Rice is life-2 : จากเกษตรกรรายย่อยสู่การรวมกลุ่ม - ตัวอย่างกลุ่มเกษตรกร บ้านช้างมิ่งสามัคคี อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร


กสิกรแข็งขันเป็นกระดูกสักหลังของชาติ ไทยจะเรืองอำนาจเพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม :ตัวอย่างกลุ่มเกษตรกร บ้านช้างมิ่งสามัคคี อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

ตอนต่อจาก

"Rice is Life"-1 ว่าด้วย วิธีการเพาะปลูกข้าว

เป็นตอนที่ 2

"จากเกษตรกรรายย่อยสู่การรวมกลุ่ม"  

 

"กสิกรแข็งขันเป็นกระดูกสักหลังของชาติ

ไทยจะเรืองอำนาจเพราะไทยเป็นชาติกสิกรรม"

 

อันนี้แล้วแต่มุมมองนะครับ มีผู้อ่านหลายท่าน

1.มองการทำนา เป็นภูมิปัญญา ทำยังไงก็ควรเป็นไปอย่างนั้น 

แล้วคนรุ่นต่อไปจะ "รับช่วงต่อ" ได้หรือไม่ มันมี Gap ของการสานต่ออยู่  ?

คนรุ่นใหม่ เวลาเรียนรู้น้อย ชั่วโมงบินน้อย ประสบการณ์ในเเปลงนาจริงน้อย

แต่ชอบอะไร ที่มันง่าย เร็ว เงินดี เเดดไม่ร้อน - (ผลของการโตมากับวัฒนธรรม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป -ฉีกซอง เทน้ำร้อน กินได้เลย) เค้าจะทำนากันอย่างไร?? เมือการทำนา มันต้องใช้เวลา ใช้ความทุ่มเท วิริยะ อุตสาหะ ....  

2.มองการทำนา เป็นเชิง Management + PDCA +Preventive solution

ให้คนรุ่นต่อไป มารับช่วงต่อได้ แบบ Turn Key + ลด GAP ทั้งหมดลง

หมดรุ่นพ่อ รุ่นแม่ รุ่นลูกสามารถ เข้ามา แทนที่ ลงมือทำได้เลย องค์ความรู้ของการพัฒนา และเครื่องมือ ได้ถูกพัฒนาขึ้นแล้วในชุมชน ไม่ต้องเสียเวลา ลองถูก ลองผิด รุ่นลูกต้องเข้าสู่ขั้นการพัฒนาต่อยอดการผลิต +การตลาด และเเบ่งปันองค์ความรู้สู่รุ่นต่อไปได้ >  ไม่ปล่อยให้ผืนนารกร้าง ไม่ปล่อยให้การทำนา เป็นเพียงตำนาน ว่าครั้งหนึ่ง เราเคย ทำ ฉันเคยทำ ฉันเป็นลูกชาวนา แต่ไม่เคยทำนา...หรือทำนาไม่เป็น 

 

ซึ่งก็ต้องผสมผสานกันไป ตามความเหมาะสมครับ ที่ต้องมองถึง

ความเป็นไปของสังคมโลก สิ่งเเวดล้อม อายุที่มากขึ้น

และอนาคตของลูกหลานด้วยครับ

ผมขอยืนยันว่า แม้จะศึกษา ข้อมูล ทั้งหมดที่เขียนใน G2K และองค์ความรู้เรื่องข้าวใน http://www.brrd.in.th/rkb/ ก็ยังทำนาไม่ได้ ครับ

 ถ้าเเค่เรียนรู้ ไม่ลงมือทำจริง

จึงได้แนะนำหลักสูตรไว้ใช้ในโรงเรียน คลิกไปชม ได้ครับ

"จัดระเบียบการปลูกข้าว จากเเปลงนา สู่การพัฒนาประเทศ "

 

 


 

 

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น... 

อาชีพเกษตรกร มีเกียรติ มีกิน มีเก็บ

-เป็นเจ้าของกิจการ (Business Owner) เป็นทั้งนาย และลูกจ้างของตัวเอง  

-เป็นกรรมการผู้จัดการ (Managing Director)

ให้คนรุ่นต่อไป รุ่นลูก รุ่นหลาน "มาแทนที่ได้".. เป็นมรดกตกทอด...ที่น่าภาคภูมิใจ

 

ต่างจาก เราๆ ท่านๆ ทั้งหลาย ในฐานะ "ลูกจ้าง" จะรัฐ ก็ดี เอกชน ก็ดี  

แต่ละคน สวมหมวก สวมชฏา สวมมงกุฎ  สวมหัวโขน นั่งเก้าอี้ ไม่เหมือนกัน

ด้วยตำเเหน่งหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย ไม่สามารถกำหนดได้เอง ต้องใช้ความสามารถ  ตามวุฒิ การศึกษาที่ร่ำเรียนมา ตามสายงาน  ตามประสบการณ์ หรือตามนาย มา   

แต่ไม่สามารถ ส่งต่อ หมวก ชฎา หัวโขน และเก้าอี้ > "ให้ลูก ให้หลานได้"  เพราะว่ามันไม่ใช่ของเรา เป็นของส่วนกลาง ลูกเรามาแทนที่ไม่ได้

ถึงช่วงเวลาหนึ่ง ลูกน้องก็ต้องขึ้นมาแทน ต่ไม่ใช่ "ลูกของเรา" ...

 

 


 

กลับเข้าเรื่องครับ

 

จุดเปลี่ยนประเทศไทย ... ต้องเปลี่ยน ค่านิยม

 

 

ทำอะไรตามใจคือไทยแท้” เปลี่ยนเป็น “ทำอะไรมีวินัยคือไทยแท้”

 

       ถ้าจะมองการทำการเกษตรให้เป็นเหมือนธุรกิจ ก็ต้องมี ‘การวางแผนล่วงหน้า’ ในภาวะราคาสินค้าทางการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่เกษตรกรต้องมีความเข้าใจพื้นฐานทางการตลาด

       ข้อมูลการตลาด ความต้องการของลูกค้า จะเป็นโจทย์ในการกำหนดแผนการผลิตของเรา เริ่มตั้งแต่จะปลูกอะไร เมื่อไหร่ มี "ปริมาณและคุณภาพ" ขนาดไหน มีกระบวนการจัดการผลผลิตที่ได้อย่างไร ต้องออกขายเมื่อไหร่ ขายกับใคร ขายอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาดที่ได้ศึกษาประเมินไว้

และจะดีที่สุดถ้าเกษตรกร สามารถ "กำหนดราคา" เองได้

(ลองไปตีความดูนะครับ...)

 

ลำพังเกษตรกรแค่รายย่อย รายสองรายทำไม่ได้แน่นอน

เพราะว่ามันไม่มีพลัง ไม่มี อำนาจต่อรอง

 เป็นเบี้ยหัวแตก "เบี้ยล่าง" ของตลาด

 

ต้องมี ‘การรวมกลุ่ม’ ครับ

 

         เกษตรกรรายย่อยโดยทั่วไป จะมีปริมาณผลผลิตที่ไม่เพียงพอและไม่สม่ำเสมอ  ทำให้ไม่เป็นที่สนใจของตลาด ซ้ำร้ายผลผลิตยังไม่มีคุณภาพไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ เลยต้องจำใจขายถูก ในสถานการณ์อย่างนี้ การรวมกลุ่มจะช่วยลดความเสี่ยงทางการตลาด เราจะมีปริมาณผลผลิตที่มากพอและถ้ามีระบบจัดการผลิตที่สามารถควบคุมคุณภาพได้ เสียงของเราก็จะดังขึ้น มีอำนาจต่อรองมากขึ้น

   การรวมกลุ่มเกษตรกรที่ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเริ่มด้วย

"ความสมัครใจ"  "ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน"  

"จิตอาสา การพัฒนาร่วมกัน"

       ในส่วนแกนนำของกลุ่มจะต้องมีความสามารถประสานแผนการผลิตกับการตลาดเข้าด้วยกัน โดยมีผู้ซื้อทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารทางการตลาด ราคาซื้อ ไปจนถึงมาตรฐานคุณภาพต่าง ๆ ส่วนตัวเกษตรกรเองก็ต้องใช้ความรู้ความชำนาญและเทคโนโลียีที่มี ทำการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย

     บ้านเรามีการรวมกลุ่มของเกษตรมากมายหลายกลุ่ม แต่ทำไมปัญหาของเกษตรกรก็ไม่ได้ลดลง ตามกลุ่มที่เพิ่มขึ้น ? จึงคิดว่าไม่น่าจะใช่ปัญหาด้านเทคนิคการผลิต  น่าจะเป็นเรื่องของวิถีชีวิต เรื่องของวัฒนธรรมการรวมกลุ่ม

         เราไม่มีวัฒนธรรมในการรวมกลุ่ม อย่างเข้มแข็งจริงจัง คนไทยรักการใช้ชีวิตแบบสบาย ๆ ไม่มีระบบระเบียบ ตัวใครตัวมัน และต้องพึ่งผู้นำ การรวมกลุ่มเป็นไปแบบหลวม ๆ เมื่อผู้นำมีปัญหาหรือขาดผู้นำ กลุ่มก็แตก เมื่อสมประโยชน์หรือได้ในสิ่งที่ต้องการแล้วก็ชิ่งหนีไปทีละคนสองคน กลุ่มก็ต้องยุบ มิหนำซ้ำ เมื่อออกไปทำของใครของมันแล้วก็ทำได้ไม่ดี พาเอาพวกที่เค้าทำดีอยู่แล้วต้องเสียหายไปด้วย

คนส่วนมากเมื่อมารวมกลุ่มกัน และที่เข้ามาตามๆกัน มักคิดว่า

"กลุ่มจะให้อะไรกับเค้าได้บ้าง"

ในทางกลับกัน ถ้าทุกคนช่วยกันคิดว่า "เราจะให้อะไรกับกลุ่มได้บ้าง" กลุ่มจึงจะพัฒนารุดหน้าต่อไปได้ 

ปัญหาทุกอย่าง ให้เริ่มแก้ที่ตัวเองนี่แหละครับ

๐เราจะเปลี่ยนประเทศได้ ก็เริ่มจากเปลี่ยนตัวเองก่อน๐

 

อย่าไปรอให้ใครมาแก้ให้ ต้องยึดมั่นในหลักการพึ่งตัวเอง แค่รัฐทำหน้าที่ตัวแทน ดูแลและจัดสรรผลประโยชน์ของชาติให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมและยุติธรรมให้มากที่สุดก็พอ


ตัวอย่างกลุ่มเกษตรกร บ้านช้างมิ่งสามัคคี อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

 

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวสกลนคร

http://skn-rsc.ricethailand.go.th/Seed%20Production%20and%20Quality%20Control%20System%20Chart.pdf

http://skn-rsc.ricethailand.go.th/new%20varieties.pdf

 

การรวมกลุ่มของเกษตรกร ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันเเบ่งปัน ข้อมูลข่าวสาร และยกระดับการผลิต การตลาด การทำนาเเบบรวมกลุ่ม  จะทำให้เด็กๆ รุ่นใหม่ ได้เรียนรู้ ว่า การทำนา ไม่ได้ยาก อย่างที่คิด ไม่ต้องเครียดคนเดียว เรายังมีสมาชิก ในกลุ่มคอยให้คำปรึกษา  >  หมดรุ่นพ่อ รุ่นแม่ รุ่นลูกสามารถ เข้ามา แทนที่ ลงมือทำได้เลย องค์ความรู้ของการพัฒนา และเครื่องมือ ได้ถูกพัฒนาขึ้นแล้วในชุมชน ไม่ต้องเสียเวลา ลองถูก ลองผิด รุ่นลูกต้องเข้าสู่ขั้นการพัฒนาต่อยอดการผลิต +การตลาด และเเบ่งปันองค์ความรู้สู่รุ่นต่อไปได้ >  ไม่ปล่อยให้ผืนนารกร้าง ไม่ปล่อยให้การทำนา เป็นเพียงตำนาน ว่าครั้งหนึ่ง เราเคย ทำ ฉันเคยทำ ฉันเป็นลูกชาวนา แต่ไม่เคยทำนา... 

หมายเลขบันทึก: 412209เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2010 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

สวัสดีค่ะ

ขออนุญาตคัดลอกไปแจกให้ชาวบ้านที่ห้วยกอกได้เรียนรู้บ้างนะคะ  หากพี่คิมไปพูดเฉย ๆ เขาคงไม่เชื่อ  เพราะไม่ใช่นักการเกษตร

กำลังจะออกไปทำงานที่บ้านนอก  เป็นประโยชน์บ้างก็ยังดีกว่าอยู่เฉย ๆค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาทักทาย....และเพิ่งกลับมาจากทำสวนค่ะ
  • ระลึกถึงกันเสมอค่ะ

                    

สวัสดีค่ะคุณต้นกล้า

  • แวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นทางการค่ะ
  • หลังจากที่ได้เฝ้ามอง ผลงานของคุณจากการคอมเม้นท์ที่บันทึกของท่านอื่น ๆ
  • ครูอิงก็ลูกชาวนาเต็มร้อยค่ะ  ตอนนี้ที่บ้านสงขลา ก็ยังคงดำเนินชีวิตชาวนาและชาวสวน
  • แต่หนักไปทางสวนผักมากกว่าค่ะ คงต้องย้อนรอยไปอ่านบันทึกย้อนหลัง
  • ขอบพระคุณนะคะ สำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปัน
  • ย้อนกลับขึ้นไปอ่านบันทึกอีกครั้ง หลังจากเม้นท์แรก
  • อยากให้ผู้นำชุมชน ในชนบท ที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติได้อ่านจังเลยค่ะ
  • เห็นด้วย ว่า วัฒนธรรมการรวมกลุ่ม ของเกษตรกร ยังไม่ดี ทำให้ชุมชนไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร
  • ตอนนี้ที่บ้านครูอิง มีครอบครัวของน้องสาวที่จบด้านเกษตรมาโดยตรง
  • กำลังรวมกลุ่มชาวสวนผัก  ซึ่งก็เป็นไปด้วยดีค่ะ  รู้สึกว่าผลผลิตต่าง ๆ จะดีขึ้นมาก
  • เขาเริ่มจะเชื่อถือ และ เชื่อใจ ทำตามที่น้องสาวแนะนำในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ๋ย  การกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น 
  • ก็คงพยายามกันต่อไปค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณต้นกล้า อ่านบันทึกแล้วได้รับความรู้มากมายค่ะ
  •  ทางภาคเหนือก็จะมีเมล็ดข้าวพันธ์มะลิ (ข้าวเก่า ข้าวใหม่)
  •  ข้าวใหม่ก็จะเหนียวนิดหน่อยแต่จะหอมกว่าข้าวเก่า
  •  ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

พี่คิม 

ยินดีมากครับ รอติดตาม review บ้านกอก นะครับ 

Ico32 คุณบุษรา ที่แวะมาเยี่ยมชมบันทึกครับ ยังรอติดตาม บันทึก review บ้านสวนนะครับ

พี่ครูอิง

  • ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยียน แลกเปลี่ยนมุมมองครับ 
  • สงขลา มีอะไรน่าศึกษาเยอะมากครับ พร้อมกับเมนูสุดอร่อย ของโปรดผมหลายรายการ ครับ
  • เรื่องที่นำเสนอ พยายามเอาเรื่องใกล้ๆตัว กับเรื่องไกลตัว ให้ไปด้วยกันได้
  • ขอชื่นชมในความพยายาม รวมกลุ่ม เพื่อการพัฒนาร่วมกันครับ

และนำตัวอย่างที่ลงสู่การปฏิบัติแล้ว มาเป็นตัวอย่าง เป็นประโยชน์ต่อไปครับ

 

ครูเอื้องแซะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบันทึกครับ 

11-13 มีโปรแกรมขึ้นเชียงราย ครับ  

ขอบคุณมากนะคะคุณต้นกล้าูู^^ สำหรับเมนูหลนเต้าเจี้ยวใส่ไข่ที่ไปแบ่งปันให้ในบล๊อก ยังไงจะเอาสูตรนี้ไปทำกิน อร่อยแน่เลย เพราะทำเอง ฮ่า

สวัสดีค่ะน้องต้นกล้า ข้าวคือชีวิต ชาวนาคือผู้อุทิศ กายใจเพื่อแผ่นดิน

ชาวนา เป็นอาชีพ ที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณค่า ต้องภาคภูมิใจที่สุดค่ะ :)

Ico32 ขอบคุณพี่ปู ครับ เห็นด้วยอย่างยิ่ง ครับ

คำถามคือ รุ่นต่อไป เค้าจะทำนากันหรือไม่ หรือเหลือเพียงความภาคภูมิใจ 

  • ข้อมูลน่าสนใจมากเลยครับ
  • ว่าจะชวนมาเที่ยวงานเกษตรครับ
  • อดเลย
  • อยู่ไหนครับเนี่ย

สวัสดีครับคุณต้นกล้า .....จุดเปลี่ยนประเทศไทย ... ต้องเปลี่ยน ค่านิยม

การเปลี่ยนค่านิยมสำคัญครับ เมื่อก่อนค่านิยมในการสูบบุหรี่ ที่ผ่านพระเอก ถือว่าเทห์ กว่าจะเปลี่ยนค่านิยมได้ต้องใช้ งปม. ใช้ข้อมูลของพิษภัยกันอย่างมหาศาล

ค่านนิยม ในการบริโภค ก็ต้องรณรงค์กันหนัก ถึงลบภาพสัญญลักษณ์ "หัวล้าน ท้องป่อง คือคนรวย"

การรวมกลุ่มยิ่งสำคัญ ต้องเป็นความคิดร่วมของคนในกลุ่ม หากเป็นกลุ่มจัดตั้ง ก็จะพังไปพร้อมกับคนที่มาตั้ง

                      

ขอบคุณค่ะ..ปลาบปลื้มใจกับบันทึกดีๆเช่นนี้มาก...พี่ใหญ่อยากชวนไปอ่านที่บันทึกนี้ด้วยค่ะ :

http://gotoknow.org/blog/nongnarts3/346883

"การรวมกลุ่มยิ่งสำคัญ ต้องเป็นความคิดร่วมของคนในกลุ่ม หากเป็นกลุ่มจัดตั้ง ก็จะพังไปพร้อมกับคนที่มาตั้ง"

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ต้องเกิด จากความสมัครใจร่วมกัน ของสมาชิก

แต่จะใส่ "ตัวเร่งปฏิกิริยา" เข้าไปอย่างไร หลายๆเรื่อง เมื่อไม่มีเจ้าภาพ ก็เริ่มไม่ได้เหมือนกัน ครับ รอนานไป ปัญหาก็ยังไม่ได้เริ่มต้นแก้ไข

Ico32  ติดตามเข้าไปอ่านแล้วครับ ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ

ต้นกล้า ขอ น้อมนำพระราชดำริ เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต และการทำงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อไป ครับ

Ico32 สวัสดีครับ อ.ขจิต ยินดีด้วยนะครับ

งานเกษตรกำเเพงเเสนปกติจะไปประจำทุกปี เเต่ปีนี้ติดภารกิจ ครับ

รับใช้พี่น้องเกษตรกร อยู่ปากน้ำโพ

  • ชาวนาหากมี Facilitator ฝีมือดีๆ
  • พาทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ เมืองไทยน่าจะเข้มแข็งกว่านี้

Ico32 ขอบคุณ พี่อุ้มบุญ มาเยี่ยมเยียนครับ

ต้องเป็น Facilitator ที่จริงใจ ด้วยครับ  

"เราจะไม่ทิ้งอะไรไว้ นอกจาก แรงบันดาลใจ"

 

  • เห็นด้วยกับ 2 เรื่องที่กล่าวถึงครับ
  1. คนรุ่นใหม่ เวลาเรียนรู้น้อย ชั่วโมงบินน้อย ประสบการณ์ในเเปลงนาจริงน้อย แต่ชอบอะไร ที่มันง่าย เร็ว เงินดี เเดดไม่ร้อน...
  2. เราไม่มีวัฒนธรรมในการรวมกลุ่ม อย่างเข้มแข็งจริงจัง คนไทยรักการใช้ชีวิตแบบสบาย ๆ ไม่มีระบบระเบียบ ตัวใครตัวมัน และต้องพึ่งผู้นำ...
  • ตระหนักถึงองค์ความรู้อันมีค่ามากๆในเรื่องการทำนาของบ้านเราครับ
  • ขอบคุณความรู้ครับ

ขอบคุณอาจารย์ธนิตย์ Ico48

ฝากอาจารย์ฝากฝังเด็กๆ ด้วยครับ

อาชีพเกษตร มีเกียรติ มีกิน มีเก็บ มีความสุข ครับ

 

ขอบคุณมากครับ

ผมก็อยู่สกลนครครับ ผมเรียนอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จังหวัด สกลนคร

ผมชอบที่นี่มาก ทั้งธรรมชาติ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมต่างๆ และประชาชนที่นี่

สงสัยต้องออกพื้นที่สะหน่อยแล้วครับ

Ico48 สิ่งที่จะทำให้เกิดการยอมรับ ระหว่างผู้ปฏิบัติ กับนักวิชาการที่ดีคือ เข้า ร่วมกิน ร่วมอยู่ ร่วมศึกษา ร่วมพัฒนา กับชาวนาตัวจริงครับ 

ขอบคุณมากครับ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

นักวิชาการปัจจุบันนั่งห้องแอบแคบๆอยู่ในห้องเวลาออกไปให้ข้อมูลชาวบ้านชาวบ้านเลยไม่เชื่อถ้าอยากให้ชาวบ้านเชื่อโดยที่เราไม่ต้องออกไปเขาจะมาหาเราเองคือทำที่บ้านเราให้ดีที่สุดให้ได้ผลที่สุดแล้วเค้าจะมาหาเราเองส่วนนักวิชาการที่ไม่มีพื้นที่ก็ต้องลงพื้นที่บ่อยๆสร้างความคุ้นเคยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ชาวบ้านให้ได้

ปัจจุบันประเทศไทยมีนักวิชาการเพียงพอต่อจำนวนประชากรที่ต้องการและอาจจะพิ่มอีกในอนาคตเนื่องจากทั่วโลกให้ความสำคัญของอาหารมากขึ้น และอาจเกิดภาวะขาดแคลนอาหารเนื่องจากประชากรมากขึ้น พื้นที่เมืองมากขึ้นทำให้พื้นที่เกษตรเหลือน้อย เกิดการเปลี่ยยนแปลงทางสภาพอากาศและสภาพภูมิประเทศ เราจึงต้องพัฒนานักวิจัยนักวิชาการที่ทุกฝ่ายยอมรับ

 เพิ่มเติมจากข้อความข้างบนของน้อง Ico48 

....และต้องใช้แรงกาย สติปัญญา และความกระตือรือร้นจากคนรุ่นหนุ่ม บวกกับประสบการณ์ของ คนรุ่นก่อน มาประสานเข้าด้วยกัน การพัฒนาจะได้ไม่ขาดตอน ครับ (ไปอ่านเพิ่มเติมได้จากบันทึกของอาม่าหลินฮุ่ยครับ http://www.gotoknow.org/blogs/books/29739/toc )

ขอบคุณมากครับผม ที่มีข้อมูลและแนะนำข้อมูลดีๆ ในการศึกษาหาความรู้

ผมคิดว่าการเชื่อมต่อความรู้ในห้องเรียนกับความรู้นอกห้องเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

ถ้าเปลี่ยนความรู้ในห้องเรียนเป็นแค่แม่น้ำที่อยู่ใกล้ทะเลใหญ่คือความรู้นอกห้องเรียน ผมก็ต้องหาทางเชื่อมน้ำให้ได้

ก็จะได้

น้ำจืด>น้ำกร่อย>น้ำเค็ม นั่นก็คือ ทฤษฎี>ทฤษฎิเชิงปฎิบัติ>ปฎิบัติ

แล้วเราก็จะได้ความรู้มากขึ้นมีความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นและสามรถปฎิบัติได้จริงและถูกต้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท