Q:ประสิทธิภาพการจัดการเเปลงนาหลังการเก็บเกี่ยว อยู่ที่ไหน A:อยู่ที่ "ทัศนคติ" ที่มีต่อฟางข้าว และเพื่อนร่วมโลก


ชาวนาส่วนใหญ่ จะรู้ว่า ผลผลิตข้าวที่ได้ กี่กิโลกรัม กี่ถัง ต่อไร่ แต่ น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ฟางในนาข้าว 1 ไร่ มีกี่กิโลกรัม???

      วันไหนที่ชาวนามีความสุขที่สุด?

 

ก็คือวันที่ข้าวในนาออกรวงเต็มท้องทุ่ง ได้เก็บเกี่ยว เเปรเปลี่ยนจากเงินทุน เวลา ความวิริยอุตสาหะมาเป็นเเหล่งอาหาร และรายได้         

      ชาวนาส่วนใหญ่ จะรู้ว่า ผลผลิตข้าวที่ปลูก ในนา 1 ไร่ ได้ กี่กิโลกรัม กี่ถัง 

 

แต่ น้อยคนนักที่จะรู้ว่า "ฟางในนาข้าว  1 ไร่ มีกี่กิโลกรัม???"

 

เราจะพูด และภูมิใจกับการเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่ง

(แล้วสิ่งแวดล้อม จริงๆๆ ในเเปลงนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวแล้วเป็นเช่นไร ???)

  แต่ใครจะรู้บ้างว่า ประเทศไทยยังมีเงิน(ที่เผาทิ้งประจำ)  และการจ้างงาน อยู่ในนาหลังการเก็บเกี่ยว อีกเป็นจำนวนเท่าไหร่ 

 

ตามไปดูมูลค่า ฟางในประเทศไทย

พร้อมทางเลือกใน "การจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ"


เนื้อข่าว ...

สร้างพลังงานทดแทนจากฟางข้าว

JGSEE แนะชาวนาเลิกเผาฟางข้าว แต่อัดให้แน่นเป็นก้อนสี่เหลี่ยม กลายสภาพเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งส่งขายโรงงาน สุดคุ้มกว่าเผาทิ้ง

ฟางข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งแม้ปัจจุบันฟางข้าวจะสามารถนำไปใช้ประโยชนได้หลากหลาย เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ยหมักชีวภาพ แต่ด้วยภาวะเร่งรัดในการทำนาครั้งต่อไป การเผาฟางจึงกลายเป็นทางเลือกที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด

 แม้ว่าเกษตรเองจะไม่อยากเผาฟางก็ตาม หากแต่ว่าผลกระทบที่ตามมานั้น ไม่เพียงความร้อนที่เกิดจากการเผาจะทำลายธาตุอาหารในดิน และได้ผลผลิตคุณภาพไม่ดีแล้ว การเผาฟางยังเป็นการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศอีกด้วย 

 ทั้งนี้ จากข้อมูลการสำรวจจากกรมควบคุมมลพิษ พบว่าพื้นที่ที่มีการเผาฟางข้าวมากที่สุดในประเทศไทยมีถึง 13 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคกลาง เช่น ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา และอ่างทอง เป็นต้น .......

 

 ......ปัจจุบันในตลาดโลกมีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) บ้างแล้วในหลายประเทศ ภาครัฐควรมีการสนับสนุนโครงการCDM เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรด้วย >>>

ติดตามอ่านต่อได้ที่

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/technology/20091204/89727/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7.html


"ทัศนคติ" ที่มีต่อฟางข้าวและเพื่อนร่วมโลก" จะช่วยให้การจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

 


 

Q :ประสิทธิภาพการจัดการเเปลงนาหลังการเก็บเกี่ยว อยู่ที่ไหน

A:อยู่ที่ "ทัศนคติ" ที่มีต่อฟางข้าว และเพื่อนร่วมโลก ครับ

 

เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี ........

จึงต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต และรักษาสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง ต้องทำ "Zero Waste" ของเหลือทิ้งในภาคเกษตรให้สำเร็จ ครับ

หมายเลขบันทึก: 408749เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2010 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
  • ที่แถวบ้านจะเอาฟางมาอัด
  • เอาไว้ให้วัวกินฤดูแล้งและเอามาทำก้อนเห็ดฟางครับ
  • เห็นแล้วอยากทำนา
  • สบายดีไหมครับ

ขอบคุณ อ.ขจิต ครับ

สบายดีครับ เห็นฟางในนาแล้วน่าเสียดายครับ ฝากอาจารย์ส่งเสริม การใช้ประโยชน์จากฟางข้าวต่อด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะ

วันก่อนเดินทางไปทำกิจกรรมจิตอาสาที่อุดรธานี  เห็นข้างทางมีต้นข้าวกำลังออกรวง  สวยมาก  น่าภาคภูมิใจกับชาวนา และภูมิใจที่เกิดมาบนผืนแผ่นดินไทย  รวมทั้งคิดอะไรไปเรื่อยเปื่อย  คิดแทนคนอื่นค่ะ

เมื่อได้อ่านบันทึกนี้ ความคิดจึงได้ต่อยอดมากขึ้น  "ทำอย่างไรจะส่งเสริมให้คนไทยมีนิสัยขยันขันแข็ง มีความคิดเป็นของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบบ"

ทำอย่างไรจะให้หลาย ๆคนมาอ่านบันทึกนี้  เพื่อไปจุดประกายความคิดและมีแรงบันดาลใจให้กับตนเองบ้าง

ขอขอบคุณค่ะ

  • ยอดไปเลยค่ะมองเห็นภาพพจน์ทีเดียว

ขอบคุณ

คุณยาย :ความรู้ต้องรวมหมู่ และบูรณาการด้วยเครืองมือ ถึง ตัวเกษตรกร และผู้เกี่ยวข้อง ครับ

คนส่วนใหญ่ มักจะมองนาข้าว เป็นอะไรที่สวยงาม เพราะเรามองแล้วผ่านไป ไม่ได้ไปทำจริงๆ

ถ้าทุกคนช่วยลงไปดูทั้งกระบวนการ (สมมติว่าต้องลงไปทำเองจริงๆ) เราก็จะช่วยชาวนาได้มากขึ้น ครับ

คุณอุ้มบุญ :ฝากต่อด้วยนะครับ

-สวัสดีครับคุณต้นกล้า.....

-แวะมาเยี่ยมชาวนา.....มีความสุข.....ครับ..

-วันก่อนกลับบ้าน....ก็มีความสุข.....

-เก็บภาพ....มาฝาก...ครับ..

ขอบคุณเพชรน้ำหนึ่ง ที่แวะมาเยี่ยมชมครับ

รักษาสุขภาพด้วยนะครับ เเปลงนาข้าวที่ลำปาง

สวยมากครับ ข้าวเต็มรวง

กำเเพงเพชร ข้าวดีดระบาดเยอะมากเลยนะครับ

ขอบคุณมากค่ะที่เห็นคุณค่าของ "ฟางข้าว"..ทั้งคุณประโยชน์เกื้อหนุนตามวัฎจักรและประโยชน์ข้างเคียงมากมาย..

 

ขอบคุณ คุณนงนาท สนธิสุวรรณ ช่วยกันคนละไม้ คนละมือ ยึดถือ ส่วนรวม เพื่อนร่วมโลกครับ ........

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาเยี่ยนเยียน คุณต้นกล้า สบายดีนะค่ะ "ถ้าคุณต้นกล้ามีโอกาสผ่านมาทางพะโต๊ะอีก แวะทักทายกันได้นะค่ะ ชาวพะโต๊ะยินดีต้อนรับค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                    

มาขอบคุณค่ะคุณต้นกล้า ที่ไปแนะนำถึงบล็อค

พี่อยู่ อ.เมือง นครสวรรค์

ที่ไร่ ตอนนี้พี่คิดเหมือนคุณคือ รอบ ๆ จะลงต้นสักเป็นอาณาเขต

ขอบสระไม่สวยค่ะ เดินรอบๆไม่ได้ ไม่เป็นแนวจะต้องจ้างเขาถมดินทำขอบสระให้ดูดีกว่านี้

จะได้ปลูกผักสวนครัวได้ ขอบสระดินมันเป็นลูกรังและแข็ง แต่ตรงอื่นไม่เป็น

ตอนนี้ขอบสระเปิดช่องไว้ให้น้ำเข้านา มีตั้งหลายช่อง ต่อไปแต่งขอบสระเป็นแนวแล้วจะดูดี แต่คงต้องค่อย ๆ ทำค่ะ

ฝันอยากมีสวนมะปรางลูกโต ๆ กับมะนาวนอกฤดู (จะขอไปดูงานที่สวนมะนาวคุณสามารถ)

อยากทำท้องร่องปลูกชมพู่ใกล้ ๆ สระ

ที่ข้างเคียงชาวบ้านทำไร่แตงกวา ถั่วฝักยาว ข้าวโพด เขาใช้ยาฆ่าแมลงด้วยค่ะ

ที่สำคัญนะคะคุณต้นกล้า วันราชการก็ทำงาน วันหยุดจึงจะมีเวลาไปไร่ ตั้งแต่ซื้อไร่นี้ เคยไปแค่ 2 ครั้งค่ะ

ตอนนี้มีแต่คนบ่นเบื่องาน... ออกมาทำไร่กัน กินทุกอย่างที่ปลูก ก็พอเพียงแล้ว

ชาวนาที่ ต.ยางขาว โกรกพระ จะต้องหาเวลาไปดูงานแล้วค่ะ

เรื่องฟางข้าว พบชาวบ้านยังเผากันเยอะแยะ เขาไม่รู้ค่ะว่าเผาเงิน

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

เคยเห็นมีการนำฟางข้าวมาทำโคมไฟ และผลิตภัณฑ์ ที่ประดับ ตกแต่งภายในบ้าน สวยงามมากคะ

คุณ nana งาน พสว.ศอ.8

ต.ยางขาว อ.พยุหะครับ ให้ที่อยู่ผิดไป รอยต่อ อ.โกรกพระ นะครับ

จะเห็นแถบนั้น ทำนาดำเป็นส่วนใหญ่

พื้นที่รอบบ่อ ปลูกต้นเเฝก ได้ก็ดีนะครับ จะช่วยการพังทลาย และ ทำให้ดินมีความพรุนมากขึ้น

เหมาะสำหรับการปลูกพืชชนิดอื่นด้วย

ปลูกพวกพืชสมุนไพร ก็นะครับ ข่า ตะใคร้ ใบมะกรูด ... ไม่ต้องดูแลมาก

คุณ กรรณิการ์ วิศิษฏ์โชติอังกูร

ฟางยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการเป็นส่วนผสม สร้างบ้านดิน ได้ด้วยครับ

ต.ย.อยู่ที่

http://learners.in.th/blog/appreciative-creativity-home1/380520

แวะมาขอบคุณ ต้นกล้าที่ไปเติมเต็มในบันทึก ของไกล้ตัวหลายอย่างที่ทิ้งข้วางอย่างไม่รู้ประโยชน์

ต้องช่วยกันจุดประกายขายความคิด และทำให้ดู เพราะหลงไหลในความสะดวกสสบาย ธรรมชาติจึงกลับมาทำร้ายเอา

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณมากมายสำหรับเรื่องราวที่เปรี่ยมล้นด้วยสาระ
  • โชคดีมีสุขนะครับ

 นาข้าวสองพี่น้อง สุพรรณสวยมากมายค่ะ

  • สวัสดีค่ะ 
  • สุขสันต์วันลอยกระทงนะคะ...คุณต้นกล้า
  • ขอบคุณค่ะ
     
                                  ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง
  • ขอบคุณ

    1.วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

    2.KRUJOY (ครูจ่อย)

    3.กานดา น้ำมันมะพร้าว

    4.บุษรา

    เจตนารมย์ สุดท้ายของการขายความคิด ในบันทึกทั้งหมดนี้ คือการผลิตซ้ำ ส่งผ่าน ต่อยอด และนำไปปฏิบัติ กลับมาปรับปรุง ตาม หลัก "คุณ-นะ-ทำ" ครับ เพราะ ทำ จึงได้รับ

    ...มีสาระ ความรู้ดีๆมีประโยชน์ มาฝากอีกแล้ว ดีจังเลยค่ะ...

    คุณมีบุญ จากรักบ้านเกิด

    ฟางข้าวมีโยชน์หลายสถาน แต่ต้องลงคนละไม้คนละมือ ครับ

    ราชการส่วนใหญ่ ไม่ค่อยส่งเสริม เครื่องไม้เครืองมือ ครับ ให้แต่ตำรา มันก็เลยยากในขั้นตอนการปฏิบัติ จริง

    คงต้องช่วยกันคิด ออกมาในรูปแบบของกลุ่มเกษตรกร รวมพื้นที่ ให้ได้ซัก

     1,000 ไร่

    คนซัก 50 คน เฉลี่ยคนละ 20 ไร่

    ใช้ปัจจัยการผลิตร่วมกัน หรือหมุนเวียนรับจ้างอัดฟางในกลุ่ม

    คนที่พร้อม ออกเครืองมือ คนที่เหลือ ช่วยเหลือเอาแรงกัน

    1,000 ไร่ ได้ฟางข้าว =1,000*30=30,000 ก้อน

    เป็นเงิน =30,000*20 บาท =600,000 บาทครับ

    หรือจะอัดฟางไว้เก็บ เก็งกำไรขายช่วงหน้าฝน ก้อนละ 30-35 บาท เงินก็จะเพิ่มขึ้นอีก 300,000-450,000 บาท รวมๆ รายได้เฉลี่ย ไร่ละ 1,000 บาท จากฟางข้าวอัดก้อน ครับ

    ต้องรวมกลุ่ม share cost +utiliization เครืองมือ +สร้างอำนาจต่อรองกับตลาด ครับ

    และต้องใจเย็นพอ ที่จะรอความสำเร็จร่วมกัน

    คุณบ้านไร่ไรวา: สำหรับพื้นที่นาปี แนะนำให้เอาฟางไว้ในนาหลังการเก็บเกียว เพื่อคลุมหน้าดิน และปลูกถั่วต่อครับ

    แต่ถ้าเป็นนาเขตภาคกลาง และเหนือล่าง ทำนา 2 ปี 5 ครั้ง แนะนำให้เอาฟางข้าว ออกจากนา แทนการหมักฟางข้าวในนา ครับ

    เหลือไว้แต่ตอฟางข้าวในนา

    ถามว่าทำไม :

    1.ปริมาณฟางข้าวมากเกินไป : ใช้กระบวนการหมักในนานา ทำให้เกิดก๊าซมีเทน ปล่อยก๊าซ สู่บรรยากาศ ทำให้ โลกร้อน

    2.กรณีใช้ เครืองจักรเตรียมดิน ทำเทือก ทำให้ใช้พลังงานสิ้นเปลือง เนื่องจากมีอุปสรรคในการทำงานเพิ่มขึ้น

    3.กรณีปักดำ ถ้าหมักฟางไว้ในนา แล้วยังไม่หมดแก๊ส จะทำให้ต้นกล้า เมาฟางข้าว ต้นเหลือง เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตครับ ต้องเสียปุ๋ยโดยไม่จำเป็นอีก

    4.ทิ้งฟางหมักไว้ในนา ทำให้ดินเป็นเลนมากขึ้น นาหล่มมากขึ้น ทำงานในนายากขึ้น

    5.การย้ายฟางข้าวขึ้นมาหมักนอกเเปลงนา ทำให้สามารถปรุงแต่งความสมบูรณ์ของ ฟางหมัก ได้ให้มีความสมบูรณ์ของธาตุอาหารเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขึ้หมู ขี้วัว ขี้ไก่ ใส่จุลินทรีย์ + เร่งปฏิกิริยาการหมักได้ ด้วยการควบคุม ภายนอกได้ครับ  กระบวนการหมักเสร็จสิ้น

    ค่อยนำกลับไปปรับปรุงบำรุงพื้นที่นา ต่อ ครับ

     

    รับรองเเจ่ม ......

     

     

    ข้อมูลเพิ่มเติมจะ update ให้ทราบคราวต่อไป เอาไปเป็นน้ำจิ้มก่อนครับ

    เฮ้อ..ผมเหนื่อยกับเรื่องนี้มานานเลยครับ...

    พูดทุกปี เผาทุกปี..บ้านไหนเคยเผาบ้านนั้นก็เผาประจำ...

    ดีใจที่เจอแนวร่วมเพิ่มครับ...

    ขออนุญาตแบ่งปันให้อำเภอทราบต่อนะครับ

     

     

    คลิ๊กที่ภาพ
     

    การจัดการเเปลงนาหลังการเก็บเกี่ยว ต้องทำควบคู่ ก้บ PDCA ครับ

    เพราะเพิ่งเริ่มต้น ...............ผลลัพธ์ อย่าเพิ่งคาดหวังมาก

    แต่ขอ confirm ว่า มาทางนี้แล้วไม่หลงทาง ครับ

    แต่ต้องมาเป็นกลุ่ม สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เก็บฟางข้าว  หลังนาด้วยกัน

    หาวิธีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ทดลองแต่ละเเบบ เพื่อหา BMP -Best Management Practices ครับ

    เเปลงฟางให้เป็นเงิน ได้ ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น

     

    แต่ส่วนที่ต้องใส่เข้า ไปคือกลไก ...และเครือข่ายของผู้ผลิตฟาง ตลาดปลายทาง



    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท