นิยายโบราณ


อิบเราะฮฺ การเรียนรู้โดยการสังเกต

                เมื่อคืนนั่งอ่านหนังสือที่ซื้อมาจากซาอุฯเมื่อครั้งไปทำฮัจญ์เมื่อสองปีที่แล้ว ไปครั้งนั้นซื้อมาหลายเล่ม ก็พลิกอ่านไปเรื่อยๆ ใกล้เล่มใหนหยิบมาดูเล่มนั้น ไม่เคยได้อ่านอย่างจริงจังจนจบในเล่ม เล่มที่หยิบมาดูเมื่อคืน มีชื่อเรื่องว่า "التربية بالعبرة" แปลเป็นไทย ประมาณว่า “การศึกษาโดยใช้แบบอย่าง” ในหนังสือเล่มนี้ยกอายัตต่างๆ ที่เป็นหลักฐานว่าในอิสลามใช้วิธีการสอนแบบนี้อยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องราวของมนุษย์ในสมัยต่างๆ พลันไปนึกถึงเพื่อนๆ สมัยเรียนวิทยาลัยครู ตอนนั้นผมอายุยังไม่ถึง 20 ปี ยังไม่ได้ศึกษาศาสนาอย่างจริงจัง เพราะสำคัญตนเองผิดว่ารู้อิสลามเพียงพอแล้ว ในฐานะที่อยู่ท่ามกลางคนเรียนการสอนศาสนามาแต่เด็ก

                 เรื่องมันมีอยู่ว่า เพื่อนคนหนึ่งได้เตรียมเรื่องนำเสนออาจารย์ และเรื่องที่เพื่อนนำเสนอนี้เป็นเรื่องประวัติของนบีที่ได้มาจากอัลกุรอาน พอเพื่อนรายงานจบ อาจารย์ท่านนั้นก็บอกว่า นั้นเป็น นิยายโบราณ ที่มีในคัมภีร์ เพื่อนก็เถียงอาจารย์ว่า นี่ไม่ใช่นิยายแต่เป็นศาสนา มันเป็นปรัชญา.. ตอนนั้นผมก็ยังไม่เข้าใจปรัชญา เลยหันมาถามเพื่อนที่อยู่ข้างๆว่า  ปรัชญา คือ อะไร เพื่อนคนนั้นก็ตอบว่า มันเหมือนคนที่อยู่ได้ทะเลที่เวิ้งว้างได้ค้นพบ .. ก็ยิ่งงง... แต่ก็นำคำโต้เถียงระหว่างอาจารย์กับเพื่อนคนนั้น ... ผมมองว่าถูกของอาจารย์ที่ว่านี่คือนิยายโบราณ แต่นิยายคือเรื่องที่แต่งขึ้น แต่ถ้าหมายถึงแต่งขึ้น คำกล่าวของอาจารย์กระทบความรู้สึกของพวกเราพอควร พวกเราเชื่อว่ามันเป็นคำพูดของพระเจ้า ไงอาจารย์มาว่าอย่างนี้... 

                นิยายโบราณ อย่างที่อาจารย์ท่านนั้นว่า .. จริงๆแล้วเป็นเรื่องราวของชนในยุคต่างๆ ที่อัลลอฮฺเล่ามาให้พวกเรารุ่นหลังได้รับและถือไปปฏิบัติเป็นแบบอย่าง อย่างที่พระองค์กล่าวในซูเราะฮฺ ยูซุฟ อายัตที่ 111  ว่า

َقَدْ كَانَ فِي قَصَصِهِمْ عِبْرَةٌ لِّأُوْلِي الأَلْبَابِ

ความว่า :  แท้จริงในเรื่องราวของพวกเขาเหล่านั้น คือ แบบอย่างแก่ผู้มีปัญญา

                จากอายัตนี้จะเห็นได้ว่าประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ3  ประการ คือ

1.               قَصَصِهِمْ (เรื่องราวของพวกเขา) قصص (เกาะเศาะฮฺ) เป็นพหูจน์ของคำว่า قصة (กิศเศาะฮฺ) แปลว่า เรื่องเรา هم (ฮุม หรือฮิม) แปลว่า เขา ในที่นี้อุลามาอฺหรือนักอรรถาธิบายได้อธิบายพอสรุปได้ดังนี้

·        เนื่องจากอายัตนี้เป็นอายัตในซูเราะฮฺ ยูซุฟ เรื่องราวในที่นี้หมายถึงเรื่องราวของ นบี ยูซุฟ ตั้งแต่เด็กๆ จนกระทั้งเป็นเจ้าผู้ดูแลนคร เรื่องราวความอิจฉาริษยาจากบรรดาพี่น้องถึงขั้นต้องการฆ่าน้อง เรื่องราวความหล่อเหลาของท่านทำให้มีสตรีสาวสวยมาชวนท่านนอนด้วย แต่ด้วยความดีทำให้ท่านยอมเข้าคุก เรื่องการจัดการทางด้านการเกษตร ต่างๆเหล่านี้ ถ้าเราได้อ่าน ได้ศึกษา จะให้ความรู้ สามารถไปปรับใช้ในชีวิตประจำได้เป็นอย่างดี ทั้งในด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือแม้กระทั้งการจัดการกับสิ่งแวดล้อม

·        นักอรรถาธิบายบางท่าน ได้ให้ความเห็นว่า เรื่องราวที่หมายถึงในที่นี้หมายถึงเรื่องราว ของบรรดานบี ต่างๆ ตั้งแต่ นบีอาดัม จนถึงนบี อิซา (เยซู) เรื่องราวการบังเกิดอาดัมจากดิน ความโอหังของอิบลิสที่สำคัญตนว่าชั้นสูงกว่าอาดัม และความรู้ที่อัลลอฮฺยืนยันว่าต้องได้จากการเรียนรู้ ไม่ใช่จากเชื้อชาติวงศ์ตระกูล เรื่องราวความอิจฉาริษยาที่ทำให้พี่น้องต้องฆ่ากันตาย อันเนื่องมากจากการปฏิเสธการกระทำดีและสตรี การเรียนรู้จากการสังเกตุจากสิ่งรอบข้าง เรื่องราวการสร้างรูปบูชาในประวัติศาสตร์มนุษย์มันมาจากไหน เกิดขึ้นเพราะเหตุใด ทำไมอิบรอฮีมทำลายรูปบูชา ชนเผ่าอิสรอีลทำไมต้องทรยศนบีมูซา(โมเสส) ทำไมพวกเขาต้องระเหเร่ร่อนในทะลาทรายเป็นเวลาเกือบร้อยปี จนกระทั้งเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างนบีอีสากับสาวกของท่าน ที่มันถูกบิดเบือน จนพวกเขาปฏิเสธความเป็นจริง

·        มีบางท่านได้ให้ความหมายนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างบนแล้ว ท่านยังได้ให้ความหมเรื่องราวที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนในยุคต่างๆ อัลลอฮฺก็ได้แจงให้พวกเราทราบและได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขา เช่น ทำไมมนุษย์สมัยนี้(บางคน)พยายามจะเชื่อว่าบรรพบุรุษของเขามาจากลิง ถ้าเราได้ศึกษาชีวิตของชาวยิวในยุคก่อนก็สามารถที่จะคิดหาคำตอบใน เรื่องราวต่างๆที่อาจารย์ท่านนั้นว่า เป็น นิยายโบราณ

2.               عِبْرَةٌ มีอุลามาอฺ(ที่ศึกษาจากอัลกุรอานและหะดีษ ไม่ได้ศึกษาจากการทดลองหรือสรุปจากที่ได้สังเกตมาเหมือนอย่างนักวิชาการสมัยใหม่)ได้ให้ความหมายของคำว่า عبرة  หรือ اعتبار ดังนี้

·        อัลวาฮิดีย์ ได้กล่าวว่า  اعتبار หมายถึง การมองสิ่งหนึ่งเพื่อให้รู้จักในสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกัน [1] 

·        อัรรอฆิบ อัล-อัศฟาฮานี ได้กล่าวว่า ความหมายเดิมของคำ عبر คือ การที่เหตุการหนึ่งไหลไปถึงเหตุการหนึ่ง และท่านได้ให้ความหมาย اعتبار หรือ عبرة ในที่นี้ว่า “การเชื่อมระหว่างความรู้ที่ได้จากการรับรู้จริงกับสิ่งที่ยังไม่รับรู้”[2] 

·        อับดุลเราะฮฺมาน อัน-นัฮลาวี ได้ให้ความหมาย عبرة  ว่าหมายถึง วิธีการศึกษาวิธีหนึ่งที่ได้ใช้ในอัลกุรอาน ด้วยวิธีการย้ายความคิดจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นสู่เหตุการณ์ทีเหมือนกันหรือคล้ายกันที่มนุษย์หรือผู้เรียนได้ประสบ[3] 

3.                أُوْلِي الأَلْبَابِ หมายถึงผู้มีปัญญา ผู้ใช้ปัญญา หรือคนฉลาด

                    เรื่องราวต่างๆที่อัลลอฮฺได้ยกมาในอัลกุรอาน ไม่ใช่นิยายโบราณอย่างที่อาจารย์ท่านนั้นเข้าใจที่ได้จากการแต่งของมนุษย์ด้วย แต่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในอดีตที่บอกเล่าสู่เราทุกวันนี้ผ่านคัมภีร์ที่ผู้สร้างแจ้งให้เรารับรู้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากข้อสันนิฐาน(เดา)ของนักโบราณคดี

                     เรื่องราวต่างๆเหล่านั้น ไม่ใช่ให้เราได้ฟังหรือรับรู้เพียงเพื่อการบันเทิง หรือเพื่อทึ่งในความสามารถ ความแปลกประหลาดของคนรุ่นเก่า แต่ให้เรารับรู้เพื่อเป็นบทเรียนโดยให้นำเหตุการณ์ต่างๆเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับชีวิตปัจจุบันของเราแล้วไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับชีวิตและเหตุที่เราประสบอยู่ หรืออย่างที่นักจิตวิทยากลุ่มปัญญาสังคมเรียกว่า การเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning หรือ Modeling)

                       ผมอยากให้พวกเรามาพิจารณา ระหว่างอายัตอัลกุรอานข้างต้น ซึ่งมีมาตั้งแต่ 1420 กว่าปี กับ แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้โดยการสังเกตุ(Observational Learning) หรือ ทฤษฎีทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Learning Theory) ของแบนดูรา (1925- ) ที่ได้ท่านได้สรุปเมื่อ ปี 1969(เมื่อ 50  ปีมานี่เอง) โดยท่านให้ความเห็นว่าการเรียนโดยการสังเกตุนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3  ประการ คือ

1.               แม่แบบ (Model หรือ  Behavioral Model)

2.               ผลกรรมจากพฤติกรรมของแม่แบบ (Consequences of the Modeled Behavior)

3.               กระบวนการทางปัญญาของผู้เรียน (Learner’ Cognitive Process)ทั้งสามอย่างนี้

สามารถสรุปได้จากอายัตเดียวที่กล่าวข้างต้น คือ قَصَصِهِمْ , عِبْرَةٌ และ لِّأُوْلِي الأَلْبَابِ 



[1] فتح القدير เล่ม 5  หน้า 196
[2] المفردات في  غريب القرآن  หน้า 320
[3] التربية بالعبرة  หน้า 17
หมายเลขบันทึก: 98792เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2007 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
คงต้องมาอ่านอีกรอบจึงจะลึกซึ้ง
นูรีซัน ทองประสิทธิ์

ลึกซื้งมาก อิสลามคือศาสนาที่แท้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท