ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา(ตอน 4)


 

...

 

ภาพเด็กสมาธิสั้น [ ADHD / attention deficit hyperactivity disorder; attention = ความสนใจ; deficit = ความบกพร่อง ขาดแคลน; hyperactivity = กิจกรรม (ทางกาย) มากเกิน; disorder = ความผิดปกติ ] > [ Bobmaximum ]

 

...

ภาพเด็กสมาธิสั้น (ADHD) จากสำนักว่าการรัฐคอนเนคทิคัท สหรัฐฯ > [ CT.gov ]

 

...

การศึกษาที่ทำในเด็กสมาธิสั้น (ADHD) 10 คนพบว่า การฝึกสมาธิแบบ TM (trancendental meditation) ซึ่งใช้วิธีนั่งหลับตา ท่อง "มันตรา (= มนตร์)" สั้นๆ เช่น อา-อีม ฯลฯ ช้าๆ ซ้ำๆ กันคราวละ 10 นาที 3 เดือนทำให้อาการเด็กสมาธิสั้นดีขึ้น

การศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาแรกเริ่ม ทว่า... ผู้เขียนขอยกเรื่องนี้มาประกอบบล็อก "ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา (ตอน 4)" ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                       

 

โรคสมาธิสั้นหรือ ADHD มีศัพท์ที่น่าสนใจคือ 'disorder' = ความผิดปกติ

 

  • 'disorder' > [ ดิส - อ๊อ - เด่อ ] > [ Click ] , [ Click]
  • 'disorder' > noun (นาม) = lack of order, illness = ภาวะขาดระเบียบ โรคภัยไข้เจ็บ

[ ฟัง + ออกเสียงตาม > คลิกลำโพงหรือธงชาติ ]

ภาษาอังกฤษมีคำที่ใช้เติมหน้าคำอื่น เพื่อเปลี่ยนความหมายของคำอื่น เรียกว่า "อุปสรรค (prefix; pre- = มาก่อน; fix = ทำให้ติด)" 

คำ 'dis-' เป็น prefix กลุ่ม "ปฏิเสธ" หรือกลุ่ม "ไม่" = not (ไม่) , remove (นำออก), opposite (ตรงกันข้าม) โปรดสังเกตว่า ภาษาอังกฤษอะไรที่มี "ดี (ตัวอักษร 'D') อยู่ด้วยมักจะมีความหมายไม่ค่อยดีเสมอ เช่น ถ้าได้เกรด 'd' ก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ฯลฯ

 

  • order = ระเบียบ วินัย > disorder = ความไม่มีระเบียบ โรคภัยไข้เจ็บ
  • similar = เหมือน > dissimilar = ไม่เหมือน
  • ability = ความสามารถ > disability = ความไร้สมรรถภาพ ไม่มีความสามารถ

ให้ย้ำเสียง (ทำให้เสียงหนัก) ตรงเสียงที่ใช้อักษรตัวหนาและขีดเส้นใต้ เสียงสุดท้ายที่ใช้ตัวเอียง ให้พูดเบาคล้ายเสียงกระซิบ อย่าพูดภาษาอังกฤษโดยไม่ย้ำเสียง (accent) เพราะฝรั่งฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ

...

 

ที่มา                                                         

  • Thank Reuters > Meditation seen promising as ADHD therapy > [ Click ] > January 5, 2009. / Current Issues in Education.
  • บล็อกของเรามุ่งส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค... ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 6 มกราคม 2552.
หมายเลขบันทึก: 233663เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2009 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท