Human Tree (ต้นมนุษย์) ตอนที่หนึ่ง


“การพัฒนาทุนมนุษย์ โดยแนะนำแนวทาง วิธีการให้เกิดแนวคิดในทางที่ดีขึ้น เข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น เพิ่มพูนในเรื่องของ ทัศนะคติที่ดี ,ความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งทาง IT ,สร้างเสริมภูมิปัญญา ,ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดในเชิงนวัตกรรม, พัฒนาด้านอารมณ์ให้เหมาะสมทุกสถานการณ์ ยึดหลักแนวทางจริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถที่จะไปถึงจุดที่มีความสุขได้อย่างแท้จริง และต้องพยายามที่จะช่วยแนะนำให้เขาเหล่านั้นเข้าใจและปฏิบัติให้ได้อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมของเขาเหล่านั้นให้ได้ เพื่อความสำเร็จและความสุขที่ยั่งยืนซึ่งนำมาถึงทุนทางสังคมที่ดีในอนาคต”

Human Tree (ต้นมนุษย์)

 

     คำว่า ต้นมนุษย์ ผู้เขียนต้องการจะเริ่มต้นด้วยบทความตอนแรกนี้ว่าด้วยเรื่องที่มาของคำว่า ต้นมนุษย์ ก่อนว่าเป็นมาอย่างไรและผู้เขียนได้เตรียมหัวข้อต่าง ๆ ในบทความที่จะเขียนตอนต่อ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ เพื่อเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นของผู้ที่สนใจ  และเป้าหมายที่แท้จริงก็คือความต้องการที่จะพยายามพัฒนาบุคลากร หรือนักเรียน หรือนักศึกษา หรือผู้รักการอ่าน การพัฒนา หรือผู้ที่จะต้องการความก้าวหน้า หรือผู้ที่จะต้องความท้าทาย หรือผู้ที่ต้องการจะ เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น และอื่น ๆ อีกมากมาย  โดยมีเป้าหมายและจุดหมายเหมือนกันคือ การพัฒนาทุนมนุษย์  โดยแนะนำแนวทาง  วิธีการให้เกิดแนวคิดในทางที่ดีขึ้น เข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น เพิ่มพูนในเรื่องของ ทัศนะคติที่ดี ,ความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งทาง IT ,สร้างเสริมภูมิปัญญา ,ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดในเชิงนวัตกรรม, พัฒนาด้านอารมณ์ให้เหมาะสมทุกสถานการณ์   ยึดหลักแนวทางจริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถที่จะไปถึงจุดที่มีความสุขได้อย่างแท้จริง และต้องพยายามที่จะช่วยแนะนำให้เขาเหล่านั้นเข้าใจและปฏิบัติให้ได้อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรมของเขาเหล่านั้นให้ได้  เพื่อความสำเร็จและความสุขที่ยั่งยืนซึ่งนำมาถึงทุนทางสังคมที่ดีในอนาคต

 

      การพัฒนาคนหรือการสร้างทุนมนุษย์ให้ได้ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ผู้เขียนอยากจะเปรียบเทียบกับต้นไม้เพื่อจะทำให้ง่ายต่อการเข้าใจจึงเป็นที่มาของ ต้นมนุษย์ จากประสบการณ์ที่เขียนบทความมาได้ระยะหนึ่งและความตั้งใจที่จะเขียนบทความให้ดี  มีคุณค่า  มีประโยชน์ต่อผู้อ่านจริงๆ จึงมีความคิดที่จะสร้างบทความทุก ๆ ตอนให้มีแนวทาง(Road Map)  อย่างมีขบวนการ (Process) ที่ดีเพื่อให้เข้าใจง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ๆ  ผู้เขียนจึงได้นำแบบอย่างของทฤษฎี 8K’s และ 5K’s ของท่านศาสตราจารย์  ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รวมทั้งแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ของท่าน อีกทั้งจะนำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้เรียนมาตอนเป็นนักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตแขนงนวัตกรรมการจัดการภาคธุรกิจ (Innovative Management) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  และขอให้ผู้อ่านมั่นใจได้เลยว่าคณาจารย์ทุกคนล้วนแล้วแต่มีคุณภาพ มีชื่อเสียงระดับต้น ๆ ของประเทศเทศไทย อีกทั้งยังมีอาจารย์ชาวต่างชาติที่มีชื่อเสียงอย่างมาก ๆ อีกด้วย  และตัวผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์การทำงานมากว่าสามสิบปีและมีพื้นฐานการศึกษาจบปริญญาตรีด้านบัญชีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบปริญญาโททางด้านบริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ประสบการณ์การทำงานเป็นผู้บริหารในองค์กรระหว่างประเทศและในประเทศระดับชั้นแนวหน้ามาแล้วในทุก ๆ ด้านได้แก่ ขาย การตลาด การจัดการ การส่งออก การนำเข้า การบัญชี การเงิน และการบริหารงานบุคคล  ปัจจุบันงานหลักคือการพัฒนาคน  การมองให้เห็นถึงความสามารถของคนที่ซ่อนอยู่ภายในและต้องนำออกมาใช้และแสดงให้ได้  การที่ต้องช่วยให้คนอื่น ๆ มองเห็นโอกาส การสร้างโอกาสได้เอง การสร้างโอกาสในอนาคตให้ได้ด้วยตัวเอง

 

       ผู้อ่านอาจจะงง ๆ ว่าผู้เขียนมีอาชีพอะไร  ผู้เขียนนอกจากเป็นวิทยากรพิเศษให้โครงการสอนปริญญาโทในหลาย ๆ มหาวิทยาลัยแล้ว  ยังเป็นผู้บริหารในองค์กรภาคธุรกิจด้าน IT และยังนั่งเป็นที่ปรึกษา SMEs ด้านการบริหารจัดการธุรกิจและ IT ในฝ่ายประสานและบริการ SMEs ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม) มีหน้าที่คอย(ทุกวันศุกร์)ให้คำปรึกษานักธุรกิจ 3 ประเภทคือ ผู้ประกอบการใหม่ที่ต้องการคำแนะนำในด้านต่าง ๆ , นักธุรกิจที่กำลังเผชิญปัญหาวิกฤตต้องการมองหาทางออกของปัญหา และนักธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจมาได้ดีแล้วไม่รู้จะต่อยอดอย่างไร และถ้าเขาต่อยอดไม่ได้จะทำให้เกิดวิกฤตได้ในอนาคตนั่นเอง  นี่คือสิ่งที่ทำอยู่ทุก ๆ วันถ้ามองลึก ๆ แล้วคือการสอนให้คนรู้จักวิธีพัฒนาตัวเอง สอนให้เขาเหล่านั้นรู้จักคิดและนำไปปฏิบัติ สอนผู้ประกอบการให้มองทะลุปัญหาและแก้ปัญหาได้  สอนให้ผู้ประกอบการรู้จักวิธีการสร้างโอกาสทางธุรกิจได้เอง เป็นต้นหรือในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Coaching (ผู้ฝึกสอน)  และนี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความตั้งใจที่จะสร้างบทความที่เป็นประโยชน์สามารถช่วยให้เขาเหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้ตัวเองจากบทความซึ่งจะเป็น Coaching ให้เขาเหล่านั้นได้และก็ตรงกับทฤษฎี 4L’s ของท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์นั่นเองซึ่งเราจะมาอธิบายในตอนต่อไป

ธนพล ก่อฐานะ

หมายเลขบันทึก: 278629เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นบทความเริ่มต้น และจะมีตอนต่อ ๆ มาซึ่งจะพยายามรวบรวมคำแนะนำที่ดี และทฤษฎีที่ดี พร้อมทั้งการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ

ท่านอาจารย์ธนพลคะ เป็นบทความเริ่มต้นที่ดีมากค่ะ แต่ด้วยความที่แอมมี่ไม่ทราบถึงคำจำกัดความของ ทฤษฎี 8K’s , 5K’s และ ทฤษฎี 4L’s ของท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้จำเป็นต้องตามไปหาอ่านที่บล็อคท่านศ.ดร.จีระ เอาเอง บทความนี้จะมีคุณค่า มากขึ้นอีกเท่าตัว

ถ้าท่านอ.ธนพล จะกรุณาเขียนอ้างอิง ถึงคำจำกัดความสั้นๆ ของ ตัวย่อทฤษฎีหรือแนวคิดทั้งหลาย เพื่อผู้อ่านจะได้ไม่ต้องหาอ่านจากที่อื่น (ให้เสียเวลา) เป็นการดำเนินการกลยุทธ์การสร้างบล็อคแบบ One-Stop-Service เพื่อประโยชน์ของผู้อ่านแบบเบ็ดเสร็จ

นอกจากนี้ ก็ยังสนใจที่จะอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานอันยาวนาน ที่ทรงคุณค่า หากท่านอาจารย์จะได้เล่าเป็นเกร็ดเล็กๆ เกร็ดน้อยเอาไว้  เพราะมีไม่กี่ท่านที่ทำงานทางด้าน IT แล้วมาแชร์ความรู้ไว้

แอมมี่ยินดีที่ได้รู้จัก  และจะติดตามอ่านผลงานของท่านต่อไปค่ะ

อิศราวดี ชำนาญกิจ (แอมมี่)

(ปล.ขอเป็นนักศึกษาตลอดชีวิตค่ะ ^^)

เรียนอาจารย์ dr-ammy

ผมจะรีบอธิบายในตอนต่อ ๆ ไปนะครับ(ต้องขอโทษทีผมจะทะยอนเขียนเป็นตอน ๆ เพราะการเขียนแต่ละครั้งมีเวลาจำกัด เพราะทำงานประจำอยู่ด้วยจะเขียนตอนว่างแต่ละตอนผมใช้เวลาประมาณ 1ชม.นะครับ

แต่ผมได้ส่งหัวข้อมาให้ก่อนนะครับ

ทุน 8K's คือ

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ พฤติกรรม

ทุน 5K's คือ

1. Creative Capital

2. Knowledge Capital

3. Innovation Capital

4. Emotional Capital

5. Culture Capital

สำหรับ 4L's คือ

Learning Methodology

Learning Environment

Learning Opportunities

Learning Communities

ผมจะรีบอธิบายโดยเร็วที่สุดนะครับ

ขอบคุรมาก ๆ ๆ ๆ ครับ

ธนพล ก่อฐานะ

น่าจะใช้คำว่า เครือข่ายมนุษย์ นะครับ

เรียนคุณจักรพรรดิพยายม

ขอบคุณมากครับที่เสนอแนะ บังเอิญผมจะมีการอธิบายความหมายอย่างต่อเนื่องและจะได้เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นต้นไม้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท