คงไม่ใช่แค่ใส่เสี้อเหลือง


แล้วก็จะกลายเป็นหมู่บ้านที่หาแก่นสารอะไรไม่ได้

 ข้อเขียนต่อไปนี้ จะเป็นการบันทึกเรื่องราว จากการได้มีโอกาสได้เรียนรู้ การดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเล็กๆ ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง และประสบความสำเร็จอย่างเป็นธรรมชาติ และได้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสทุกขั้นตอน มาใช้ เป็นแนวทาง    จะทำให้มองเห็นว่า ควรเริ่มต้น จากเรา บ้านเรา หมู่บ้านเรา แล้วจึงนำสิ่งเหล่านี้มาต่อเป็นจิ๊กซอ ก็จะได้เป็นผืนแผ่นดินไทย ที่สุขสมบูรณ์ สมกับเป็นต้นแบบ และสมกับเป็นแผ่นดินของเจ้าของทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่ยอมรับกันทั่วโลก ณ ปัจจุบันนี้  

     ท่านผู้ใหญ่ชาติชาย เหลืองเจริญ  แห่งบ้านจำรุง อ.แกลง จ.ระยอง ได้ให้ความกรุณา เดินทางมาเป็นวิทยากร ให้การอบรมเรื่องการพัฒนางานสาธารณสุขตามรอยเบื้องยุคคลบาท ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงที่ผู้เขียน รู้สึกประทับใจ ในผลงานของท่านมาก การพัฒนาตามรอยเท้าพ่อ ที่ใช้เวลา 20 ปี จากหมู่บ้านเล็กๆ ที่กำลังจะถูกวิวัฒนาการสมัยใหม่มาครอบงำ แล้วก็จะกลายเป็นหมู่บ้านที่หาแก่นสารอะไรไม่ได้ เพราะเวลาที่ล่วงเลยไป ทำให้ คนรุ่นใหม่ หลงลืมวิถี ความเป็นไทยแท้ของตนเอง

     ผู้ใหญ่ชาติชาย ผู้ชายเสียงเหนอ ที่สื่อด้วยภาษาระยอง อายุยังไม่มากเท่าไหร่ ท่านได้มาถ่ายทอดการดำเนินงานในหมู่บ้าน ตามแนวเศษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่อไปนี้จะขอนำมาเล่าสู่กันฟัง ตามที่ได้บันทึก ไว้ในความทรงจำ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อหลายๆท่าน รวมทั้งตัวผู้เขียน ที่กำลังศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์กับตนเอง และชุมชนที่ดูแลอยู่

 ท่านผู้ใหญ่บรรยายง่ายๆ กับสไลด์ที่เป็นเพียงภาพกิจกรรม และตัวหนังสือกำกับ อยู่ไม่กี่ตัว แต่เรากับเข้าใจ และตั้งใจฟังกันทั้งห้อง

 คนในปกครองของท่านมีประมาณ 600 คน พื้นที่เป็นชนบท ทำสวนยาง ปลูกข้าว สวนผลไม้ เหมือนชาวระยองโดยทั่วไป มีการใช้เครื่องจักรกล ใช้สารเคมี สมัยใหม่ มีพ่อค้าที่โกงกิโลเข้ามาผูกขาด สินค้าในหมู่บ้าน นี่คือภาพอดีตเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่ด้วยสายตาอันกว้างไกลของผู้นำหมู่บ้าน ทำให้บ้านจำรุง ไม่ถูกกลืนหายไปพร้อมกับการเวลาที่ผ่านไป

 รวมคน

    สิ่งหนึ่งที่เป็นทรัพยากรสำคัญของการพัฒนาคือคน ผู้ใหญ่สร้างศูนย์รวมสำหรับคน โดยใช้กิจกรรม ร่วมทุนก่อตั้งร้านค้าชุมชน มีการถือหุ้น และจำกัดหุ้น มิให้ผู้มีเงิน มาถือหุ้นมากๆ แล้วก็จะนำไปสู่อิทธิพล กลายเป็นผู้มีเสียงดังกว่าใครในหมู่บ้าน ผู้ใหญ่ต้องการเชื่อมสัมพันธ์ โดยใช้ความเสมอภาค สามัคคี มีการค้าขายกันเอง รวมทั้งสินค้าเกษตรที่ผลิตเอง ร้านค้ามีอายุครบ 20 ปี และยังดำเนิการต่อไปได้ นับวันจะยิ่งเจริญ เพราะถึงวันนี้ หมู่บ้านจำรุง มีผู้คนมาศึกษากันดูงานกันมากมาย ปีที่แล้วร้านค้าเล็กๆแห่งนี้ มีรายได้ถึง 4 ล้านบาท แทบไม่น่าเชื่อ ว่าร้านค้าจะเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจของชุมชนได้เป็นอย่างดี 4 ล้านสำหรับรายได้ หรือ 4 ล้านนี้ต้องตกไปอยู่ในมือของห้างร้านต่างชาติก็ได้  มีคนถามว่า อะไรคือตัวชี้วัดความสำเร็จนี้ ผู้ใหญ่บอกว่า ตัวชี้วัดสิ่งเดียว คือ การมีชีวิต ของสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว ร้านค้ายังมีชีวิตชีวา ไม่ล่มสลาย จับต้องสัมผัส เรียนรู้กันได้ นี่คือคำตอบง่ายๆ ที่ฟังก็เข้าใจทันที ไม่ต้องตีความ

  ในตอนต่อไปผู้เขียนจะขอเสนอการรักษาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียง และรวมถึงการแก้ไขปัญหา เมื่อชาวบ้านยอมจำนน ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และสารเคมี แต่ผลผลิตออกมากลายเป็นพืชผลที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เพราะชาวบ้านเรียกผลผลิตของตนว่า มันขี้เหร่

หมายเลขบันทึก: 132364เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2007 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีเจ้าค่ะ

         สบายดีไหมค่ะ.............ชุมชนจะเข้มแข็งจะต้องมีผู้นำที่ดีค่ะ  เป็นกำลังใจให้นะเจ้าค่ะ

         หนึ่งกำลังใจ ---------> น้องจิ ^_^

สวัสดีค่ะน้องจิP

 เห็นหน้าของน้องจิทีไร สดชื่นทุกที น่ารักมากค่ะ และยังมีน้ำใจเข้ามาให้ข้อคิดเห็นอีก ช่วยกันต่อจิ๊กซอ ให้เต็ม ภายใน 5 ธันวาคมม นี้นะคะ

มาเยี่ยม...คุณ

P
2. ตันติราพันธ์
คนที่คิดดีทำดีและพูดดีนี้น่าชื่นชมนะครับผม...

สวัสดีค่ะคณPUmi

   รู้สึกเหมือนคุณUmi ค่ะ และจะได้ นำเรื่องราว ของคนดีๆ เหล่านี้ ช่วยเผยแพร่ต่อไป เรามาช่วยกันสร้างสังคมสีขาวต่อๆกันไปนะคะ ขอบคุรค่ะ

สวัสดีครับ

  • ที่จริงเรื่องแบบนี้ผมทำตั้งแต่สมัย 20 ปีที่แล้ว
  • รวมกลุ่มด้วยกิจกรรมหลัก เช่นการออมทรัพย์ การลงหุ้น การแปรรูป การทำแปลงรวม การถ่ายทอดความรู้
  • แต่ต้องเป็นขุมชนใหม่ หน่วยงานไม่เคยเข้าไปยำ
  • และผู้นำเข้มแข็ง

สวัสดีค่ะพี่เกษตร

   เห็นด้วยกับพี่เช่นกัน ยอมรับว่า บางครั้งระบบ ของบางหน่วยงาน ก็ทำให้ยุงยากต่อการสานต่อ หรือเริ่มใหม่ ก็คงเอาไว้ก่อน เรามาเริ่มทำที่ทำง่าย ทำได้ก่อน ก็จะได้มีกำลังใจค่ะ หรือไม่อีกที ก็รอให้ผู้นำของเขา มีความเห็นชอบ เห็นถูกเสียก่อน ถีงตรงนี้ ก็คงต้องภาวนาแล้วละค่ะพี่

สวัสดีครับ ..

ชุมชนหลายแห่งผลิกผันชีวิตจากเรียบง่ายไปสู่ความทะเยอทะยานอย่างน่าใจหาย

เมื่อครั้งที่ผมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาพานิสิตออกติดตามโครงการ SML  พบว่าส่วนใหญ่ชาวบ้านมุ่งเน้นไปด้านการสร้างศาลาเอนกประสงค์ซะมากกว่า  ไม่ค่อยนิยมนำมาสร้างโรงสี  หรือแม้แต่ร้านค้าชุมชน

กรณีร้านค้าชุมชนนั้นพบในหมู่บ้านที่อยู่แสนไกลจากตัวเมือง  และผมก็แสดงความชื่นชมในแนวคิดการสร้างร้านค้าชุมชนเช่นนั้นเสมอ  ยิ่งได้ฟังบันทึกนี้  ยิ่งชี้ให้เห็นว่า  ผู้คิดระบบนี้ย่อมเข้าใจประเด็นปัญหาที่ชัดเจน

และเห็นด้วยกับแนวคิดอันเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ  ดังว่า  การมีชีวิต ของสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว ร้านค้ายังมีชีวิตชีวา ไม่ล่มสลาย จับต้องสัมผัส เรียนรู้กันได้

สวัสดีค่ะคุณแผ่นดิน

   ขอบคุณอีกครั้งกับการแสดงความคิดเห็น จากประสบการณ์ของแต่ละท่านที่ผ่านมา เป็นประโยชน์ ต่อ ผู้เขียน และผู้ได้อ่านมากๆ และก็จะเป็นแนวทางในการเริ่มก้าวเดินตามรอยพ่อ ของใครหลายๆคนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท