มาอวดความดีกันเถอะ


(ปีนี้คนดีปลูกต้นไม้แล้วหรือยัง)

ท่ามกลางวิกฤติทุกกระแส ทุกอย่างพลิกคว่ำพลิกหงาย เราได้รับผลกระทบไม่เท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับวาสนาชะตากรรมของแต่ละคน ที่ดูดซับความพอดีพอเพียงไว้ในชีวิตอย่างไร สังคมรอบด้านเปลี่ยนแปลงทุกวัน เราต่างสัมผัสสัมพันธ์ตามเงื่อนไขแห่งตน การดิ้นรนแก้ไขปัญหาขึ้นอยู่เราไปเกี่ยวกระหวัดอะไรไว้กี่มากน้อย

   ทางออกส่วนตน

   ทางออกส่วนรวม

   ทางออกของชาติ

วันนี้ ยังหาเจ้าภาพและคนรับผิดชอบไม่เจอ ทั้งรัฐบาลทั้งม็อบยังวิตกจริตทั้งคู่ ผลพวงนี้โทษใครไม่ได้หรอก ตลอดระยะที่ผ่านมา ตั้งแต่มีแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เราดำเนินตามแผนพัฒนาที่ไม่พัฒนา เมื่อพัฒนาคนไม่ได้เท่าที่ควร ความรู้ไม่พอใช้ สิ่งที่ติดลบก็แสดงอาการ ระบบการศึกษา สังคม การเมือง เศรษฐกิจ วิกฤติจวนจะวิบัติอยู่รอมมะร่อ 

..ถามว่าพ่อรูปหล่อกำลังคิดและทำอะไร?

วิกฤติโลกกระพือโหม นักก่อการทางสังคมไทยกลับตอบโต้น้ำลายกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เรียกว่าเอาเรื่องขี้ผงมาทับถมปัญหาของชาติ ใครจะมีอำนาจ ใครจะบ้าอำนาจ ใครจะโกงจะกิน อลวนกันอยู่แค่นี้ มองไม่เห็นปัญหาตัวจริงของชาติ ไม่ตระหนักว่า วันนี้เราจะทำให้ประเทศชาติเป็นปกติสุขได้อย่างไร  

คนไทยเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ผู้ที่แก้ไขปัญหาของชาติคือนักการเมืองหรือรัฐบาลเท่านั้น การคิดอย่างนี้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร พิสูจน์ให้เห็นมาแล้วจากทุกรัฐบาล สรุปได้ว่า การฝากบ้านเมืองไว้กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่พอหรอก สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยหรือรัฐธรรมนูญเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น พลังขับเคลื่อนสังคมแท้จริงอยู่ที่ไทยทุกคน จะตระหนักในการรับผิดชอบบ้านเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อมแค่ไหน?

ขออภัยที่บ่นให้อารมณ์บูดแต่เช้า ผมทราบดีว่าแต่ละท่านมีพันธกิจในหน้าที่หนักอึ้งกันทั้งนั้น แต่ปัญหาสังคมก็ไม่อาจดูแคลนได้ เอาอย่างนี้ดีไหม ..ทำงานในหน้าที่ด้วย ดูแลสังคมไปด้วย

จะทำอย่างไรละ?

ทุกคนมีความรู้ ความสามารถ ความถนัดในตัวอยู่แล้ว ยอมเหนื่อยเพิ่มอีกหน่อย เอาทักษะชีวิตออกมาบูรณาการสังคม ร่วมด้วยช่วยกันคิดช่วยกันทำ เราจะช่วยเหลือบ้านเมืองอย่างไรได้บ้าง

   

    

(ไม้ไผ่ให้หน่อ ให้ลำต้น ให้ไม้เรียว)

เมื่อหลายปีมาแล้ว ผมบรรทุกต้นไผ่เหลืองไปเมืองทองธานี

มอบให้ท่านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต แห่ง..เสถียรธรรมสถาน

จัดนิทรรศการ หลายปีผ่านไป เจอหน้ากัน ท่านเรียกไปพบ..

พ่อสุทธินันท์ ช่วยบอกเบอร์บัญชีธนาคารหน่อย

จะฝากสตังค์ไปให้ซื้อปุ๋ยใส่ต้นไผ่ที่สวนป่า

โธ่!..กี่ปีแล้วนี่..ท่านไม่เคยลืมต้นไม้เลย

 

(หน่อแรกแห่งปี ของไผ่หม๋าจู โผล่มาแล้วครับ)

ชาวG2K.ทุกท่านทำหน้าที่บริบาลสังคมอยู่แล้ว

เพียงแต่ไม่ค่อยจะเขียนมาเล่าสู่กันฟัง

หลายคนอาจจะเกรงว่า เป็นการอวดตัว อวดดี

มันไม่ใช่อย่างนั้นหรอก  ตาหวาน

การแชร์ความดี เป็นโอสถวิเศษที่หล่อเลี้ยงกำลังใจให้แช่มชื่น

Key Word

: มนุษย์เอ๋ย..ฝนดีอย่างนี้ มาปลูกต้นไม้กันเถอะ..

หมายเลขบันทึก: 186989เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2008 07:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สวัสดีค่ะพ่อครู

* อารมณ์ไม่บูดหรอกค่ะยามเช้าได้ดูต้นไม้สดชื่นดีค่ะ

* เช้าวันนี้ดูว่าโตกว่าเมื่อวานเย็นสักแค่ไหน....เท่านี้ก็เห็นการเจริยเติบโตที่ค่อยเป็นค่อยไปของธรรมชาติค่ะ

* เราก็ยินดีและดีใจที่ทีละนิดเมื่อต้นไม้เติบโต.....เมื่อโตเต็มที่ความยินดีก็คงที่ค่ะ

* เป็นความรู้สึกเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อได้ปลูกและดูแลต้นไม้ค่ะ

* พ่อครูดูแลสุขภาพด้วยนะคะ...และมีความสุขรับฤดูฝนค่ะ

สวัสดีค่ะ ทำความดี กี่ปีกี่ปีก็ไม่มีเสื่อมสลายค่ะ

P

P

 

ขอบคุณ สมาชิกรอบเช้า สบายดีนะครับ

ขอให้ใจเป็นสุข ตลอดวันนี้ และวันหน้า

เอาแล้วสิ..

มีสมาชิกสนใจทำความดีกับต้นไม้!

เยี่ยมเลยครับ ขออนุโมทนากับความคิดนี้

อ๋อ..อยู่ในเมืองไม่สะดวกปลูก

อยากจะฝากบุญ ร่วมด้วยช่วยกุศล

  • ถ้าจะบำรุงต้นไม้แบบประณีต
  • แต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์
  • ค่าปุ๋ย ค่าแรง ต้นละ 20 บาทครับ
  • ส่วนค่าถ่ายรูปไปอวดฟรีครับ
  • เราจะรายงานความก้าวหน้าผ่านBlog ครับ
  • เป็นการสร้างงานให้ชาวบ้าน
  • ช่วยให้อาหารต้นไม้ด้วย
  • ทำดีก่อนเข้าพรรษา น่ารักที่ซู๊ด ละขอรับ!

สวัสดีค่ะ

* มารับพรอีกรอบค่ะ....ขอให้พ่อครูมีความสุขเช่นกันค่ะ

มารับพร....ครับ......สาธุยาวๆ.....

ผมมีกำลังทรัพย์น้อยนิด ช่วยเป็นกำลังใจได้ไหมครับพ่อครูบา

เมื่อปี ๓๗ แม่ไปซื้อที่ดินแห่งหนึ่ง ด้านหลังของที่ดินไม่มีหลักฐานแต่ป่าถูกทำลายจนไม่เหลือต้นไม้ใหญ่ ที่เห็นก็มีตอไม้ถูกเผาบ้าง ผมก็เลยไปขอพันธุ์ไม้ที่ศูนย์เพาะชำของป่าไม้ ขอกระถินเทพามา ๒๐๐ ต้น ขอต้นกระท้อน มะปราง มาจำนวนหนึ่ง แล้วจ้างคนงานขุดหลุมและผมกับลูกๆไปช่วยกันปลูกกับคนงาน วันนี้หลังที่ดินแม่เป็นป่าไปเรียบร้อย เมื่อวานไปสวนของแม่มา เห็นต้นไม้แล้วชื่นใจ พ่อครูขึ้นบันทึกนี้ได้จังหวะพอดีเลยเอารูปป่าที่ปลูกเองมาอวดกันครับ

P

 

ขอชื่นชม ผมมีพันธุ์อาคาเซียที่เหมาะกับสภาพที่เห็น วันหลังจะไปดูว่ามันมีเมล็ดแล้วหรือยัง

P

เรียนท่านครูบา

  • สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยหรือรัฐธรรมนูญเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น พลังขับเคลื่อนสังคมแท้จริงอยู่ที่คนไทยทุกคน จะตระหนักในการรับผิดชอบบ้านเมืองทั้งทางตรงและทางอ้อมแค่ไหน? ป้าจุ๋มเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
  • แต่ช่างเถอะค่ะเรามามาช่วยกันรีบเร่งปลูกต้นไม้กันดีกว่า..เอาให้ทันฝนนี้ให้ได้...
  • วันที่ 11 หรือ 12 มิ.ย.นี้ป้าจุ๋มจะนำเมล็ดและต้นกล้าเอกมหาชัย ไปปลูกเอาฤกษ์เอาชัยก่อนท่าจะดี  ยิ่งถ้าท่านพลเอกเอกชัย ได้มาเป็นประธานการปลูกจะยิ่งถือว่าเป็นเกียรติ์อย่างยิ่งสำหรับการเริ่มต้นปลูกป่าเพื่อถวายบารมีในหลวง เป็นโครงการที่มหาชีวาลัยอีสานจะได้ดำเนินการต่อไป
  • สำหรับต้นกล้าที่พร้อมปลูกที่สูงประมาณ 75 ซ.ม.ป้าจุ๋มคิดว่าจะสามารถหาได้ประมาณ 30 ต้น ส่วนเมล็ดคิดว่าคงได้ประมาณ 5 หมื่นเมล็ดค่ะ
  • ท่านครูบาลองเตรียมสถานที่ปลูกไว้นะคะ คิดว่าเช้าวันเสาร์ที่ 14 มิ.ย. นี้น่าจะดี เพราะหมอเจ้และทีมกระบี่ก็จะมา ได้ข่าวว่าน้องอึ่งอ๊อป และคุณหมอเบร์ด รวมทั้งป้าจุ๋มก็มา หรือจะมีทีมคนสวยแซ่เฮท่านใดว่างมาสมทบเพิ่มอีกก็จะสุดยอดไปเลยจ้า...และอีกครั้งน่าจะเป็นช่วงเข้าพรรษาค่ะ
  • ไม่ทราบท่านอัยการชาวเกาะสนใจต้นเอกมหาชัย เพื่อนำไปปลูกที่ภูเก็ตบ้างไหมคะ ปลูกตามไหล่เขาน่าจะดีนะคะ เพราะโตเร็วและระบบรากดีมาก ที่สำคัญต้นไม้ต้นนี้มีประโยชน์ทุกส่วน จัดเป็นพืชสมุนไพรได้  เป็นไม้โตเร็ว เปลือก ใบ ลูก ใช้เป็นยาได้หลายอย่าง ไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดี ทรงต้นและใบก็สวย ทางรัฐFlorida นำไปปลูก เรียก  The Paradise trees  
  • รักและคิดถึงพี่น้องตระกูลแซ่เฮ เสมอ

สวัสดีครับท่านครูและป้าจุ๋ม

    ขอบพระคุณมากๆ เลยครับ พอได้ชื่อภาษาปะกิตทำให้ค้นหาต้นไม้ต้นนี้ให้รู้จักเค้าได้เยอะขึ้นเลยครัีบ

ไปค้นเจอ เลยนำมาถามว่าต้นนี้ไหมครับ ประกอบกับได้รับภาพจากท่านครูฯวันก่อน เลยคิดว่าใบคล้ายๆ กันครับ ผมอยากเห็นเมล็ดของเค้าครับ ว่าเป็นอย่างไร

ขอบพระคุณครับ

NativePlantFan9
Thumbnail #1 of Paradise Tree, Bitterwood (Simarouba glauca)
NativePlantFan9
Thumbnail #2 of Paradise Tree, Bitterwood (Simarouba glauca)
NativePlantFan9
Thumbnail #3 of Paradise Tree, Bitterwood (Simarouba glauca)
NativePlantFan9
Thumbnail #4 of Paradise Tree, Bitterwood (Simarouba glauca)
arielsadmirer  
Thumbnail #5 of Paradise Tree, Bitterwood (Simarouba glauca)

พ่อครูบาคะ

  • กำลังปลูก "เด็ก" ค่ะ..อิ..อิ..
  • มีการบ้านฉบับยาวมาส่ง 1.ที่นี่ 2.ที่นี่ 3.ที่นี่ และ 4.ที่นี่ ค่ะ
  • คิดถึงพ่อครูบา  แม่หวี และทุกคนจังเลยค่ะ..

วันนี้...ชาติเรามีความหวังมากขึ้น..ครับ...ที่เห็นท่านครูบา..เปิดประเด็นปลูกป่าปลูกต้นไม้ หลายคนมีใจ...เป็นพลังเครือข่าย..ให้กำลังใจ...เห็นด้วยและนำเด็กๆ(นักเรียน)ปลูกทั้งป่าและปลูกต้นเบี้ยแห่งความดีทุกปีครับ...และจะปลูกเพิ่มมากขึ้น..ครับ?? (ผอ.สระคูณ)

เรียนท่านครูบาและคุณเม้ง

  • ได้แอบอ่านสิ่งดีๆที่คุณเม้งpostมาผ่านทางblogท่านครูบามานานแล้ว ขอชื่นชมและขอบคุณกับความรู้ต่างๆ ขอให้คุณเม้งทำดีต่อไปนะคะ ชาติกำลังต้องการ เรียนจวนจบหรือยังคะ ถ้ายังก็ขอให้โชคดีค่ะ และขอให้จบไวๆ แต่ถ้าจบแล้วก็ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ (บางช่วงอาจตกข่าวไปบ้างก็ขออภัย)
  • ต้นเอกมหาชัยนี้  เป็นชื่อไทยที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ์แก่นักวิชาการของกรมวิชาการเกษตรท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้นำมาปลูกในเมืองไทยเกือบ 30 ปีแล้วแต่ก็มิได้นำพา อิ..อิ(เอาภาษานางทาสมาสะหน่อย)คือไม่มีคนสนใจ เพิ่งจะมาเริ่มสนใจตอนที่ตั้งชื่อเป็นภาษาไทยนี่แหละ  มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Simarouba glauca  นำมาสกัดน้ำมันได้ประมาณ  50-65%และน้ำมันมีคุณภาพใกล้เคียงกับพวกน้ำมัน Olive ทีเดียว โตเร็ว ระบบรากดี มีประโยชน์ทั้งต้นเลยทีเดียว และน่าจะมองในแง่พลังงานทดแทนด้วย จึงคิดว่าน่าจะส่งเสริมให้เร่งปลูกเฉพาะทางภาคอีสาน คุณเม้งคงค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ไม่ยากหลังจากทราบชื่อวิทยาศาสตร์แล้ว เป็นต้นไม้ที่น่าสนใจจริงๆค่ะ

สวัสดีครับท่านครูและป้าจุ๋ม

    ขอบพระุุคุณมากครัีบ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมนะครับเกี่ยวกับต้นเอกมหาชัย (นี่ผมกะว่าจะตั้งชื่อต้นลุงเอก แล้วนะครับ อิๆ) สิ่งที่น่าสนใจคือ ปริมาณน้ำมันที่ได้จากการสกัดนะครับ น่าจะมีการศึกษาวิจัยให้เต็มที่นะครับ หากมีโอกาสผมจะลองดูด้วยนะครับ เผื่อสามารถนำแบบจำลองที่ทำอยู่ไปประยุกต์ใช้ดูด้วยนะครับ

ขอบคุณมากๆ เลยครับ

  • กราบสวัสดี พ่อครู ที่เคารพ
  • นำความดีชาวสองแคว ชาวมหาวิทยาลัยนเรศวรมาอวด เมื่อปี พ.ศ 2530
  • อยากไปปลูกต้อนไม้วันเข้าพรรษาอีกเจ้าค่ะ ประเภท คนรักต้นไม้ค่ะอิอิ

มาบอกป้าจุ๋มผ่านบันทึกพ่อครูบา

สนใจมากๆต้นลุงเอก อิอิ ฝากพี่หมอเจ๊ไปก็ได้ครับ พี่หมอเจ๊เอารถตู้ไปใส่ได้เยอะ อิอิ

P

เรียนท่านครูบา  ท่านอัยการฯ คุณเม้ง

  • เรื่องชื่อต้นไม้พิเศษต้นนี้ ท่านครูบาเองก็ถามป้าจุ๋มมาว่าเขาเรียกว่าต้นอะไรน๊ะเอกๆๆชัยๆๆนี่แหละจำไม่ได้สักที  บางทีทำเอาป้าจุ๋มงงเหมือนกัน ต้องตั้งสติว่าชื่ออะไรแน่ ไม่ใช่ต้นลุงเอกแน่นอน ชื่อเอกมหาชัย  จ้า  ท่านครูบาบอกว่าทำไมไม่ตั้งชื่อเอกชัยเสียเลยจะได้จำง่าย  หมู่นี้รู้สึกว่าชื่อลุงเอกอยู่ในใจชาวG2Kและชาวตระกูลแซ่เฮทุกคนเลยน๊ะ ป้าจุ๋มลองซาวๆเสียงดูแล้วรู้สึกว่าลุงเอกจะเป็นหวานใจพวกเราทุกคนเลยน๊ะ ลุงเอกรู้ตัวหรือเปล่าคะ ถ้าให้ชาวG2K   เลือกนายกรัฐมนตรีตอนนี้รับรองลุงเอกได้รับเลือกตั้งเสียงเป็นเอกฉันท์เลยแหละ  หมู่นี้ดูท่าคนที่ชื่อมีติดคำว่าเอกๆๆชัยๆๆท่าจะดังกันใหญ่แล้วกระมังคะนี่ระวังลุงเอกได้เป็นนายกฯจริงๆไม่รู้ด้วยนะคะ
  • สำหรับท่านอัยการฯ ป้าจุ๋มนับเมล็ดพันธุ์เอกมหาชัยไว้ให้เป็นพิเศษแล้ว 999 เมล็ดห่อใส่กล่องเรียบร้อยแล้วค่ะ  สำหรับที่ลาดชัน มีเชิงเขามากเหมือนที่ภูเก็ตน่าจะดีนะคะ เพราะโตเร็วและระบบรากดีมากอาจช่วยยึดดินไว้น่าจะป้องกันland slide ได้ดีค่ะ แล้วทรงพุ่มก็สวย ใบสวย ดอกน่ารัก ลูกก็น่ารักค่ะดีไปหมดเหมือนพี่น้องตระกูลแซ่เฮเรานี่แหละค่ะ
  • ไว้ป้าจุ๋มจะส่งCDภาพไปให้ท่านอัยการฯดูค่ะ ป้าจุ๋มมีปัญหาเรื่องโหลดภาพเข้าblog ไม่งั้นพวกเราได้เห็นภาพนานแล้วค่ะ
  • รักและคิดถึงพี่น้องตระกูลแซ่เฮทุกท่านค่ะ

มีเอกสารอ้างอิงครับ ตัดตอนมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง

        4. มะกอก “เอกมหาชัย” เมื่อปี 2541 ได้มีรายงานที่น่าสนใจจากสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ชื่อคุณปัญญา เอกมหาชัย ที่ไปผึกงานที่ศูนย์วิจัยเกษตรเขตร้อนระหว่างประเทศ (CIAT) ที่เมือง Cali ประเทศ Colombia เมื่อประมาณปี 2518 ได้นำ เมล็ดพันธุ์ติดตัวเข้ามาทดลองปลูกเป็นไม้ประดับที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ต่อมาพบว่า ไม้ชนิดนี้เติบโตเร็ว ต้นโต กิ่งก้สนใหญ่ให้ร่มเงาดี ใบเป็นเงา จึงได้นำ เมล็ดพันธุ์ไป ทดลองปลูกตามศูนย์วิจัย และสถานีทดลองพืชไร่ต่างๆ เช่น ที่เชียงใหม่ (แม่โจ้ และ พร้าว) ชัยนาท ระยอง มุกดาหาร เลย เพชรบูรณ์ อุบลราชธานี และศรีสำโรง และเมื่อลองเก็บเมล็ดแก่มาวิเคราะห์นํ้ามันโดยกองเกษตรเคมี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2541 พบว่ามี กรดไขมัน Oleic acid สูงถึง 52.33 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเมล็ดปาล์มนํ้ามันทานตะวัน ถั่วเหลือง และคำ ฝอย แต่มีกรดนํ้ามัน palmic ตํ่ากว่าปาล์มนํ้ามัน และนํ้ามันมะพร้าว และมีองค์ประกอบกรดไขมันใกล้เคียงกับนํ้ามันมะกอก และเมื่อให้นักอนุกรมวิธานจำ แนกแล้วจึงทราบว่าพืชชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "Simarouba glauca" อยู่ในวงศ์ Oleaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ มะกอกนํ้ามัน (Olive) และเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้นำ เข้ามาคนแรกทางสถาบันวิจัยพืชไร่ จึงตั้งชื่ออย่างไม่เป็ฯทางการว่าต้น "เอกมหาชัย"

        จากการพิจารณาเบื้องต้น ต้น “เอกมหาชัย” มีนํ้ามันที่มีคุณภาพด้อยกว่า นํ้ามันมะกอกเล็กน้อย แต่ดีกว่านํ้ามันปาล์ม และในแง่ของกรดไขมัน Oleic acid “เอกมหาชัย” มีสูงกว่านํ้ามันทานตะวัน ถั่วเหลือง และคำ ฝอย แต่มีปริมาณกรดไขมัน Linoleic acid น้อยกว่านํ้ามันทั้งสามชนิด

        ดังนั้น “เอกมหาชัย” น่าจะมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพืชนํ้ามันเศรษฐกิจในเขตที่ดอน ที่มีฝนน้อยอีกพืชหนึ่งของไทยในอนาคต

บทความนี้ช่วยอธิบายอะไรได้หลายเรื่อง

  1. ข้อจำกัดในการสืบค้นข้อมูลของผม ถ้ามีคนช่วยก็จะคลายใจไปมาก เพราะการเสนอเรื่องโดยที่ไม่ชัดเจนนั้นตะขิดตะขวางใจยิ่งนัก
  2. ข้อมูลที่ได้ นำไปสู่การวางแผนการปลูก เกิดความมั่นใจ และตั้งใจปลูกยิ่งขึ้น
  3. การที่ทราบข้อมูลระดับนี้ ทำให้เกิดคำถามต่อ ในกรณีการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสม ควรใช้ไปประกอบการกับเรื่องใด ที่ไหนเขาพัฒนาการในเรื่องนี้บ้าง
  4. ไม้ชนิดนี้มีจุดอ่อนอย่างไร? ทำไมปลูกตั้งนานแล้ว ถึงไม่เห็นมีนักการป่าไม้ หรือใครๆเห็นความสำคัญ สาเหตุเป็นเพราะอะไร
  5. ในประเทศไทยมีใครวิจัยเกี่ยวกับไม้ชนิดนี้บ้าง
  6. ในประเทศถิ่นเกิด เขาจัดการกับไม้ชนิดนี้ในระดับไหน อย่างไร
  7. น้ำมันที่ได้ เอาขั้นต้น เราจะเอามาใช้ในชีวิตประจำวันด้านใดได้บ้าง

 ถ้าถามจู้จี้ขออภัย คำถามของคนโง่มักสับสนอย่างนี้เองละขอรับ 

ขอขอบคุณด้วยไข่ไก่ต๊อก ส่งไปทางไปรษณีย์ เมื่อเช้านี้

ต้มไข่กิน ใจเย็นๆ ว่างๆ ค่อยหาข้อมูลต่อก็ได้ รอได้

และจะปลูกไม้ชนิดนี้รอ

ขอแต่ให้เป็นต้นไม้

ก็พอใจ และยินดีที่จะปลูกแล้ว ไม่เรื่องมากใดๆกับต้นไม้ทุกชนิด

 อิ อิ

ข้อมูลของป้าจุ๋มน่าจะดีที่สุดครับ เพราะเป็นข้อมูลจากแหล่งโดยตรง

ส่วนข้อมูลบนเน็ตนั้น พบข้อมูลอีกสองอันครับคือ

ส่วนการค้นข้อมูลภาษาอังกฤษนั้น ยังไม่ได้ดูละเอียดเนื่องจากไม่ใช่สาขาที่ชำนาญครับ เท่าที่แปลรูปร่างสัณฐานมา คือความสูง 40-50 ฟุต พุ่มใบกว้าง 25-30 ฟุต (ถ้าปลูกห่างกันน้อยกว่า 60 ฟุต เมื่อโตแล้ว ใบจะชนกัน) กิ่งยาว 16 นิ้ว ใบยาว 3 นิ้ว -- ในสหรัฐปลูกที่ชายฝั่งปลายแหลมฟลอริด้า กับชายทะเลแคลิฟอร์เนียใต้สุดติดเม็กซิโก

รูปอื่นๆครับ

คืนนี้ เพิ่งรู้ว่าไม่ต้องขายของเก่าแลกไข่แล้ว แต่ใช้วิธีค้นข้อมูล ก็แลกไข่ได้

ขอบพระคุณมากครับ

ต่ออีกนิดก่อนไปนอนครับ สำหรับข้อมูลการปลูก ข้อมูลจากอินเดีย ให้รายละเอียดมากที่สุดครับ

  • อุณหภูมิ 10-40 oC
  • น้ำฝนอย่างต่ำ 400 มม. (ภูเก็ตน่าจะเหมาะ)
  • ดินมี pH 5.5(กรด)-8(ด่าง) และมีชั้นของดินอย่างน้อย 1 เมตร
  • น้ำมันที่กลั่นจากเมล็ด กินได้
  • เมล็ด 4 ตัน กลั่นน้ำมันได้ 2.6 ตัน และเป็นกาก 1.6 ตัน
  • ให้น้ำมัน 160-320 กก./ไร่/ปี (400-800 kg/acre/year ผมคงคิดเลขไม่ผิด) และให้กากในน้ำหนักใกล้เคียงกัน
  • น้ำมันนำไปทำ เชื้อเพลิง สบู่ ผงซักฟอก น้ำมันหล่อลื่น น้ำยาเคลือบเงา เครื่องสำอาง ยา ฯลฯ; กากเมล็ดที่กลั่นน้ำมันออกไปแล้ว มีสารอาหารสำหรับพืช ไนโตรเจน 8% ฟอสฟอรัส 1.1% โปแตช 1.2%; เปลือกเมล็ด เอาไปทำ particle board (แปลว่าอะไรดี) ถ่านกัมมัน (activated charcole ใช้ดูดกลิ่น) หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยการเผาแทนถ่าน; เนื้อของผล (fruit pulp) มีน้ำตาล 11%
  • ความถี่ในการปลูก 80 ต้น/ไร่ (200 plants/acre) ปลูกในหลุมขนาด 45x45x45 ซม. รองก้นหลุมครึ่งหนึ่งด้วยดินผิวหน้า

กราบพ่อครูค่ะ

เพิ่งทราบชัดๆว่าต้นเอกมหาชัยนี่เค้ามีน้ำมันสูงมากนะคะ เพราะเท่าที่เบิร์ดจำได้เมล็ดสบู่ดำจะมีปริมาณน้ำมันประมาณ 30 - 35% ได้มั้งคะ แต่นี่เค้ามีตั้ง 50 - 65 % เยอะจังค่ะ

ส่วนปาล์มน้ำมันที่็ี่ให้ผลผลิต
น้ำมันต่อหน่วยพื้นที่ สูงที่สุดก็ได้ประมาณ 640-800  กิโลกรัมน้ำมันต่อพื้นที่ปลูก  1 ไร่..เอกมหาชัยได้ประมาณ
160-320 กก./ไร่/ปี..เอ..แปลกจริงเค้าให้ผลปีละครั้งเหรอคะถึงคิดเป็นต่อปี?

เบิร์ดเห็นเค้าถูกเรียกว่ามะกอกเอกมหาชัย ..และลักษณะผล ใบก็คล้ายมะกอกมาก ทำให้เบิร์ดนึกถึงข้อจำกัดของมะกอกในการนำมาทำน้ำมัน ( Olive Oil) ซึ่งไม่แน่ใจว่าผลของต้นเอกมหาชัยจะมีข้อจำกัดแบบเดียวกันหรือไม่นะคะ 

เพราะกระบวนการหีบเอาน้ำมันจากผลมะกอกมิใช่เป็นเรื่องง่ายๆเลยค่ะพ่อ ต้องผ่านหลายขั้นตอนอย่างพิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การคัดและเก็บผลด้วยคนงาน เครื่องจักรทำแทนไม่ได้เลย เพราะผลมะกอกแก่ไม่พร้อมกันค่ะ อีกทั้งต้องระมัดระวังมิให้ผลเกิดเสียหายในตอนเก็บและขนส่งไปโรงงาน

การคั้นน้ำมันมะกอกที่ดีเป็นวิธีการหีบเย็น (cold press) แบบโบราณนะคะ เริ่มด้วยการโม่ผลมะกอกให้เนื้อแหลก แล้วเอาไปเข้าเครื่องหีบน้ำมันออกโดยไม่ใช้ความร้อนเข้าช่วยเลยค่ะพ่อ

น้ำมันที่ไหลออกมาจากการหีบครั้งแรกถือเป็นน้ำมันคุณภาพดีที่สุด มีความบริสุทธิ์เพราะเป็นน้ำมันแรก การหีบครั้งต่อๆไปต้องใช้แรงมากขึ้น น้ำมันที่ได้ก็มีคุณภาพด้อยลง ทั้งหมดนี้ใช้เครื่องมือทำจากหินและแรงคนเป็นหลักค่ะ ทำให้น้ำมันมะกอกแพงมากๆ

ปัจจุบันมีโรงงานกลั่นน้ำมันมะกอกสมัยใหม่ที่ใช้ความร้อนและเครื่องจักรในการโม่และกลั่นน้ำมันมะกอก แต่น้ำมันมะกอกแบบนี้มีคุณภาพไม่ดีเท่าแบบวิธีหีบเย็นแบบเก่าค่ะ หลังจากหีบเอาน้ำมันมะกอกได้แล้ว ก็ต้องเอามาเก็บไว้ในห้องใต้ดินที่มีอุณหภูมิเย็นพอเหมาะเป็นเวลาหลายสัปดาห์ เพื่อให้เศษผงต่างๆจมตัว จากนั้นจึงนำมากรองและบรรจุขวดขาย ^ ^...

ถ้าเอกมหาชัยบีบน้ำมันได้ง่ายและผลสุกพร้อมกันก็น่าจะดีค่ะพ่อ

แต่สรุปว่าพืชตัวนี้น่าสนใจค่ะ อิ อิ

เรียน   พ่อครู ฯ ที่เคารพรัก

  • สิ่งที่เกิดขึ้น คงต้องน้อมรับในบางส่วนนะคะ ว่ามันก็คือผลพวงของระบบการศึกษา ระบบการเรียนรู้ ระบบการรับรู้ของ "บ้านเรา" ค่ะ
  • คนที่สร้างความเสียหาย ก็เป็น "คนบ้านเรา" เองหล่ะค่ะ
  • วิธีการด่าทอและตราหน้าคนดี คนเลวอาจไม่ช่วยเรื่องการปลุกจิตสำนึก  
  • แต่ได้อานิสงเรื่องการกระจายการรับรู้ค่ะ
  • เพียงแต่ หากจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน คงต้องเปลี่ยนกันที่โครงสร้างความคิดเลยหล่ะค่ะ
  • ซึ่งไม่ง่าย
  • แต่ทำได้ค่ะ
  • เชื่อค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท