบริหารจัดการ   กระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม  รูปแบบการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล   การสอนแบบโครงการ  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน   การจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ  ฯลฯ

          ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยในการตัดสินคุณภาพผลงานประเภทนี้ คือ  ในกรณีของ การวิจัยเชิงประดิษฐ์ หรือการวิจัยประเภทที่ 1)  ผู้พัฒนาผลงานจะนำเสนอทั้ง “ตัวนวัตกรรม” และ “รายงานการพัฒนานวัตกรรม” หรือ “รายงานผลการใช้” ในกรณีนี้ คุณค่าของผลงานน่าจะอยู่ที่ประสิทธิภาพหรือคุณภาพของสิ่งประดิษฐ์ หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องดูกันที่ ”ตัวนวัตกรรม” มากกว่าดูกันที่ “ตัวรายงานการพัฒนา”  

    “ตัวนวัตกรรม” จะสะท้อนถึง “ความถูกต้อง  ความครบถ้วน และ ความสร้างสรรค์”  ส่วน “ตัวรายงาน” จะสะท้อนถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรม....ในการตัดสินคุณภาพผลงาน โดยเฉพาะ ถ้าเป็นการนำเสนอผลงานเพื่อเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ  น่าจะแยกพิจารณา ดังแนวทาง ต่อไปนี้

      1) ถ้าผลงานมีความสมบูรณ์ทั้ง “ตัวนวัตกรรม” และ “รายงานการพัฒนา” ...การตัดสินคุณภาพก็ทำได้ง่าย  ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

      2) ในกรณีที่ “ตัวนวัตกรรมมีคุณภาพ หรือมีความน่าสนใจ หรือ สร้างสรรค์อย่างยิ่ง” แต่ “เขียนรายงานการพัฒนา” ได้ไม่ดี(รายงานไม่มีคุณภาพ)....ในกรณีเช่นนี้...ควรจะให้ปรับแก้ หรือพอจะให้ผ่านได้กระมัง

      3) ในกรณีที่ “ตัวนวัตกรรม ไม่ดี ไม่มีคุณภาพ ไม่ถูกต้อง ไม่น่าสนใจ” แต่เขียน “รายงานการพัฒนา ระดับ ดีมาก”(เขียนให้ดูดี)...ผลงานเช่นนี้ ไม่น่าจะผ่าน และไม่น่าจะปรับแก้ได้(ถ้าจะปรับแก้ คือ ต้องแก้ที่ตัวนวัตกรรม และต้องทดลองใหม่)

      4) ในกรณีที่ “ตัวนวัตกรรม” ไม่ดี ไม่มีคุณภาพ   “รายงานการพัฒนาฯ” ก็ไม่มีคุณภาพ...กรณีนี้ คงจะตัดสินได้ง่ายมาก(ไม่ผ่าน)

        ส่วนในกรณีที่ ผลงานวิจัยและพัฒนา เป็นการพัฒนาประเภทที่ 2) คือ พัฒนากระบวนการ/วิธีการ เช่น พัฒนารูปแบบการสอน วิธีสอน หรือกระบวนการจัดการเรียนรู้...การตัดสินคุณภาพ มักจะดูกันที่ “รายงานการวิจัยและพัฒนา” (โดย อาจพิจารณาส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น สื่อ คู่มือการจัดกิจกรรม  เพื่อใช้ประกอบการตัดคุณภาพผลงาน)  ผลงานประเภทหลังนี้ ผู้วิจัยต้องโชว์ความโดดเด่นในเรื่อง การนำเสนอกระบวนการ/วิธีการ  หรือ มีหลักทฤษฎี-หลักวิชาที่ใช้เป็นกรอบความคิดในกระบวนการบริหารจัดการอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ซึ่งเขียนรายงานได้ยากกว่า รายงานการวิจัยประเภทที่ 1)

หมายเลขบันทึก: 306560เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2009 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียน ท่านอาจารย์

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ

แต่การตัดสินมักอยู่ที่ กรรมการค่ะ ที่จะประเมินตามเกณฑ์ใด

ขอบพระคุณมากค่ะที่แบ่งปันข้อคิดดีดีให้ได้อ่านค่ะ

อาจารย์..ลูกศิษย์อบรมการประเมินและเขียนรายงานโครงการฯ..มารายงานตัวค่ะ..

“ตัวนวัตกรรม” จะสะท้อนถึง “ความถูกต้อง  ความครบถ้วน และ ความสร้างสรรค์”  ส่วน “ตัวรายงาน” จะสะท้อนถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรม........ขอบคุณค่ะอาจารย์

ครูอี๊ด ครูอ้อยเล็ก

  • ขอบคุณครับ ที่เข้ามาเยี่ยม
  • คุณอ้อยเล็ก อบรมแล้ว ได้ประโยชน์ไหมครับ

ได้ค่ะอาจารย์แบบฟอร์มต่างๆและวิธีต่างๆก็สามารถนำมาใช้ได้แต่ยังไม่เต็มที่เพราะติดวิทยานิพนธ์ค่ะ...

ชุดกิจกรรมหลักสูตร

การเขียนรายงานการประเมินโครงการและการเขียนรายงานโครงการ

โดย

รศ.ดร.สมคิด   พรมจุ้ย

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

กิจกรรมที่ 1 เขียนรายงานโครงการในส่วนของบทที่ 1 - 3

        ให้สมาชิกรวมกลุ่ม 8 – 10 คน เลือกโครงการที่จะจัดทำรายงานโครงการมา 1 โครงการเสร็จแล้วดำเนินการจัดทำร่างรายงานโครงการดังนี้

        1) บทที่ 1 บทนำ  เขียนรายงานให้ครอบคลุมหัวข้อ  ความเป็นมาและความสำคัญของการโครงการ   วัตถุประสงค์ของโครงการ  ขอบเขตของการดำเนินงาน  นิยามศัพท์  และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

       2) บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง ในครั้งนี้ให้เขียนเฉพาะรายละเอียดในส่วนของสาระสำคัญของโครงการที่มุ่งรายงาน

3) บทที่ 3 วิธีดำเนินงาน  เขียนรายงานโครงการให้ครอบคลุมหัวข้อ  กระบวนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มดำเนินงานจนสิ้นสุดโครงการ 

รายงานโครงการ......................................................................................................…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ส่วนเนื้อหา   ประกอบด้วย

บทที่ 1 บทนำ

         1. ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ

     1.1  ความเป็นมาของโครงการ

     1.2 เหตุผลในการดำเนินโครงการ

 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ      

    2.1 เพื่อ………………………………………………......…...........................

    2.2 เพื่อ…………………………………………............................................

    2.3 เพื่อ……………………………………...................................................

3. ขอบเขตของการดำเนินงาน

    3.1 การดำเนินโครงการครั้งนี้  มุ่งทำอะไรบ้าง.............................................................

..................................................................................................................................

    3.2 แหล่งข้อมูล/ผู้ให้ข้อมูลในการรายงาน ประกอบด้วย....................................

..................................................................................................................................         ..................................................................................................................................

3.3     ตัวชี้วัด/ประเด็นที่มุ่งศึกษา/รายงาน (ดูจากวัตถุประสงค์ของโครงการ)

1.........................................................................................................................

2.........................................................................................................................

3.......................................................................................................................…4.ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง…………………………………..

3.4    ช่วงระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ........................................................…….

.........................................................................................................................……………………………………………………………………………………………..

            4. นิยามศัพท์เฉพาะ

-                   ให้นิยามเชิงปฏิบัติการ คำศัพท์ที่สำคัญๆ ให้ชัดเจนเป็นที่เข้าใจตรงกัน 

-                   ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

            5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

5.1              ...............................................................................................................………………………………………………………………………………………

5.2              ...............................................................................................................………………………………………………………………………………………

 บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องและรายละเอียดของโครงการ

               ตอนที่ 1 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ(แนวคิดและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ)...................................………..

               ตอนที่  2 สาระสำคัญของโครงการ................................................

บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน

               การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาของนักเรียน/โรงเรียน

               กำหนดนโยบายของโรงเรียน   

               ตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน

               เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติจากสถานศึกษา

               ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจโครงการ

               รับสมัครนักเรียน/(ผู้เกี่ยวข้อง)ที่เข้าร่วมโครงการ

               การดำเนินโครงการตามกิจกรรม

               รายงานสรุปผลการปฏิบัติงาน 

 กิจกรรมที่ 2 การเขียนรายงานโครงการในส่วนของการนำ                

                 เสนอผลการดำเนินงาน สรุปผลการดำเนิน                

                 งาน  อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

        ให้สมาชิกร่วมกันจัดทำรายงานโครงการในส่วนนี้ให้ครอบคลุมการนำเสนอผลการดำเนินงาน  สรุปผลการประเมิน อภิปรายผลและข้อเสนอแนะและการนำผลงานไปเผยแพร่  ในหัวข้อต่อไปนี้

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน

              ตอนที่ 1  ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพส่วนตัวของนักเรียน/ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ                           

              ตอนที่ 2  ข้อมูลสภาพการจัดกิจกรรมของโครงการ/การเรียนการสอน

           ตอนที่ 3  ผลการดำเนินงาน (นำเสนอตามวัตถุประสงค์ของโครงการ)

           ตอนที่ 4  ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง(ครู/นักเรียน/ผู้ปกครอง/ชุมชน)ที่มีต่อโครงการ

           ตอนที่ 5  การติดตามนักเรียน/ผู้รับบริการหลังจากที่สิ้นสุดโครงการ

              ตอนที่ 6  ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ

   บทที่ 5  สรุปผลการดำเนินงาน อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

                   สรุปผลการดำเนินงาน

                   อภิปรายผล

                   ข้อเสนอแนะ

-          ข้อเสนอแนะสำหรับนำผลจากการศึกษาไปใช้

-          ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินงานในครั้งต่อไป

  บทที่ 6 การนำผลงานไปเผยแพร่

                จัดทำเป็นเอกสารเผยแพร่ / ประชุมสัมมนาที่โรงเรียน

                ตีพิมพ์ลงในวารสารของโรงเรียน

                คณะครูอาจารย์ที่มาเยี่ยมชมงานของโรงเรียน

        เผยแพร่ผ่านเครือข่ายหรืผ่านWebsite

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • มีมุมมองว่าถ้าสามารถทำได้อย่างน้อยงานวิจัยหรือการเขียนรายงานโครงการต่างๆถ้าเราทำได้อย่างน้อยปีละ  1  เรื่องน่าจะส่งผลดีต่อตัวเองและวงการศึกษานะคะ  ...ที่สำคัญทำให้เราได้ศึกษาค้นคว้าอยู่เสมอ..และการนำเสนอผลงานเมื่อไหร่ก็สามารถนำมาปรับปรุงและเขียนรายละเอียดเพิ่มเติมเพียงแค่นี้ถ้าครูทำได้นับว่าเลิศแล้วนะคะอาจารย์..ก็เป็นเพียงความฝันนะคะอาจารย์เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงงานครูมากมายเหลือเกินไม่เพียงหน้าที่สอน..งานอื่นๆมากมายจนทำให้ลืมบทบาทหน้าที่ของตัวเองไป...อย่างตัวดิฉันเองบทบาทครูยังด้อยไปเลยเพราะช่วยงานโรงเรียนด้านวิชาการเยอะแยะไปหมด..แต่ก็ยังรักที่จะทำเพราะเมื่อทำไปแล้วเกิดผลดีต่อเด็กเหมือนกันเราก็ชื่นใจที่ได้ชื่นชมกับผลงานที่ได้ทำแม้ว่าจะไม่ใช่งานสอน
  • ขอขอบคุณอาจารย์ที่นำความรู้มาให้ครูได้เรียนรู้อยู่เสมอ

เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะพัฒนางาน ขอบพระคุณท่าน ดร.สุพักตร์ พิบูลย์ เป็นอย่างยิ่งครับ

เรียน  ดร.สุพักตร์

             แล้วจะทำอย่างไรครับที่ครูจะมีความรู้ในการทำวิจัย    R&D   ที่ให้เข้าไปอบรมแล้วฝึกทำ  งานให้ครูทำมีมาก  แต่ไม่ได้ให้ความรู้แก่ครูกันเลยครับ  ครูก็ไม่รู้จะทำอย่างไร  การปฏิรูปการศึกษารอบไหน ๆ ก็ไม่สำเร็จครับ

           ก็ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ครับ ที่มีอะไรให้ไดพ้ศึกษา  อย่างน้อยก็ได้รู้ว่าเขามีแบบนี้  เขาทำกันแบบนี้  ถึงจะรู้ไม่ลึกซึ้งก็ยังรู้ว่าเขามีกัน  แต่จะให้เข้าใจนั้นก็คงลำบากเพราะไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เข้าใจ สิ่งที่ทำนั้น  ถูกหรือผิด

อยากทราบรายละเอียดการวิจัยและพัฒนากระบวนการ/วิธีการ พัฒนาครูประจำการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ครับ

อาจารย์คะ หากเป็นผู้บริหารแล้วทำวิจัยแบบ R&D ก็ต้องสร้างนวัตกรรมเหรอคะ ถ้าเป็นการป้องกันหรือแก้ปัญหา (เช่นแก้ปัญหายาเสพติด) จะใช้นวัตกรรมอะไร มองเห็นเพียงการบริหารแบบมีส่วนร่วม ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมได้หรือเปล่าคะ และถ้าเป็นเช่นนี้ เราเรียกว่าการวิจัยแบบ R&D หรือเปล่าคะ ขอบคุณค่ะ

ขอเรียนถามเพื่อความรู้ที่ถูกต้องในการดำเนินการเขียนรายงานการใช้นวัตกรรม บทที่ 1 - 5 หัวข้อต่าง ๆ ที่ใช้เขียนในรายงานผลการพัฒนานวัตกรรม มีรูปแบบการเขียน เช่นไรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท