การใช้เครื่องมือแผนที่ผลลัพธ์ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ......แผนที่ผลลัพธ์ (Outcome mapping)ตอน5


แผนที่ผลลัพธ์ ตามแนวคิดของ IDRC มีขั้นตอนหลักสำคัญ อยู่ 3 ขั้นตอนคือขั้นที่ 1 การกำหนดกรอบการพัฒนาขั้นที่ 2 การติดตามผลลัพธ์และการดำเนินงาน และขั้นที่ 3 การวางแผนการประเมินผล ทั้งนี้โดยแบ่งเป็นขั้นตอนย่อยได้ 12 ขั้นตอนย่อย

ตามที่เคยบันทึกไว้“แผนที่ผลลัพธ์”เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระหว่างชาติแห่งคานาดา (IDRC)  IDRC ได้เสนอหลักการ แนวคิดของ“แผนที่ผลลัพธ์” ในหนังสือชื่อ Outcome Mapping :Building  Learning  and Reflection into Development Programs แปลเป็นภาษาไทย“แผนที่ผลลัพธ์” โดย อ.วีรบูรณ์   วิสารทสกุล  ซึ่งเป็นวิทยากรที่อบรมในหลักสูตร  “แผนที่ผลลัพธ์(Outcome Mapping)ขั้นพื้นฐาน” ณ KU Home มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เมื่อวันเสาร์-อาทิตย์ที่12-13 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา  อ.หมู- วีรบูรณ์ วิสารทสกุล  วิทยากรได้นำเสนอว่า แผนที่ผลลัพธ์ ตามแนวคิดของ IDRC มีขั้นตอนหลักสำคัญ อยู่ 3 ขั้นตอนคือขั้นที่ 1 การกำหนดกรอบการพัฒนาขั้นที่ 2 การติดตามผลลัพธ์และการดำเนินงาน  และขั้นที่ 3 การวางแผนการประเมินผล  ทั้งนี้ในการใช้เครื่องมือแผนที่ผลลัพธ์ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ สามารถแบ่งเป็นขั้นตอนย่อยได้   12 ขั้นตอนย่อย  ดังนี้

ขั้นที่ 1  การกำหนดกรอบการพัฒนา

ขั้นตอนย่อยที่ 1  การสร้างวิสัยทัศน์ (Vision)

ขั้นตอนย่อยที่ 2  การกำหนดพันธกิจ (Mission)

ขั้นตอนย่อยที่ 3  ภาคีหุ้นส่วน (Boundary partners)

ขั้นตอนย่อยที่ 4 ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์  (Outcome Challenge)

ขั้นตอนย่อยที่ 5  ตัวบ่งชี้ความก้าวหน้า (Progress Marker)

ขั้นตอนย่อยที่ 6 แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map)

ขั้นตอนย่อยที่ 7  การดำเนินงานขององค์กร (Operational Practices)

ขั้นที่ 2          การติดตามผลลัพธ์ และการดำเนินงาน

ขั้นตอนย่อยที่ 8  จัดลำดับการติดตามการทำงาน

ขั้นตอนย่อยที่ 9  แบบบันทึกการติดตามผลลัพธ์ (Outcome Journal)

ขั้นตอนย่อยที่ 10 แบบบันทึกการติดตามยุทธศาสตร์ (Strategy Journal)
ขั้นตอนย่อยที่ 11 แบบบันทึกการติดตามการดำเนินงาน (Performance Journal)

ขั้นที่ 3 การวางแผนการประเมินผล

ขั้นตอนย่อยที่ 12 แผนการประเมินผล (Evaluation Plan)

สำหรับผมแล้ว แม้ว่าแผนทีผลลัพธ์ในบางครั้งอาจจะดูเหมือนกับว่าจะเป็นเครื่องมือที่เป็นระบบแบบแผนที่ตายตัว และมีขั้นตอนกระบวนการที่ดูออกจะแข็งตัว แต่ผมว่ามันเป็นเพียงแผนที่นำทางครับ มันเป็นเครื่องมือที่ทำให้เรามีกระบวนการสร้างอนาคตใหม่ร่วมกัน ที่เกี่ยวกับความท้าทายในผลลัพธ์ มันเป็นเครื่องมือช่วยเราเตรียมตัวรับมือกับอนาคตที่สร้างสรรค์ ที่เราเองได้ลิขิตล่วงหน้าไว้แล้ว ด้วยความเชื่อ ความคาดหวัง ความมุ่งมั่นร่วมจนเป็นพันธสัญญาที่จะเคลื่อนตัวไปสู่ข้างหน้าสู่อนาคตที่งดงามร่วมกันครับ

หมายเหตุ  บันทึกจากเข้ารับการอบรมหลักสูตร  “แผนที่ผลลัพธ์(Outcome Mapping)ขั้นพื้นฐาน” จัดโดยบางกอกฟอรั่ม ที่ KU Home มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ ที่12-13 กันยายน 2552 มี อ.หมู- วีรบูรณ์ วิสารทสกุล  เป็นวิทยากร เป็นการบันทึกรายงานการเข้าอบรมเสนอกับองค์กรของผู้บันทึกผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการเรียนรู้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 300167เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วได้เนื้อหาสาระดีมาก ครับ

สวัสดีครับรุสดี

ผมกำลังเรียนรู้และค้นหาเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานครับ

การค้นหาของผมครั้งนี้ทำให้นึกถึงเรื่องเล่าอยู่เรื่องหนึ่ง.......

เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า.......แอนแอ่นแอ้น......

ชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังเดินกลับบ้านในยามวิกาล

แล้วเขาก็เห็นชายชราคนหนึ่งกำลังคุกเข่าอยู่ภายใต้แสงไฟข้างถนนดูเหมือนชายชรากำลังมองหาบางอย่าง

"คุณลุงกำลังทำอะไรอยู่ครับ" เขาถามชายชรา

"ลุงทำกุญแจรถลุงหล่น"

"ให้ผมช่วยหานะครับ" ชายหนุ่มมีจิตอาสา (เหมือนกับรุสดีเป๊ะเลย)

หลังจากช่วยคุณลุงค้นหาอยู่นานสักพัก ชายหนุ่มจึงถามคุณลุงต่อว่า

"ตอนที่คุณลุงทำกุญแจหล่นหายน๊ะ คุณลุงอยู่ตรงไหนครับ"

คุณลุงชี้ไปยังที่มืดๆใกล้ๆกับรถยนต์ของคุณลุงที่จอดนิ่งอยู่ "น่าจะอยู่ตรงโน้นมั๊ง"

"อ้าวแล้วทำไมคุณลุงจึงมาหาอยู่แถวนี้"

"ก็เพราะว่าตรงนี้มันมีแสงสว่างนะซิ"คุณลุงตอบ

ผมก็อาจเหมือนคุณลุงแก่ๆคนนั้นมั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท