การจัดการความรู้ภาคปฏิบัติในชุมชน(7) เวทีการจัดการความรู้ ครั้งที่ 4 การเคลื่อนไหวองค์ความรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคม


เวทีการจัดการความรู้ด้วยการจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการเคลื่อนไหวองค์ความรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคม

 เวทีการจัดการความรู้ครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่29 ม.ค. 2553  เวลา 09.00 น. – 13.00 น. ณ ลานศาลปู่ตาบ้าน บ้านขนุน หมู่ที่ 3 ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี แนวทางการเคลื่อนไหวองค์ความรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคม นี้ผมได้แนวทางของคุณชัชวาลย์  ทองดีเลิศและสวิง ตันอุด จาก สจส.(สถาบันการจัดการทางสังคม)เป็นแนวในการจัดการเรียนรู้ครับ

                        

           สืบเนื่องจากในครั้งนี้ คณะกรรมการ และผู้บริหารสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)จำนวน20 ท่านได้มีการเดินทางมาเยี่ยมชมและศึกษาดูงานการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น ของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก คณะทำงานจัดการความรู้ของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก จึงได้ใช้โอกาสนี้จัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการเคลื่อนไหวองค์ความรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคมไปพร้อมๆกัน การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้ในครั้งนี้คณะทำงานจัดการความรู้ของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกได้ใช้สื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

                     

  1. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ลานศาลปู่ตาบ้าน ที่บ้านขนุน  สถานที่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของชุมชนลาวเวียง
  2. การจัดพิธีต้อนรับคณะที่มาศึกษาดูงานด้วยการไขประตูบ้าน ประตูเมือง
  3. ผู้เข้าร่วมเวทีการจัดการความรู้แต่งกายด้วยชุด “วัฒนธรรมลาวเวียง”
  4. การนำเสนอด้วยเอกสารสรุปบทเรียนประสบการณ์“สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกกับการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น”
  5. การกล่าวสุนทรพจน์ “มนต์เสน่ห์บ้านเลือก” โดย ด.ญ.ศศิมาภรณ์  เครือละม้าย เยาวชนของตำบลบ้านเลือก
  6. การนำเสนอประสบการณ์ “สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกกับการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น” โดย นายวิทูรย์ ศรีเกษม
  7. การนำเสนอวีดีทัศน์ “วาระประเทศไทยว่าด้วยความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นตำบลบ้านเลือก”           
  8. การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะที่มาศึกษาดูงานกับคณะกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก
  9. การเยี่ยมชมชุดนิทรรศการ “การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น”
  10. การเยี่ยมชมสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนบนฐานวัฒนธรรมลาวเวียง
  11. การเดินเยี่ยมชมวิถีชีวิตชุมชนวัฒนธรรมลาวเวียง
  12. การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านลาวเวียงบ้านขนุน
  13. การรับประทานอาหารกลางวันด้วยอาหารพื้นบ้านลาวเวียง
  14. การแสดงดนตรี “แคนวง” ด้วยเพลง “ลาวแพน” ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมของลาวเวียง
  15. การจัดการเรียนรู้ผ่านสัญลักษณ์หรือสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นจริงในทางประวัติศาสตร์ของลาวเวียงผ่านสื่อศิลปะต่างๆให้เป็นการเรียนรู้ที่ต้องใช้จินตนาการ เช่น การถ่ายทอดผ่านเรื่องราวที่เป็นการบอกเล่าตำนานฟื้นเวียง  คำอุปมาอุปมัยหรือคำทวย(คำทำนายฟื้นเวียง)ด้วยภาษาลาวเวียง
  16. การจัดพิธีการอำลาและแสดงความขอบคุณกับคณะที่มาศึกษาดูงาน

                                                                    

                      

         ผลสรุปจากเวทีการจัดการความรู้ด้วยการจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการนำเสนอความรู้เพื่อการเคลื่อนไหวองค์ความรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้และสื่อเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคมในครั้งนี้พบว่าข้อเสนอที่น่าสนใจคือข้อเสนอของ พลเอกสุรินทร์  พิกุลทองประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)ที่เสนอว่าในการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นนั้น สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกได้จัดกระบวนการที่ดีแล้ว เพียงแต่เสนอให้มีการระบุ ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายเข้าไปด้วย ทั้งที่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จระยะสั้น 1 ปีและตัวชี้วัดระยะยาว 3-5 ปี ซึ่งสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกจะรับไปดำเนินการในระยะต่อไป

                       

หมายเลขบันทึก: 344521เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2010 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท