ทำอย่างไร พ่อแม่ไม่กำพร้าลูกหลาน


คนไทยท่านหนึ่ง(ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "คุณจูน")ไปแต่งงานกับชาวสวิส ชวนสามีมาซื้อที่ดินที่เชียงใหม่ ท่านเล่าให้ฟังว่า ลูกอายุมากถึง 12 ปีแล้ว อีกไม่นานก็จะ "ไม่มีลูก" แล้ว

คนไทยท่านหนึ่ง(ขอเปลี่ยนชื่อเป็น "คุณจูน")ไปแต่งงานกับชาวสวิส ชวนสามีมาซื้อที่ดินที่เชียงใหม่ ท่านเล่าให้ฟังว่า ลูกอายุมากถึง 12 ปีแล้ว อีกไม่นานก็จะ "ไม่มีลูก" แล้ว

ผู้เขียนเรียนถามท่านว่า ทำไมอยู่ๆ มีลูกแล้วกลายเป็น "ไม่มีลูก" หรือกำพร้าลูกขึ้นมาได้ ท่านบอกว่า สังคมฝรั่งนี่... พออายุ 17 ปีทุกคนก็จะเป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่เริ่มแยกบ้านออกไป และส่วนหนึ่งเริ่มหางานทำไปด้วยเรียนไปด้วย

...

คนพม่าท่านหนึ่งเล่าให้พระฟังว่า สามีท่านเข้ามาทำงานในไทย กฎหมายไทยยอมให้ท่านมาอยู่ด้วยได้ แต่รุ่นลูกมาอยู่ด้วยไม่ได้ เลยส่งลูกไปเรียนที่อเมริกา พอลูกเริ่มโตขึ้นมาก็ไม่ยอมกลับพม่า เลยกลายเป็นคุณแม่กำพร้าลูก

ท่านอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศแนะนำวิธีป้องกันโรค "กำพร้าลูก" ไว้ในหนังสือ 'Niche 04' ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง

...

อาจารย์จอห์น เออร์มิสช์ แห่งมหาวิทยาลัยเอสเซก สหราชอาณาจักร(หมู่เกาะอังกฤษ) ทำการศึกษาวิจัยพบว่า พ่อแม่ที่มีฐานะดีมีแนวโน้มจะส่งลูกเรียนจบปริญญา และให้เงินทองไปทำงานตั้งเนื้อตั้งตัว

ส่วนคุณลูกเมื่อมีงานทำ และพึ่งตัวเองได้กลับโทรศัพท์ถึงพ่อแม่น้อยกว่าคนที่ไม่มีปริญญา 20% แถมยังไปเยี่ยมพ่อแม่อย่างสม่ำเสมอน้อยลง 50%

...

เหตุผลง่ายๆ คือ คนที่ทำงานเลี้ยงตัวได้มีแนวโน้มจะต้องพึ่งพิงมรดกจากคุณแม่คุณพ่อน้อยลง มีทฤษฎีที่รับรองแนวคิดนี้คือ 'strategic bequest theory (ทฤษฎีการได้มรดก)

ทฤษฎีนี้บอกว่า คุณลูกจะดูแล เอาใจใส่คุณแม่คุณพ่อเพียงเพื่อให้แน่ใจว่า จะได้รับมรดก เพราะฉะนั้นคนที่มีลูกหลายคนจึงมักจะได้รับการเอาใจใส่จากลูกมากกว่า เพราะถ้ามีลูกหลายคน... ลูกๆ จะต้องแย่งกันเอาอกเอาใจ

...

ข่าวร้ายคือ ครอบครัวรวยๆ มักจะมีลูกหลานน้อย หรือดีไม่ดีไม่มีลูกเลยก็มี ทีนี้วิกฤตย่อมมากับโอกาส... ท่านอาจารย์เออร์มิสค์จึงแนะนำยุทธศาสตร์ป้องกันการ "กำพร้าลูก" ดังต่อไปนี้

  1. สะสมออมทรัพย์ไว้ อย่าให้ยากจน > คนที่ยากจนมีความเสี่ยงที่จะถูกทอดทิ้งสูงกว่าคนที่มีสตางค์
  2. เก็บเงินไว้กับตัว > อย่าให้เงินลูกหลานหมด จะได้มีอำนาจต่อรอง
  3. มีลูกหลานหลายคนหน่อย > ลูกหลานจะได้แย่งกันเอาอกเอาใจ
  4. แสดงให้ลูกหลานรู้ว่า ถ้าไม่สนใจดูแล เอาใจใส่ อาจพิจารณามอบมรดกให้องค์กรการกุศล สัตว์เลี้ยง(ฝรั่งบางท่านทำ) > เพื่อให้ลูกหลานเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงว่าจะได้มรดกแน่ และหันมาเอาอกเอาใจ
  5. อย่าให้เงินสดลูกหลานตั้งแต่แรก > ให้มันรอกันบ้างจนใกล้ตาย

...

ผู้เขียนขอเรียนเสนอวิธีเพิ่มเติมอีก 2 ข้อ

(1). อย่าขี้บ่น...

  • คนสูงอายุที่บ่นมาก ถึงมีอะไรดีก็อาจถูกทอดทิ้งได้ จึงควรหัดเอาอกเอาใจลูกหลานบ้าง อย่างน้อยก็ต้องหัดแสดงความชื่นชม (appreciate) หรือชมการกระทำดีของคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนใกล้ตัวให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และเพิ่มเป็นอย่างน้อยวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร

(2). อย่าทำตัวให้หมดสภาพ

  • หมั่นใส่ใจสุขภาพ ออกแรง ออกกำลัง และสนใจศึกษาเล่าเรียนเรื่องต่างๆ อยู่เสมอตลอดชีวิต เพราะคนที่ทันสมัยมีโอกาสถูกทอดทิ้งมากกว่าคนเชยๆ และคนที่สุขภาพดีมีโอกาสถูกทอดทิ้งน้อยกว่าคนยอบๆ แยบๆ หรือคนป่วยเรื้อรัง

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดี และมีความสุขในการใส่ใจสุขภาพไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                                             

  • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ > ทำไมลูกจึงไม่ "กตัญญู" > Niche 04 > พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์ openbooks > 2548. หน้า 90-94.
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี, เทพรัตน์ บุณยะประภูติ, เทวินทร์ อุปนันท์ > สนับสนุนด้าน IT. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 19 ตุลาคม 2550.
หมายเลขบันทึก: 140129เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

คุณพ่อมักพูดเสมอว่า เราแก่แล้วต้องทำตัวน่ารักๆ กับลูกหลานไว้ อย่าบ่นมาก อย่าด่ามาก ปลงๆ ซะ จะได้อยู่กันมีความสุขกับลูกกับหลานค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์จันทวรรณ...

  • นั่นเป็นคำแนะนำที่ดีมากๆ
  • ถ้าพวกเราช่วยกันนำคำแนะนำนี้ไปใช้ก็คงจะไม่ "กำพร้าลูกหลาน" กันถ้วนหน้า...

คนในซีกโลกตะวันออก รวมทั้งคนไทย มีครอบครัวที่อบอุ่นกว่าคนในซีกโลกตะวันตก ทำให้เป็นเสมือน "กันชน (buffer)" ป้องกันวิกฤตในชีวิตได้มากมาย

  • เรียนเชิญพวกเราหันมาช่วยกันรักษาของดีแบบไทยๆ ไว้นานๆ ครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

คนในซีกโลกตะวันออก รวมทั้งคนไทย มีครอบครัวที่อบอุ่นกว่าคนในซีกโลกตะวันตก ทำให้เป็นเสมือน "กันชน (buffer)" ป้องกันวิกฤตในชีวิตได้มากมาย

เรื่องนี้เรื่องจริงค่ะและเป็นวัฒนธรรมที่ดีของคนตะวันออก

คุณย่าของลูกอายุ 95 ยังอยู่ค่ะ ได้รับการดูแลอย่างดีจากลูกๆ ทั้งๆที่ให้มรดกลูกไปหมดแล้ว มีผู้ช่วยพยาบาล 2 คนผลัดกัน แต่ยังแจ่มใส สมองดี จำได้แม้จะชอบถามซ้ำๆก็ตาม ไม่ป็นอัลไซเมอร์ค่ะ

ดิฉันเอง ก็ช่วยเหลือดูแลลูกของลูกชาย  ที่ยุ่งแต่ทำงานทั้งคู่ แม้ตัวเองยังทำธุรกิจอยู่ก็จัดเวลาได้ เป็นห่วงหลานเล็กๆค่ะ

ลุกดิฉันก็รักแม่ และกตัญญูดี ยังนึกว่าตัวเองโชคดีค่ะ ที่มีครอบครัวอบอุ่น

สวัสดีค่ะคุณหมด
   ขออนุญาตเข้ามาทักทายค่ะ เพราะเมื่อได้อ่านแล้ว บอกได้เลยว่ามีความรู้สึก...(แบบบอกไม่ถูก) นึกสงสารคนที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ที่พบกับเรื่องแบบนี้ ส่วนตัวเองก็รู้สึกรักแม่มากขึ้นเลยค่ะ และจะต้องดูแลแม่ให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ จะไม่ปล่อยให้ท่านต้องเหงา แม้เวลาจะมีจำกัดก็ตาม
    และจะขออนุญาตเข้ามาอ่านอีกเรื่อยๆ นะค่ะ เพื่อจะได้ความรู้ในการดูแลสุขภาพค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ sasinanda...

  • ขอกราบอนุโมทนาในกุศลเจตนาของท่านผู้อ่านทุกท่านที่มีกตัญญูกตเวที ตอบแทนพระคุณบุพการี.... สาธุ สาธุ สาธุ

เรื่องกตัญญูเป็น 1 ในมงคลธรรม หรือเหตุแห่งความเจริญ...

  • ถ้าเราสังเกตชาติ บ้านเมือง ชุมชน สังคม ครอบครัว หรือบุคคลที่มีความสุขความเจริญจะเห็นว่า ส่วนใหญ่เป็นชุมชน "กตัญญู" กันทั้งนั้น

ขอแสดงความยินดีกับท่านผู้อ่านทุกท่านที่มีครอบครัว และเครือญาติที่ดี...

  • ผมตั้งสมมติฐานไว้ประการหนึ่งว่า การที่ชาติตะวันตกหลายชนิด โดยเฉพาะในยุโรป มีลูกน้อยลงเรื่อยๆ...

ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่รู้สึกว่า "ไม่คุ้มทุน" ที่จะมีลูก เพราะ 

  1. สังคมตะวันตกไม่ใช่สังคมเกษตร ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมาก... การมีลูกไม่ได้ช่วยให้งานลดลงเหมือนงานเกษตร เช่น ทำไร่ทำนา ฯลฯ 
  2. ลูกไม่ได้มาเลี้ยงดู หรือมีกตัญญูกตเวทีเท่าที่ควร

เมืองไทยเรามีอะไรๆ ดีหลายอย่างอยู่แล้ว ขอให้พวกเราช่วยกันรักษาของดีแบบไทยๆ ไว้ครับ

ขอขอบคุณ... คุณสิริรัตน์

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน และให้ข้อคิดเห็น

ขอกราบอนุโมทนาในกุศลเจตนาในความตั้งใจที่จะเลี้ยงดูคุณแม่คุณพ่อ และบุพการี (ผู้มีพระคุณ)... สาธุ สาธุ สาธุ

  • ความกตัญญูเป็น 1 ในมงคลธรรม หรือเหตุให้ถึงความเจริญ...
  • ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรมข้อนี้ได้ย่อมหวังความเจริญได้ไม่เร็วก็ช้าครับ

สวัสดีครับคุณหมอ

เคยมีชาวบ้านมาปรึกษาว่าอยากจะจัดการทรัพย์สินแบ่งให้ลูกๆให้เสร็จแต่กลัวเจอแบบข้างบ้าน หลังจากแบ่งทรัพย์สินให้ลูกหมดไปแล้ว ลูกไม่กลับมาดูแลเลย ผมก็บอกว่ามันมีทั้งข้อดีข้อเสีย ถ้าเราเก็บทรัพย์มรดกไว้ไม่แบ่ง พอเราตายนลูกอาจจะฟ้องร้องกันเพื่อแย้งชิงมรดก ถ้ายกทรัพย์สินให้ลูกหมดก็อาจจะเกิดปัญหาเหล่านี้ได้ ทางแก้ในการยกอสังหาริมทรัพย์ให้ลูกก็ให้จดทะเบียนไว้ด้วยว่าให้เรามีสิทธิเก็บกินในที่ดินแปลงนั้นๆจนตลอดชีวิต เท่ากับเรายกให้แล้ว แต่เรายังครอบครองดูแลอยู่ก็แก้ปัญหาได้เช่นกันครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์บัณฑูร...

  • ขอขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำระดับมืออาชีพ(ท่านอัยการแนะนำมา)

ผมมีประสบการณ์มาหลายแบบเหมือนกัน...

  • อาจารย์ท่านหนึ่งเล่าว่า พอท่านตรวจคนไข้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound / อัลตราซาวนด์) พบว่า คนไข้เป็นมะเร็งตับ... ลูกๆ ที่อยู่ข้างหลังไม่สนใจอะไรเลย ทะเลาะแย่งมรดกกันตรงนั้นเลย
  • คุณยายท่านหนึ่งแบ่งทรัพย์สินให้ลูกหลังคุณตาเสียจนหมด... ลูกๆ เกือบไม่มาดูแลอีกเลย ลูกคนหนึ่งได้ไปเยี่ยมท่าน 1 ครั้งหลังได้รับทรัพย์สิน นับสตางค์ให้ท่านด้วยใบละ 20 บาท ดูจะไม่กี่ร้อยบาท คุณยายท่านนั้นร้องไห้เลย

นี่เป็นธรรมดาของโลกที่ว่า เงินทองไม่เข้าใครออกใคร... ผมขอเรียนเสนอแนวทางเลือกดังต่อไปนี้

  1. สอนคนรุ่นลูกรุ่นหลานให้อยู่แบบพอเพียง ไม่มีหนี้
  2. ทำตัวเป็นแบบอย่างในเรื่องกตัญญู รวมทั้งยกตัวอย่างคนที่กตัญญูแล้วประสบความสำเร็จมาเล่าสู่กันฟัง (เช่น ท่านอาจารย์จันทวรรณ gotoknow ฯลฯ)
  3. ส่งเสริมคนรุ่นต่อไปให้ศึกษาเล่าเรียน และพึ่งพาตัวเอง
  4. ถ้าจะแบ่งทรัพย์สิน > อย่าแบ่งจนหมด ให้เหลือไว้ในระดับที่ตัวเราจะอยู่รอด ปลอดภัย แบบพอเพียง
  5. ทำพินัยกรรม และแยกเก็บไว้หลายๆ ที่ > ทำใจให้พร้อม และเปลี่ยนพินัยกรรมทันทีถ้าคนรุ่นลูกรุ่นหลานคนใด หรือกลุ่มใดอกตัญญู
  6. การยกทรัพย์สินให้ลูกหลานหมดเป็นความเสี่ยงที่รุนแรงมาก และอาจจะทำลายความเจริญของลูกหลานด้วย เพราะคนที่อกตัญญูมักจะไม่เจริญ > ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าคือ ยกให้เป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่เก็บไว้เป็นแรงจูงใจ (incentive) ทำให้ลูกหลานต้องเอาใจใส่ดูแล
  7. ถ้าต้องการยกทรัพย์สินให้ลูกหลาน > ควรยกเพียงบางส่วน และทำเงื่อนไขให้เรามีสิทธิเก็บกินสิทธิประโยชน์ เช่น ค่าเช่า ฯลฯ ได้จนตาย ซึ่งควรปรึกษาท่านอัยการ

คำแนะนำของท่านอัยการมีคุณค่าต่อพวกเรามาก... ขอให้พวกเราศึกษาคำแนะนำของท่านไว้ดีๆ เพราะจะช่วยลดปัญหา "โรคกำพร้าลูกหลาน" ได้ในอนาคต

สวัสดค่ะอาจารย์

      บทความของอาจารย์นับว่าน่าสนใจมาก  ดิฉันขอ share  idea ด้วยคนนะคะ

      ดิฉันมักได้ยินผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านพูดว่า  "จงเลี้ยงดูลูกของเราให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้  แต่อย่าหวังว่าเมื่อเราแก่เฒ่าเขาจะต้องมาเลื้ยงดูเราเพื่อเป็นการตอบแทนคุณ  แต่ถ้าเมื่อวันที่เราแก่เฒ่าแล้วลูกหลานเลี้ยงดู  ให้ถือว่านับเป็นโชคดีของเรา" ซึ่งดิฉันคิดว่านั่นเป็นคำสอนที่ผู้ใหญ่สอนเราให้เตรียมพร้อมวางแผนชีวิตของตนเองอย่างรอบคอบ

      ดิฉันเคยได้รับแนวคิดการเลี้ยงดูลูกจากท่านอาจารย์ท่านหนึ่งว่า  แนวทางการเลี้ยงลูกให้ถูกทางนั้น  ให้

..........ทำดีให้ลูกดู

               เป็นครูให้ลูกเห็น

                    เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกเย็น 

                         นั่นแหละเป็นการเลี้ยงลูกให้ถูกทาง.....

        โดยส่วนตัวดิฉันคิดว่า  ท่านอาจารย์กำลังสอนเราว่า..ลูกปูนั้นมักเดินตามแม่ปู.. เราทำดี อบรมสั่งสอนลูกเราให้เป็นคนดี  ลูกก็จะมีแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตและเป็นคนดีของสังคมต่อไป  และการเป็นร่มโพธิ์ร่มไทยนั้นเป็นการสร้างสังคมครอบครัวให้อบอุ่นรักใคร่ เอื้ออาทร ฯลฯ โดยพ่อเเม่เป็นสิ่งที่มีความำคัญยิ่ง   ซึ่ง ณ จุดนี้ ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ต้องสร้างและเป็นแบบอย่าง  ถ้าแม่ปูเนินเฉไปเฉมาแล้วไซร้  เราจะหวังให้ลูกปูเดินตรงคงเป็นเรื่องยาก 

        คนจะดีไม่ดี มี 3 ปัจจัยสนับสนุน

        1. ดีโดยสันดาน ซึ่งมาจากตัวของเขาเอง  เป็นคนรักดี  ส่วนนี้ติดมากับพันธุกรรม 

         2. ดีโดยครอบครัว คือมีสภาพครอบครัวที่อบอุ่น พ่อแม่เอาใจใส่เลี้ยงดูดี

         3. ดีโดยสังคมรอบข้าง  คืออยู่ในสังคมที่ดี  เลือกคบเพื่อนที่ดี  เลือกเข้าสังคมที่ดี  ไม่เลือกไปอยู่ในสังคมที่ อโคจร 

         ดิฉันคิดว่าทั้งสามปัจจัยจะสมบูรณ์ได้อยู่ที่พ่อเเม่ผู้อบรมเลี้ยงดูเขาค่ะ หน้าที่ของพ่อเเม่อยู่ตรงนี้เรามีหน้าที่ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด    ต้องคอย Coaching ลูกให้ถูกทาง  ซึ่งถ้าเราทำหน้าที่ ณ จุดนี้อย่างดีแล้วเราน่าจะได้ลูกที่เป็นคนดีนะคะ   แล้วคนดีของสังคมที่เราร่วมสร้างขึ้นจะเลี้ยงดูเราหรือไม่  นั่นเป็นหน้าที่ของคนดีเค้าว่วนหน้าที่ของเราจบสิ้นลงเเล้วค่ะ

..................

ขอขอบคุณ... คุณ anuroj48

  • ขอขอบพระคุณสำหรับการให้ข้อคิดเห็น และคำแนะนำดีๆ...
  • ข้อคิดเห็นและคำแนะนำดีๆ อย่างนี้มีคุณค่ามาก และจะเป็นเครื่องบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนดีต่อไป... สาธุ สาธุ สาธุ

บางทีอาจจะมีอีกมุมมองหนึ่งครับ 

ในทฤษฎีการได้มรดกนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ และบริบทของสังคมตะวันตกซึ่งปัจเจกชนมีชีวิตของตนเอง เมื่อพ้นวัยรุ่นก็แยกออกไปใช้ชีวิตและสร้างตัวเอง

  • Bernheim, B.D.; Shleifer, A.; Summers L.H. (1985) “The Strategic Bequest Motive” in Journal of Political Economy, Vol 93, No. 6, 1045-1076,  www.jstor.org

โดยพื้นฐานของสังคมไทยนั้น ลูกๆ ไม่ได้ตัดขาดจากพ่อแม่ แม้ว่ามีครอบครัวของตัวเอง บางทีก็ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ หรือหากแยกครอบครัวออกไป โดยปกติก็ยังแวะเวียนกลับมาเยี่ยมเยียน มากหรือน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย

ประเด็นที่ผมสนใจคือ มีปัจจัยพิเศษอะไรหรือไม่ ที่พ่อแม่ผู้สูงอายุเป็นคนทำให้ลูกหลานไม่เข้าหาเอง มรดกตามทฤษฎีนั้น อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่ง ความบีบรัดทางเศรษฐกิจ ที่คนพยายามเอาตัวรอด ก็อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง

ความเสื่อมของร่างกายผู้สูงอายุ คงจะเป็นปัจจัยที่ซับซ้อนทีเดียว เมื่อร่างกายเสื่อมโทรม เดินเหินทำงานไม่คล่องแคล่วเหมือนในอดีต การที่ผู้สูงอายุต้องการการดูแลช่วยเหลือมากขึ้น ทำให้เกิดอาการขึ้นสองอย่างคือ

  1. การที่ผู้สูงอายุให้ใครทำอะไรให้นั้น มักจะไม่ถูกใจเหมือนทำเอง เพราะคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน คิดต่างกัน ประสบการณ์ต่างกัน เมื่อไม่ได้ดั่งใจ ก็เริ่มแสดงออกโดยการบ่น และกลับเป็นการผลักใสลูกหลานออกไปโดยอ้อม (และไม่รู้ตัว)
  2. คุณค่าของสังคมเกี่ยวกับความสำเร็จเปลี่ยนไปครับ, สิงคาลกสูตร ในส่วนทิศทั้ง ๖, ตอน ๒๓ (หน้าที่ต่อมารดาบิดา) และ ๒๔ (หน้าที่ต่อบุตร), สัญชาตญาณมนุษย์ต้องการ(ให้ตน)อยู่รอด หน้าที่ที่จะต้องตอบแทน -- โดยความสำนึกเข้าใจ โดยความสม่ำเสมอ -- กลับกลายเป็นภาระ เมื่อเป็นภาระ ที่ไม่เกิดอรรถประโยชน์ จึงไม่มีการกระทำ ทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ conductor...

  • ข้อคิดเห็นของท่านอาจารย์ conductor นี่... ผมขอยกย่องให้เป็น "ข้อคิดเห็นแห่งปี 2550" ทีเดียวครับ

ข้อคิดเห็น...

  • "ข้อคิดเห็นแห่งปี 2550" ในบล็อกที่ทรงคุณค่าในทัศนะของผม (ความเห็นส่วนบุคคล) มี 2 เรื่อง
  1. เรื่องแรกเป็นของท่านอาจารย์ทันตแพทย์มัทนา... ผมเขียนเรื่องปลาดิบว่า ปลาทะเลไม่น่าจะมีพยาธิ > สามีอาจารย์มัทนาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลา ส่งข้อคิดเห็นมาจากแคนาดาว่า ปลาทะเลก็มีพยาธิ ทว่า... ส่วนใหญ่จะตายจากการแช่แข็ง
  2. เรื่องที่สองเป็นของท่านอาจารย์ conductor เพราะเพียบพร้อมไปด้วยสาระ จิตสำนึก และการอ้างอิงที่มาพร้อม

ขอขอบพระคุณข้อคิดเห็นที่ทรงคุณค่ามา ณ ที่นี่... สาธุ สาธุ สาธุ

  • เรื่องกตัญญูเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เข้ากับหลักเหตุปัจจัยที่ว่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอยๆ
  • ธัมมะหรือปรากฏการณ์ต่างๆ เป็นผลจากเหตุหลายเหตุ (multifactorial)
  • และเหตุแต่ละเหตุในสังสารวัฏฏ์ย่อมก่อให้เกิดผลหลายๆ ผลด้วย (multieffect)

เรื่องกตัญญูก็เป็น "ปฏิสัมพัทธ์ (interaction)" ของทั้งบุพการี เช่น คุณแม่คุณพ่อควรทำตัวให้ดี ออมทรัพย์ไว้ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พึ่งตัวเองให้ได้อย่างน้อยในระดับหนึ่ง ไม่ขี้บ่น มากด้วยเมตตา ฯลฯ และลูกหลาน เช่น คุณลูกคุณหลานควรอบรมเจริญอุปนิสัยด้านกตัญญูให้มาก เพราะเป็นมงคลธรรม หรือเหตุให้ถึงความเจริญสืบไป...

โอย คุณหมอคงให้เกียรติผมเกินไปแล้วครับ เขิน! ผมไม่ได้เป็นอาจารย์ และเพียงแต่มาแลกเปลี่ยนในประัเด็นที่เห็น ถึงอย่างไรก็ขอบคุณนะครับ

ความกตัญญูหรือคุณค่าใดๆ ของสังคม/วัฒนธรรม จะยั่งยืนหรือไม่ กลับอยู่ที่ตัวผู้ปฏิบัติเองว่าจะสามารถยืนหยัดอยู่กับความถูกต้องได้หรือไม่ (และจะพิจารณาได้อย่างไรว่าอะไรคือความถูกต้อง) 

ผมคิดว่ารากฐานสำคัญอันหนึ่งคือ self-esteem ซึ่งสังคมไทยละเลยเรื่องนี้อย่างเป็นระบบครับ ผลลัพท์ที่เห็น ก็เป็นอย่างที่ปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน

มีบันทึกแนะนำ “ ความภาคภูมิใจในตนเอง “.....เรามีหรือไม่มีกันแน่ ? ซึ่งแลกเปลี่ยนความเห็นกันเรื่องนี้ครับ อยากเรียนเชิญคุณหมอและผู้สนใจให้แวะไปหากมีเวลานะครับ 

ขออนุโมทนาในมุทิตาจิตที่คุณหมอให้ความรู้-คำเตือนแก่พวกเราอย่างสม่ำเสมอตลอดมาครับ

{ แก้คำผิดครับ "ผลักไส" ในความคิดเห็นที่ 11 ต้องใช้ไม้มลาย ขอโทษด้วยครับ }

ขอขอบคุณ... คุณ conductor

  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) เราไม่ได้นับว่า ใครมีหัวโขนอะไร เป็นอาจารย์ระดับใด หรือจบจากสถาบันอะไร ประเทศไหน
  • ผมเองก็ไม่ได้เป็นอาจารย์ ไม่เคยเรียนต่อต่างประเทศ ยกเว้นวัดพม่าในย่างกุ้ง 16 วัน โชคดีที่ไม่ได้ไปตอนเขายิงกัน...

เรามองกันที่คุณภาพของการรู้จักคิด การสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์+สังเคราะห์ข้อมูลเป็นความรู้ใหม่มากกว่า

  • ผมเองได้ข้อคิดจากท่านผู้อ่านมากมาย... ข้อคิดเหล่านี้มักจะนำไปเตรียมทำเรื่องใหม่ๆ ได้อีกหลายเรื่อง

สังคม gotoknow เป็นสังคมที่มีการเรียนรู้สูง และผมเชื่อมั่นว่า พวกเราต่างก็ได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนอะไรๆ กันทุกฝ่ายครับ... ขอขอบคุณ

คุณหมอช่างหาเรื่องอะไรน่าสนใจมาเขียนได้ตลอด

มัทขอพูดเรื่องนโยบายของรัฐละกันนะคะ

ไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี แต่เล่าให้ฟังว่ามีแบบนี้ด้วย

บางประเทศจะให้เงินคนที่เลี้ยงพ่อแม่หรือญาติที่แก่เฒ่าด้วยค่ะ (family care givers) เพราะบางคนต้องลาออกจากงานมาดูแลพ่อแม่ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้  นโยบายนี้เป็นดาบสองคม จะว่าดีก็ดี จะว่าแย่ก็แย่ มองได้หลายมุมค่ะ

ที่แคนาดานี้มีนโยบายให้ผู้อพยพรุ่นลูกพาพ่อแม่สูงวัย ปู่ย่าตายายมาอยู่ด้วยได้ เรียกว่า family reunification policy

มาลปรรเพิ่มค่ะ เพราะท่านอื่นเขียนไว้ดีแล้ว : )

สวัสดีค่ะ คุณหมอวัลลภ

  • ตนเองเพิ่งใช้บันทึกของ g2k สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะกายและจิตของวัยของตัวเองไปหมาดๆ พอเห็นบันทึกของคุณหมอ...ใช่เลย แก่มาอย่างเรา...ใครจะอยู่ด้วย
  • โสด มีแต่หลาน จะยึดติดก็ไม่ใช่สิ่งที่ควร แถมไม่มีมรดกอีก...แย่แน่ๆ
  • ตอนนี้เลยต้องพยายามปรับเปลี่ยนตัวเอง...ปรับเปลี่ยนแนวคิด... จะได้คลายความไม่ถูกใจ...และขี้บ่นลงไปบ้าง และแสดงให้หลานๆ รู้ว่าเรารักหลานแค่ไหน
  • เผื่อในอนาคต จะได้ไม่กลายเป็น คนแก่กำพร้า

ขอขอบคุณ...ทุกข้อความโดยเฉพาะท่านที่เปิดประเด็น เข้ามาบล็อกนี้แล้วเหมือนได้เพิ่มคุณภ่พทางความคิดของตนเอง หลังจากที่ต้องผ่านมลภาวะทางความคิดจากหลากสื่อในปัจจุบัน

ขอแลกเปลี่ยนทางความคิด...เห็นด้วยกับทุกท่านที่ว่า "ลูกเราเลี้ยงได้แต่ตัว หัวใจและความคิดยากคาดเดา" สังคมปัจจุบันและอานาคตจะเป็นสังคมของผู้สูงวัย ดังนั้นเรื่องที่อาจารย์กล่าวถึงจะกลายเป้นประเด็นปัญหาที่น่าขบคิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่แลสวัสดิภาพทางสังคม ล้วนแล้วแต่ต้องมีการวางแผนทั้งระดับบุคคลและระดับชาติ อีกหน่อยคงหนีไม่พ้นผู้สูงวัยที่ถูกทอดทิ้ง.........

ตัวดิฉันเองก็เป็นลูกคนหนึ่งที่อยู่ไกลพ่อ-แม่ ทุกครั้งก็ได้แต่กราบไหว้หมอนก่อนนอนแทนกราบเท้าท่าน...ภาวนาขอคุณพระคุณเจ้าคุ้มครอง โดยสส่วนตัวเชื่อว่า คนเป็นพ่อ-แม่ ไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าได้ส่ง รับรู้ ตอบกลับ จากบุคคลที่ท่านรัก..แค่นั้น แต่ปัญหามันอยู่ที่เราถูกมุ่งเน้นวัตถุมากว่าจิตใจ..ถูกฝังค่าเรื่องของ ความรักห่วงใยเป็นสิ่งของวัตถุไปเสียหมด

อยากฝาก..ถึงลูกๆๆที่ได้มีโอกาสอยู่ใกล้ พ่อ-แม่..ว่า ท่านโชคดีมากๆที่มีพระอรหันต์อยู่ที่บ้าน คอยให้พรทุกวันและคอยให้ท่านสั่งสมบุญไม่มีวันหมด เรื่องง่ายแค่ก่อนไปไหน ทำอะไร กราบแทบเท้า กอดซักหน่อย แล้วคุณจะรู้ว่าความสุขอยู่รอบตัวคุณทุกวัน....

สวัสดีค่ะ

คุณแม่ครูพรรณา ....มีกุศโลบายนี้ค่ะ

* ท่านชอบพูดเล่นกับลูกหลาน...แบบว่าภาษาใกล้กัน

* ชอบทำอาหารให้ลูกหลานกิน...และชวนให้ร่วมกันทำ

* มักขอตามลูกหลานไปเที่ยวด้วย.....บอกว่าขอเป็นฝ่ายพลาธิการให้ค่ะ

เข้ามาเยี่ยมค่ะ เห้นด้วยกับคุณหมอค่ะ

เข้ามาเยี่ยมค่ะ เห้นด้วยกับคุณหมอค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ..คุณหมอ...เป็นข้อแนะนำที่ดีมาก..ขออนุญาตหยิบข้อมูลไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนแล้วก็สะท้อนความคิดของใครอีกหลายๆคนนะคะ...(แล้วก็ต่อไปเวลา..ชรา...ลงจะได้จำไว้ว่าทำไงให้ลูกหลานรัก!!!...คิกๆ)

  • สวัสดีค่ะ คุณหมอ ขอร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ
  • เหตุผลอันดับต้น ๆ ของการมีลูกของคนตะวันออกคือ ต้องการให้มีคนมาเอาใจใส่ ดูแลตอนแก่เฒ่า แต่สำหรับคนตะวันตกเหตุผลนี้ไม่อยู่ในความคิดเลย คนตะวันออกคาดหวังให้ลูกมาดูแล จึงผิดหวังเมื่อลูกไม่มา คนตะวันตก ไม่เคยคาดหวัง แค่ลูกมาเยี่ยมช่วงคริสมาสต์ก็ดีใจแล้ว
  • เวลาเราเห็นคนแก่ฝรั่งสองคนตายาย อยู่กันตามลำพัง ต้องช่วยเหลือตัวเอง บางทีเราไปคิดแทนเขา ไปสงสารเขาว่าไม่มีลูกหลานมาดูแล้ว ( เมืองที่อยู่ที่เม็กซิโก จะมีคนอเมริกัน กับแคนาเดียนมารีไทร์เยอะมากค่ะ) แต่พอได้พูดคุยกับเขา เขาไม่ได้รู้สึกอย่างนั้นเลย เขากลับภูมิใจที่ได้ทำอะไรด้วยตัวเอง มีความสุขอยู่กับเพื่อนฝูงในวัยเดียวกัน ได้ทำสิ่งที่ตัวเองอยากทำด้วยซ้ำ เขาไม่ได้ต้องการให้ลูกหลานมาดูแล
  • คนตะวันตกจะรู้สึกตัวเองล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูก ถ้าเมื่อถึงวัยที่ลูกต้องออกไปช่วยเหลือตัวเอง แล้วยังไม่ยอมไป ส่วนพ่อแม่ชาวตะวันออก จะรู้สึกล้มเหลวเมื่อลูกไปไม่กลับ ไม่มาดูแลยามแก่เฒ่า ทั้งนี้ทั้งนั้นคิดว่าอยู่ที่ความคาดหวัง นะคะ ถ้าเราไม่คาดหวังอะไรมาก ก็ไม่ผิดหวัง ไม่เป็นกำพร้าค่ะ

 

ขอขอบคุณ... คุณพี่อักษร

  • ข้อคิดเห็นของคุณพี่อักษรโดดเด่นมากๆ ครับ
  • เรื่องมิติทางด้านตะวันออก-ตะวันตกนี่... คนไทยเราคงจะมองไม่ครอบคลุม ไม่กว้างขวางเหมือนคุณพี่อักษร เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ขาด "ประสบการณ์ข้ามวัฒนธรรม" หรือ cross-culture experience

จริงทีเดียว...

  • ชีวิตคนเรา... "ความผิดหวังมาจากความคาดหวัง"
  • คาดหวังมาก > ผิดหวังมาก
  • คาดหวังน้อย > ผิดหวังน้อย

อ่านข้อคิดเห็นของคุณพี่อักษรแล้ว มีความสุขจากความเข้าใจขึ้นมาทันที...

ขอขอบคุณ... คุณก้อนสี่เหลี่ยม 4 ก้อนมากๆ ครับ

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • ขอขอบคุณที่กรุณาแวะมาทำลิ้งค์ให้พวกเราได้เรียนรู้เพิ่มเติมครับ...

ขอขอบคุณ... คุณ tuk-ka-toon มากๆ ครับ

  • ความเห็นของคุณจะเป็นแบบอย่างให้คนสูงอายุรุ่นใหม่ต่อไปได้ดีมากๆ ครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ขอขอบพระคุณความเห็นจากคุณอรณิชา...

  • นี่เป็นความเห็นที่ทรงคุณค่ามากๆ และมีส่วนช่วยส่งเสริมสังคมไทยให้เป็นสังคมกตัญญูด้วยครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ขอขอบคุณข้อคิดดีๆ จากคุณพรรณามากๆ ครับ

  • สาธุ สาธุ สาธุ

ขอขอบคุณอาจารย์หมออัจฉรามากๆ ครับ

  • ขอขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่ง...

ขอขอบคุณอาจารย์กัสจัง...

  • ขอแสดงความชื่นชมที่คิดจะนำไปใช้ต่อ เป็นวิทยาทาน หรือเป็นธรรมทานครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ขอขอบคุณพี่อักษร...

  • ขอขอบคุณมากๆ ครับ
  • ความคิดเห็นของคุณอ่านแล้วทำให้เข้าใจโลก เข้าใจชีวิตมากขึ้น มีประโยชน์ต่อพวกเรามากๆ ครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

มันอยู่ที่การปลูกฝังของทางบ้านค่ะ บ้านหนูยังยึดธรรมเนียมกตัญญูแบบจีนแท้ๆ พี่น้องช่วยกันดูแลแม่ ถ้าจะไปไหนแล้วต้องทิ้งเขาอยู่บ้านคนเดียวยังไม่ทำเลย เวลาแม่จะไปหาหมอหรือหาคนไปเป็นเพื่อนทำธุระก็ไม่มีใครเกี่ยงกัน อยู่ที่ว่าใครสะดวกสุดก็พาไป แม่มาก่อน งานมาทีหลัง หนูว่าการศึกษา งาน ทรัพย์สิน ไม่ใช่ประเด็นหลัก น่าจะมาจากความสนิทสนมภายในครอบครัวที่ปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กมากกว่า

อย่างตอนนี้หลานชายพึ่งจะ 8 ขวบ เขาเก็บเงินค่าขนมทุกวันแล้วบอกว่าจะปลูกบ้านให้ย่าอยู่ จะดูแลย่าเอง หนูถือว่าเจตนาใช้ได้ ไม่มีใครเรียกร้อง เคยถามเขาว่าถ้าโตแล้วมีเงิน เลี้ยงตัวเองได้ อยากไปอยู่คนเดียวมั้ย สบายนะ ไม่ต้องดูแลย่าแก่ๆ อาแก่ๆ ให้รำคาญ เขาบอกว่าไม่เอา "เราเป็นครอบครัวเดียวกัน" นี่คือผลจากสิ่งที่บ้านเราปลูกฝังค่ะ คนในครอบครัวไม่ทอดทิ้งกัน ทำเป็นตัวอย่างให้เขาเห็นตลอดว่าเราห่วงใยกัน เป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ

นาย กสิณ สิทธิโรจน์

ขอแสดงความชื่นชม ครับ

กสิณ

ขอขอบคุณอาจารย์ Little Jazz...

  • คนตะวันออก โดยเฉพาะชาติตะวันออกไกลที่ได้รับอิทธิพลจากขงจื่อ (confucion) ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มีแนวโน้มจะมีความกตัญญูสูง
  • ความกตัญญูเป็นคุณธรรมที่ยังความเจริญ หรือเป็นมงคลธรรมได้ดีจริงๆ...

ขอกราบอนุโมทนาในกุศลเจตนาของพวกเราทุกท่านทุกคนที่มีความกตัญญูกตเวทีครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ขอบคุณมากค่ะ แต่ขอเพิ่มอีกหนึ่งนะคะ

*กตัญญูต่อพ่อแม่ ให้ลูกหลานดูค่ะ

เราอยากให้ลูก ทำอะไรให้ เมื่อเราแก่ วันนี้เรามีทำให้พ่อแม่เรารึยัง

ขอขอบคุณ... คุณแม่เจได

  • จริงครับ...
  • การทำดีเป็นแบบอย่างให้ลูกให้หลานดูนั้นเป็นการสอนที่ดีเยี่ยม...
  • ขอกราบอนุโมทนาในกุศลเจตนา... สาธุ สาธุ สาธุ

ขอขอบคุณ... คุณผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • และขอให้พวกเราทุกท่านทุกคนไม่กำพร้าลูกหลานครับ

ก็อย่าบ่นนักหนา ให้ความรักที่เท่าเทียมกัน อย่าให้ลูกหลานรู้สึกว่าบ้านคือนรก เพราะในโลกนี้ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ไม่นานก็ตายหมด ทำไมต้องรักลำเอียง คนนั้นมาก คนนี้น้อย คนเหมือนกัน เป็นลูกเหมือนกัน ต่างกันตรงไหน เพราะบ้านเป็นรนก ลูกหลานไม่มีความสุข เพราะรักลำเอียง เพราะบ่นๆๆๆๆ ไม่รู้จะบ่นไปทำไม บอกให้คนอื่นปล่อยวาง ตัวเองก็ต้องปล่อยวางก่อนซิ

ขอบคุณ... คุณนกมากๆ ครับ

  • ข้อคิดของคุณน่าสนใจมากๆ

ขั้นแรกที่จะไม่กำพร้าลูกหลานคือ

  1. เป็นฝ่ายให้มากกว่าเป็นฝ่ายรับ
  2. มีเมตตามากกว่าความแค้นเคือง
  3. รับฟังมากกว่าพูด
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท