วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices)


รายงานผลการพัฒนารูปแบบวิธีสอน Sumarlai Modle

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) 

งานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง รายงานผลการพัฒนารูปแบบการสอน วิชาสังคมศึกษา ส 41102 สาระเศรษฐศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์ ที่มีคุณภาพ

เจ้าของ  นางสุมาลี  เครือผือ ครูชำนาญการพิเศษ (สังคมศึกษา) โรงเรียนชุมพลวิทยาสรรค์  อำเภอชุมพลบุรี  

               จังหวัดสุรินทร์

1. ปัญหาและความเป็นมา

การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นภารกิจหลักที่ครูสายผู้สอนทุกคนจะต้องทำให้ดีที่สุด  การพัฒนาประสิทธิภาพการสอนเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม เติบโตสมวัย เป็นคนเก่ง ดี มีสุข อันจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามไปด้วย 

2 วิธีการแก้ปัญหา

                ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นโดยนำผลจากการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ผ่านมา มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอนขึ้นมาใหม่  โดยนำหลักการ แนวคิดและทฤษฎีของนักการศึกษาหลายท่าน มาประกอบกับประสบการณ์การสอนของผู้วิจัยเอง และได้นำวิธีสอนรูปแบบใหม่ที่พัฒนามาทดลองใช้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550โดยใช้ชื่อรูปแบบวิธีสอนใหม่นี้ ว่า วิธีสอนแบบสุมาลัย โมเดล ( Sumarlai Modle )

3. ขั้นตอนการดำเนินงาน

        1.  สำรวจปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ผ่านมาจากแบบสอบถามที่ทำขึ้นเพื่อสอบถามนักเรียนที่สอน และจากการสังเกต

        2   ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และพ.ร.บ.การศึกษา และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

        3   นำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์เป็นวิธีสอนใหม่ที่ตรงกับความต้องการของตนเอง

4.  นำวิธีสอนที่คิดขึ้นมาทดลองสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

5.  เก็บข้อมูลที่เกิดจากการเรียนการสอน /บันทึกปัญหาและความสำเร็จไว้

6.  นำปัญหามาวิเคราะห์ / ปรึกษาผู้รู้ นำไปสู่การแก้ไขปัญหา

7.  เขียนรายงานผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 1

4.  ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนา

ครูผู้สอน

1.      มีรูปแบบการสอนที่เหมาะกับตัวเอง เหมาะกับนักเรียน เหมาะกับบริบทของสถานศึกษา

2.      มีแผนจัดการเรียนรู้ที่ดี มีคุณภาพ ใช้สอนนักเรียนในปีการศึกษาต่อไป

        3.      มีความภาคภูมิใจ และมีความสุขในการเป็นครู

      นักเรียน

      1.      มีความสุขกับการเรียน

      2.      มีความสามารถในเชิงการอ่าน คิดวิเคราะห์ การเขียนและการนำเสนองาน

     3.      มีความรู้ มีทักษะในการทำงาน มีเจคติเชิงบวกในการดำเนินชีวิต

    4.      มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูผู้สอน

    โรงเรียน

    1.      มีความเกื้อหนุนกันระหว่างครูกับฝ่ายบริหาร

   2.      ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น

   3.      มีนักเรียนที่ดี มีคุณภาพอยู่ในสถานศึกษา

  4.      จัดการศึกษาได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของหลักสูตร

  5.  ความคาดหวังความสำเร็จในอนาคต

                 ผู้ทำการวิจัยมีความคาดหวังว่า ในอนาคตจะมีการพัฒนารูปแบบวิธีสอนนี้ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และมีการรายงานผลการพัฒนารูปแบบการสอนเป็นลำดับขั้นต่อไป

6.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ

                ความสำเร็จของการทำงานวิจัยชิ้นนี้  เกิดจากเหตุผลดังต่อไปนี้

1.  ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากฝ่ายบริหาร ในด้านวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน

2.  ได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงาน

3.  ได้รับความร่วมมือจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ในด้านการตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย

4.  ความสนใจ ใส่ใจ และกระตือรือร้นของครูผู้สอนในอันที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหวังที่ตั้งไว้

 

7.  แก่นความรู้

       ครูพันธ์ใหม่ต้องคิด/ทำนอกกรอบ  เพื่อให้เกิดผลตามกรอบที่คิดไว้

                     

วิธีสอนแบบสุมาลัย โมเดล ( Sumarlai Modle)

กรอบแนวคิดหลักของรูปแบบวิธีสอนแบบสุมาลัย โมเดล ( Sumarlai Modle)

                1.  กำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้   ( Knowleage : K )  เนื่องจากความรู้ถือว่าเป็นรากฐานสำคัญในกระบวนการคิด การนำไปใช้  นักเรียนทุกคนต้องมีความรู้พื้นฐานตามหน่วยการเรียนรู้ มีการตรวจสอบความรู้ให้ถูกต้อง  และมีการวัดผลโดยข้อสอบแบบปรนัย และอัตนัย  ปรากฏในกระบวนการเรียนรู้ขั้นที่ 1 และ 2

                2.  กำหนดสิ่งที่ต้องคิด / ทำ  ( Process : P )  กระบวนการคิดที่อาศัยความรู้เป็นฐาน  มีทั้งการคิดเป็นกลุ่ม และการคิดเฉพาะตน เน้นการลงมือปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม  ปรากฏในกระบวนการเรียนรู้ขั้นที่ 3   และ 4

                3.  กำหนดสิ่งที่ต้องนำไปใช้ได้  (  Atitude : A )  กระบวนการเชื่อมโยงความรู้จากห้องเรียนเพื่อนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน นำเสนอแนวคิดของตนและภาคภูมิใจในตนเอง โดยอยู่บนพื้นฐานคุณธรรมและความพอเพียง  ปรากฏในกระบวนการเรียนรู้ขั้นที่  5   และ 6

           ขั้นตอนของการสอน    ออกเป็น  6 ขั้นตอน ดังนี้

1.  ขั้นเชื่อมโยงความรู้เดิม   เป็นขั้นตอนของการนำหัวข้อที่จะเรียนมาเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์กับความรู้เดิมที่ได้เรียนมาแล้วในสาระหรือหน่วยที่ผ่านมา รวมถึงการเชื่อมโยงกับสาระอื่น ๆ ที่เรียนมาแล้วด้วย เพื่อให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมที่เรียนมาแล้วได้

2.  ขั้นเพิ่มเติมความรู้ใหม่  เป็นขั้นตอนการเรียนเนื้อหาใหม่ในบทเรียนตามสาระการเรียนรู้ที่ครูเตรียมไว้โดยใช้ใบความรู้ หรือการสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ โดยสรุปความรู้เป็นหัวข้อย่อยๆ เพื่อง่ายในการจดจำ  รวมถึงการฝึกฝนทำแบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะต่างๆด้วย

3.  ขั้นใส่ใจความถูกต้อง  เป็นขั้นตอนที่นำความรู้ที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและแบบฝึกหัดต่างๆ  เพื่อให้นักเรียนได้รู้ถึงความรู้ ของตนเองอย่างทันที  เพื่อป้องกันนักเรียนรับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง หรือจำในสิ่งที่ผิดๆ

4.  ขั้นลองประยุกต์ความคิด  เป็นการนำความรู้เดิมและความรู้ใหม่มา

ประยุกต์ทางความคิดโดยการวิเคราะห์เชื่อมโยงกับเหตุการณ์จริงที่อยู่รอบตัว โดยอาศัยกระบวนการกลุ่มช่วยคิด       

5.   ขั้นนำไปใช้ในชีวิตจริง   เป็นการสร้างสถานการณ์จำลองโดยครู เพื่อสร้างทางเลือกที่หลากหลายและตัดสินใจเลือกอย่างชาญฉลาด มีเหตุผล  เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในชีวิตจริง และเป็นช่วงของการสอดแทรกแนวคิด คุณธรรม และเศรษฐกิจพอเพียงลงไปในสถานการณ์ด้วย

6.  ขั้นสะท้อนความรู้ เชิดชูผลงาน   เป็นการชื่นชมผลงานที่คิดและสร้างขึ้นมา และนำผลงานนั้นมาวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์  รวมถึงการนำผลงานไปแสดงต่อสาธารณชนด้วย

ลักษณะของรูปแบบวิธีสอน 

  1.  เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบองค์รวม  คือเรียนเป็นหน่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหาโดยรวม  ดังนั้นการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ควรจะทำเป็นหน่วย หน่วย ละ 3  ชั่วโมง โดยเรียนความรู้ ( K )  1 ชั่วโมง   ฝึกทักษะการคิด กระบวนการกลุ่ม ( P )  1  ชั่วโมงและค้นหาแนวทางการนำไปใช้ในชีวิตจริง และนำเสนอผลงานอย่างภาคภูมิใจ  ( A ) 1 ชั่วโมง

                2.  เน้นการตรวจสอบความรู้ ตามชุดปฏิบัติการ/แบบฝึกต่างๆ  ซึ่งอาจทำให้การเรียนการสอนล่าช้าไปบ้าง

                3.  ผสมผสานการบรรยายของครู ควบคู่กับการศึกษาด้วยตนเอง  ซึ่งการบรรยายของครูจะเป็นการช่วยแตกประเด็นทางความคิดให้กับนักเรียนและเป็นการสอดแทรกแนวคิด แง่คิดที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต และยังเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างครุกับนักเรียนอีกด้วย

                4.  เน้นการเตรียมการเรียนการสอนและจัดประสบการณ์โดยครู  มากกว่าการให้นักเรียนไปแสวงหาความรู้เอง   เนื่องจากบริบทของโรงเรียนส่วนใหญ่ของไทยไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองมากนัก

              5.  เน้นการสะท้อนความรู้ที่ได้เรียนไปแล้ว   โดยอาจสะท้อนความรู้  ความคิดออกมาในรูปแบบการบันทึกความรู้ที่ได้เรียนมาในแต่ละวัน  การสร้างความคิดรวบยอด  การสร้างผลงานตามจินตนาการของผู้เรียนโดยอาศัยความรู้เดิมผสมผสานความรู้ใหม่

วิธีการที่เป็นเลิศของรูปแบบการสอนแบบสุมาลัย โมเดล

                1.  เป็นรูปแบบการสอนที่นำเอาข้อดี  หลักและวิธีการของนักปรัชญาทางการศึกษาหลายท่านมาประยุกต์ให้เป็นรูปแบบใหม่

                2.  เป็นรูปแบบการสอนที่สอนทั้ง สิ่งที่ต้องรู้  สิ่งที่ต้องคิด  สิ่งที่ต้องนำไปใช้ในชีวิตจริง

                3.  การวัดและประเมินผลเป็นไปตามระเบียบการวัดประเมินตามหลักสูตรการศึกษา พ.ศ. 2542  โดยเน้นการวัดความรู้ (K)  ทักษะกระบวนการคิด ( P)  และเจตคติ ( A ) ไปพร้อมๆ กัน อย่างเห็นได้อย่างชัดเจน  ง่ายต่อการนำคะแนนแต่ละหน่วยไปลงใน ป.พ.5

                4.  เน้นกระบวนการทางสังคมศึกษา เช่นกระบวนการกลุ่ม  กระบวนการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์

                5.  ส่งเสริมบทบาทครูให้มีโอกาสได้บรรยาย พูดคุย  แตกประเด็นปัญหาเพิ่มเติมกับนักเรียนบ้าง  ทำให้ครูกับนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและมีความเหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาสังคมศึกษาด้วย

                6.  ให้นักเรียนได้สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการความคิด และการนำไปใช้  เมื่อสิ้นสุดการเรียนในแต่ละหน่วย

ข้อจำกัดของรูปแบบวิธีสอนแบบสุมาลัย โมเดล 

 1.  เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบองค์รวม  คือเรียนเป็นหน่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจในเนื้อหาโดยรวม  ดังนั้นการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ควรจะทำเป็นหน่วย หน่วย ละ 3  ชั่วโมง โดยเรียนความรู้ ( K )  1 ชั่วโมง  ฝึกทักษะการคิด กระบวนการกลุ่ม ( P )  </

หมายเลขบันทึก: 173290เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2008 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นรูปแบบ การสอนที่ดีค่ะ ดิฉันเห็นด้วยกับรูปแบบการสอนนี้ จากเดิมที่อาจารย์เคยสอนก็เป็นรูปแบบการสอนที่นักเรียนสามามารถจดจำได้ง่ายอยู่แล้ว  ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะคะ                                                                         

 

                                       ศิษย์เก่า ช.ว.ส.

สวัสดี นันทิยา ครูจำเธอได้นะ สบายดีเหรอ

ผ่านไปแวะเยี่ยมโรงเรียนบ้างนะ

เป็นรูปแบบการสอนที่น่าสนใจดีครับ

คิดได้ไง

ครูอ้อยติดตามงานอาจารย์ค่ะ คุณภาพเยี่ยม เช่นเคยค่ะ ครูอ้อยเก็บไว้ในห้องสมุดของครูอ้อยแล้วนะคะ

ขอบคุณมากนะคะ

สวัสดีคะคุณพี่

งานของพี่สุดยอดจังเลย ปีนี้ 15ต.ค. 52 คิดว่าคงได้เจอกันที่สิรินธรอีกนะคะอยากดูผลงานของพี่ว่ามีอะไรมาให้น้องๆ ได้เชยชมอีก ประทับใจกับงานพี่มากค่ะ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

ครูนิ่มส์

เป็นผลงานที่ดีน่าชื่นชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท