การจัดการเพื่อลดช่องว่างในการทำงาน


การลดความเหลื่อมล้ำในการทำงาน จึงต้องมองทั้งความรู้ ทักษะและบุคลิกภาพภายในของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ … การดึงศักยภาพของน้อง ๆ ที่อยู่ในความดูแลของตนเองออกมาได้ ใช้น้องให้ถูก ให้เป็น ตามที่รู้จักกันดีว่า “put the right man on the right job” ก็จะทำให้เกิดการลดช่องว่างในการทำงานได้

การนำเสนอการลดความเหลื่อมล้ำในการทำงานที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นตำราหรืออ้างอิงตำราใด ๆ แต่จะกล่าวจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาเกือบ 20 ปี ในเรื่องของการจัดการงานในความรับผิดชอบซึ่งเป็นงานที่จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจและกฎหมาย  ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง  โดยเฉพาะกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ

 

เนื่องจากโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นเรื่องของเทคโนโลยีเฉพาะทางที่มีมูลค่าสูง  และมีความเกี่ยวพันกับบริษัทต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ  ดังนั้น นอกจากความรู้ (Knowledge) ที่กล่าวมาแล้ว  สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ “คุณธรรม” ในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต  และการทำงานที่มีความเป็นสากล

 

สิ่งที่มักจะต้องจัดการมีหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

1.         การจัดการระบบ  (System)

2.         การจัดการงาน    (Work) 

3.         การดูแลคน        (Man)

                          

โดยจะอธิบายภาพรวมของการจัดการทั้งสามหลักนี้โดยสังเขป และจะขอเน้นหรือให้น้ำหนักกับการดูแลคนเป็นสำคัญ เพราะเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนการลดความเหลื่อมล้ำในการทำงาน

 

1. การจัดการระบบ ในที่นี้ หมายถึงการมองภาพ งานโดยรวม  เพื่อ

(1)    การจัดระบบโครงสร้างการทำงานภายในขอบเขตความรับผิดชอบ แบ่งออกเป็น

1.1 งานโครงการ

             1.2 งาน Routine  

      1.3 งานเก็บรวบรวมระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติข้อมูล สถิติต่าง ๆ

     1.4 งานวางแผน พัฒนา และแก้ไขปัญหาอุปสรรค

 

(2)    การจัดทำกระบวนการทำงานและการตรวจสอบ

หมายถึงการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานที่เป็นกระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอนตามปกติ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

 

2. การจัดการงาน  หน้าที่หลักของผู้เขียนคือการตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่วางไว้ ตลอดจนวางแผน แก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  ในบันทึกนี้ จะขออธิบายการจัดการงานแฝงร่วมไปกับการดูแลคนในความรับผิดชอบ

 

3. การดูแลคนในความรับผิดชอบ

โดยส่วนตัว  ขออนุญาตไม่ใช้คำว่า “จัดการคน” แต่ใช้คำว่า “ดูแลคน” แทน  เนื่องจากคำว่าดูแล ที่ผู้เขียนใช้ จะสอดคล้องกับประสบการณ์ในการปฏิบัติจริงที่ผู้เขียนถือว่าคนที่อยู่ร่วมกันในที่ทำงานเดียวกันและทำงานด้วยกันเป็นเสมือนครอบครัวเดียวกัน

 

ผู้เขียนได้เข้าไปมีส่วนในการส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือพี่ ๆ น้อง ๆ ที่อยู่ในความดูแลของผู้เขียน  โดยเป็นการดูแลทั้งเรื่องการปฏิบัติงาน  จนกระทั่งทุกข์สุขและเรื่องส่วนตัวที่พี่ ๆ น้อง ๆ ต้องการให้ไปแก้ไขปัญหา ซึ่งในที่นี้คงไม่สามารถเล่าสู่กันฟังได้ทั้งหมด จึงขอยกตัวอย่างพอให้เห็นภาพ สำหรับบันทึกนี้ ขอเริ่มด้วยเรื่องการมอบหมายงาน

               

                    

 

การมอบหมายงาน

หลักการมอบหมายงานที่ผู้เขียนยึดถือเสมอคือ

ความยุติธรรม ซึ่งคำนี้ยากที่จะนิยาม เนื่องจากเป็นนามธรรมที่ขึ้นอยู่กับแต่ละท่านจะตีความหมายและให้คุณค่าโดยส่วนตัว ในการทำงานนั้น เราไม่สามารถแบ่งงาน เสมือนการตัดแบ่งเค้กให้ได้สัดส่วนเท่า ๆ กัน

 

การมอบหมายงานจึงขึ้นอยู่ศักยภาพของพี่ ๆ น้อง ๆ ที่ผู้เขียนต้องดูแล

 

ในกรณีงานโครงการ  เป็นงานที่ยากที่สุด เนื่องจากมีมูลค่านับร้อยล้านพันล้าน ต้องรับผิดชอบสูง มีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และความขัดแย้งมากมาย

 

ผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับงานลักษณะนี้จะต้องมีความรับผิดชอบสูง โดยมองภาพรวมของงานทั้งหมดทั้งแต่ต้นจนจบ มีการวางแผนและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีความยืดหยุ่นสูง ทำงานเร็ว มีความคล่องตัว  มองปัญหาและแก้ปัญหาได้ถูกต้อง  ซึ่งผู้เขียนได้มอบหมายงานนี้ให้กับน้องคนหนึ่ง (น้อง A)ที่เข้างานมาได้ไม่ถึงปี  ในขณะที่น้องอีกคน (น้อง B)ที่อาจจะเข้างานมานานแล้ว แต่ก็ไม่เคยได้รับมอบหมายให้ทำงานโครงการโดยลำพัง  ถามว่ายุติธรรมไหมที่คนหนึ่งทำงานหนักมาก  แต่อีกคนไม่ได้ดูแลรับผิดชอบโครงการคนเดียว  ก็คงเบาไม่หนักเท่าไหร่ ใช่ไหม

 

 

เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างกันไหม?

                                    

                               

คนที่มีความรู้อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอในการทำงาน  สิ่งสำคัญในการทำงานโครงการที่ยากลำบาก คือบุคลิกลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งหากจะแนะนำหรือสอนกันแล้วคงต้องใช้เวลาเปลี่ยนแปลงกันยกใหญ่  โดยผู้ปฏิบัติจะต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตนเองด้วยเป็นสำคัญ

 

ความรู้ในบางสาขาวิชา เหลื่อมล้ำแตกต่างกันบ้าง แต่ก็มีวันเติมเต็มส่วนที่ขาดพร่องได้  แต่หากบุคลิกนิสัยไม่สอดคล้องกับการทำงานในบางลักษณะแล้ว ก็ยากแก่การเคี่ยวเข็ญ

 

ในกรณีนี้ ผู้เขียนจึงมอบหมายงาน Routine ให้แก่น้อง B ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่ค่อนข้างช้า มองภาพรวมงานไม่ได้ทั้งหมด  ทำงานทีละขั้นตอน มองงานทีละส่วน  ที่สำคัญคือไม่มีนิสัยของการวางแผนงานและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้  แต่ข้อดีของน้อง B คือความละเอียดรอบคอบ ความอดทนสูง ไม่เกี่ยงงาน

 

ในงานที่ผู้เขียนรับผิดชอบ  พี่    ๆ น้อง ๆ ที่มีลักษณะแบบน้อง B มีมากกว่าแบบน้อง A   หากในช่วงใด มีงานโครงการสำคัญเข้ามามาก ผู้เขียนจะต้องมอบหมายให้ทำงานแบบจับคู่  ดูงานคนละช่วงตอน และให้ผลัดกันตรวจสอบความถูกต้องซึ่งกันและกัน

 

การลดความเหลื่อมล้ำในการทำงาน จึงต้องมองทั้งความรู้ ทักษะและบุคลิกภาพภายในของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ การดึงศักยภาพของน้อง ๆ ที่อยู่ในความดูแลของตนเองออกมาได้ ใช้น้องให้ถูก ให้เป็น ตามที่รู้จักกันดีว่า “put the right man on the right job” ก็จะทำให้เกิดการลดช่องว่างในการทำงานได้ 

 

Feedback ที่ผู้เขียนได้รับคือ ทุกคนมีความพึงพอใจในการทำงาน  ได้ทำงานตามที่ตนเองถนัด และแม้ไม่ถนัด  แต่ก็จัด Buddy ให้ปรึกษาหารือและช่วยเหลือกัน  เพื่อลดปัญหาหรือความตรึงเครียดในการทำงาน

 

สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนถ่ายทอดต่อให้พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ทำงานด้วยกันคือ “อย่าทำตัวมีนาย” หรือยึดติดกับระบบอุปถัมภ์ว่าเด็กของใคร

 

แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมทำงานและพบเห็นกันบ่อย ๆ  แต่ไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องใส่ใจหรือไปน้อยเนื้อต่ำใจ เพ่งโทษใครว่า ใครได้ดีเพราะมีนาย นั่นเป็นความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคน ไม่ใช่เรื่องดี เลว ผิด ถูกอะไร

 

ความสำเร็จและความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  บางคนมีความสุขที่ได้ทำแบบนั้นแล้วประสบความสำเร็จ  และหากว่าผู้เป็นนายชอบคนแบบนั้น ก็เป็นเรื่องที่เขาจะต้องรับผิดชอบต่อผลแห่งการคัดเลือกหรือแต่งตั้งคนที่เขาเลือกเอง

สำหรับผู้เขียนแล้ว ความสุขและความสำเร็จในชีวิตคือการได้ทำอะไรให้แก่สังคมเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน นอกเหนือไปจากงานที่ทำอยู่แล้ว  กล่าวคือ การมีเวลา (Time) ที่เพียงพอ และมีพื้นที่(Space) ที่จะจัดการงานตามหน้าที่พร้อมกับการมีโอกาสอุทิศตนเพื่อสังคม  ซึ่งทำให้รู้สึกว่ามีคุณค่าเหนือกว่าการดำรงตำแหน่งสูงเพื่อการทำงานด้านเดียว

ผู้เขียนบอกพี่ๆ น้อง ๆ ว่าขอให้ทำงานเพื่องานเท่านั้นพอ ไม่ได้ทำงานเพื่อใคร…สำรวจใจตนเองว่าความคาดหวังในการทำงานคืออะไร  ความต้องการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน   แล้วจะวัดคุณค่าของคนกับงานกันตรงไหน  ตรงที่ตำแหน่งที่สูงกว่าก็คงไม่ใช่...

ความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันที่ว่าใครจะได้ดีกว่ากันในที่ทำงาน จึงอยู่ที่ใจของผู้ปฏิบัติเอง…แก้ที่ใจตน หรือค้นพบความต้องการและศักยภาพของตนเอง... Self Actualization ก็จะพบความสงบภายในและทำงานด้วยความไม่ทุกข์ใจ

 

                     ----------------

 

 

หมายเลขบันทึก: 261396เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2009 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

  • แบบว่ามาดูมาอ่านให้เกิดความพอดีค่ะ
  • สบายดีนะคะ


บันทึกนี้ มีอะไรที่คล้ายกับประสบการณ์ส่วนตัวมากๆค่ะ แต่ประโยคที่บอกว่า...

ขอให้ทำงานเพื่องานเท่านั้นพอ

คิดว่า บางทีก้ไม่ง่ายเพราะ ถ้าความซับซ้อนมีมาก เราอยากให้ทุกคนเป็นอย่างนี้ แต่ ก็เป็นไม่ได้
เช่น บริษัท ที่ทำอยู่ ตอนหลังมีการ merge กับอีกบริษัทหนึ่ง
พนัก มีการแบ่งแยกเหมือนกันว่า ใครเป็น นาย
ขนาดพยายามอย่างเต็มที่ ให้ความรู้สึกนี้หมดไป ก็ไม่ง่ายเลยค่ะ ได้แค่เบาบางลง

แต่บันทึกนี้ ถุกใจมากและขอบคุณที่แชร์ประสบการณ์ค่ะ

สวัสดีครับ  บันทึกนี้เป็นสุดยอดของคำภีร์แห่งความสำเร็จในองค์กร ครอบคุม ครบถ้วน เยี่ยมมาก  สบายดีนะครับ อย่าลืมออกกำลังกาย  โชคดีครับ

สุดยอดเลยค่ะ หามาได้ไงคะ

http://tay2014.allblogthai.com

สวัสดีค่ะ

* ใช่เลยค่ะ  ให้งานต้องดูความรู้ ทักษะ ความชอบ ที่สำคัญเพื่อนช่วยงาน ความซื่อสัตย์สุจริตและทำงานเพื่องาน

* ครูพรรณา  ก็ใช้วิธีนี้กับเด็กๆ ที่ทำกิจกรรมค่ะ ได้ผลดีมากค่ะ

             

* สุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีค่ะพี่ Sila Phu-Chaya

แก้ที่ใจจริงๆด้วยค่ะพี่ศิลา

ตอนนี้อยากบอกว่ามีความสุขกับทุกครั้งที่ทำหน้าที่หลัก

คืองานสอน ดูแลใกล้ชิดนักเรียน

เห็นเค้ายิ้มแย้ม แจ่มใส มีความสุข ครูก็สุขใจ

ส่วนงานอย่างอื่นก็ทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

หรือช่วยเหลือกันไปตามความสามารถ

ถ้าหากเรามามัวนั่งคิดว่า เราทำ ทำไมเราไม่ได้ดี

ไม่ได้คำชม ไม่ได้ขั้นๆ ทำไมคนนั้นไม่ทำเขาถึงได้ดี

เราก็คงไม่มีความสุข เพราะใจที่มัวแต่คิดอิจฉาริษยา

ร้อนรุ่ม เพราะหาความพอดี ความสำคัญของใจในตนเองไม่เจอ

ช่ายไหมคะพี่ศิลา  จึงควรทำอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ

ขอบคุณค่ะพี่ศิลา 

  • ทำงานแล้วมีความสุข
  • ทำงานแล้วสนุกกับงานในหน้าที่ทำ
  • ก็เพียงพอแล้ว

สวัสดีค่ะ

 ฝันอยากให้หน่วยงานมีการดูแลคน

 คอยไต่ถามทุกข์ สุข และมอบหมายงานตามที่ถนัด

 

อย่างนี้เรียกว่าทำงานก็เก่ง บริหารงานก็เก่งค่ะ

องค์กรนั้นๆ ย่อมมีความเจริญก้าวหน้า

  • ขอบคุณคุณแบ่งปันP ค่ะ  ไอค่อนที่นำมาฝาก น่ารักและมีความหมายมากเลยค่ะ
  • ความพอดี อยู่ที่หัวใจของเราจริง ๆ เลยนะคะ  ชอบคำนี้จังค่ะ

ยินดีค่ะที่คุณ berger0123 แวะมาบ่อย ๆ

  • สวัสดีค่ะ คุณพี่ชยพร P 
  • I deeply appreciate your comming and compliment.
  • ขอบพระคุณคุณ   Sasinand 
    P  ที่แวะมาเยี่ยมพร้อมแง่คิดประสบการณ์ตรงมาแลกเปลี่ยนกันค่ะ  เชื่อว่าประสบการณ์การทำงานของแต่ละท่านมีคุณค่ามหาศาลหากนำมาเล่าสู่กันฟัง และสรุปท้ายด้วยเมื่อเราผ่านมาแล้วเราได้อะไรเป็นบทเรียนบ้าง
  • ขอยกคำกล่าวของคุณ  Sasinand มาอีกครั้งนะคะ
  • บริษัท ที่ทำอยู่ ตอนหลังมีการ merge กับอีกบริษัทหนึ่ง พนัก มีการแบ่งแยกเหมือนกันว่า ใครเป็น นาย
    ขนาดพยายามอย่างเต็มที่ ให้ความรู้สึกนี้หมดไป ก็ไม่ง่ายเลยค่ะ ได้แค่เบาบางลง
  • ศิลาเห็นเช่นเดียวกันค่ะ  แต่ละคนทำตัวมี back up ตอนที่ศิลาเข้าทำงานใหม่ ๆ ก็มีรุ่นพี่ถามว่ารู้จักใครเหรอ จึงเข้ามาได้ เพราะที่นี่เข้ายากมากนะ  ไม่รู้จักใครก็ใช้ความสามารถมีสอง อย่าง ซึ่งไม่ค่อยมีใครคิดว่าเป็นอย่างหลังค่ะ เพราะมักใช้เกณฑ์ตัวเองที่เข้ามาแบบนั้นวัด อิอิ 
  • สิ่งภายนอกนี้ เราแก้ไม่ได้จริง ๆ ศิลาก็เลยตั้งหลักใหม่ หลังจากท้อใจอยู่พักใหญ่ สาเหตุเพราะองค์กรเคยส่งพนักงานเรียนหลักสูตรคล้าย ๆ ฝึกผู้บริหาร และศิลาก็ได้ผลการเรียนดีเด่นสูงสุด แต่ผลปรากฎว่าบางคนที่เรียนด้วยกันปัจจุบันมีตำแหน่งสูงกว่ามากค่ะ เพราะการมี back up
  • ถามว่าเสียใจไหม เชื่อว่าคนที่ใช้ความสามารถโดยไม่พึ่งพาผู้ใหญ่ ก็คิดน้อยใจทุกคนค่ะ  แต่ปัจจุบัน ไม่มีความรู้สึกใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว  ทำงานที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุดตามความสามารถเรา และเอาความรู้ที่มีไปเผยแพร่ผู้สนใจภายนอกต่อไป เพราะเพิ่งเข้าใจตัวเองว่าความสุขของเราไม่ใช่ตำแหน่งใหญ่โตค่ะ  ความสุขคือการมีเวลา และมีพื้นที่ที่ได้ทำอะไรอีกมากมายค่ะ
  • ขอบพระคุณนะคะที่มาแลกเปลี่ยนร่วมกัน ดีใจค่ะ

ขอบคุณมาก สำหรับข้อมูลดีดี บางครั้งก็วุ่นวาย ไม่เป็นระบบ จัดการกับชีวิตทำงาน ตนเอง ที่บ้าน ไม่ได้ จะนำไปทบทวนค่ะ

  • สวัสดีค่ะท่านประจักษ์ P อึ้งคำเตือนเกี่ยวกับการออกกลังกายค่ะค่ะ  ต่อให้เรียนรู้อะไรมากมาย หากลืมเรื่องนี้ แย่เลยค่ะ
  • ตั้งแต่ฝนตกบ่อย เป็นข้ออ้างไปได้ออกเดินออกกำลังกายรอบหมู่บ้านค่ะ ...ต้องทบทวนตัวเองใหม่แล้ว
  • ขอบพระคุณหลาย ๆ ค่ะ
  • สวัสดีค่ะคุณTaYanO แวะไปชม Blog มาแล้ว เก๋ไก๋มากเลยค่ะ
  • ดูเหมือนจะวัยรุ่น สนใจประสบการณ์แนวผู้ใหญ่มาก แสดงว่าไม่ธรรมดาเลยนะคะ น้อง ๆ ที่อายุน้อยแต่เรียนรู้ประสบการณ์จากคนแก่ (ตัวพี่ศิลาเอง) แสดงว่ามีความคิดเป็นผู้ใหญ่จริง ๆ ค่ะ น่ารัก น่านับถือค่ะ

สวัสดีค่ะคุณศิลา

คนเก่งและมีคุณธรรมอย่างนี้

อยูที่ไหนหน่วยงาน คนที่ทำงานก็มีความสุข

ขอบคุณที่มาทักทายให้กำลังใจนะคะ...

 

  • มาเยี่ยมก่อนเข้านอน
  • เลยได้อ่านเรื่องดีๆ
  • ขอจดจำไปใช้บ้างนะคะ
  • ขอบคุณอีกครั้งสำหรับการแบ่งปัน
  • ความคิดดีๆ
  • เจริญธรรมนำพบระบบธรรม

เจริญงานเหงื่อเป็นน้ำชีพฉ่ำชื่น

เจริญคนยิ่งสำคัญหลอมวันคืน

กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวเป็นเกลียวใจ

  • มาแลกรักเรียนรู้วิธีเรียน

อ่านและเขียนองคาพยพสมัย

กระจกส่องกระจกสะท้อนดวงหทัย

รอยทางใครเพื่อใคร...อีกหลายคน

.

ครูกานท์

ทุ่งสักอาศรม

  • การดูแลคนเป็นเรื่องสำคัญ การจัดงานให้คนทำยิ่งสำคัญกว่า
  • บางคนดูแล้ว ความรู้ความสามารถมีมาก แต่ไม่รับผิดชอบ(มีมากเสียด้วย)
  • บางคนความรู้ ความสามารถไม่มาก แต่ขยัน และรับผิดชอบ
  • ผู้บริหารต้องการคนขยันและรับผิดชอบ ความรู้สามารถค้นคว้าและเรียนเพิ่มเติมได้
  • ขอบคุณ

สวัสดีค่ะคุณศิลา

  • มาชื่นชม..ด้วยความคิดถึงค่ะ
  • ได้เรียนรู้มากมายเรื่องการทำงาน..การบริหารงาน บริหารคน
  • ขอเก็บไว้อ่านซ้ำในแพลนเน็ตนะคะ..เพราะบางครั้งก็ได้เป็นน้อง A บางทีก็เป็นน้อง B ..หรือเป็นผู้มอบหมายเอง ...ขอบคุณค่ะ
  • ทำงานเยอะ...พักผ่อนบ้านเน้อ...
  • ขอให้มีความสุขกับอาหารเที่ยงนะคะ...^_^...
  • กลับมาทบทวนความคิดตัวเองกรณีของคุณ Sasinand 
    P อีกครั้งค่ะ
  • บริษัท ที่ทำอยู่ ตอนหลังมีการ merge กับอีกบริษัทหนึ่ง พนักงาน มีการแบ่งแยกเหมือนกันว่า ใครเป็น นาย
    ขนาดพยายามอย่างเต็มที่ ให้ความรู้สึกนี้หมดไป ก็ไม่ง่ายเลยค่ะ ได้แค่เบาบางลง
  • เป็นกรณีที่ผู้บริหารมองมาที่ผู้ปฏิบัติงาน  ส่วนความเห็นที่ 15 ของศิลาเป็นการมองในฐานะของผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งแก้ไขและเรียนรู้ทำความเข้าใจความต้องการของตนเอง
  • ในกรณีของผู้บริหารที่มองผู้ปฏิบัติงานที่แบ่งกลุ่ม แบ่งยากว่าเป็นเด็กของใคร  ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากจริง ๆ ค่ะ เพราะความคิดเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์ฝังรากลึกเป็นส่วนหนึ่งในจิตใจของสังคมไทยมาช้านาน 
  • ผู้ปฏฺิบัติรู้สึกไม่ปลอดภัยหากทำงานโดยไม่มีพรรคพวก ...ผู้บริหารคงต้องสร้างระบบการประเมินผลที่เป็นธรรม ไม่ใช้ดุลพินิจของผู้ใหญ่เป็นหลัก น่าจะช่วยให้เขามองเห็นว่าการทำตัวเป็นเด็กใคร ไม่ก่อประโยชน์อะไร
  • แต่ระบบการทำงานของไทยเรา มักอิงตัวบุคคล มากกว่าอิงระบบการทำงานที่เข้มแข็ง ...
  • ขอบพระคุณนะคะที่ฝากประเด็นที่น่าสนใจให้ขบคิด
  • ศิลาเคยตามไปอ่านการตอบเม้นท์ของคุณ Sasinand 
    เป็นผู้ตอบที่ให้ข้อคิด ข้อมูลที่กระจ่างมากเลยค่ะ มีประโยชน์ ทำให้ผู้อื่นได้แนวทางไปใช้ได้ด้วย 

พิมพ์ผิดค่ะ "แบ่งแยกว่าเป็นเด็กของใคร"

สวัสดีค่ะ

แวะมาส่งคุณศิลาเข้านอน พักผ่อนมาก ๆ ค่ะ

เรื่องภูมิแพ้นี่ ... คนไม่มีรากเคยเป็นนะคะ แต่มักเป็นตอนเช้าที่จะจาม เสียงอู้อี้ มีน้ำมูกไหล สาย ๆ จึงจะหายค่ะ

ต่อมาหัดทำโยเกิร์ตน้ำนมถั่วเหลืองทานเอง ทานผัก ผลไม้มากขึ้น ...

และที่ชงัดได้ผลที่สุดคือ การสวมถุงเท้า รักษาเท้าให้อุ่นค่ะ

รับรองดีขึ้นโดยเร็ว....

พักผ่อนมาก ๆ หายเร็ว ๆ นะคะ

(^___^)

ต้นทุนทางใจของพนักงานผมว่าสำคัญมากครับ

ผู้บริหารที่ดีควรจะรู้ถึงสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองว่าวัดไม่ได้ เช่น ความรู้สึกของพนักงาน

แต่แค่การคุยกันบ่อยๆ ให้เกียรติกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง คอยสังเกตสีหน้า ท่าทาง

เราก็จะเข้าใจกันได้มากขึ้นครับ

ต้องใช้ ใจ ดู ศึกษา และ

"รู้"

ต้องมาอ่านอีกครั้งค่ะ

แวะมาปรบมือดังดัง..ให้คุณศิลายอดนักเขียนค่ะ และชอบจัง..ตรงนี้สำหรับผู้เขียนแล้ว ความสุขและความสำเร็จใจชีวิตคือการได้ทำอะไรให้แก่สังคมเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน นอกเหนือไปจากงานที่ทำอยู่แล้ว  กล่าวคือ การมีเวลาที่เพียงพอและมีพื้นที่ที่จะจัดการงานตามหน้าที่และได้อุทิศตนเพื่อสังคมมีคุณค่าเหนือกว่าการดำรงตำแหน่งสูงเพื่อการทำงานด้านเดียว

สวัสดีค่ะ

ไม่ได้คุยกันนานจัง...

สงสัยคุณศิลาจะมีภารกิจมากมาย....

แวะมาส่งความระลึกถึงค่ะ

(^___^)

นำข้าวยำสมุนไพรมาฝากให้ทานในวันหยุดนะคะ....

โชดดี จังครับ วันนี้ผมมากับ คนที่หัวใจยิ้มได้ P

เราถือ อาหารจาน คุณภาพ มาฝาก

คุณ sila ทานยำสมุนไพร ก่อน นะครับ

แล้วตามด้วย มะละกอจานซ้ายสุด นะครับ(ทานให้หมดจานไปเลย)

อาหารคุณภาพ....คู่กับคนคุณภาพ

เข้ากันได้...อย่างไม่เคอะเขิน

มีความสุข ทุกครั้งที่ต้องการ นะครับ

 

 

  • ขอบคุณคุณน้อยหน่า P ที่แวะมาเยี่ยมบ่อย ๆ ค่ะ
  • เชื่อว่าการแวะมาทักทายกัลยาณมิตรอย่างสม่ำเสมอของคุณน้องหน่านับว่าเป็นการจัดระบบชีวิตที่สวยงามแล้วค่ะ ทำงาน และมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่น ดีจังนะคะ

มาทักทายคุณศิลาก่อนค่ะ คิดถึงมาก แวะมาบ่อยแต่กลับบ้านจะกลับมาอ่านบันทึกอย่างละเอียดอีกครั้งนะคะ มีไม่กี่บล็อกและบันทึกในพื้นที่นี้ค่ะที่ขอจับจองเวลาในวันหยุดเพื่ออ่านและซึมซับความรู้ค่ะ

การจัดการคน ดูเหมือนเป็นเรื่องที่วุ่นวายและหนักอึ้งเอามากๆ ...ผมเองก็เหนื่อยกับเรื่องนี้  แต่รู้สึกเสมอว่า  ท้าทาย...เอามากๆ

ผมเองเชื่อมั่นในแนวคิดว่า การงานคือดอกไม้ของชีวิต และงานคือเกราะในการปกป้องชีวิตของมนุษย์  ผมไม่เคยท้อหากต้องจำนนต่อภาวะ "ค่าของคนอยู่คนของใคร" ....

ขอบคุณครับ

น้องศิลาคะ

อ่านบทความนี้ได้รับความรู้มากมายคะ

เรื่องดุแลคนนี่เป็นหัวใจของการทำงานจริงๆ เป็นศาสตร์ที่ละเอียดอ่อนมากๆ

แม่ต้อยได้แนวคิดมากมายจริงๆคะ

และชอบที่ว่า

อย่าทำตัวมีนาย” หรือยึดติดกับระบบอุปถัมภ์ว่าเด็กของใคร

เพราะเรื่องนี้แหละคะ ที่ทำให้เกิดเรื่องความเหลื่อมล้าขึ้นมาก

ขอบคุณมากคะ

สวัสดีครับอาจารย์  วันนี้มีเวลาพอสมควรก็เลยมาทบทวน วิธีเรียนรู้ ในบันทึกที่ผ่านๆมา ชอบวรรคสุดท้ายมากเลย..ความสงบภายในและทำงานโดยไม่ทุกข์ใจ...ขอบพระคุณมากครับ

  • รู้สึกสบายใจหายเหนื่อยทุกครั้งที่เห็นคุณพี่แดง P มาเยี่ยมค่ะ
  • ได้เรียนรู้ว่าน้ำใจกัลยาณมิตรในโลกไซเบอร์นี้ไม่มีขีดจำกัดจริง ๆ นะคะ

 

  • สวัสดีค่ะ คุณพี่เขี้ยว P อ่านเรื่องนี้ก่อนนอน รับรองหลับสนิทแน่นอนค่ะ 555
  • สวัสดีค่ะคุณครูกานต์ P เป็นกลอนที่ไพเราะมาก ๆ เลยค่ะ ขอยกมาอีกครั้งนะคะ
    • เจริญธรรมนำพบระบบธรรม

    เจริญงานเหงื่อเป็นน้ำชีพฉ่ำชื่น

    เจริญคนยิ่งสำคัญหลอมวันคืน

    กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวเป็นเกลียวใจ

    • มาแลกรักเรียนรู้วิธีเรียน

    อ่านและเขียนองคาพยพสมัย

    กระจกส่องกระจกสะท้อนดวงหทัย

    รอยทางใครเพื่อใคร...อีกหลายคน

    .

    ครูกานท์

    ทุ่งสักอาศรม

  • ศิลาชอบคำว่ารอยทางมากเลยค่ะ ...ใฝ่ฝันว่าจะเพียงรอยทางเล็ก ๆ แบ่งปันประสบการณ์กับกัลยาณมิตรหลาย ๆ คนที่สนใจทางเส้นทางเดียวกัน...

  • ซาบซึ้งมากค่ะ

  • สวัสดีค่ะ ท่านศรีกมล P การดูแลคนนี่ยากและท้าทายจริง ๆ ค่ะ
  • เพิ่งเข้าใจว่าบุคลิกลักษณะนิสัยคนเป็นตัวแปรสำคัญ หากเทียบกับความรู้ที่ไม่แตกต่างกันมากซึ่งสามารถฝึกฝนเพิ่มเติมกันได้
  • คำกล่าวท่านคม ชัด ลึกมากเลยค่ะ
  • สวัสดีค่ะ คุณสีตะวัน P บทบามของคนทำงานหน้างาน มีหลากหลายมากค่ะ  แต่ละบทบาททำให้เราสำนึกและคำนึงในหน้าที่ที่อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง เช่น อยู่ในฐานะที่มีผู้ใหญ่ สูงกว่า คำพูดบางคำพูดเราก็ต้องรอให้เขาเป็นฝ่ายพูด พูดก่อนไม่ได้ เขาเรียกว่าขโมยซีนผู้ใหญ่ค่ะ อิอิ ... ยากเหมือนกันนะคะเก่งคนเนี่ย
  • หลังจากอ่านข้อแนะนำคุณคนไม่มีราก P เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพแล้ว ก็เริ่มใส่ถุงเท้าก่อนนอนทุกคืนเลยค่ะ
  • ส่วนเรื่องโยเกริ์ต คุณหมอเกี่ยวกับธรรมชาติบำบัดที่บัลวี แนะนำว่าคนเป็นโรคไซนัส ให้หลีกเลี่ยงนมวัว นมถั่วเหลืองค่ะ   ศิลาชอบมากก็เลยทานน้อยลง ไม่ถึงกับเลิกทานค่ะ ก็คนมันชอบ ...
  • ขอบพระคุณมากเลยค่ะสำหรับคำแนะนำดี ๆ
  • คุณ Phornphon   P  ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์กันแบบตัวต่อตัวมากเลยนะคะ  ศิลาเห็นด้วยค่ะ เพราะทำให้เรามองตา มองสีหน้ากันด้วยความจริงใจ มีอะไรก็พูดคุยกัน เวลาเราพูดกัน สบตากันมากขึ้น เผลอทำอะไรไม่ถูกใจกันบ้าง ก็อภัยให้กันได้ง่าย แต่หากนาน ๆ ทีคุยกัน จะทำให้กระทบกระทั่งกันได้ค่ะ  เพราะคนทำงานจะคาบเกี่ยวกันในเรื่องประโยชน์พอสมควร และการทับเส้นพอสมควร  เพียงเราเข้าใจก็จะปล่อยวางได้ค่ะ
  • ขอบพระคุณคุณ ภูสุภา P ที่แวะมาเยี่ยมค่ะ  อ่านบางเรื่องใช้ใจมากกว่าสมองก็จะได้อรรถรสอีกแบบหนึ่งจริงด้วยค่ะ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับคน...ให้เหตุผลมาจัดการมากก็ได้ มาตรฐานเดียวกันก็คงไม่ใช่อีก .... มันมีมิติมากเลย น่าแลกเปลี่ยนกับหลาย ๆ ท่านที่มีประสบการณ์ค่ะ
  • สวัสดีอีกครั้งค่ะคุณคนไม่มีราก P ศิลาเพิ่งหาเวลาว่างมาตอบเม้นท์ค่ะ  ตอบช้าหน่อย แต่จริง ๆ ได้ทานข้าวยำไปหมดจานนานแล้วค่ะ อิอิ
  • สวัสดีค่ะคุณแสงแห่งความดี P ทานคนเดียวหมดคงอ้วนแน่นอนค่ะ  มาทานด้วยกันนะคะ
  • อยากบอกว่าคนคุณภาพในที่แห่งนี้มีมากมาย ศิลาเข้ามาใน G2K ครั้งแรก เข้ามาเหมือนคนหลงทางเดินเข้ามา ไม่มีเพื่อนฝูงที่นี่เลยค่ะ คนที่เขาเคยชักชวนก็เคยชวนนานมากแล้ว นับ 2 ปี ตัวเขาเองตอนนี้ก็ไม่อยู่ค่ะ
  • พอมาเห็นคนดี ๆ มีคุณภาพหลายท่าน  ก็ทำให้เราต้องหมั่นพัฒนาตามไปด้วย  อีกนานค่ะว่าจะรู้สึกว่าตนเองมีคุณภาพ แต่ก็ขอบพระคุณนะคะสำหรับกำลังใจที่ดีตลอดเวลาค่ะ
  • สวัสดีค่ะ คุณดาวลูกไก่ P ศิลาได้ตามไปเปิดใจในบันทึกคุณดาวลูกไก่แล้วนะคะ
  • ยามที่วุ่นวายสับสนกับงานและกิจธุระ ก็ยากที่เราจะปลีกตัวมาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนจริงๆ ตรงนี้เข้าใจภารกิจของทุกท่านและของตัวเองดี
  • ยอมรับว่ามีหลายเรื่องที่จะต้องปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ...เพราะความที่ไม่เคยหยุดนิ่งและไม่พอใจในความสามารถของตัวเอง จึงเป็นที่มาของการเรียนรู้ที่ไม่เคยหยุดพักค่ะ ...ตอบโจทก์นี้ไปในบันทึกที่แล้ว....หวังว่าจะเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ที่ยังเด็กทุก ๆ คนค่ะ ...โอกาสเป็นสิ่งที่เราต้องแสวงหา

 

  • ขอบพระคุณค่ะคุณแผ่นดิน P คำไม่กี่คำของคนของแผ่นดินนี้มีพลังที่ยิ่งใหญ่นะคะ...ทำให้คนทำงานไม่ท้อถอย กับคำนี้ค่ะ "ผมเองเชื่อมั่นในแนวคิดว่า การงานคือดอกไม้ของชีวิต และงานคือเกราะในการปกป้องชีวิตของมนุษย์  ผมไม่เคยท้อหากต้องจำนนต่อภาวะ "ค่าของคนอยู่คนของใคร" ....
  • ศิลาเชื่อว่างานคือชีวิต...ที่สำคัญกว่านั้นคือหากทำงานให้เป็นทำบุญกุศลไปด้วยแล้ว....มันคือชีวิตทั้งหมดค่ะ

สวัสดี ครับ คุณ sila

วันนี้มาทักทาย ช่วงเช้าและก่อนกลับบ้าน ครับ

รู้ว่า ไม่ค่อยได้เข้ามาช่วงวันหยุด

ก็อดระลึกถึงไม่ได้

......

มาและจากไป ด้วยความระลึกถึง

สัปดาห์หน้า ติดอบรม อีก 3 วัน ไม่รู้ว่าจะได้ แว๊ปมาเปิดบันทึก หรือเปล่า

นำภาพนี้มาฝากครับ

เห็นแล้ว ..จุดประกายความระลึกถึง ดีจังเลย นะครับ

 

  • สวัสดีค่ะ คุณแม่ต้อย P ค่อนข้างอาย ๆ กับคำชมของคุณแม่ต้อยยังไงไม่ทราบค่ะ ... รู้สึกว่าประสบการณ์ในการดูแลคนของศิลายังน้อยนิดมาก  มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ศิลาแอบไปเรียนรู้ในบันทึกของคุณแม่ต้อยค่ะ .... วิธีคิด และการแสดงความรู้สึก...ละเอียดอ่อน และนึกถึงผู้อื่นเป็นที่ตั้ง  เหล่านี้มีอยู่ในตัวคุณแม่ต้อยแล้วค่ะ ... การบริหารคนนั้น...ในบางครั้งเป็นเรื่องของธรรมชาติที่เราเองก็ไม่รู้สึกนะคะ...การปรับตัวเข้าหากันด้วยความเข้าใจ สำนึกในหน้าที่ของแต่ละฝ่าย คือความเท่าเทียมกันโดยไม่มีหัวโขนว่าใครเป็นนายใครค่ะ  แต่เป็นเพราะหน้าความรับผิดชอบของเราน้อยนิดกว่ากันเท่านั้น
  • ขอบพระคุณคุณหนุ่มกร P ที่แวะมาลปรรค่ะ ประโยคสุดท้ายที่ศิลาเขียนเนี่ย กลั่นมาสด ๆ ซิง ๆ จากใจเลยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท