การฟัง 7 วิธี


 

เมื่อวานไปเก็บของห้องเดิมของคุณพ่อบ้าน ย้ายมาห้องใหม่ค่ะ ... เก็บวันละนิด จิตแจ่มใส เพราะว่า ของเธอมากมายจริงๆ หนเดียวไม่หมดค่ะ (สงสัย ต้องเป็นสิบๆ หนแน่)

ก็เลยได้เจอหนังสือดีดีมาเล่าสรุปสู่กันฟัง จากหนังสือ "กุญแจใจ" ละค่ะ เขาทำฉบับที่ 2 บอกว่า เป็น นิตยสารที่ดลใจคุณ ก็จริงทีเดียว มีหลักการที่น่าประทับใจ ... แต่ว่าหลักการเช่นนี้ ไม่ควรไปเรียกร้องให้ใครทำนะคะ ขอให้ด้วยตัวเองเป็นดีที่สุด เพราะว่า การเรียกร้องใครๆ ที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุด ก็คือ เรียกร้องตัวเองให้ปฏิบัติละค่ะ

ข้อควรปฏิบัติเจ็ดวิธีในการรับฟัง

  1. มองคนที่พูดคุยด้วย
  2. ให้ความสนใจอย่างลึกซึ้ง
  3. เอนตัวไปหาบุคคลที่กำลังพูดด้วย
  4. ตั้งคำถาม
  5. อย่าขัดจังหวะ
  6. กล่าวถึงเฉพาะเรื่องที่ผู้พูดหยิบยกขึ้นมา
  7. ใช้ถ้อยคำของผู้พูดบอกประเด็นคุยกันต่อ

ดิฉันคนหนึ่งละ ที่จะพยายามฝึกทักษะนี้

 

คำสำคัญ (Tags): #การฟัง
หมายเลขบันทึก: 223267เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2008 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะคุณหมอนนท์

  • ได้ความรู้ไปอีกแล้ว..ไม่ผิดหวังเลยค่ะ
  • ข้อ 5 นะคะมีบางท่าน ไม่ชอบให้ใครมาพูดขัดจังหวะตน  แต่  ตัวเองชอบขัดคอขัดใจคนอื่นอยู่ร่ำไปค่ะ
  • ไม่บอกค่ะ ว่า..ท่านผู้นั้น...เป็นใคร

เอิ๊กเอิ๊ก  คุณหมอยิ้มแล้ว นั่นแน่ ทราบแล้วใช่ไหมคะ

แวะมาฟังด้วยคนครับ

หู สองหู ปากหนึ่งปาก

หูมีมากว่า ต้องฟังมากกว่า ปากที่น้อยกว่า

อิอิ

  • P
  • อิ๊ อิ๊ ... พฤติกรรมแบบนี้ ทำไมเหมือนกันเลย
  • แต่ฝ่ายเขา ก็คงคิดว่า เราเป็นแบบตรงข้ามแบบนี้เหมือนกันนะคะ
  • แหะ แหะ แบบนี้ต้องมีบุคคลที่สาม มาตัดสินให้ค่ะ
  • แล้วคุณครู P
  • ล่ะคะ เป็นแบบไหนเอ่ย

สวัสดีค่ะ

แวะมาฝึกทักษะการรับฟังค่ะ ว่ากันว่า ปัจจุบัน คนฟังแต่ ไม่ได้ยิน ...

บางครั้งการฟังและได้ยิน ก็เป็นการให้เกียรติและช่วยเยียวยาคนพูดด้วย จริงไหมคะ

ขอบคุณข้อคิดดี ๆ มีประโยชน์ค่ะ...^_^...

ข้อควรปฏิบัติเจ็ดวิธีในการรับฟัง

  1. มองคนที่พูดคุยด้วย
  2. ให้ความสนใจอย่างลึกซึ้ง
  3. เอนตัวไปหาบุคคลที่กำลังพูดด้วย
  4. ตั้งคำถาม
  5. อย่าขัดจังหวะ
  6. กล่าวถึงเฉพาะเรื่องที่ผู้พูดหยิบยกขึ้นมา
  7. ใช้ถ้อยคำของผู้พูดบอกประเด็นคุยกันต่อ
  • สวัสดีค่ะ คุณ P
  • ถ้าเราทุกคนทำกันได้เช่นนี้ สังคมคงจะมีความอบอุ่นขึ้นเยอะเลยนะคะ
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์ P
  • หนูไม่ค่อยได้ทำการบ้านเขียนบันทึกในบล็อกเลยค่ะ ได้รับมอบหมายจากคุณครู อ.หมอปราโมทย์ ให้มาอ่านตำราจิตวิเคราะห์ไป discuss กับอาจารย์วันอาทิตย์หน้านี้ คงจะมีโอกาสมาเขียนบันทึก จะได้บังคับให้อ่านไปในตัว ตอนนี้ได้แต่ท่องเที่ยวอ่านค่ะ
  • บันทึกนี้ทำให้หนูนึกถึงตัวเองว่า จะต้องสอนเรื่องทักษะการฟัง เรายังจำได้ไม่แม่นทุกข้อ ทำได้ไม่ครบทุกอย่างเลย แล้วเลยไปพิมพ์คำว่า "การฟังอย่างลึกซึ้ง" ใน GURU (gle) ของหลาย ๆ ท่าน ได้ประเด็นของคุณหมอวิธาน ฐานะวุฑฒ์ พระเอกยอดนิยมในดวงใจด้านวรรณศิลป์ของหนูเพิ่มข้างล่างนี้ค่ะ
  • อจ.วิศิษฐ์ วังวิญญูได้นำเรื่อง "การฝึกการฟังอย่างลึกซึ้ง" มาใช้ เหลือเชื่อครับที่การฝึกการฟังกลับทำให้ผมสามารถพูดได้เก่งมากขึ้น ประหม่าน้อยลงมาก ที่สำคัญคือสามารถลำดับความคิดอย่างเป็นระบบ แบบที่ไม่มีในตำราหรือสาระบบของการฝึกพูดเลย ต้นแบบของเรื่องนี้ที่ อจ.วิศิษฐ์ นำมาเสนอก็คือเรื่อง Dialogue ของเดวิด โบห์ม
  • การสนทนาแบบเดวิด โบห์มที่ว่านี้ให้ความสำคัญยิ่งกับเรื่องของ "การฟัง" ถือว่าการฟังอย่างลึกซึ้งอย่างตั้งใจเป็นแกนหลักของการสนทนา องค์ประกอบสำคัญอีกข้อหนึ่งในการสนทนาแบบนี้ก็คือ การไม่ตัดสินความคิดที่คนอื่นพูดออกมาว่าถูกหรือผิด เพียงแค่ "ฟังอย่างตั้งใจ" แล้วปล่อยให้ความคิดไหลผ่านสมองไปแบบไม่ตัดสิน  จากที่นี่ค่ะhttp://budpage.com/vithan03.shtml
  • สวัสดีค่ะ น้อง P
  • เรื่องบันทึกไม่น่ายากนะคะ
  • ก็เอาเรื่องที่น้อง ได้รับมอบหมายจาก อ.หมอปราโมทย์ ให้อ่านตำราจิตวิเคราะห์ มาถ่ายทอดให้ฟังกันใน G2K ยังไง
  • ไม่แน่นะ อาจส่งผลแบบ อ.วิศิษฐ์ ก็คือ ทำให้เข้าใจได้มากขึ้นก็ได้นะคะ
  • ผลพลอยได้ คนอื่นๆ ก็จะได้มีความรู้ไปด้วยยังไง ดีออก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท