กลัวไหมกับ R2R


R2R เครื่องมือในการขับเคลื่อน พัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาองค์กร

กลัวไหมกับ R2R

R2R คืออะไร ทำไมต้องกลัว วันนี้ผู้เขียนอยากเล่าเรื่อง R2R เพื่อแลกเปลี่ยนกับผู้สนใจนะ

แนวคิดของ R2R ( อาร์ ทู อาร์) เป็นคำย่อมาจากคำว่า Routine to Research เกิดขึ้นครั้งแรกที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในปี 2547 โดยมีอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านเป็นที่ปรึกษาและร่วมก่อตั้ง

และในความหมายของนายแพทย์สมศักดิ์  ชุณหรัศมิ์ เลขามูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติโดยท่าน กล่าวว่า R2R แปลตรงไปตรงมาคือ “” การที่คนเราสามารถทำงานวิจัยจากงานประจำได้ ทุกคนสามารถเรียนรู้จากการทำงานได้ แต่ไม่ใช่เรียนรู้เฉยๆ แต่เป็นการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ คือมีเรื่องของกรอบแนวคิด วิธีการ ที่จะรวบรวมข้อมูลขึ้นมาได้

ส่วนศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช (อดีตผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และอดีตผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล ท่านเคยกล่าวไว้ในหนังสือเคล็ดไม่ลับ R2R เปิดคัมภีร์ R2R หน้า 13 ท่านกล่าวว่า แต่ไหนแต่ไรมา หากพูดถึงงานวิจัยใครๆก็เบือนหน้าหนีราวกับถูกบังคับให้กลืนยาขมที่ฝืดเฝื่อนลิ้นก็ไม่ปาน ทำให้งานวิจัยเหมือนต้องคำสาป ราวกับเป็นเรื่องที่ไม่น่าเฉียดเข้าใกล้ จนกระทั่งงานวิจัยถูกจับเปลี่ยนใหม่ให้เก๋ใก๋น่าจับต้องมากกว่าเดิม ด้วยชื่อใหม่ว่า R2R (Routine to Research ) นอกจากนี้ R2R คือการใช้งานวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพของคนทำงานให้ผลิตผลงานเชิงวิจัยออกมาแล้วสะท้อนกลับไปพัฒนางานประจำให้ดีขึ้นทำให้ความจำเจของงานประจำหายไปกลายเป็นความท้าทาย เป็นความสนุกที่ได้คิดค้นวิธีการสร้างความรู้เล็กๆๆแต่เป็นความรู้ใหม่ๆขึ้นมาทำประโยชน์

         ผู้เขียนชอบคำกล่าวของอาจารย์วิจารณ์ที่ท่านได้แนะนำว่า หลายๆองค์กรมีแนวคิดที่จะพัฒนาบุคลากรและพัฒนางานไปพร้อมกันเพื่อยกมาตรฐานองค์กร ให้สูงขึ้นแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน

           อาจารย์ตอบว่า อยากให้ลงมือทำโครงการ R2R บางแห่งอาจติดอยู่ที่มีความกลัว และกังวลเกี่ยวกับการทำงานวิจัย ท่านแนะนำวิธีก้าวข้ามผ่านความกลัวว่า “ ไม่มีอะไรที่เราต้องกลัว การทำอะไรก็ตามในชีวิตเราล้วนใช้สามัญสำนึกที่สำคัญ เมื่อเราไม่รู้ เราก็สามารถไปเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ แล้วนำมาต่อยอดพัฒนาความคิดของตนเองได้ ”

     “หากองค์กรใดที่อยากทำR2Rให้กลับไปดูนโยบายขององค์กรว่าต้องการพัฒนาอะไร เป้าหมายที่จะทำให้ผู้ป่วย ประชาชน ผู้รับบริการพอใจมีอะไรบ้าง ให้หยิบนโยบายนั้นมาทำวิจัย โดยใช้R2Rเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนเมื่อผลงานวิจัยประสบความสำเร็จก็จะได้รับนำกลับไปใช้พัฒนางานประจำ และสามารถขับเคลื่อนนโยบายองค์กรได้อย่างอัตโนมัติ

      และที่สำคัญอย่าไปคิดว่าการทำ R2R เป็นภาระงานที่เพิ่มขึ้น”    ว่ากันว่า      ไม่กล้าก็ไม่ก้าว ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง และกลายเป็นตัวฉุดรั้งไม่ให้เราก้าวไปข้างหน้า ไม่ดีกว่าหรือถ้าเราจะสร้างความกล้าขึ้นมา ลบความกลัวที่เกาะกินใจ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

      ดังนั้นผู้เขียนในฐานะเป็นบุคลากรในระบบสุขภาพประมวลความคิดจากทั้งสองท่านว่า งานวิจัยจากงานประจำ (R2R ) เป็นการสร้างความรู้จากการทำงานในแต่ละวัน โดยใช้เครื่องมือสำคัญคือการจัดการความรู้ที่มีเป้าหมายผ่านกระบวนการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเป็นเครื่องมือที่พัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร และก้าวทันความเปลี่ยนแปลง     ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนต้องมองหาเนื้องานประจำสักชิ้นเพื่อทำR2R ได้แล้วจะได้ก้าวข้ามในสิ่งที่กลัว............

หมายเลขบันทึก: 286384เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

- ตามมา ลปรร ด้วยคนค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณเพชรน้อยที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ 

สวัสดีค่ะ

จะทำ R2R ได้น่าจะต้องเริ่มคิดเริ่มวิเคราะห์ในงานที่ทำก่อนใช่ไหมคะ

...อืมน่าสนใจค่ะ ขอบคุณนะคะที่ช่วยกระตุ้นความกล้าอย่างน้อยๆก็กล้าคิด

สเต๊ปต่อไปก็จะได้ไม่กลัวที่จะทำ

อุปสรรคอย่างหนึ่งในการทำ R2R หรืองานพัฒนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

การไม่มีเวลา....

ไม่อยากได้ยินคำนี้เลยอ่ะ

ตามมา..เห็นด้วยกะคอมเม้นท์พี่ตุ่น..ถูกต้องดีแท้..โดนใจอย่างแร๊งส์..

คิดถึงพี่ทั้งสองจังจ้า..

^^

 

ที่สุดแล้ว...คือ การที่เราลองลงมือทำให้เสร็จสักหนึ่งเรื่อง เราจึงจะทราบได้ว่าเราทำได้หรือไม่ได้...

เป็นกำลังใจเชียร์ๆ นะคะ

ดีใจจังคุณกะปุ๋ม เข้ามแวะชมงานเรา

ได้ติดตามงานของคุณKa-Poom มา 3 ปีแล้วสำหรับเรื่องKM R2R เเละเคยเจอในงานวิชาการแอบชื่นชมดร.ตัวเล็กๆๆเเต่เก่งจัง

                                         กังสดาล

  • ขอบคุณแอ้  ตุ้น  แอ้ว ที่มาเยี่ยมให้ข้อคิดนะ 
  • เรามาเริ่มR2Rกันคนละเรื่องดีมั้ย

                                    พี่ปู

เจ๊...รูปประจำโปรไฟล์หน่ะ...ใช้เทคนิคไหนอ่ะ...รูปสวยจัง

31 สิงหา - มิย นี้ กลุ่ม enocc สคร 6 จัดอบรม R2R ถ้าสนใจติดต่อไปนะครับ ผมสมัครแล้ว

สวีสดีค่ะ

โดนใจจริง ๆ เลย คิดมานานแล้วว่างานที่กรมสั่งให้ทำมันเยอะแยะมากมาย แล้วจะมีเวลาทำวิจัยได้อย่างไร R2R จุดประกายความคิดค่ะ ขอบคุณ Seperpu ค่ะ คงได้แลกเปลี่ยนกันในโอกาสต่อไปนะคะ (supervisor ก็น่าจะทำ R2R ได้เนาะ)

Supervisor

ขออนุญาตนำข้อความไปใช้เผยแพร่ให้กับคนห้องสมุดนะคะ เพราะได้รับมอบหมายให้แลกเปลี่ยนเรื่องนี้อยู่พอดีเลย

พี่ปูขา

บันทึกนี้ well known จัง

ที่สำคัญมันเป็นความจริงเสียด้วย...

ขอบคุณความรู้ดีๆครับ

หากเป็นเกษตรกร ก็คงเป็นการวิจัยในท้องนาซินะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท