ชมรมยุวชนเพื่อนที่ปรึกษา (YC-Youth Counselor) ร.ร.บ้านกันเตรียง


เพื่อนที่ปรึกษา (YC-Youth Counselor) โรงเรียนบ้านกันเตรียง สพท.สุรินทร์ เขต 1

การจัดกิจกรรมนักเรียน : เพื่อนที่ปรึกษา (YC-Youth Counselor)

โรงเรียนบ้านกันเตรียง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1

                 นักเรียน : เพื่อนที่ปรึกษา  (YC-Youth Counselor)  เป็นการทำงานของยุวชนแนะแนวที่ได้รับการฝึกทักษะที่จำเป็น  เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือเพื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น  จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน  ส่งเสริม  จากผู้บริหาร  ครูแนะแนว  ครูที่ปรึกษาหรือครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแล  และผู้ปกครอง  จะสามารถทำให้การช่วยเหลือเพื่อนประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น

 หลักการสำคัญ

                 หลักการสำคัญที่เป็นเจตนารมณ์ในการส่งเสริม  ให้นักเรียนทำหน้าที่เป็นนักเรียน : เพื่อนที่ปรึกษา  ดังนี้

                1.  การใช้หลักจิตวิทยาของกลุ่มเพื่อน  (Peer  Psychology/Peer  to  Peer-P2P)  เป็นพื้นฐานในการสร้างสัมพันธ์ภาพ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะบุคคลมีสถานภาพแตกต่างกัน เช่น พื้นเพวัย วิถีชีวิตประจำวัน  และมีกิจกรรมร่วมกันจะสนิทสนม  คุ้นเคย ไว้วางใจ สามารถสื่อสารกันได้อย่างเปิดเผยเข้าใจซึ่งกันและกัน      ได้ง่าย

                2.  การให้คำปรึกษาโดยเพื่อน  (Peer  Counseling)  มุ่งให้นักเรียนที่มีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับเพื่อน ได้มี บทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมในกระบวนการแนะแนว  ให้คำปรึกษาเพื่อนนักเรียนด้วยกัน  และการพัฒนา ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  โดยการชี้แนะของครูแนะแนว

                3.  นักเรียน :  เพื่อนที่ปรึกษา  (YC-Youth Counselor)   คือ  นักเรียนที่โรงเรียนพิจารณาคัดสรรว่าเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์  สามารถคิดวิเคราะห์  มีจิตอาสาในการช่วยเหลือผู้อื่น รับฟังให้คำปรึกษาหารือ  และได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถในการให้คำปรึกษาเบื้องต้น และปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษา โดยการ                ดูแลชี้แนะอย่างใกล้ชิดของครูแนะแนว

 วัตถุประสงค์

                1.  เพื่อสร้าง   “นักเรียน : เพื่อนที่ปรึกษา”   เป็นเยาวชนที่มีความพร้อมทั้งในด้านความรู้  (Knowlidge)  ทัศนคติ  (Attitude)  และความสามารถ  (Ability)  ในการให้คำปรึกษา และแนะแนวแก่ผู้อื่นอย่างถูกต้อง  เหมาะสม

                2.  เพื่อให้  “นักเรียน : เพื่อนที่ปรึกษา”  มีบทบาทในการแก้ปัญหาของสังคม  ทั้งในโรงเรียน และชุมชน 

                3.  เพื่อผลักดันให้เกิดเครือข่ายของ  “นักเรียน : เพื่อนที่ปรึกษา” ที่ยั่งยืน  (Youth Counselor) ในโรงเรียน

                4.  เพื่อผลิตสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาโดยการแนะแนวไปยังเยาวชน  ครู-อาจารย์  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  และประชาชนทั่วไป  อันจะสร้างความเข้าใจในการแนะแนวที่ถูกต้อง  และทำให้เกิดการใช้ กระบวนการแนะแนวเพื่อแก้ปัญหาวัยรุ่นอย่างกว้างขวาง

 ความหมายของการให้คำปรึกษาเพื่อน

             การให้คำปรึกษาสำหรับเพื่อน   เป็นวิธีการหนึ่งในการช่วยเหลือเพื่อนด้วยกันเอง  โดยการรับฟัง  สนับสนุน ให้กำลังใจในการแก้ไขปัญหา ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่เพื่อ  เสนอแนะแหล่งช่วยเหลืออื่น ๆ  ที่เพื่อน  ต้องการความช่วยเหลือ  รวมทั้งการส่งต่อเพื่อนไปขอรับความช่วยเหลือจาก YC/ครู-อาจารย์  หรือผู้เชี่ยวชาญ เ.ฉพาะด้าน

 บทบาทหน้าที่ของ YC

             YC  มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้อื่น ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับที่ประสบกับความวิตกกังวล  หรือความยุ่งยากใจให้เข้าใจปัญหาให้ชัดเจน  และพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหา  ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกัน            และกัน  เป็นตัวแบบให้เพื่อน  ช่วยให้เพื่อนเกิดการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาตนเอง  และยังเป็นการช่วยส่งเสริม สัมพันธภาพ ระหว่างเพื่อนด้วยกันอีกด้วย

                YC  ควรได้รับการฝึกอบรมทักษะการให้คำปรึกษา เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่น ที่อยู่ในวัยเดียวกับ สามารถแลกเปลี่ยนค่านิยม  ประสบการณ์  และวิถีการดำเนินชีวิตให้กับผู้รับการปรึกษา  งานที่ทำเป็นงานขั้นพื้นฐาน                              มีข้อจำกัดด้วยทักษะเฉพาะที่ได้รับการฝึกอบรม  และอยู่ภายใต้การนิเทศของผู้เป็นวิชาชีพปัญหาที่ให้การช่วยเหลือเป็นปัญหาทั่ว ๆ  ไปที่ไม่ใช่ปัญหารุนแรงที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ที่เป็นวิชาชีพ  YC เป็นเสมือนสะพานเชื่อมโยงระหว่างเพื่อนกับผู้ที่ให้ความช่วยเหลือที่เป็นวิชาชีพ โดยทั่วไป  YC  ควรเป็นสมาชิกในชุมชนเดียวกัน กับเพื่อนผู้มาของรับการศึกษา

 จรรยาบรรณของ YC

             จรรยาบรรณของ  YC  อาจใช้แนวทางของสมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย   ได้กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ  มีดังนี้

                 1.  เคารพในศักดิ์ศรี  และส่งเสริม  สนับสนุนสวัสดิภาพของเพื่อนผู้มารับคำปรึกษา  และต้องระวังไม่ให้ผู้รับคำปรึกษาได้รับการกระทบกระทั่งทางจิตใจ

                2.  สัมพันธภาพในการให้คำปรึกษา  ซึ่งข้อมูลที่ได้นั้น จะต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับ

                3.  บันทึกต่าง ๆ  ในการให้คำปรึกษา  รวมทั้งบันทึกจากการสัมภาษณ์ ข้อมูลจากแบบทดสอบ เครื่องบันทึกเสียง และเอกสารอื่น ๆ  ถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่จะนำไปใช้จะต้องปกปิดเอกลักษณ์ของเพื่อนผู้รับคำปรึกษา  และระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้เกิดผลเสียหายแก่เพื่อนผู้รับคำปรึกษาทราบ

                4.  ควรชี้แจงเงื่อนไขต่าง ๆ   ของการให้คำปรึกษาให้เพื่อนผู้รับคำปรึกษาทราบ

                5.  ในการให้คำปรึกษา  YC  ต้องหลีกเลี่ยงสภาพที่จะทำให้เพื่อนผู้รับคำปรึกษาอยู่ในภาวะขัดแย้งในใจ

                6.  ยุติคำปรึกษา  เมื่อ  YC  ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือผู้รับคำปรึกษาได้อีกต่อไป และให้ส่งต่อไปพบผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมต่อไป

                7.  หากได้รับข้อมูลที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น  YC  ต้องรายงานให้แก่ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง ในแนวทางที่ไม่เปิดเผยว่าได้รับข้อมูลจากเพื่อนผู้รับคำปรึกษาคนใด

 คุณสมบัติของนักเรียน  :  เพื่อนที่ปรึกษา

                 1.  เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางด้านจิตเมตตา  จิตอาสา  รับฟัง  ช่วยเหลือผู้อื่น  เข้าใจผู้อื่นมีมนุษย์สัมพันธ์  มีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งรอบตัว  เป็นต้น

                2.  สามารถให้คำปรึกษา และแนะแนวทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

                3.  สามารถหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้อื่นในเบื้องต้นได้

                4.  มีทักษะในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

                5.  ได้รับการฝึกทักษะที่จำเป็น  เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือเพื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ YC  โรงเรียนบ้านกันเตรียงทำงานให้มีประสิทธิภาพ

 

  • ผู้บริหาร
  • ครูแนะแนว
  • ครูที่ปรึกษา
  • ผู้ปกครองเครือข่าย

 สรุป

         ในการจัดกิจกรรม  YC  อาจจัดได้ในรูปแบบต่าง ๆ   ที่เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการให้ความช่วยเหลือเพื่อน  และได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง  สามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ปฏิบัติหน้าที่ของ YC  ได้อย่างดี  ในการดำเนินงานจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากสถานศึกษา  และเครือข่ายผู้ปกครอง  จะสามารถทำให้การให้ความช่วยเหลือเพื่อนประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น

หมายเลขบันทึก: 312198เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เยี่ยม สร้างสรรค์ ขอให้กำลังใจ

อยากทราบว่า YC ที่โรงเรียน มีการพัฒนาอย่างไรบ้าง..

ขอบคุณข้อมูลมากครับ อาจารย์

ช่วงนี้โรงเรียนบ้านกันเตรียงมีกิจกรรมไรบ้างครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับท่านเงียบหายไปเลย ลงข่าวบ้างนะครับ จะได้ติดตามอ่านเรื่องราวดีดี

อาจารย์พัฒนาห้องประชุมเสร็จยังครับ

ขอบคุณอาจารย์มากเลยที่ให้ข้อมูลดี ดี

สมัยเรียนอยู่โรงเรียนบ้านกันเตรียงเป็นโรงเรียนศูนย์เรียนรู้เลย

(ปรบมือ)

เป็นชมรมที่น่าสนใจมากเลยคะ กิจกรรมในชมรมน่าจะช่วยส่งเสริมเด็กวัยรุ่นมุละทุได้ดี เพราะเด็กวัยนี้ติดเพื่อนมาก คบเพื่อนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ขอให้กำลังใจในการดำเนินกิจกรรมชมรมให้ยั่งยืนต่อไปนะคะ เป็นประโยชน์ต่อเยาวชนไทย อนาคตของชาติมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท