Dialogue คิดลงสู่ใจ...ไหลเป็นปัญญา


         วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้หนังสือเรื่อง "Dialogue คิดลงสู่ใจ...ไหลเป็นปัญญา" จากนิสิตศูนย์บุรีรัมย์ เป็นหนังสือที่เขียนโดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ เท่าที่อ่านคร่าว ๆ พบว่า เป็นหนังสือที่ดีมาก ทั้งนี้ผมเองก็สอนผู้เรียนให้ฝึก Dialogue อยู่เมื่อได้หนังสือท่าน ดร.วรภัทร์ รู้สึกดีใจมาก เพราะท่านเป็นคนสอน Dialogue ให้ผมในช่วงเริ่มต้น อ่านแล้วโดนใจหลาย ๆ ประการ เช่น

 

Dial

  • Dialogue ก็เหมือนภาวนา ต้องหมั่นฝึกฝน กลับไปถามครูบาอาจารย์เป็นระยะ ๆ เพื่อดูความก้าวหน้า
  • ในเล่มนี้อาจารย์เขาได้สรุปความสัมพันธ์ทางสังคม (Social field) ของผู้คนตามทฤษฎีตัวยู (Theory U) ไว้เป็นตารางไว้น่าสนใจยิ่ง ทำให้เราเข้าใจ Theory U ชัดยิ่งขึ้น
หมายเลขบันทึก: 314453เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2009 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

  เล่มนี้ผมก็อ่านหลายตลบแล้วครับ ค่อยอ่านไป ทำความเข้าใจไป

   ผมอ่านแล้วนำมาใช้ในการทำเวทีครอบครัวสุขภาวะครับ

ผมเคยเขียนเรื่องนี้ ในคอลัมภ์แนะนำหนังสือ วารสารฉบับหนึ่งครับ เอามาเพิ่มเติมบันทึกนี้ครับผม

---------------------------------------------------------

Dialogue หรือ ดอกอะไร?

ไม่กี่วันก่อนมีอันต้องเข้าร่วมอบรม Spiritual tools & Skills เรียกชื่อไทยขลังๆว่า “เครื่องมือทางจิตวิญญาณ” เพื่อเสริมศักยภาพคุณฟา (Facilitator) หรือ “ผู้นำกระบวนการ” นั่นเอง การอบรมครั้งนี้เองทำให้ผมได้เรียนรู้เรื่องบางเรื่องที่ไม่เคยรู้ โดยเฉพาะการใช้พลังจิต การใช้พลังความดีงามจากข้างในตัวเองเพื่อสร้างบรรยากาศเรียนรู้ให้กับกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยสรุปผมได้เรียนรู้เครื่องมือทางจิตวิญญาณหลายชิ้นด้วยกัน วัตถุประสงค์หลักก็ได้เรียนรู้ “ใจ” ตนเอง พัฒนาด้านในจิตใจของมนุษย์ (Soft side management)มากกว่าก่อนที่จะไปสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ สองวันเต็มๆที่ได้เรียนรู้ทักษะและเครื่องมือทางจิตวิญญาณทำให้ผม ทบทวนตัวเองถึง การเป็นผู้นำกระบวนการในอดีต มีหลายเรื่องที่เราเพิกเฉยไป มีหลายเรื่องที่เรายังเข้าไปไม่ถึงใจของผู้เข้าร่วมวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เราพลาดในการดึงความรู้ฝังลึกของผู้ร่วมกระบวนการอย่างน่าเสียดาย และผมได้เรียนรู้ว่า กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญสอดคล้องกับความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงนั้นปัจจุบัน เราเรียกเวที Dialogue หรือ ดอกอะไร? (คำเรียกของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ)

          ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านคุ้นบ้างไหมครับ กับคำว่า Dialogue” น่าจะเคยได้ยินบ่อยๆตามหนังสือ ตามเอกสารในช่วงหลังๆ และสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ปรากฏการณ์เหลืองแดง ก็มีนักวิชาการหลายท่านออกมาฟันธงว่า ต้อง “สานเสวนา” คำว่าสานเสวนา ก็คือ Dialogue นั่นเอง และการสานเสวนาเป็นไปเพื่อความสมานฉันท์ เข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน แต่การสานเสวนาจะทำให้ปรากฏการณ์ความขัดแย้งรุนแรงเช่นที่เกิดขึ้นในเมืองไทยขณะนี้ คลี่คลายลงหรือไม่นั้น? ไม่รับรองครับ เพราะว่าปัจจัยเงื่อนไขความแตกแยกทางด้านความคิดซับซ้อนด้วยผลประโยชน์ที่ยากเกินกว่าจะเปิดใจ

          เกริ่นมาพอสมควรแล้วสำหรับ Dialogue พอจะเข้าใจศัพท์นี้กันบ้างแล้ว ผมชอบใจที่ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ผวนคำว่า Dialogue” เป็นคำว่า “ดอกอะไร”   หลายคนงง “เอ๊ะ มาใช้คำว่า ดอกอะไร มันคืออะไร กิจกรรมอะไร?” ดร.วรภัทร์เฉลยว่า Dialogue ก็คือ ดอกอะไร มันให้ความหมายไปถึงพูดจาประสาดอกไม้

Dialogue เป็นมากกว่าการนั่งคุยกันแต่รวมไปถึง การฟังเชิงลึก  (Deep Listening ) ฟังแบบองค์รวม ฟังแบบไม่มีอคติ ไม่รีบร้อนสวนกลับ (ที่เรามักเป็นกันบ่อย)  นอกจากนี้ Dialogueครอบคลุมถึงการค้นพบตัวเอง การเข้าใจซึ่งกันละกัน เห็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในกฏเดียวกัน คือไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) การชำระปมต่างๆ (Mental model) เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่วงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle) เมื่อเราคุย เราฟังเป็นแล้วเราก็จะเปิดใจ การได้เสริมกำลังใจซึ่งกันและกัน การได้ความรู้สึกร่วม การได้จุดประกาย(Spark) ความคิดซึ่งกันและกัน ต่อยอดความคิด การได้ทุนทางนามธรรม (Intangible capital)  ที่สูงและหายาก และการทำDialogueขั้นสูง หมายถึงการนำความคิดลงสู่ใจ ไหลลื่นออกมาเป็นปัญญา ดร.วรภัทร์เขียนถึง Dialogueอย่างน่าสนใจว่า “มองได้ว่าDialogue ไม่ใช่เรื่องธรรมดา ไม่ใช่แค่เครื่องมือ ที่เป็นแค่แฟชั่น ทำตามสมัยนิยม ทำให้ดูดีมีชาติตระกูลเท่านั้น แต่Dialogueสูงส่ง ล้ำค่าถึงขั้นเป็น การปฏิบัติธรรมขณะสนทนา ไปด้วย”

ผมคิดว่าเครื่องมือนี้เหมาะสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใช้ในวิถีชีวิตประจำวันที่ต้องเจอะเจอผู้ป่วย ที่ป่วยทั้งกาย ป่วยทั้งใจ สามารถประยุกต์ใช้ Dialogueในการสนทนา หากทำให้ดีเป็นการเยียวยาผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องรักษาด้วยยา เป็น “จิตบำบัด” ใช้แบบผู้ป่วยแบบเนียนๆ หรืออาจจะใช้เป็นเครื่องมือเปลี่ยนพฤติกรรมก็ได้ ใช้สร้าง “ภูมิต้านทาน” ต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตก็ได้ และยังได้ผลึกความรู้ระหว่างสนทนามาพัฒนาศักยภาพและมุมมองตนเองอีกทางหนึ่งด้วย

การสนทนาในชีวิตประจำวันที่เราต้องเจอะเจอเสมอๆ ในสังคมที่ต้องพบปะผู้คน เปลี่ยนมาเป็น การ Dialogue ฝึกตนเองฟังให้มากขึ้น ทบทวนตนเองให้มากขึ้น เราจะได้กำไรมากกว่าการโต้ตอบทันทีโดยที่ยังไม่ทันได้ฟัง อย่างน้อยความขัดแย้งที่เกิดจากการปะทะอารมณ์จากที่เราอดทนฟังกันน้อยลง ก็จะลดน้อยลงไปด้วย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือคำพูดของเพื่อนในวง Dialogue อุปมาเหมือนเป็นลูกธนู ปักใจ เมื่อเวลาผ่านไปจะ “ตกผลึก” เป็นปัญญา

หนังสือที่ผมหยิบมานำเสนอในครั้งนี้ก็เป็นการเล่าเรื่อง Dialogue อย่างง่ายๆผ่านประสบการณ์การใช้เครื่องมือทรงพลังที่ ดร.วรภัทร์ (ผู้เขียน) บอกว่าเป็น “เครื่องมือบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ผมค่อยๆอ่านตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลานานพอสมควร เพราะอ่านแล้วทบทวนไปเรื่อยๆ เกิดอาการปิ้งแว้บ คิดย้อนไปถึงความล้มเหลวของตนเองในฐานะที่เป็นผู้นำกระบวนการเรียนรู้ในอดีต ทำไมมันฝืด ทำไมความรู้ไม่ไหลลื่น (Flow) เอาเสียเลย เพียงเพราะว่า เราตั้งหน้าตั้งตาค้นหาผลลัพธ์มากเกินไป ลืมความรู้สึกของคนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา เกิดอาการที่ว่า “งานได้ผล แต่คนเสียหาย” ไปก็เยอะ ลองหามาอ่านดูนะครับ นอกจากจะได้เรียนรู้กระบวนการผ่านประสบการณ์การทำ Dialogue ที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานแล้ว ศัพท์แสงที่ใช้ก็ถึงอกถึงใจผู้อ่าน สไตล์คนไร้กรอบ ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ

 

เครื่องมือบริหารสมัยใหม่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Dialogue คิดลงสู่ใจ...ไหลเป็นปัญญา

ผู้เขียน : ดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ  พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2552 ,บริษัทอริยชน จำกัด

 

 

 

เรียน ท่านรองฯ small man

  • เป็นหนังสือที่น่าอ่านมากนะครับ
  • ตอนนี้อ่านได้ 10 กว่าหน้าแล้ว อ่านไปด้วย ภาวนาไปด้วย มีความสุขจริง ๆ ครับ
  • ขอบพระคุณที่แวะมาทักทายครับ

 

 

 

สวัสดีครับ คุณเอก

  • วันนี้ไปสอนการใช้งาน G2K ให้ผู้เรียนศูนย์เมืองพล ก็เลยยกตัวอย่างโดยการเขียนบันทึกนี้
  • โชคดีที่ท่านรองฯ  และคุณเอก มาแสดงความคิดเห็นพอดีก็เลยแนะนำให้ผู้เรียนทราบว่า

ผู้เรียนสามารถเรียนภูมิปัญญาปฏิบัติทางด้านการบริหารจากท่านรองฯ  และสามารถศึกษาวิธีเขียนบันทึกแบบมืออาชีพจากวิธีการเขียนของคุณเอก

  • ขอขอบคุณทั้งสองท่านอีกครั้งหนึ่งครับ

สวัสดีครับ

หนังสือเล่มนี้อ่านสนุกดีครับ เสียดายที่ผมไม่มีโอกาสทำ Dialogue ของแท้กับต้นตำรับ แต่ผมได้ลองนำไปปฏิบัติดูแล้ว ตามสไตล์ลูกทุ่ง เด็กช่าง ดีทีเดียวเลยครับ

สวัสดีครับ ไทเลย-บ้านแฮ่

  • ผมว่า การนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง โดยไม่มีกรอบต่าง ๆ มาครอบ บางทีอาจทำให้เราสร้างนวัตกรรมตามแบบฉบับของเราใหม่ ๆ ขึ้นมาก็ได้นะครับ
  • เพราะในขั้นตอนที่ 3-4 ของทฤษฎีตัวยูนั้น เป็นการบูรณาการความรู้ใหม่ที่รับเข้ามา กับความรู้เดิมของเรา
  • การไร้กรอบจะทำให้เราแตกหน่อ นวัตกรรมองค์ความรู้ใหม่ ๆ ได้ดีกว่าทำตามกรอบนะครับ  
  • ส่วนตัวผมแล้วเข้าใจว่า สุนทรียนสนทนาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาตนและองค์กร
  • การจะสุนทรียสนทนาได้ดีนั้น ต้องฝึกฝนการฟังให้ได้ยินหรือการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)
  • การจะฝึกฟังอย่างลึกซึ้งได้ดีนั้นต้องเข้าใจทฤษฏีตัวยู (Theory U)

สวัสดีค่ะ

- แวะมาเรียนจากกูรู ทุกท่านค่ะ

- ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ คุณ เพชรน้อย

 

  • อ่านได้ประมาณครึ่งเล่มแล้วครับ แต่ให้เพื่อน ๆ ยืมไปอ่านก่อนครับ ถ้าอ่านจบเมื่อไรจะกลับมาโม้ต่อครับ
  • ตอนนี้ได้เล่มใหม่มาแทนครับ ชื่อว่า ...ห้าวันที่ฉันตื่น...

 

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดีจังเลย อ่านอะไรก็สรุปไว้ ลูกศิษย์ลูกหาได้แวะมาอ่าน

อ่านแล้วเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง เพราะปึก แต่คิดว่าอ่านบ่อยๆ ดีแน่

ขอบพระคุณค่ะ

 

ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกันนะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท