Aging Society จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไป เมื่อ "อายุ ไม่เข้าใครออกใคร เกษตรกรต้องเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนแก่"


ในปัจจุบันประชากรเกษตรมีจำนวน 22.7 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 35 ของประชากรทั้งประเทศ ลดลงจากปี 2541 ร้อยละ 1.87 ต่อปี ประชากรเกษตรที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 10 ของประชากรเกษตรทั้งหมด และแม้ว่าประชากรเกษตรร้อยละ 90 จะเป็นผู้ที่อยู่ประจำในครัวเรือนแต่ก็มีแนวโน้มลดลง

ติดตามข่าวสารเรื่อง "Aging Society" มาอย่างต่อเนื่อง

ก็เลยต้องคิดต่อยอด...... เพราะพ่อผมก็อายุมากเเล้วเหมือนกัน

"อายุ ไม่เข้าใครออกใคร ดังนั้น เกษตรกรต้องเตรียมตัวให้พร้อม  ก่อนแก่" ครับ

 

 ก่อนเข้าสู่เนื้อหา มาดู "โฆษณา สสส สมุนไพรไทย" กันก่อนครับ 


เนื้อข่าว

Aging Society : เมื่อคนชราครองเมือง

   สังคมไทยเริ่มเข้าสู่ความเป็นสังคมผู้สูงอายุตั้งแต่เมื่อปี 2548 โดยปัจจุบันมีตัวเลขผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งประเทศอยู่ที่เกือบ 11 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 7 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันแล้ว ประเทศไทยเป็นรองแต่เพียงสิงคโปร์เท่านั้น ส่วนประเทศที่มีประชากรสูงอายุต่ำสุดคือ ลาว
   ตามความคาดหมายของนักประชากรศาสตร์ จะมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งในอีก 12-13 ปีข้างหน้า เมื่อประเทศไทยมีประชากรคนชรามากกว่าประชากรเด็กเป็นครั้งแรก และอีกเพียง 20 ปีประชากรคนชราของเราก็จะเพิ่มจำนวนเป็นถึง 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ เทียบได้กับสถานการณ์คนชราล้นประเทศอย่างญี่ปุ่นในปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติมในคอลัมน์ Health นิตยสาร Health & Cuisine ปีที่ : 8 ฉบับที่ : 90 เดือน
: กรกฎาคม 2551
From: http://healthandcuisine.com/health.aspx?cId=7&aId=1141


สศก. เผยประชากรภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง ชี้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น

ข่าวทั่วไป สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร -- จันทร์ที่ 15 ธันวาคม 2551 13:16:14 น.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผย จำนวนและสัดส่วนประชากรในภาคเกษตรลดลงและเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ชี้รัฐจำเป็นต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องทั้งในด้าน การจัดหาสวัสดิการหรือหลักประกันทางสังคม พร้อมหาแนวทางในการเพิ่มแรงงานเกษตร รุ่นใหม่ รวมถึงการรองรับแรงงานภาคอุตสาหกรรมจากวิกฤตเศรษฐกิจ และการเพิ่มศักยภาพให้กับแรงงานในภาคเกษตร

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรและแรงงานเกษตร  พบว่า ในปัจจุบันประชากรเกษตรมีจำนวน  22.7 ล้านคน  หรือคิดเป็น ร้อยละ 35 ของประชากรทั้งประเทศ  ลดลงจากปี 2541 ร้อยละ 1.87 ต่อปี ประชากรเกษตรที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 10 ของประชากรเกษตรทั้งหมด และแม้ว่าประชากรเกษตรร้อยละ 90 จะเป็นผู้ที่อยู่ประจำในครัวเรือนแต่ก็มีแนวโน้มลดลง "....................

 


 

 

ที่มาของ การลดลงของประชากรภาคเกษตร : เป็นเรื่องของค่านิยม ภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน และการศึกษา

 

แล้ว ใครจะปลูกข้าวให้เรากิน ??? 

ส่งออกข้าวอันดับหนึ่ง แต่ก็ใช้ปัจจัยการผลิต อย่างเช่นปุ๋ยเคมี อันดับต้นๆ ด้วย

ปัญหาโลกร้อน ส่วนหนึ่งมาจาก การจัดการในเเปลงนาไม่มีประสิทธิภาพ "การจัดการน้ำ การใช้ปุ๋ยเคมีเกินความจำเป็น" และ "การเผาฟางในข้าว"

ภาพจากhttp://www.niaes.affrc.go.jp/magazine/114/mgzn11412.html

ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยจากนาข้าว ส่วนใหญ่คือก๊าซมีเทน ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินนา ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน คือ สภาพไร้อากาศ(anaerobic)ในนาข้าว และสารอินทรีย์ที่อยู่ในนาข้าว โดยจากการทำวิจัยเรื่อง “อิทธิพลของการระบายน้ำต่อการปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์จากนาข้าว” ของบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) พบว่าช่วงเวลาที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือ ช่วงที่ต้นข้าวเริ่มออกดอก ออกรวง
 
“จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินนาเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน โดยจุลินทรีย์ชนิดนี้จะย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ต้นข้าวและ รากข้าวปล่อยลงสู่ดินในช่วงออกรวง และจะย่อยสลายได้ในสภาพไร้อากาศ ซึ่งแปลงนาที่มีการปล่อยน้ำมาท่วมดินนาจะทำให้เกิดสภาพไร้อากาศ ในดินนา ก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นจะถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศมากที่สุดโดยผ่านทางช่องว่างในลำต้นของข้าว แต่อย่างไรก็ดี หากชาวนามีความต้องการลดการปล่อยก๊าซมีเทน ก็สามารถทำได้โดยการเลื่อนการปล่อยน้ำออกจากนาไปในช่วงที่ต้นข้าวกำลังออกดอก ออกรวง เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการปล่อยก๊าซมีเทนมากที่สุด การดึงน้ำออกจากนาจะทำให้ดินนากลับคืนสู่สภาพมีออกซิเจน ทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ จากนั้นจึงสูบน้ำกลับเข้านาภายใน 3 วัน วิธีการเช่นนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้ประมาณร้อยละ 30-40 จากปริมาณการปล่อยเดิม”

 

ยุคต่อจากนี้ไป ถ้าเกษตรกรตัวจริงลดลง คนมีฐานะนายทุน ปลูกข้าว คนทั่วไปซื้อข้าวกิน ดังนั้นเกษตรกร "ห้ามขายที่นาเด็ดขาด"

ขายเสร็จนะจนลงในทันที !!!

"เกษตรกรที่จนที่สุด ก็คือคนไม่มีที่ดินทำกิน"

จะมีการเเย่งการใช้ทรัพยากรที่ดิน ในการปลูกพืชพลังงานมากขึ้น เพื่อทดแทนการลดลงของ พลังงานใต้ดิน (น้ำมัน) ตอนนี้เเขก ก็หันมาการเกษตรมากขึ้น สัมปทานพื้นที่ประเทศข้างเคียง แนวโน้ม อาหารเเพงขึ้น พลังงานเเพงขึ้น แต่คนทำการเกษตร จะอยู่ถึงตอนนั้นหรือไม่ เพราะเราเแก่ขึ้น ทุกวัน

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วง อย่างยิ่ง กับภาระกิจ

"ประเทศไทยเป็นครัวของโลก"

ต้องสร้างความมั่นใจอาหารปลอดภัยให้กับ "ผู้ผลิต และผู้บริโภค" ด้วยการจัดหาความรู้ วิธีการ หรือเทคโนโลยีเครื่องจักรกล และการจัดการ รวมถึงมาตรการ เข้ามาช่วยลดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ที่เกินความจำเป็นด้วยครับ  มิเช่นนั้นแล้ว จาก " Aging Society -->>> Dead Society"

 ได้ก่อนวัยอันสมควร ทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ครับ

มา "ร่วมด้วยช่วยกัน" หาทางออกวิกฤติ ชาติ ครับ


 

ข้อเสนอแนะ : ทางออก Aging Societyในภาคเกษตร

 -ควรมีการศึกษาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรทั้งกระบวนการ+การจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยการสนับสนุนของ

1.ภาครัฐบาลอย่างเเข็งขันและจริงใจ

2.เอกชนผู้ผลิตพัฒนาสินค้า-การบริการที่มีคุณภาพ

3.พัฒนาสหกรณ์การเกษตรให้เข้มแข็ง มีอำนาจต่อรองแทนเกษตรกรได้

4. เกษตรกรมีส่วนร่วม สร้างค่านิยม

"อาชีพเกษตรกร มีเกียรติ มีกิน และมีเก็บ"

ผลิตสินค้าอาหารเกษตรให้มีความปลอดภัยสู่ตลาด

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการ 

เตรียมความพร้อม รองรับ Aging Society Trend ในภาคเกษตร ต่อไป ครับ

NOTE:  Percentages shown are based on 2000 data from the Food & Agricultural Organization of the United Nations)

 Only 150 years ago, 90 percentage of the population in the United States engaged in agriculture; that figure has fallen to 2.2% due to mechanization. 

 With the world population growing by over 8,700 every hour, and diets being extensively upgraded, demand for grain is expected to triple in the next 50 years.  Reduced farm population due to industrial development is also increasing the demand for farm equipment … so a tremendous worldwide growth in agricultural equipment is yet to be realized.

ขอบคุณ ภาพประกอบจาก Google ครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 407780เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

เจอโฆษณาของ สสส แล้วทึ่งครับ จริงด้วยแรงงานและที่ดินภาคเกษตรลดลง เราถูกส่งเสริมให้เรียนสูงๆ ไปเป็นเจ้าคนนายคน สุดท้ายก็ทำอะไรไม่เป็นครับ..

อาจารย์ขจิต

อาจารย์ ตอบไว รวดเร็วปาน กามนิตหนุ่ม เลยครับ

ขอเป็นหนึ่งกระบอกเสียง

ผลักดัน "Aging Society ภาคเกษตร" เป็นวาระประเทศไทย ด้วยนะครับ

รอบต่อไปจะ review Aging Society ของภาคเกษตรญี่ปุ่น ต่อครับ

เค้าเตรียมการรับมือมาอย่างเป็นระบบครับ (อายุโดยเฉลี่ยเกษตรกรญี่ปุ่น 60-70 ปี )

-สวัสดีครับ...

-แวะมาเยี่ยม/อ่านข่าว....

-อ่านแล้ว....น่าตกใจ...แต่เป็นเรื่องจริง...ที่กำลังจะเกิดขึ้น.....

-ขอบคุณสำหรับสาระ ดี ดี นะครับ.....

  • สวัสดีครับคุณต้นกล้า
  • ข้อมูลนี้คือเรื่องจริงที่คนส่วนมากไม่ค่อยให้ความสำคัญ 
  • ไม่ว่าจะเป็นค่านิยม  นโยบายรัฐ  ฯลฯ ล้วนมีผลทั้งสิ้น
  • ผมเคยถามเด็กนักเรียนที่มาเข้าค่ายยุเกษตรกรประมาณ  100 คน
  • ถามว่าอนาคตใครจะมีอาชีพการเกษตรคือจะเป็นเกษตรกรบ้าง...?
  • มีเด็กยกมือเพียง 1 - 2 คนเท่านั้น.. (หลายๆ โอกาสผลก็ออกมาไม่แตกต่างกัน)
  • ยิ่งตอนนี้การปลูกฝังแนวคิดอาชีพการเกษตรไม่ว่าจะในระบบหรือนอกห้องเรียน(ที่บ้าน) น่าจะมีเพียงริบหรี่
  • เห็นด้วยกับทุกแนวทางแก้ไข..ต้องช่วยกันอย่างแข็งขันนะครับ
  • ส่วนผมก็ทำในทุกโอกาส เท่าที่จะทำได้ทั้งในและนอกหน้าที่การงาน
  • ขายแนวคิด  เน้นย้ำให้ทุกคนที่ได้พบเจอได้ตระหนักและภาคภูมิใจในอาชีพการเกษตร เพราะยั่งยืน..อิสระ พึ่งพาตนเองได้ เป็นนายตัวเอง
  • ฯลฯ
  • ขอบคุณมากครับ

อันแน่นด้วยสาระจริงๆ ขาดข้อมูลนิดหน่อยครับว่า เกษตรกรร้อยละเท่าไรที่ชอบอ่านข้อมูลจากแหล่งต่างๆ นะ ผมว่า

เป็นเรื่องจริง ที่ต้องฝากด้วยครับ

ฝาก

อ.เพชรน้ำหนึ่ง - ข้อมูลชุดนี้ ฝากไปทำ "พันธุ์" (เข้าไปดูการส่งเสริมการผลิตพันธุ์ข้าว) ให้เกษตรกร ด้วยนะครับ

อ.สิงห์ป่าสัก -ผมก็ย้ำทุกครั้ง ที่เจอเกษตรกร ครับโดยเฉพาะ "ห้ามขายที่ดินทำกินอย่างเด็ดขาด" ส่วนเรืองค่านิยมสร้างยากมาก

เพราะดูจากที่ผ่านมา แล้ว Idol ด้านการเกษตร อาทิเช่น ปราชญ์ชาวบ้าน มักจะ อายุ 40 ปี ขึ้นไป ซึ่งไม่ทันใจเด็ก เด็กยุคนี้ เป็นผลผลิตของ "ซองวัฒนธรรม-มาม่า" ชอบสูตรสำเร็จระยะสั้น ทำงานง่าย งานสบาย เงินไว(ผิดถูก อีกเรื่องนึง) ไม่ค่อยอดทน ต้องการความสำเร็จระยะสั้น

อ.โสภณ -เกษตรกรส่วนใหญ่อาจจะเข้าไม่ถึงข้อมูล หรือรับรู้แต่ยังไม่ตระหนัก ฝากไปถึงผู้หลักผู้ใหญ่

ที่มีหน้าที่ เป็นเรื่อง "ระดับนโยบาย" ครับ เนื้อหาอัดแน่นก็จริงอยู่ แต่อยู่ในนี้ก็ไม่มีประโยชน์ครับ เพราะยังไม่ตกถึงผู้เกี่ยวข้อง

ฝากทุกท่านที่เเวะเข้ามาเยี่ยมชม ด้วยนะครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาทักทายยามเช้า กับบรรยากาศดี  ๆ ก่อนวันหยุดสุดสัปดาห์ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                          

"....พัฒนาสหกรณ์การเกษตรให้เข้มแข็ง มีอำนาจต่อรองแทนเกษตรกรได้..."

I think farmers coops should be run for member farmers by members (not necessary farmers but living in the community and appointed by member farmers). There is a wide gap (profit margin) in prices 'at the farm-gate' and 'on the shop display'. One common formula for setting up price at the shop is the sum of {price at the farm gate + packaging and transport + cost of sale + profit + taxes}. This formula usually sets the price on the shop display at 400% the price at the farm gate.

The margin is enough to make good living for smart farm sons and witty farm daughters who do not wish to carry on farming. There are many farming family business opportunities that can take farm sons and farm daughters from a home-shop to Internet-shop to world-market. The phrase 'fresh from our farm to your table' should already appeal to consumers at large ;-) -- a good promotional start.

สวัสดีครับ กลุ่มเกษตรกรภาคใต้ ประชุมนิเทศงานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับจังหวัด ที่สุราษฎร์ 10 - 12 พย.ครับ

  • ได้ความรู้มากครับ..
  • 12-13 ปีข้างหน้า บ้านเราจะมีคนชรามากกว่าเด็กเป็นครั้งแรก และอีก 20 ปีคนชราจะเป็น 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ เทียบได้กับสถานการณ์คนชราล้นประเทศอย่างญี่ปุ่นในปัจจุบัน
  • ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ขณะที่ผลผลิตต่อไร่กลับต่ำกว่าอีกหลายๆประเทศ บ่งบอกว่าบ้านเราใช้ทรัพยากรในการผลิตนี้มหาศาล หรือสิ้นเปลืองกว่าที่อื่นๆ 
  • ประชากรในภาคเกษตรลดลง และสูงวัยขึ้น ปัญหาที่จะเกิด..
  • สรุปว่าทุกฝ่ายต้องตระหนักและร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหานะครับ
  • ขออนุญาตนำไปใช้เป็นข้อมูลสอนนักเรียน เรื่องสิ่งแวดล้อมนะครับ
  • ขอบคุณความรู้ และขอบคุณที่แวะเยี่ยมเยือนครับ

ขอบคุณ

คุณ sr สำหรับคำแนะนำ ครับ รอบต่อๆไปจะนำมา e-commerce ของเกษตรกร มา review เป็นแนวทางต่อยอดครับ

คุณ วอญ่า แวะมาประชาสัมพันธ์ข่าว

คุณครู ธนิตย์ สุวรรณเจริญ ยินดีครับ ต้องสร้างความตระหนัก และรักอาชีพเกษตรกรให้ลูกๆเกษตรกร ครับ ที่บ้านกร่างพิษณุโลก ก็เป็นแหล่งเกษตรใหญ่ พอๆ กับการเป็นเเหล่งรับน้ำหลาก ที่เดียวนะครับ

ถ้านำเสนอทั้งหมดแล้วเชื่อว่าการเกษตร ไม่ยากลำบากเหมือนแต่ก่อนครับ

ขอบคุณครับ

...ข้อมูลน่าตกใจมากๆ แต่ใครได้อ่านแล้วจะรู้ว่ามีประโยชน์จริง...

...ขอบคุณ สำหรับข้อมูลดีๆ...

...ขอให้นำข้อมูลดีแบบนี้ไปฝากที่เวป รักบ้านเกิดบ่อยๆนะค๊ะ...

คุณมีบุญ จาก เวบรักบ้านเกิด

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน แลกเปลี่ยนข้อมูล ครับ

แวะไปเป็นประจำครับ เพราะ "รักบ้านเกิด"

  • เต็มเปี่ยมเชียวค่ะ ถ่ายทอดได้ยอดเยี่ยม...
  • ชื่นชม
  • และจะช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมให้เมืองไทยเข้มแข็ง

มาชม มาเชียร์ คุณน้องหนุ่ม ชาวนาวันหยุด

แถวบ้านพี่ เริ่มลดการใช้สารเคมี เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่ แม้ไม่ร้อยเต็ม ก็นิมิตหมายดีๆ ค่ะ ขอบคุณค่ะ  :)

Ico32
✿อุ้มบุญ✿ ขอบคุณครับ การพัฒนา ต้องรวมเป็นกลุ่มก้อนจัดการดี ได้ ถึงจะมีน้ำหนัก ต่อรอง
ต่างคนต่างทำ เป็นเบี้ยหัวแตก เป็นเบี้ยล่างของทุนใหญ่ ที่มีระบบการจัดการที่ดี ครับ
ขอบคุณพี่ปู ครับ ขอบคุณ สำหรับความห่วงใย และกำลังใจครับ
อยากให้พี่ปูนำมานำเสนอ ครับ เป็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้สำหรับที่อื่นต่อไปครับ
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องราวและข้อมูลดี ๆ มีประโยชน์ครับ

เป็นข้อมูลที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

เป็นคลื่นใต้น้ำ ที่รอวันกลืน ผืนดินและอนาคตเกษตรกรไทย

ต้องร่วมกันสร้างปราการป้องกัน ครับ

ข้อมูลน่าตกใจครับ บ้านเราความเสี่ยงต่าง ๆ อยู่ในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะมาตรฐานความปลอดภัยด้านต่าง ๆ การใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เกษตรกรขาดความรู้ ไม่ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภคผลผลิต แม้กระทั่งสุขภาพของตัวเอง อยากให้ข้อมูลดี ๆ มีประโยชน์ต่อคนที่ควรรับรู้จริง ๆ ขอบคุณข้อมูลดี ๆ นะครับ และขอบคุณมากสำหรับความคิดเห็นของท่านในเรื่องเล่าของท่านเบดูอิน นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท