ไฟเลี้ยว ไฟท้าย หายไปไหน !


%e0%b9%83%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a1   

การเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย นักศึกษาได้รับความรู้เชิงวิชาการและวิทยาการใหม่ๆ เปรียบเสมือนไฟหน้ารถยนต์ แต่การได้มาฝึกงานกับชุมชนในสภาพจริง เป็นการเติมเต็มวิชาชีวิตและสังคม นิสิตได้เรียนกับปัญหาเฉพาะหน้า ตรงจุดนี้ผมเปรียบเสมือนไฟเลี้ยวและไฟท้าย ที่ช่วยเสริมความแข็งแรงและปลอดภัยให้กับลูกหลานของเรา อย่างน้อยจะได้ทำงานร่วมกับชุมชนอย่างเข้าใจเข้าถึง เป็นการเรียนรู้วิธีปรับบทบาทนักวิชาการสายพันธุ์ใหม่ ให้ทำงานได้ทั้งแบบลูกกรุงและลูกทุ่ง อีกทั้งทำให้เกิดความร่วมมือพัฒนาการศึกษาอิงระบบ!

นักศึกษาบ้านเราขาดประสบการณ์ตรงจุดนี้ จบไปแล้วต้องให้องค์กรที่รับเข้างานฝึกอบรมกันใหม่ เพราะความรู้ที่ใช้ จำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านประสบการณ์มาบ้าง ถ้าใครได้ออกไปเรียนรู้ภาคสนามตั้งแต่สมัยยังเป็นนิสิต จะสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เข้ากับทักษะใหม่ๆเฉพาะหน้าได้ดี

ยุคนี้มีเครื่องมือ ให้นักศึกษาค้นคว้าแหล่งวิทยาการได้สะดวก ถ้าสอนวิธีค้นความรู้ให้นักศึกษา ครูบาอาจารย์ก็จะลดชั่วโมงสอน นอกจากเบาแรง มีเวลาไปทำผลงานวิจัยใหม่ๆแล้ว ยังมีเวลานำนักศึกษาลงไปจัดค่ายบัณฑิตอาสา เท่าที่ทราบมีองค์กรกิจกรรมนิสิตบางแห่งได้ดำเนินการเรื่องนี้อยู่บ้างแล้ว แต่ไม่ค่อยได้รับความสำคัญจากคณะผู้บริหารเท่าที่ควร ..ยังทำแบบรีๆข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก

กลุ่มกิจกรรมเหล่านี้ทำไปเพราะใจรัก เพราะตระหนักว่าการเรียนรู้เชิงสังคมนั้นมีความหมายต่อเขามากนัก ยกตัวอย่าง เช่น เจ้าลูกชาย “แผ่นดิน” นำนักศึกษาสายกิจกรรมไปร่วมสันทนาการ จัดหมอลำซิ่งในวันที่เราไปนอนในหมู่บ้าน ผมได้เห็นไมตรีจิตระหว่างนักศึกษากับพี่ป้าน้าอาโต้กลอนลำกันอย่างสนุก ก็รู้ว่า..มันเป็นเช่นนี้หนอ ..การเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา มีความสุข มีความหมายทั้งต่อตนเองและสังคม

เมื่อหลักสูตรยังไม่ขยับ วิธีที่จะยืดหยุ่นให้ลูกศิษย์ได้ออกไปแสวงหาทักษะวิชาการด้วยตนเอง ขึ้นอยู่กับอาจารย์แต่ละท่านจะมองเห็นความสำคัญ อาจจะทำอย่างที่ ..ดร.ภาวินี ภักดี แห่งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทดลองส่งนักศึกษามาที่นี่

เป็นการเพิ่มอ๊อฟชั่นให้กับลูกศิษย์ได้อีกทางหนึ่ง.

สรุป ช่วงนี้ มหาชีวาลัยอีสานเก็บตกชุดความรู้ประมาณ5 ประเด็น

·         ค้นหาวิธีอบรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้ได้ผล

·         ค้นหาวิธีฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการ

·         ค้นหาตัวช่วย พื้นที่ตัวอย่าง เพื่อกระตุ้นความคิดความเข้าใจผู้เข้าอบรม

·         ค้นหากระบวนการฝึกงานนิสิตนักศึกษา

·         ค้นหาวิทยากรเชิงวิชาการผ่านพันธมิตรคนแซ่เฮ

ถามว่า นักศึกษาจะได้เรียนรู้อะไร?

1.   ถ้าเป็นนักศึกษาครูเขาเรียกว่าฝึกสอน แต่นิสิตคณะอื่นน่าจะเป็นการฝึกทบทวนวิทยายุทธที่เรียนมา

2.    ได้ฝึกซ้อมวิธีทำงานกับภาคประชาสังคม

3.    ได้พบปะกระบวนการจัดฝึกอบรมเกษตรกร

4.    ได้เรียนรู้วิธีทำสื่อ ประมวลผล การออกแบบเนื้อหาหลักสูตร

5.    ได้ฝึกทดลองทำหน้าที่วิทยากรกลุ่ม

6.    ได้เรียนรู้สภาพจริงในบรรยากาศระหว่างการอบรมเกษตร

7.   ได้จัดกิจกรรมสาธิตลูกผสมระหว่างวิชาการกับวิชาเกินของแหล่งเรียนรู้

8.    ได้สะท้อนวิชาการ เข้าไปหาอาชีพ เพื่อให้เกิดวิชาชีพ

9.    ได้พบปะ วิทยากรมืออาชีพที่หลากหลาย

ป่วยการที่จะเขียนคำขวัญสวยหรู..

มหาวิทยาลัยมีปณิธารสนองการศึกษาและวิจัยท้องถิ่น

แต่ไม่เบิ่งตาแลออกนอกรั้วสถาบัน

หมายเลขบันทึก: 169293เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2008 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

พ่อขา

หนิงก็คุยเรื่องนี้กับ พนัสอยู่เหมือนกัน  ล่าสุดก็เพิ่งคุยกันเมื่อวานนี้ว่า  ทำไมที่มมส. เราไม่มีหลักสูตรให้นิสิตเป็นคนเต็มคน  คือหนิงเคยเห็นที่ธรรมศาสตร์เขามี  วิชา PE 245 นักศึกษากับการพัฒนาตน  เป็นหลักสูตรบูรณาการ คลิกที่นี่ ที่กองกิจการนักศึกษา  ธรรมศาสตร์  เขาดูแลรับผิดชอบร่วมกัน 

ไม่รู้สินะคะ  หนิงว่า  น่าจะทำให้เราชาวกองกิจการนิสิต (ชื่อฝ่ายจริงๆที่ถูกต้อง  เรียกันว่า ฝ่ายพัฒนานิสิต ค่ะพ่อ) ได้มีโอกาสในการร่วมด้วยช่วยกัน  พัฒนานิสิต  ให้เป็นที่ต้องการของสังคม 

พิมพ์มาตรงนี้ ไม่ใช่อยากวิ่งตามก้นใคร  เพียงแต่ยกตัวอย่างในสิ่งที่เห็นว่าดี  แล้วเราน่าจะนำมาปรับใช้บ้างเนาะพ่อเนาะ

อ้อ  ลืมบอกไปค่ะ  ไม่ใช่ว่าตอนนี้ ขณะนี้  พวกเราชาวกิจการนิสิต ที่มมส.ไม่ทำ  การพัฒนานิสิต  นะคะ  เราทำอยู่เสมอ  แต่ทำไมเรา ต้องทำนอกเวลาราชการ  หรือในวันหยุดราชการเท่านั้น  บางทีก็เหมือนแอบทำ  (ปิดทองหลังพระต่อไป) 

ถ้าไม่มี G2K เราก็ไม่รู้จะไปบ่นที่ไหนนะคะเนี่ย...  อิอิ

หนิงไม่ก้าวก่าย  ว่าอาจารย์(ฝ่ายวิชาการ) บางท่านทำได้เช่นกัน  ทำได้ดีด้วยค่ะ  แต่จะสักที่ท่านหละค่ะที่มีเวลามาใส่ใจกิจกรรมนำแทรกเข้าไปเพื่อพัฒนานิสิตให้เป็นคนเต็มคน  

P

เรื่องนี้คงค่อยๆพูดจากับฝ่ายบริหาร
มหาวิทยาลัยหลายแห่ง มีทิศทางตนเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น
..ชาว มธก.รักมหาวิทยาลัยของเขา เพราะว่ามหามหาวิทยาลัยของเขารู้จักรักคนอื่นด้วย 
" ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน"
หรือ .." กูจบเทพศิรินทร์ กูโกงไม่เป็น" ..กุหลาบ สายประดิษฐ์

มมส.  ผู้มีปัญญาพึงอยู่เพื่อมหาชน  ค่ะพ่อ

มมส.  ผู้มีปัญญาพึงอยู่เพื่อมหาชน 

เป็น Key Word  ที่อลังการณ์มาก  ท่านใดนะที่คิดคำนี้

ชาว มมส.คงต้องช่วยกันคิดเรื่องนี้อย่างจริงจังแล้วละ

พึงอยู่เพื่อมหาชน อยู่ยังไง อยู่แบบไหน อยู่ตรงไหน อิอิ 

  • ขอคุยด้วยคนครับ 
  • สนใจเก็บตกชุดความรู้ทั้ง 5 ประเด็นครับ
  • ไปเยี่ยมวงน้ำชา  ที่เชียงรายมา  ยังไม่ได้เอามาเล่าให้ฟัง  อิอิ
  • นี่นักการอิ่มกับนักการเมี่ยงก็จะไปอบรมเพิ่มเติมที่เชียงรายเพื่อเพิ่มวิทยายุทธอีก  อยากไปเหมือนกัน  แต่จัดสรรเวลาไม่ได้  รอ 2 นักการกลับมาเล่าให้ฟังดีกว่า  อิอิ 

P

  • 2 นักการ ออกทะยาน ไปประลองยุทธ
  • เมื่อไหร่นะจะมาที่นี่
  • จะชวนตี กระบี่ กระบอง
  • เพราะไม่มีวิทยายุทธอะไร 
  • ถ้าใคร มาสอน ก็ยินดี  อิอิ

รายงาน - เจ้าเป็นไผ

2 หนุ่มหล่อ ที่มาฝึกงาน

คนแรกชื่อ : นายอมรเทพ ประทุมมา "เทพ"

คนที่สองชื่อ: นายศุภชัย สุนาโท "โต้ง"

ทั้งคู่เรียนปี 3 คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น

การบ้านยกที่1

  1. ศึกษาภาพรวม และบริบทมหาชีวาลัยอีสาน
  2. ช่วยดูแลปรับปรุงระบบเลี้ยงปศุสัตว์ในศูนย์ฯ
  3. ทดลองเลี้ยงขุนลูกโคผอม ด้วยอาหารข้น ฟางหมัก 5ตัว
  4. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวบ้าน
  5. ทำหน้าที่วิทยากรผู้ช่วยระหว่างการฝึกอบรมเกษตรกร
  6. บันทึกรายงานประจำวัน
  7. ค้นคว้าความรู้ผ่านG2K
  8. ให้ข้อเสนอแนะ
  9. ช่วยดูแลงานสาธิต -แปลงผัก-แปลงเพาะชำ-แปลงไม้ไผ่

http://gotoknow.org/blog/dss-msu/168866#top

รายการประสานตั๋ว สายการบินต่างๆ

โดย หนู หนิง ราคาน่าสนใจ สอบถามกันเองได้เสมอ ที่

ทัวร์หนิงกลิ้งเกาะภูเก็ต

http://gotoknow.org/blog/paew/169073

ข้อเขียนชวนคิด จากอาจารย์แป๋ว

อ่านแล้ว อิอิ

คำตอบไปนอนรอที่ภูเก็ต แล้ว

  • สวัสดีครับอาจารย์ เฉียบขาด จริงๆครับ เรื่องไฟท้าย-ไฟหน้า

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท