การจัดการความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ภายใน


KM คือเครื่องมือที่แต่ละท่านมีอยู่แล้ว สำคัญที่การมองสิ่งที่ท่านมีให้เห็น ....และ “เห็นมากกว่าสิ่งที่ท่านมี” นั่นก็คือการดึงศักยภาพตัวตนของแต่ละท่านที่ศิลาสะท้อนให้เห็นในวันแรกของการอบรมออกมาใช้ แล้วหยิบฉวยเครื่องมือต่าง ๆ ใกล้ตัวของท่านออกมาหาปลากันดู

ก่อนที่จะเล่าเรื่อง (Storytelling) เกี่ยวกับการไปเป็นวิทยากรเรื่อง  “การจัดการความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ภายใน” ที่สมุทรสาคร ในโครงการอบรม “การจัดการความรู้ของครู กศน. สมุทรสาคร” ระหว่างวันที่ 2- 3 กรกฎาคม 2552  ขอกล่าวคำขอบพระคุณท่านผู้มีพระคุณที่ทำให้ศิลาได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ในศาสตร์ที่ตนได้ศึกษามาร่วมสิบปี

 

ผู้ชักนำเข้าสู่วงการการศึกษานอกระบบ : ท่านอาจารย์ขจิต   ฝอยทอง,     คุณพี่ครูสุนันทา,   ท่านผู้อำนวยการการศึกษานอกโรงเรียนสมุทรสาคร (ท่านพยุงศักดิ์) 

 

ผู้เกื้อกูลร่วมทีมงานจัดอบรม : คุณพี่ Krutoi ที่แสนดี,  กัลยาณมิตรคู่ใจศิลาสองท่านที่ติดตามไปช่วยเหลือเรื่องคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกทั่วไปแก่ศิลา

 

ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาแนวทางในการฝึกอบรม : คุณเอก และน้องซวง

 

และท่านครูอาจารย์ รวมถึงกัลยาณมิตรทุกท่านที่อยู่ในทีมเดียวกัน

 

                          

ศิลาต้องขอออกตัวว่าตนเองค่อนข้างหลุดออกจากกรอบใด ๆ การนำเสนอก็จะไม่นำเสนอเนื้อหาสาระล้วน ๆ ของการอบรม ว่าได้ถ่ายทอดความรู้ที่เป็น “content” อย่างไรบ้าง  แต่จะเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ “กระบวนการ” ในการอบรมครั้งนี้

 

                     

   

ศิลามองเห็นว่ามีหลายท่านทีเดียวที่เข้าใจว่าการจัดการความรู้นั้นเป็นตัวทฤษฎี หรือเนื้อหาที่จะต้องมาเล่าเป็นองค์ความรู้ เป็นขั้นตอน เป็นระบบ นำแนวคิดเกี่ยวกับศาสตร์เรื่องนี้มาฉายภาพเป็น slide แล้วอธิบายในรายละเอียดซึ่งเป็นรูปแบบ เป็นวิธีการเรียนรู้ในห้องเรียนที่มี “ครู” เป็นผู้สอน และมีนักเรียนหลายคนมานั่งฟัง

 

                

สิ่งที่ศิลาพยายามจะสื่อความหมายตั้งแต่ก้าวแรกของการนำเสนอก็คือการดึงวิธีจัดการความรู้ของ “ครู” ออกมาจากตัว “ครู” เอง โดยมองว่าความรู้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัว  หากไม่มีก็ค้นคว้าศึกษาให้มีขึ้นมาได้  แต่สารัตถะก็คือ “การรู้” ศักยภาพของตัวตนในตัวเอง เพื่อที่จะดึงความรู้ที่แฝงเร้น (Tacit Knowledge) ออกมาให้ปรากฎเป็นความรู้เชิงประจักษ์ (Explicit Knowledge) ให้ได้

 

ดังนั้น ศิลาจึงนำ Enneagram (นพลักษณ์) เข้ามาสะท้อนตัวตนของคุณครูทุกท่านที่เข้าร่วมอบรม โดยมีขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ดังนี้

 

Step 1 (ช่วงเช้าของวันแรกในการอบรม)

กระบวนการในการเรียนรู้ตัวตนเริ่มจากการเล่าเรื่องเชิงบรรยายเกี่ยวกับศูนย์ใจ  สมอง  และกาย (สัญชาตญาน)  ซึ่งแต่ละศูนย์ประกอบไปด้วย 3 ลักษณ์ (รายละเอียดอยู่ในบล๊อกรู้ตัวเพื่อการพัฒนาจิต)  พร้อมกับยกตัวอย่างบุคคลสำคัญที่เป็นที่รู้จักกันดีเพื่อให้เห็นบุคลิกภาพภายนอก แล้วสะท้อนกลับมาที่บุคลิกภาพภายในที่แต่ละลักษณ์ยึดติด

 

Step 2

การอ่านป้ายข้อความสำคัญของแต่ละลักษณ์ แล้วให้แต่ละท่าน นั่งตามกลุ่มลักษณ์นั้น ๆ  แล้วสนทนากันว่าทำไมจึงเข้าใจว่าเป็นลักษณ์นั้น โดยตีความคำสำคัญในแผ่นป้ายข้อความที่ให้ไว้

 

Step 3

ศิลาเดินไปตั้งคำถาม เพื่อให้แต่ละท่านในกลุ่มสะท้อนตัวตนออกมา  ตอบคำถามตามรูปภาพใน slide และตอบคำถามตามโจทย์ที่ตั้งไว้ ผลสรุปคือในภาพรวม ทุกคนยืนยันและยอมรับว่าตนเป็นลักษณ์นั้นด้วยความเต็มใจและดูเหมือนจะภาคภูมิใจที่ “ฉันก็เป็นฉัน” "ฉันได้ค้นพบตัวฉัน"   โดยคำตอบในแต่ละภาพ แต่ละโจทย์ที่ตั้ง  แต่ละกลุ่มจะตอบแตกต่างกันสะท้อนวิธีคิด การแสดงความรู้สึกทางอารมณ์และการกระทำได้อย่างมีลักษณะเฉพาะของลักษณ์ตน  จึงเชื่อได้ว่าทุกคนสอบผ่านการทำความเข้าใจในลักษณ์ตน เนื่องจากสามารถอธิบายตัวเองได้สอดคล้องกับลักษณ์นั้น ๆ

 

Step 4 (ช่วงบ่ายของวันแรกในการอบรม)

เชิญตัวแทนแต่ละลักษณ์มาสัมภาษณ์เจาะลึก โดยแบ่งเป็น 3 รอบ

รอบแรก    เป็นศูนย์ใจ   (ลักษณ์ 2, 3 และ 4)

รอบสอง   เป็นศูนย์หัว   (ลักษณ์ 5, 6 และ 7)

รอบสาม   เป็นศูนย์ท้อง (ลักษณ์ 8, 9 และ 1)

       

 

แต่ละรอบก่อนการสัมภาษณ์ (Typing Interview) ศิลาจะเปิดเพลงบรรเลงทั้งสามช่วง เพื่อขับกล่อมจิตใจ  ปรับโหมดอารมณ์

 

ผลสรุปคือทุกคนสามารถถ่ายทอดลักษณะเฉพาะของบุคลิกภาพภายในตัวเองได้อย่างชัดเจน และเห็นความแตกต่างระหว่างตัวเองกับผู้อื่น

 

แต่ละช่วงตอนของการพูดคุยซักถามวิธีคิด ความรู้สึกภายใน และการแสดงออก  ศิลาจะทำตัวเป็นกระจกสะท้อนภาพของแต่ละท่านโดยปราศจากการตัดสินใด ๆ เพียงแต่จะให้แต่ละท่านได้ทบทวนตัวเอง มองเห็นสิ่งที่ผ่านมาในห้วงความคิด ความรู้สึก ซึ่งเป็นการหยุดคิดสิ่งภายนอก ให้ย้อนกลับมามองที่กระบวนการเรียนรู้ภายในตัวเอง  เพื่อจะได้มองเห็นศักยภาพตัวตนในการดึงสิ่งดี ๆ จุดแข็งของตัวเองออกมาใช้ โดยมีเป้าหมายที่จะตอบโจทย์ใหญ่ว่า “รู้ศักยภาพตนเอง” แล้วจะนำไปจัดการความรู้ในชุมชนของตนอย่างไร  ซึ่งคำตอบนี้แต่ละคนเท่านั้นที่จะตอบได้ เพราะเป็นผู้รู้บริบทในพื้นที่ของตนเอง  ศิลาทำได้เพียงเสนอเครื่องมือหาปลาแต่หากว่าท่านใดจะมาหาปลาจากการถ่ายทอดความรู้ครั้งนี้ (หมายถึงเนื้อหาความรู้ที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ตนได้เลย)  ศิลาก็ต้องขออภัยอย่างสูงที่ทำให้ท่านที่เข้าใจเช่นนั้น ผิดหวังค่ะ  แนวการอบรมของศิลาจะกระตุ้นกลุ่มให้มองกลับมาค้นหาศักยภาพของตนเองเป็นหลัก  หากท่านใดมองเห็นก็จะเป็นประโยชน์แต่ตัวเอง  เพราะสุดท้ายแล้ว  พ้นจากเวทีนี้ไปไม่มีพี่เลี้ยงค่ะ

 

มิติของการจัดการความรู้ตามความเข้าใจของศิลา จริง ๆ แล้วเป็นการนำสิ่งที่เกิดขึ้นในทางปฎิบัติที่มีอยู่แล้วไปจัดระบบเป็นศาสตร์หรือองค์ความรู้ให้ง่ายแก่ความเข้าใจ  แนวคิดทฤษฎีจึงเกิดมาภายหลังการปฏิบัติจริงของเราซึ่งจริง ๆ แล้วเราอาจจะยังไม่รู้ตัวว่าเราได้จัดการความรู้แก่ชุมชนอยู่เป็นประจำด้วยวิธีที่เนียนไปกับเนื้องานของเรา  ด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของเรา  ไม่มีใครรู้ดีไปกว่าตัวเรา  เพราะเราเข้าใจและเข้าถึงชุมชนของเราดังนั้น อย่าไปมองความรู้ที่ไกลออกจากตัวมากนัก  สิ่งเหล่านั้นเราจะหยิบมาใช้เป็นเครื่องมือภายหลังหากเราสนใจเรื่องอะไร ก็ค้นคว้าเอาเองได้  จะด้วยการพิมพ์คำที่ต้องการใน google หรือด้วยการถามผู้รู้นั่นคือเราได้มีฉันทะ การใฝ่รู้ ใฝ่เรียนแล้ว  ความรู้ในเรื่องที่เราไม่รู้ก็จะเกิดขึ้นเอง โดยไม่ต้องมีการยัดเยียดทฤษฎีให้ตั้งแต่แรกจงมองคุณค่าในสิ่งที่มีอยู่ให้เห็น…มองให้เข้าถึงใจเราเอง...

 

Step 5

ศิลาได้แนะนำการเป็น Blogger ของตัวเองคร่าว ๆ   วิธีคิดและวัตถุประสงค์ที่แฝงอยู่ในการทำ Blog  เพื่อที่จะเกริ่นนำสำหรับการจัดการความรู้ในการเป็น Blogger ใน G2K ซึ่งคุณพี่ Krutoi จะมาทำหน้าที่เป็นวิทยากรในเช้าวันที่ 3 กรกฎาคม (วันที่สองของการอบรม)

 

Step 6 (ช่วงบ่ายวันที่สองของการอบรม)

ศิลาอธิบายทฤษฎี Dialogue  และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Discussion VS Dialogue   จากนั้นก็อธิบายคร่าว ๆ เกี่ยวกับ  Storytelling

 

Step 7

จับกลุ่มตามใจชอบ แบ่งเป็น 6 กลุ่ม เพื่อทำ Dialogue ในหัวข้อเรื่อง การจัดการความรู้ในความหมายใหม่ของฉัน”  ภาพรวมที่ปรากฎจะออกมาในลักษณะของสภากาแฟ ที่พูดคุยกันสนุกสนาน  ซึ่งไม่ใช่การประชุมที่เคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง หรือการ Discussion …และแม้ว่าจะไม่มี Flow of Meaning ของกระบวนการ Dialogue แต่สิ่งที่ศิลามองเห็นก็คือความพยายามในการค้นหาคำตอบคำว่าการจัดการความรู้ด้วยตนเองของแต่ละท่าน และแต่ละกลุ่มก็มีความตั้งใจในการทบทวนหาคำตอบ

 

 

Step 8

ขอให้ตัวแทนแต่ละกลุ่ม กลุ่มละหนึ่งท่านออกมาพูดเล่าเรื่องที่ได้จากการ Dialogue แต่ละท่านจะมีแผ่นข้อความที่เขียนไว้ เตรียมการนำเสนอ

 

                 

สิ่งที่ตัวแทนแต่ละกลุ่มสะท้อนออกมาก็คือความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์ประกอบแต่ละส่วนของโมเดลปลาทู (แนวคิดของท่านอาจารย์ประพนธ์)

 

               

กล่าวคือกลุ่มหนึ่งจะเน้นเรื่องการมีวิสัยทัศน์ร่วม  กลุ่มสองก็จะพูดในเรื่องการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ การจัดองค์ความรู้เป็นระบบ เป็นขั้นตอน  อีกกลุ่มก็จะเสริมต่อยอดกันในลักษณะของการเรียนรู้เป็นทีม  มีการยกตัวอย่างวิธีการทำห่อหมกสูตรใหม่ในชุมชม  ในขณะที่อีกกลุ่มมองว่า KM ก็คือ MK การทำสิ่งดี ๆ มาใส่ในหม้อรวมกันให้ได้รสชาติที่อร่อย ทานกันอย่างมีความสุข  และกลุ่มหนึ่งก็ได้บอกว่าการจัดการความรู้ในเรื่องไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรา เพื่อประโยชน์ต่อคนที่ท่านรักอันเป็นการจัดการความรู้ในเรื่องที่เราไม่รู้ในลักษณะของการค้นคว้าหาข้อมูล คล้าย ๆ กับการทำวิจัยที่เริ่มจากสนใจตั้งประเด็นปัญหาในสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อนนอกจากนี้ก็มีบางกลุ่มที่เล่าเรื่องการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการเกษตร ซึ่งเป็นการสอนโดยให้ผู้เรียนรู้เป็นศูนย์กลาง แล้วมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซักถามเล่าเรื่องกัน

 

Step 9

บทสรุปสุดท้าย ศิลาได้นำสิ่งที่แต่ละท่านถ่ายทอดออกมาเชื่อมโยงกับทฤษฎีโมเดลปลาทูของท่านอาจารย์ประพนธ์ แล้วเน้นย้ำว่า KM คือเครื่องมือที่แต่ละท่านมีอยู่แล้ว สำคัญที่การมองสิ่งที่ท่านมีให้เห็น  จริง ๆ ลืมพูดไปคำหนึ่งขอเติมตรงนี้แล้วจะส่งบทสรุปนี้ถึงคุณครูกศน. สมุทรสาครทุกท่านด้วยค่ะ  คำที่ลืมพูดคือ “เห็นมากกว่าสิ่งที่ท่านมี” นั่นก็คือการดึงศักยภาพตัวตนของแต่ละท่านที่ศิลาสะท้อนให้เห็นในวันแรกของการอบรมออกมาใช้ แล้วหยิบฉวยเครื่องมือต่าง ๆ ใกล้ตัวของท่านออกมาหาปลากันดู ปลาเล็ก ปลาน้อย ปลาซิว ปลาสร้อยก็หากันไป  ไม่มีใครรู้ว่าจะใช้เครื่องมืออะไรได้เหมาะสมเท่ากับตัวท่านค่ะ

            

 

ศิลาขอกราบขอบพระคุณท่าน ผอ. พยุงศักดิ์ที่กล่าวสรุปปิดท้ายก่อนรับวุฒิบัตรได้อย่างประทับใจยิ่งนัก 

                     

ศิลาจับใจความได้ว่าท่านมองเห็นแล้วว่า KM เป็นเครื่องมือที่มีอยู่ในตัวเอง (หากหาเจอ)  และวิธีการแสวงหาความรู้ที่สำคัญคือการตั้งโจทย์ และลองค้นคว้า สืบค้น ทบทวนหาคำตอบด้วยตัวเองก่อน ที่จะให้ผู้รู้สะท้อนออกมาให้เห็นโดยเชื่อมโยงแนวทางปฏิบัติที่ท่านทำกันอยู่แล้วกับศาสตร์ที่มีนักคิดสร้างขึ้นมา (ศาสตร์ต่าง ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากการมองเห็นแนวปฏิบัติของพวกเรากันเองค่ะ) ซึ่งจะว่าไปแล้ว KM ก็มีผู้นิยามความหมายไว้หลากหลาย มีแนวคิดมากมาย อย่าไปหาข้อสรุปกับนิยามความหมายคำนี้ที่มีความเป็นพลวัตเลยค่ะ...ลงมือปฏิบัติไปเลย Knowledge Sharing...  ทำก่อนแล้วจะเห็นเองค่ะ...1+1+1+1+1....Synergy ค่ะ

ศิลาอัดเทปคำพูดอธิบายตัวตนแต่ละคนของทุกท่านไว้ ศิลาเก็บรายละเอียดความเข้าใจใน KM ตามมุมมองของแต่ละท่านไว้ หากครูกศน. ผู้เข้าร่วมการอบรมท่านใดสนใจติดต่อขอรับไปได้นะคะ  ศิลาจะประสานงานส่งข้อมูลที่มีอยู่ไว้ที่ท่าน ผอ. พยุงศักดิ์ค่ะ

 

ความรู้ที่เป็นเนื้อหามีมากมายเรียนอย่างไรก็ไม่จบสิ้น แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับการเรียนรู้วิธีเรียนรู้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ยั่งยืนหรอกนะคะ  เพราะหากเรามองเห็นเครื่องมือและรู้จักการใช้เครื่องมือที่เรามีได้อย่างเหมาะสมกับบริบท ก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนรู้ของเราและตัวเราเอง... ข้อสำคัญที่สุดคือ Learner Center...โดยการเปิดใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (จะด้วย Dialogue หรือ Storytellng หรือ Interview ก็ดี) แล้วยอมรับน้อมนำสิ่งใหม่ ๆ เข้าสู่ตนจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองและผู้อื่นค่ะ

 

                               ขอบพระคุณที่แวะมาอ่านค่ะ

หมายเลขบันทึก: 273389เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (47)

Good Morning ครับ ... ท่านอาจารย์ศิลา ;)

ขออนุญาต "ละสายตา" จากเนื้อหาครับ

ผมมีข้อแนะนำอาจารย์ประการหนึ่ง ไม่ทราบว่าอาจารย์จะโกรธตอนเช้า ๆ ไหม ?

ผมสะดุดที่ คำสำคัญ: ไม่มีใครรู้ว่าจะใช้เครื่องมืออะไรได้เหมาะสมเท่ากับตัวท่าน  การเปิดใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ยอมรับน้อมนำสิ่งใหม่ ๆ เข้าสู่ตน ของอาจารย์ครับ

ขออนุญาตอธิบายต่อว่า คำสำคัญ หรือ TAG เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การค้นหาบันทึกนี้พบได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการ "ค้นหาตรงใจ" กับผู้ที่อยากได้รับประโยชน์จากบันทึกที่เขาไขว่คว้า ครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านระบบ Search Engine ทั้งหลาย

ดังนั้น คำสำคัญ หรือ TAG คือ Keyword ในการสรุปบันทึกที่มีลักษณะเป็นคำ ๆ หรือคำเฉพาะที่มีการใช้ในบันทึก หรือคำที่เป็นหมวดหมู่สำคัญในบันทึก

เช่นบันทึกนี้ คำสำคัญ น่าจะมี 

Storytelling, การจัดการความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ภายใน, Enneagram, นพลักษณ์, การฝึกอบรม, Dialogue, KM .... ฯลฯ

เช่นนั้น คำสำคัญจะเพิ่มคุณค่าของงานเขียนอาจารย์ได้มากมาย และทำให้ผู้ที่ใฝ่รู้จากความรู้ของอาจารย์ได้รับประโยชน์อย่างกว้างขวาง ครับ

โปรดให้อภัยผม หากผมก้าวล่วงในระบบการเขียนของอาจารย์

สำนึกผิดครับ ;)

  • กำลังจะไปทานอาหารเช้าพอดีเลยค่ะ ก็เลยทานไม่ลง ต้องรีบหาทางแก้ไขคำสำคัญก่อนค่ะ
  • อิอิอิ ผอมไปอีกหนึ่งมื้อ
  • ไม่โกรธหรอกค่ะ แต่น้อยใจ 555 ดีค่ะทานข้าวเช้าไม่ลงจะได้ผอม

อิ อิ งั้นอาจารย์ อย่าเพิ่งทานข้าวเลยนะครับ ... เดี๋ยวอ้วน 555

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมขออนุญาตพิมพ์ออกมาอ่านและทำความเข้าใจอย่างละเอียดและลึกซึ้งค่ะ
  • จะนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของนักเรียนค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

ขอใช้สิทธิถูกพาดพิง.....อิอิ.อิ  "เชิงประจักษ์"  ขอศึกษาด้วยครับ  นี่คือชีวิตที่มีคุณค่า ขอให้มีความสุข

เขียนบันทึกเรียงลำดับความคิดได้ดีมากเลยค่ะ  และเห็นภาพบรรยากาศที่เกิดขึ้นด้วย  เสียดายภาพประกอบไม่ค่อยมีให้เห็นเท่าไหร่  แต่โดยเนื้อหา มีสาระในตัวเอง อยากให้มาจัดอบรมให้ที่สำนักงานด้วย แล้วจะติดต่อไปนะคะ

 

 

สวัสดีค่ะพี่ศิลา

กออ่านจบแล้วค่ะ

แต่กอไม่เข้าใจเลย

ไปหาปูน หาทราย หาน้ำ ก่อนน่ะค่ะ

จะเอามาปูพื้นค่ะ อิอิ ไม่มีพื้นฐาน เลยไม่เข้าใจค่ะ

มาให้กำลังใจพี่ศิลาดีกว่าน่ะค่ะ

สู้ ๆ ค่ะพี่ศิลา

  • หลังจากแวะไปบันทึกท่านอาจารย์ Wasawat P ก็ทานอาหารมื้อพิเศษจนจุกค่ะ
  • ไม่ต้องรักษาหุ่นแล้ว  อ้วน ๆ อวบ ๆ ท่าจะดีกว่า...ไม่ต้องถูกแอบถ่าย 5555

เอ .. ทำไม ภาพปลากรอบ เอ้ย ภาพประกอบ ถึงไม่มีภาพของวิทยากรเลยล่ะครับ ... บันทึกนี้ ไม่สมบูรณ์ครับ ผมยืนยัน ;)

  • เรียนท่านอาจารย์ Wasawat Pช่างสังเกตอีกแล้ว 
  • เชื่อไหมว่าศิลาเป็นคนขี้อาย อิอิอิ

อาจารย์ตอบได้ว่องไวมาก แสดงว่า กินข้าวมาเยอะ ใช่ไหมครับ 555

งั้นขอภาพ "มุมด้านหลัง" ดีไหมครับ อิ อิ

แวะมาเยี่ยมพี่สาวคะ...

วันหยุดยาวแบบนี้ขอให้มีความสุขนะคะ...

ด้วยความระลึกถึงเสมอคะ

  • กำลังจัดให้ค่่ะ ท่านอาจารย์ Wasawat P  ขอใช้เวลาทำ Retouch ก่อนค่ะ 5555

สวัสดีครับอาจารย์  มาเรียนรู้วิธีเรียนรู้...และเพ็ญฝากน้ำพริกปลาย่างมาให้ ..ครับ

  • ตามมาขอบคุณ
  • ยอดเยี่ยมมากๆๆ
  • ยังไม่ได้ไปดูที่พี่ต้อยเลย
  • กำลังยุ่งๆๆ
  • ดีใจที่งานผ่านไปได้ด้วยดีครับ
  • เข้าใจว่า
  • คุณพี่ครูคิม P  สุดยอดเลยค่ะ...จริง ๆ อยากบอกว่าคุณพี่ครูคิมมี KM เต็มตัวเลยค่ะ 
  • สวัสดีค่ะ ท่านประจักษ์ P  เพิ่งสังเกตว่าได้ไปพาดพิงท่านโดยไม่รู้ตัว  ชื่อนี้เพราะจริง ๆ ค่ะ  มีความหมายถึงความชัดแจ้ง  ปราศจากนัยยะเคลือบแฝง
  • ขอบพระคุณค่ะ ที่ทำให้ศิลากลับมาสังเกตความหมายที่ทรงคุณค่านี้ อิอิ  พริ้วเหมือนหลานม่อนไหมคะ

ผมอ่านบันทึกนี้ช้า...และชื่นชมไปในแต่ละบรรทัด

นี่คือกระบวนการที่ชี้ชัดให้เราเชื่อว่า ..เราทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเองด้วยกันทั้งนั้น  ซึ่งนั่นหมายถึงการเป็นคนที่มีศักยภาพ  ทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง-หากแต่การสกัดความรู้ออกมาจากตัวเองนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้แต่ละคนได้ใช้ "วิธีการของตัวเอง" เป็นสำคัญ 

ผมเองก็เป็นประเภทไม่ติดยึดระบบ กรอบ,ระเบียบ เกี่ยวกับชีวิตและการงานเสียทั้งหมด  เรียกว่า "เข้าใจในหลักการ แต่วิถีการคืออีกกระบวนการหนึ่ง..."

การจัดงานในแต่ละครั้งจะย้ำกับทีมงานและนิสิตเสมอว่า "พิธีการไม่เน้น...แต่อยากให้เห็นกระบวนการมากเป็นพิเศษ" ...

.....

วิธีการทุกกระบวนการที่ปรากฏในบันทึกนี้มีองค์ประกอบที่แจ่มชัดมาก ..สำคัญเราต้องไม่ลืมให้แต่ละคนค้นหา "เครื่องมือ" ของการนำพาความรู้ออกมาจากตัวเองให้ได้ 

ผมเองกำลังชวนทีมงานเขียนคู่มือกระบวนการพัฒนาคน..พัฒนางาน..สานวัฒนธรรมองค์กร

หลายกิจกรรมใช้ได้ดี ..มีนิสิตนำไปใช้ต่อยอดก้หลายเวที  เน้นการละลายพฤติกรรมทางความคิดมากกว่าการ "ตีฆ้องร้องเพลง" ...แต่นั่นก็ไม่ได้หมายถึงการละวางในเรื่องเหล่านั้น

"จดหมายปริศนา" ...ให้เจ้าหน้าที่พิมพ์เรื่องราวของตัวเอง แล้วหย่อนในตู้  ใครจับได้ไปก็อ่านให้คนอื่นฟัง แล้วร่วมทายกันว่าเรื่องในจดหมายนั้นเป็นเรื่องของ "ใคร" ...สนุกสนาน บางทีก็สัมผัสเรื่องหม่นเศร้า ขุ่นมัวของเพื่อนได้ดี ...เป็นการทดสอบว่า "เราหลงลืมใครไปบ้างหรือเปล่า" ...

นี่ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งของการละลายพฤติกรรม และซ่อนนัยสำคัญของการ "เบิ่งมองกันและกัน" ...

.....

ครับ, ผมอาจเล่าเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆ นะครับ  มีประเด็นบ้างไม่มีประเด็นบ้าง  แต่ที่แน่ๆ ...ผมมักส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมสัมมนาบ่อยมาก  เสร็จแล้วเขาต้องกลับมาสร้างกระบวนการให้กับคนรอบข้างอย่างต่อเนื่อง-เรื่องเหล่านี้ ได้ประโยชน์มากครับ  ฝึกทีมงานได้หลายเรื่อง  อย่างน้อยก็กระบวนการของการนำเสนอ นั่นแหละ รวมถึงการฝึกให้เขาสังเคราะห์สิ่งที่ได้ออกมาในรูปสื่อต่างๆ เพื่อแจกจ่ายให้กับคนอื่นๆ

ครับ, ผมเชื่อว่าการจัดการความรู้ คือ กระบวนการของการสำรวจตรวจค้นคุณค่าและความหมายของความรู้และชีวิตของคนเรา  เป็นกระบวนการของการชำระตัวตนไปในตัว..บ่มเพาะตัวเอง...ขัดเกลาตัวเอง...และศร้างศรัทธาให้กับตัวเอง

....

ขอบคุณครับ

และคงได้คุยกันอีกรอบ

  • สวัสดีค่ะ คุณกอไผ่ P  ทันทีที่อ่านความเห็นของคุณกอไผ่ ศิลาก็เพิ่มภาพประกอบคำบรรยายค่ะ 
  • รู้สึกว่าตากล้องของศิลาจะถ่ายแต่วิดีโอ ภาพถ่ายรูป จึงมีมาโชว์น้อยมากค่ะ 
  • กำลังติดต่อขอรวบรวมจาก ผู้เข้าร่วมอบรมที่ถ่ายเก็บไว้อยู่ค่ะ
  • ขอบพระคุณสำหรับความเห็นและข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขบันทึกค่ะ
  • ขอบพระคุณ ค่ะท่านอาจารย์แผ่นดิน P ดีใจที่ได้อ่านความเห็นของท่านอาจารย์ก่อนออกจาบ้านค่ะ
  • ขอทิ้งคำกล่าวไว้สั้น ๆ ก่อนนะคะ แล้วจะมาเขียนตอบเม้นท์ยาว ๆ ภายหลังค่ะ
  • ประทับใจ อ่านไปก็ปลาบปลื้มกับแนวความคิดของท่านอาจารย์แผ่นดินค่ะ
  • การจัดการความรู้ คือ กระบวนการของการสำรวจตรวจค้นคุณค่าและความหมายของความรู้และชีวิตของคนเรา  เป็นกระบวนการของการชำระตัวตนไปในตัว..บ่มเพาะตัวเอง...ขัดเกลาตัวเอง...และศร้างศรัทธาให้กับตัวเอง
  • รวมทั้งกิจกรรม "จดหมายปริศนา" ขอนำมาปรับใช้กับกิจกรรมที่ศิลาอาจจะได้มีโอกาสจัดในครั้งต่อไปนะคะ และขออนุญาตอ้างอิงชื่อเจ้าของกิจกรรมคือท่านอาจารย์แผ่นดินด้วยค่ะ

อาจารย์ศิลาครับ ;) .... อาจารย์โผล่มาตั้ง 3 ภาพแน่ะครับ ;)

ผมนั่งนับอยู่เลย ... หน้าอาจารย์เนียนมาก ๆ ครับ คาดว่า ใช้เวลา Retouch เกิน 24 ชั่วโมงแน่นอนครับ อิอิ

  • สวัสดีค่ะ น้องสุดสายป่าน P พี่ศิลาจะรอจนกว่าน้องจะก่ออิฐ เทปูแล้วเสร็จค่ะ...เราจะช่วยกันสร้างบ้านเล็ก ๆ หนึ่งหลัง ไม่ต้องรีบค่ะ ถึงเวลาเมื่อไหร่ เราอาจจะเรียนรู้ได้เร็วกว่าคนอื่นก็ได้ค่ะ
  • คิดถึงเสมอนะจ๊ะ
  • ขอบพระคุณค่ะคุณ Bad Angle P  การทำ Workshop น่าจะเหมาะสมสำหรับการแลกเปลี่ยนรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ค่ะ  โดยเฉพาะการดึงศักยภาพของเราออกมาให้ปรากฎเพื่อนำเครื่องมือต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวออกมาใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของเราเองค่ะ
  • สวัสดีค่ะ อ.ศิลา
  • ขอบพระคุณสำหรับเนื้อหา ความรู้ที่ได้กรุณามาถ่ายทอดให้กับพวกเรา ชาว กศน.สมุทรสาคร
  • ก็จะพยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไป และจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งสำหรับตนเอง  และ งานกศน.
  • ได้อ่านบันทึกของอ. ที่ไม่ทันบางช่วงบางตอนก็ได้เติมเต็ม
  • ชอบมากกับคำนี้  เปิดใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาอ่านข้อคิดเห็นของเพื่อน ๆค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ
  • นอนหลับฝันดีนะคะ

สรุปขั้นตอนได้เยี่ยม ยิ่งกว่าเห็นภาพ ขออนุญาตพิมพ์แจก จะได้เอาไปกระตุ้นต่อมความจำของครูเราอีกทางหนึ่ง ขอขอบคุณที่มอบสิ่งดี ๆ ให้กับครู กศน.สมุทรสาคร จริงแล้วเขามีความรู้ความสามารถมากมาย อีกทั้งเป็นนักประสานตัวยง แถมมีทุนเดิมเป็นคนในพื้นที่ จึงเต็มใจที่จะพัฒนาพี่น้องที่อยู่ในพื้นที่อย่างจริงจัง แล้วคราวนี้เขาคงนำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์ไปบูรณาการการบริหารจัดการกับกลุ่มนักศึกษาของเขาได้เป็นอย่างดีส่งผลให้ลูกศิษย์ของเรา ปรับใช้ชีวิตประจำวันได้อย่าง เก่ง ดีและมีความสุข

ชื่นชมคนทำงานเช่นคุณศิลาจังค่ะ มีวิธีคิด วิธีดำเนินการที่ดีมาก กิจกรรมกระบวนการแบบนี้ทำให้ผู้คนได้คิด ได้มองเข้าไปภายในตนเอง และ กลับออกมาเชื่อมโยงกับผู้อื่น สร้างพลังได้เกินคาด การค้นพบและตระหนักในคุณค่า ความสามารถของตนเองจากที่เดิมนั้นตนเองก็ยังไม่เคยมองคุณค่านี้หรือมองตนเองในมุมเช่นนี้ เป็นสิ่งที่จุดประกายให้คนอยากขยายความดีนะคะ

  • แวะมาอ่าน
  • การดึงความรู้ในหัวไอ้เรืองค่ะ
  • บางคนมีมาก
  • แต่บอกใครไม่ได้  เขียนไม่ออก
  • จำเป็นต้องเจาะเอาออกมาทีละเล็กทีละน้อย
  • โดยผ่านวิทยากรกระบวนการแบบเจ้าของบล็อกนี้ค่ะ
  • เรียนท่านอาจารย์ Wasawat Deemarn   P  เพราะคำไม่กี่คำของท่านอาจารย์ ที่ยุศิลาขึ้น เลยทำให้เอ็นข้อมือศิลายึกเลยค่ะ เพราะทำ Retouch เนี่ยแหละ
  • แต่ขอบอกนะคะ ว่าขนาดอายุมาก ก็มี....5555 ไม่บอกดีกว่า เราขี้อาย ไม่อยากพูด อิอิ 

ยึกเลย พิมพ์ผิด ยึด ค่ะ

  • สวัสดีค่ะ น้อง P ♡*.:。 KiTTyJuMP゚・♡゚゚・ พี่ศิลาเพิ่งกลับจากไปซึมซับธรรมชาติที่ต่างจังหวัดมาค่ะ 
  • รู้สึกสุขสบายใจ ปลอดโปร่งโล่งดีค่ะ
  • ขอให้น้องมีความสุข เตรียมกาย เตรียมใจสำหรับชีวิตเลขคู่นะคะ ... ต่อไปทำอะไรก็มักจะเป็นคู่เสมอค่ะ 
  • เป็นหน้าที่และความศรัทธามีค่ากว่าความรักค่ะ ว่าไปนั่น

 

  • เหลือเชื่อค่ะ...ทราบได้อย่างคะ คุณหนุ่มกร P ว่าศิลาชอบทานน้ำพริกปลา (ทุกชนิด) ค่ะ  และโดยเฉพาะทานกับผักนึ่งและผักสดด้วย อร่อยมาก ๆ ค่ะ
  • รบกวนฝากบอกคุณเพ็ญด้วยนะคะ  และบอกด้วยว่ารอของขวัญจากคุณเพ็ญด้วยค่ะ
  • สงสัยเพลียค่ะ ลืมไปบางคำค่ะคุณหนุ่มกร P รบกวนฝากบอกคุณเพ็ญด้วยนะคะ  ว่าชอบทานน้ำพริก และเชื่อว่าน้ำพริกที่คุณเพ็ญทำต้องอร่อยมากเลยค่ะ
  • สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ขจิต P สำหรับศิลาแล้ว บรรยากาศในการเรียนรู้ร่วมกันดีมาก ๆ ค่ะ  คุณครูกศน. มีความตั้งใจและมุ่งมั่นทุกท่าน  สังเกตจากแววตาค่ะ
  • หากจะมีอะไรไม่ดี คิดว่าเป็นตัวศิลาเองค่ะ  ที่ยังไม่เข้าใจบริบทของคุณครูเท่าไหร่ เป็นครั้งแรกจริง ๆ ค่ะที่มานอกวงการ จะพยายามปรับปรุงตัวเอง จากเสียงสะท้อนของบางท่าน  ศิลาจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ  แม้จะมีไม่กี่ท่านที่วิจารณ์ในเชิงขอให้ปรับปรุง แต่เป็นสียงที่มีค่าที่ทำให้เราต้องหันมาดูตัวเองอย่างถี่ถ้วนค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะที่กรุณาให้โอกาส
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์แผ่นดิน P ค่ะที่กรุณามาสะท้อนแง่มุมที่มีค่าของคำว่าศักยภาพและคุณค่าของตัวตน ขอยกคำกล่าวมาอีกครั้งค่ะ
  • นี่คือกระบวนการที่ชี้ชัดให้เราเชื่อว่า ..เราทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเองด้วยกันทั้งนั้น  ซึ่งนั่นหมายถึงการเป็นคนที่มีศักยภาพ  ทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง-หากแต่การสกัดความรู้ออกมาจากตัวเองนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้แต่ละคนได้ใช้ "วิธีการของตัวเอง" เป็นสำคัญ 
  • ผมเองก็เป็นประเภทไม่ติดยึดระบบ กรอบ,ระเบียบ เกี่ยวกับชีวิตและการงานเสียทั้งหมด  เรียกว่า "เข้าใจในหลักการ แต่วิถีการคืออีกกระบวนการหนึ่ง..."
  • การจัดงานในแต่ละครั้งจะย้ำกับทีมงานและนิสิตเสมอว่า "พิธีการไม่เน้น...แต่อยากให้เห็นกระบวนการมากเป็นพิเศษ"
  • วิธีการทุกกระบวนการที่ปรากฏในบันทึกนี้มีองค์ประกอบที่แจ่มชัดมาก ..สำคัญเราต้องไม่ลืมให้แต่ละคนค้นหา "เครื่องมือ" ของการนำพาความรู้ออกมาจากตัวเองให้ได้ 
  • ผมเองกำลังชวนทีมงานเขียนคู่มือกระบวนการพัฒนาคน..พัฒนางาน..สานวัฒนธรรมองค์กร
  • หลายกิจกรรมใช้ได้ดี ..มีนิสิตนำไปใช้ต่อยอดก้หลายเวที  เน้นการละลายพฤติกรรมทางความคิดมากกว่าการ "ตีฆ้องร้องเพลง" ...แต่นั่นก็ไม่ได้หมายถึงการละวางในเรื่องเหล่านั้น
  • "จดหมายปริศนา" ...ให้เจ้าหน้าที่พิมพ์เรื่องราวของตัวเอง แล้วหย่อนในตู้  ใครจับได้ไปก็อ่านให้คนอื่นฟัง แล้วร่วมทายกันว่าเรื่องในจดหมายนั้นเป็นเรื่องของ "ใคร" ...สนุกสนาน บางทีก็สัมผัสเรื่องหม่นเศร้า ขุ่นมัวของเพื่อนได้ดี ...เป็นการทดสอบว่า "เราหลงลืมใครไปบ้างหรือเปล่า" ...
  • นี่ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งของการละลายพฤติกรรม และซ่อนนัยสำคัญของการ "เบิ่งมองกันและกัน" ...
  • ครับ, ผมอาจเล่าเรื่อยเปื่อยไปเรื่อยๆ นะครับ  มีประเด็นบ้างไม่มีประเด็นบ้าง  แต่ที่แน่ๆ ...ผมมักส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรมสัมมนาบ่อยมาก  เสร็จแล้วเขาต้องกลับมาสร้างกระบวนการให้กับคนรอบข้างอย่างต่อเนื่อง-เรื่องเหล่านี้ ได้ประโยชน์มากครับ  ฝึกทีมงานได้หลายเรื่อง  อย่างน้อยก็กระบวนการของการนำเสนอ นั่นแหละ รวมถึงการฝึกให้เขาสังเคราะห์สิ่งที่ได้ออกมาในรูปสื่อต่างๆ เพื่อแจกจ่ายให้กับคนอื่นๆ
  • ครับ, ผมเชื่อว่าการจัดการความรู้ คือ กระบวนการของการสำรวจตรวจค้นคุณค่าและความหมายของความรู้และชีวิตของคนเรา  เป็นกระบวนการของการชำระตัวตนไปในตัว..บ่มเพาะตัวเอง...ขัดเกลาตัวเอง...และศร้างศรัทธาให้กับตัวเอง

เหนือคำบรรยายจริง ๆ ค่ะ แต่ละคำล้วนมีข้อสรุปในตัวเอง คงไม่สามารถขยายความไปกว่านี้ได้  สารัตถะคือการนำถ้อยคำของท่านอาจารย์ไปปรับใช้ค่ะ

ขอขอบพระคุณอีกครั้งที่ทำให้บันทึกนี้ ทรงคุณค่าขึ้นมาทันที เสมือนท่านมาให้คำนิยมในบันทึกของศิลาเลยล่ะค่ะ

ขอให้มีความสุขสงบภายใน เดินทางด้วยจิตวิญญาณที่มุ่งมั่น สำเร็จดังตั้งใจค่ะ

 

  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์ WasawatP ค่ะ  ที่ชมศิลาว่าหน้าเนียน...ถึงแม้จะอาศัยการ retouch ก็เถอะ
  • จริง ๆ แล้วสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นหรอกนะคะ อิอิ
  • ดีใจมากค่ะ ที่คุณครู pinky นำสิ่งที่ศิลาแลกเปลี่ยนในวันแรกไปต่อยอดกิ่งก้านสาขาด้วยตัวเองต่อไปอีก
  • เป็นความสุขใจยิ่งกว่าใด ๆ เลยนะคะ
  • ศิลาชอบวิธีการถ่ายทอดกระบวนการเพื่อให้ไปคิดต่อ
  • และชอบการสร้างแรงบันดาลใจและดึงศักยภาพของผู้เรียนรู้ออกมาค่ะ
  • จึงว่าวิธีการเรียนรู้แบบนี้จะเข้าถึงทุก ๆ ท่านที่มาเรียนรู้ร่วมกัน
  • ค่ะ...หากเราเปิดใจ มี trust ให้แก่กัน ก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ภายในทีมตามมาเองค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะที่ทำให้ศิลาเบิกบานใจ
  • คุณพี่ครูคิม P เป็นตัวอย่างนักเรียนรู้และจัดการความรู้ที่น่าทึ่งมากค่ะ
  • การอ่านบันทึและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกัลยาณมิตรอย่างสม่ำเสมอทำให้เราเติบโตทางจิตไม่มีวันสิ้นสุดเลยค่ะ  ข้าน้อยขอคารวะหนึ่งจอกค่ะ
  • ขอบพระคุณอาจารย์พรทิพย์ P มากค่ะที่กรุณาแวะมาเยี่ยม
  • ยังระลึกถึงอยู่เลยค่ะ...อยากแลกเปลี่ยนภาพกิจกรรมกันค่ะ หากใครถ่ายไว้ เป็นภาพที่สะท้อนการแสดงด้วยลีลาท่าทางต่าง ๆ จะช่วยทำให้ศิลาได้นำไปกระตุ้นกลุ่มผู้เรียนรู้อื่น ๆ ต่อไปค่ะ
  • ยอมรับว่าทึ่งมากค่ะ ศิลาเองก็๋เห็นว่าคุณครู กศน. ทุกท่านทำ KM กันอยู่แล้ว จากการที่เป็นนักประสานองค์ความรู้ในพื้นที่ จึงคิดว่าไม่ยากเลย หากมองเห็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ และการทำ Blog ที่คุณพี่ครูต้อยแนะแนวไป  ก็น่าจะไปทำเป็น COP ของตนเองต่อไปได้ค่ะ
  • อยากเรียนเชิญคุณครูกศน. เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน G2K กันเยอะ ๆ ค่ะ จะได้มองเห็น KM จากการปฏฺิบัติจริง มีมากมาย ณ โลกออนไลน์ ไซเบอร์สเปซแห่งนี้ค่ะ
  • คำติชมทุกคน เก็บไว้พิเคราะห์อย่างดีค่ะ จะนำไปปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับบริบทของผู้เรียนรู้ในหลากหลายอาชีพค่ะ
  • ขอให้มีความสุขมาก ๆ นะคะ

สวัสดีครับ

 

☺  แวะมาอ่าน...ความรู้ใหม่ ๆ...ก้าวหน้าจนตามไม่ค่อยจะทัน...แหะ ๆ

☺  ขอบคุณที่แวะไปเยือน ครับผม

 

สวัสดีค่ะ พี่อาจารย์ศิลา

วันนี้อาจารย์ขจิตท่านเล่าให้พอลล่าฟังค่ะ

เรื่องการอบรมที่สมุทรสาคร

พอลล่าตกข่าวค่ะ วันนี้ได้มาเรียนรู้แล้วค่ะ

สุดยอดมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะ  ยาวมากค่ะ  พออ่านแล้วโอเคเลยไม่รู้สึกเบื่อ  รู้สึกถึงสิ่งที่ได้รับค่ะ

ขอบคุณสิ่งดีดีนะคะ

  • ชื่นชมคำกล่าวของคุณนายดอกเตอร์P มากค่ะ ขอยกมาทบทวนอีกครั้งนะคะ
  • มีวิธีคิด วิธีดำเนินการที่ดีมาก กิจกรรมกระบวนการแบบนี้ทำให้ผู้คนได้คิด ได้มองเข้าไปภายในตนเอง และ กลับออกมาเชื่อมโยงกับผู้อื่น สร้างพลังได้เกินคาด การค้นพบและตระหนักในคุณค่า ความสามารถของตนเองจากที่เดิมนั้นตนเองก็ยังไม่เคยมองคุณค่านี้หรือมองตนเองในมุมเช่นนี้ เป็นสิ่งที่จุดประกายให้คนอยากขยายความดีนะคะ
  • ศิลาได้ศึกษาขั้นพัฒนาสูงสุดของแต่ละลักษณ์แล้วค่ะ เป็นการสมดุลระหว่างส่วนที่เราไม่เคยใช้งาน หรือหลีกเลี่ยงการใช้งานมาก่อน
  • หากเราค้นพบ ก็จะมองเห็นศักยภาพตนเอง  เสียดาย ศิลายังไม่มีโอกาสได้นำกระบวนการที่คิดและตั้งใจไว้ลองดูกับกลุ่มเดิมที่ค้นพบตัวเองแล้ว  ส่วนใหญ่พบแล้ว ไม่ได้สานต่อค่ะ
  • เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนจริง ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อนค่ะ คงมีบางท่านที่มองเห็นร่วมกัน และพายเรือไปด้วยกันค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะที่มอบสิ่งดี ๆ ให้เสมอ โดยเฉพาะคำกล่าวที่จุดประกายให้ไฟลุกโชนอยู่ตลอดเวลาค่ะ
  • สวัสดีค่ะ คุณพี่เขี้ยว P ชอบจังค่ะ คำว่าเจาะทีละนิด จริง ๆ ศิลาเคยใช้คำว่าผ่าตัดนะคะ สองคำนี้โดนพอกันค่ะ
  • บางครั้ง เราอาจจะต้องเจาะ หรือผ่าตัดตัวเองออกมาดูค่ะ มีอะไรที่เราซ่อนเร้นตัวเราเองอีกเยอะค่ะ
  • เรื่องมันยาว อิอิ สักวัน ศิลาคงได้มีโอกาสขยายความและสื่อใจถึงใจค่ะ

พี่ศิลาเป็นทั้งคนดี และ ผู้รอบรู้ครับ

แวะมาชื่นชมด้วยใจจริง แะ ที่นำความรู้มาแลกเปลี่ยน

การศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้กันทั้งชีวิตครับ

เพิ่งมีโอกาสเข้ามาอ่านค่ะ

ขอชมว่าน่าสนใจมากๆ

หมอคงต้องไปตามอ่านเรื่องนพลักษณ์เพื่อที่จะเข้าใจมากขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท