เรื่องใกล้ตัว ครัวเรือนเกษตร "คำสาปแช่งจากการมีทรัพยากร (Resource Curse)"


"การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างสูญเปล่า" เป็นความผิดที่ไม่อาจให้อภัย และ "การสูญเสียโอกาสโดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากอย่างเต็มศักยภาพ"เป็นองค์ประกอบที่ทำให้เป็นอาชญากรรมที่สมบูรณ์แบบ

 

ตอนนี้หลายพื้นที่ น้ำท่วม แต่เด๋วก็จะถึงเวลาฝนแล้ง .............เราจะเตรียมตัวกันอย่างไร

แชร์บทความ :คำสาปแช่งจากการมีทรัพยากร (Resource Curse)

เป็นบทความที่อ่านแล้ว นึกถึง

"สิ่งที่เรามี มากกว่าคนอื่น

แต่ไม่ได้บอกว่า จะเป็นความมั่นคงทางอาหาร พลังงานคุณภาพชีวิต  และสิ่งเเวดล้อม ในอนาคตเลย"

ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัจเจกบุคคล ยังละเลย ที่จะมอง

"สิ่งที่เป็นจริง อย่างที่ควรจะเป็น" เพื่อลูกหลานของเรา ชุมชนของเรา 

 

ตัวอย่างเนื้อข่าว

แย่งน้ำทำนาถล่มด้วยอาก้าดับพ่อตาลูกเขย


แย่งน้ำทำนา เป็นเหตุให้ผู้เฒ่าวัย 65 ใช้มีดพร้าฟันคอผู้เฒ่าวัย 76 เสียชีวิตคาทุ่งนา

 

พี่เมียฆ่าน้องเขย แย่งน้ำทำนา จ.แพร่

 

อื่นๆ ทั้งที่เป็นข่าว และหลบอยู่พงหญ้า

 

 

คำสาปแช่งจากการมีทรัพยากร (Resource Curse)

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ [email protected]   มติชนรายวัน  วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9623

 

คนส่วนใหญ่เชื่อว่าการมีทรัพยากรธรรมชาติมาก จะทำให้ประเทศร่ำรวย เพราะพื้นที่กว้างขวางที่อุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุมากมายเป็นเสมือนขุมทรัพย์ที่จะสนับสนุนให้คนในชาติมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างไรก็ดี หลักฐานจากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่ามิได้เป็นเช่นนั้น

 

ผู้คนเชื่อว่าการมีอาหาร แร่ธาตุ แหล่งพลังงาน คือสูตรสำเร็จของข้อได้เปรียบทางการค้า ซึ่งจะทำให้ประเทศมั่งคั่ง และประชาชนร่ำรวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารัฐเป็นเจ้าของควบคุมและดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และบริษัทเอกชนเป็นผู้ได้รับสัมปทานซึ่งจะแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีค่าขึ้น

 

Martin Wolf นักเศรษฐศาสตร์มีชื่อมีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าในประวัติศาสตร์ ประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติ น้อยกว่าประเทศอื่นโดยเปรียบเทียบมักพัฒนาได้รวดเร็วกว่า ปรากฏการณ์นี้รู้จักกันในนามของ  "resource curse" (คำสาปแช่งจากการมีทรัพยากร) อังกฤษเป็นประเทศแรกที่เกิดการปฏิวัติอุตสหกรรมเมื่อกว่า 200 ปีมาแล้ว ทั้งๆ ที่ไม่ร่ำรวยทรัพยากรธรรมชาติมากนัก เท่าที่พบในตอนนี้ก็มีแต่ถ่านหินและเหล็กเท่านั้น

 

ตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้แก่ประเทศในเอเชียตะวันออก (จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง) ที่ประสบความสำเร็จ ในการพัฒนาประเทศ จนเรียกกันว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ (miracles) ฮ่องกงและไต้หวัน ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ หรือแร่ธาตุเช่นเดียวกับญี่ปุ่น แต่ก็สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองได้อย่างน่าทึ่ง

 

พื้นฐานความสำเร็จทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก มาจากการส่งออกสินค้าที่เน้นการใช้แรงงาน (labor-intensive manufactures) ไม่ใช่การส่งออกวัตถุดิบเหมือนหลายประเทศในละตินอเมริกาที่ร่ำรวยทรัพยากร และวัตถุดิบ แต่ก็ยังไปไม่ถึงระดับการพัฒนาที่น่าพอใจ เช่น โบลิเวีย บราซิล อาร์เจนตินา ฯลฯ

 

สถิติของการพัฒนาประเทศชี้ให้เห็นว่า ในช่วงปี 1960-1990 real GDP ต่อหัวประชาชน (ตัวชี้มาตรฐานความกินดีอยู่ดี ของสมาชิกเศรษฐกิจ) ของประเทศกำลังพัฒนาที่มีทรัพยากรธรรมชาติน้อย ขยายตัวเร็วกว่าประเทศที่ร่ำรวย ด้วยทรัพยากรธรรมชาติสองถึงสามเท่า ตัวอย่างก็คือกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก เมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศในละตินอเมริกา (เวเนซุเอลา บราซิล) หรือแอฟริกาบางประเทศ เช่น อียิปต์ เวเนซุเอลลา

ทำไมจึงเกิด resource cures?

Martin Wolf ให้เหตุผลว่าการมีทรัพยากรธรรมชาติมาก มีทางโน้มที่จะทำให้เกิดสงครามทางการเมือง แย่งชิงการควบคุมรายได้ ที่เกิดจากทรัพยากรธรรมชาติจนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ เหตุการณ์เช่นว่านี้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ในประเทศส่วนใหญ่ของละตินอเมริกา และบริเวณ Sub-Sahara Africa

 

การต่อสู้แย่งชิงเช่นนี้ทำให้ไม่เกิดเสถียรภาพของ term of trade (สัดส่วนระหว่างราคาสินค้าส่งออก และนำเข้า ซึ่งแสดงถึงสถานะที่พึงปรารถนา ของประเทศหนึ่งในการดำเนินการค้าระหว่างประเทศ) เพราะราคาของทรัพยากรธรรมชาติ (ต้นน้ำของราคาสินค้าส่งออก) และราคาสินค้าเกษตรผันแปรอย่างมาก

 

การไม่สามารถได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศอย่างเป็นกอบเป็นกำ ข้ามระยะเวลาเพราะขาดข้อได้เปรียบในการส่งออก ส่งผลให้เกิดอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการแข่งขันเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในระดับระหว่างประเทศ

 

ในทางตรงกันข้าม ประเทศซึ่งขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติต้องหันไปพึ่งการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและส่งออก และประเทศเหล่านี้มีทางโน้มน้อยกว่าที่จะเผชิญกับแรงกดดันที่จะปกป้องสินค้าจากประเทศคู่ค้า

ยิ่งไปกว่านั้นประเทศที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมีบันไดไปสู่ข้อได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบ (comparative advantage) ต่อไปในขณะที่ประเทศเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้าส่งออกที่เน้นทรัพยากร เพราะมีมากมาย จะประสบกับปัญหาในการเคลื่อนไปสู่สินค้าที่เพิ่มพูนมูลค่าเพิ่ม

 

ทั้งหมดนี้มีนัยว่าประเทศขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ จะมีแรงจูงใจมากกว่าในการพัฒนาทุนมนุษย์ พัฒนาสถาบัน และเศรษฐกิจแบบตลาด

 

สัจธรรมก็คือการผลิตสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ทำให้เกิดทักษะและการเรียนรู้มากกว่าการ "สูบ" จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว

หลายประเทศสามารถหลีกหนี "resource curse" ได้ในระดับหนึ่ง เช่น จีน อินเดีย มาเลเซีย ฯลฯ และหลายประเทศยังไม่อาจกล่าวได้ว่าได้หลีกพ้นจาก resource curse แล้ว เช่น ซาอุดีอาระเบีย บรูไน เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา ไนจีเรีย ฯลฯ

 

การหลุดพ้นจาก resource curse หมายถึงการสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเป็นกอบเป็นกำ ให้เกิดประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ โดยไม่สูญโอกาส

"การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างสูญเปล่า" เป็นความผิดที่ไม่อาจให้อภัย และ "การสูญเสียโอกาสโดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มากอย่างเต็มศักยภาพ"

เป็นองค์ประกอบที่ทำให้เป็นอาชญากรรมที่สมบูรณ์แบบ

หน้า 6

 

หมายเลขบันทึก: 406446เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2010 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เหมือนจะกลายเป็น กลไก ของธรรมชาติไปสะแล้ว

เมื่อขาดแคลนก็ต้องแย่งชิง

คุณอภิชิต

เราหนีกลไก บัดซบนี้ได้

ต้องรวมกลุ่ม มีการเเลกเปลี่ยน และกำหนดเป้าหมายร่วมกัน

เมื่อต่างคนต่างทำ ก็จะเป็นเบี้ยหัวเเตก

สุดท้ายผลลัพธ์ของสังคม = ติดลบ มากว่าที่ควรจะเป็นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท