โครงการนำร่องหลักสูตรแก้จน ๐๑ : การประชุมเตรียมการที่ สสวช. ๒๕ ต.ค.๕๐


หากโครงการนี้ไปได้ คือประสบความสำเร็จ (ชาวบ้านสามารถแก้หนี้และฟื้นฟูชีวิตได้) ก็จะเป็นตัวแบบสำหรับการขยายหลักสูตรนี้ออกไปทั่วประเทศ

เมื่อวานนี้มีประชุมเตรียมการลงรายละเอียดโครงการนำร่องหลักสูตรแก้หนี้แก้จนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่ สสวช.

ผู้เข้าร่วมประชุมมี อ.เสรี สรเชษฐ คุณสุภาส คุณศุภลักษณ์ อ.บุญมาก อ.ทวิช และ อ.สุนีย์ 

หัวข้อประชุมที่สำคัญ ประกอบด้วยการพิจารณาร่างโครงการที่อาจารย์เสรี compile ขึ้นมาล่าสุด และการกำหนดคนทำงานและบทบาทหน้าที่

สรุป

๑. กรรมการอำนวยการโครงการ ประธานคือ อ.เสรี (สสวช.) รองประธานมี คุณเอ็นนู (รอง ผจ.ใหญ่ ธกส.) กับ อ.ทวี (ประธานกองทุนฟื้นฟูฯ) คุณบรรจง (ธกส.) คุณเสน่ห์ (กองทุนฟื้นฟูฯ) คุณสุภาส (สสวช.) อ.ประภาส (สสวช.) โดยมีสุรเชษฐ (สสวช.) เป็นกรรมการและเลขานุการ

๒. คณะทำงาน มีสุรเชษฐ คุณบรรจง (ธกส.) คุณเสน่ห์ (กองทุนฟื้นฟู) คุณสุภาส (สสวช.) คุณมนัส (กองทุนฯ) โดยมี อ.สุนีย์ เป็นเลขานุการ

๓. อ.เสรี ผู้รับผิดชอบสาระที่ ๑ เศรษฐกิจพอเพียง ร่าง "รูปแบบ เนื้อหา และกระบวนการ" ของวิชาใน สาระที่ ๑ มานำเสนอให้พิจารณา

     สุรเชษฐ ผู้รับผิดชอบสาระที่ ๒ การจัดการชีวิต ยังไม่ได้ร่าง ได้นำเสนอแนวคิดเรื่อง การทบทวนชีวิต การวางเป้าหมายและแผนชีวิต ซึ่งประกอบด้วยแผนเวลา แผนสุขภาพ แผนการเงิน และการทำโครงงานฟื้นฟูชีวิต(แก้หนี้แก้จน) และการสะกดรอยตัวเองตามแผนต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์จากการเรียนการสอนวิชาการวางเป้าหมายและแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตและวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ของสาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต

     สุรเชษฐ นำเสนอเค้าโครงเนื้อหาสาระอย่างกว้างๆ ของสาระที่ ๓ เกษตรกรรมยั่งยืน จากที่ได้ศึกษางานของสถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน (อ.ชมชวน บุญระหงส์) ที่ประกอบด้วย ๑) แนวคิดเกษตรกรรมยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒) เทคนิคพื้นฐานการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในเกษตรกรรมยั่งยืน (เกี่ยวกับระบบนิเวศและเพาะปลูกตามฤดูกาลธรรมชาติ) ๓) การวางผังไร่นาและแผนการผลิต (ต้องไปดูงานด้วยกัน แล้วกลับมาวางแผนของตัวเองโดยวาดลงกระดาษแบบคุณจรัญ - นำเสนอในกลุ่ม) ๔) การแปรรูปและการผลิตของใช้ในครัวเรือน (สวทช. มีประสบการณ์นำเทคโนโลยีไปทำมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตของชาวบ้าน) และ ๕) การตลาดของผลผลิตจากเกษตรกรรมยั่งยืน (อันนี้เพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแก้จน บอกว่าต้องกู้เงินเพื่อมาเพาะปลูก วิธีการแก้ปัญหา เขาต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะบริโภคผลผลิตเกษตรของเขาให้ชัดเจน แล้วขอให้ผู้บริโภคร่วมเสี่ยงด้วย(เพื่อสุขภาพ) โดยการจ่ายล่วงหน้าบ้าง ช่วยจ่ายค่าเล่าเรียนให้ลูกเกษตรกรบ้าง (มิติทางสังคมผู้ผลิต - ผู้บริโภค) ผู้บริโภคไปเยี่ยมหรือเขียนจดหมายให้กำลังใจเป็นครั้งคราว หากผลผลิตไม่ดีผู้บริโภคก็ยอมรับเท่าที่ได้) และแจ้งว่าได้ติดต่อขอให้ อ.ชมชวน มาเป็นวิทยากร และขอ edit หนังสือของ อ.ชมชวนมาเป็นเอกสารประกอบ

     ที่ประชุมตกลงขอให้คุณสรณพงศ์ จากแม่กลองมาเป็นตัวหลักของสาระที่ ๓ (เกษตรกรรมยั่งยืน) เนื่องจากอาจารย์ชมชวนติดขัดเรื่องเวลา อย่างไรก็ตามจะเชิญมาเป็นวิทยากรอบรมผู้ที่จะมาเป็นวิทยากรกระบวนการของโครงการนี้

๔. งานที่ต้องทำเร่งด่วน คือ การออกจดหมายเชิญเข้าร่วมอย่างเป็นทางการถึงภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ธกส. กองทุนฯ และ อปท.ที่ได้เจรจากันไว้แล้ว ๙ แห่ง ประกอบด้วย

  1. เทศบาลตำบลหนองบัวระเหว อ. หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
  2. อบต. โพนทอง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
  3. อบต. บ้านไทร อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
  4. อบต. น้ำอ้อม อ.ค้อวัง จ.ยโสธร
  5. อบต. ประดู่ยืน อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
  6. อบต. (อ.สันติสุข) จ.น่าน
  7. อบจ. (สุราษฎร์ธานี)
  8. อบต. (นครศรีธรรมราช)
  9. อบต. ท่าข้าม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

๕. ส่วนงานที่ต้องทำต่อไป

  1. การจัดทำปฏิทินโครงการที่ละเอียด
  2. การลงรายละเอียดแผนการฝึกอบรม
  3. การ edit หนังสือ อ.ชมชวน
  4. การติดต่อภาคีเพื่อรับสมัครวิทยากรกระบวนการ

ความคิด-ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในวันนี้

  1. หากโครงการนี้ไปได้ คือประสบความสำเร็จ (ชาวบ้านสามารถแก้หนี้และฟื้นฟูชีวิตได้) ก็จะเป็นตัวแบบสำหรับการขยายหลักสูตรนี้ออกไปทั่วประเทศ
  2. อ.เสรี คงได้ "วาทกรรม" ใหม่สำหรับ "รูปแบบ เนื้อหา กระบวนการ" ของวิธีแก้หนี้แก้จนสำหรับชาวบ้าน แบบเดียวกับแผนแม่บทชุมชน(PR&D)
  3. รู้สึกว่างานนี้ต้องทำอย่างประณีตมาก โดยเฉพาะต้องมี profile ของวิทยากรกระบวนการ อย่างละเอียดก่อนการฝึกอบรม นอกจากนี้ทั้งเราและวิทยากรกระบวนการต้องมี profile ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอย่างละเอียดด้วย เพื่อการ monitor อย่างละเอียด ต้องมีการวางระบบฐานข้อมูลเพื่อการนี้

 

หมายเลขบันทึก: 141609เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 06:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต เปิดโอกาสที่ดีมากสำหรับผู้ที่ขาดโอกาส ที่ต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มีนักศึกษา กศน. ของอำเภอเมืองชัยภูมิ ไปเรียน ทีศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ดีใจที่นักศึกษาบอกว่าสำเร็จ เมือ 20 มิย. 52 ตอนนี้ทำงาน รักษาการหัวหน้าสถานีวิทยุ จากที่ดิฉันได้พบ นศ.ตนนี้ตั้งแต่ ต้องออกจากโรงเรียน ม.4 จากโรงเรียนมีชื่อในจังหวัด ออกมา เรียน กศน.กับดิฉัน และหารายได้ด้วยการปลูกมะขามหวาน เสาร์-อาทิตย์ไปเรียน และต้องมีภาระเลี้ยงลูก 1 คน เพราะเลิกกับสามี และ ต้องเดินทางจากต.เก่าย่าดี เป็นตำบลอยูบนภูเขาภูแลนคา 40 กม. ลงเขามาเรียนที่ แก้งคร้อ จนสำเร็จการศึกษา ภูมิใจในตัวลุกศิษย์มาก จึงขอขอบคุณมหาวิทยาลัยชีวิต เป็นอย่างมาก ที่เปิดโอกาสให้เข้าถึงการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้ง่ายเข้า และเหมาะกับสภาพพื้นที่ ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ

ที่ ครู กศน. มีโอกาสสร้างลูกศิษย์ดี่ดี ให้กลับมาทำงานในชุมชนได้เช่นกัน

โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต เปิดโอกาสที่ดีมากสำหรับผู้ที่ขาดโอกาส ที่ต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มีนักศึกษา กศน. ของอำเภอเมืองชัยภูมิ ไปเรียน ทีศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชีวิต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ดีใจที่นักศึกษาบอกว่าสำเร็จ เมือ 20 มิย. 52 ตอนนี้ทำงาน รักษาการหัวหน้าสถานีวิทยุ จากที่ดิฉันได้พบ นศ.ตนนี้ตั้งแต่ ต้องออกจากโรงเรียน ม.4 จากโรงเรียนมีชื่อในจังหวัด ออกมา เรียน กศน.กับดิฉัน และหารายได้ด้วยการปลูกมะขามหวาน เสาร์-อาทิตย์ไปเรียน และต้องมีภาระเลี้ยงลูก 1 คน เพราะเลิกกับสามี และ ต้องเดินทางจากต.เก่าย่าดี เป็นตำบลอยูบนภูเขาภูแลนคา 40 กม. ลงเขามาเรียนที่ แก้งคร้อ จนสำเร็จการศึกษา ภูมิใจในตัวลุกศิษย์มาก จึงขอขอบคุณมหาวิทยาลัยชีวิต เป็นอย่างมาก ที่เปิดโอกาสให้เข้าถึงการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้ง่ายเข้า และเหมาะกับสภาพพื้นที่ ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ

ที่ ครู กศน. มีโอกาสสร้างลูกศิษย์ดี่ดี ให้กลับมาทำงานในชุมชนได้เช่นกัน

เห็นสมควรให้คณะกรรมการทบทวนการขยายโครงการแก้หนี้แก้จนออกไปอีกที่ผ่านมาโครงการไม่ได้ทำกิจกรรมต่อเนื่อง ชุมชนอื่นๆเสียโอกาศในการศึกษาเรียนรู้ โครงการนำร่องทั้ง 9 แห่งถือวว่าเป็นตัวอย่างที่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท