มากรวดน้ำและทำบุญร่วมชาติ กันหน่อยเร็วๆ


 “ สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรทำความผูกพัน
เพราะเป็นสิ่งที่ ล่วงไปแล้ว อย่างแท้จริง
แม้กระทำความผูกพัน และหมายมั่น
ให้สิ่งนั้น กลับมาเป็นปัจจุบัน ก็เป็นไปไม่ได้

ผู้ทำความสำคัญ มั่นหมายนั้น เป็นทุกข์แต่ผู้เดียว
โดยความไม่สมหวัง ตลอดไป อนาคตที่ยังมาไม่ถึงนั้น
เป็นสิ่งไม่ควรไปยึดเหนี่ยว เกี่ยวข้องเช่นกัน ”

“ อดีตปล่อยไว้ตามอดีต
อนาคตปล่อยไว้ตามกาลของมัน
ปัจจุบันเท่านั้นจะสำเร็จประโยชน์ได้
เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ ไม่สุดวิสัย ”


(คำสอนของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)...สาธุ..

* * * * * * * * * * * * * * *

........แฮ่ะๆๆ.........
วันนี้ข้าน้อย นามว่าตาติ๊ก
นำพระธรรม คำสอน มาเกริ่นนำ ซ้ะเทห์เชียว น๊ะเนี๊ยะ.
แต่ซักประเดี๋ยว พระธรรมะ ก็ตะบะแตกตามเคย..
ตามสไตล์ ของตาติ๊ก เหมียนเดิมน่ะ...ไม่ต้องเครียดหรอก
เห็นว่าดี ก็เลยเก็บมาฝาก พี่น้อง ผองเพื่อน....
เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้าง และถ้าชาติหน้ามีจริง
ก็จะได้ มาเป็นเพื่อนกันอีกไงล่ะ....เน๊าะๆ

แถมท้ายด้วย เรื่อง
ความเป็นมาของการ "กรวดน้ำ"
มาเล่าสู่กันฟัง .....เอ๊า.เชิญ...ตามมา...เร็วๆๆ


เรื่องมีอยู่ว่า............กาลครั้งหนึ่ง.....แถ่มแทม.......

พระเจ้าพิมพิสาร เป็นกษัตริย์ครองเมืองราชคฤห์แคว้นมคธ
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ข่าวว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ออกผนวช
ที่ปัณฑวบรรพต แคว้นมคธ ก็จึงเสด็จไปนมัสการ
และชักชวนให้ สละเพศบรรพชิต มาครองราชย์ด้วยกัน
แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ จากเจ้าชายสิทธัตถะ....
เมื่อได้รับคำปฏิเสธ จึงขอคำปฏิญญาว่า
หากทรงค้นพบ สิ่งที่แสวงหาเ มื่อใด
ขอให้มาสอนพระองค์เป็นคนแรก

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้า เมื่อโปรดปัญจวัคคีย์
โปรดพระยสะ และสหาย มีพระอรหันต์ จำนวน ๖๐ องค์
ทรงส่งไปประกาศพระศาสนา ยังแคว้นต่าง ๆ แล้ว
พระองค์จึงเสด็จ มุ่งตรงไปยังเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
เพื่อเปลื้องคำปฏิญญา ที่ประทานให้กับ พระเจ้าพิมพิสาร นั่นเอง

พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า
พระเจ้าพิมพิสาร เป็นผู้นำแคว้นใหญ่
ถ้าพระเจ้าพิมพิสาร ทรงเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาแล้ว
ประชาชนคนอื่น ๆ ก็จะดำเนินรอยตาม
ทรงดำริเช่นนี้จึงเสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ ........

สมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมือง
ทรงเคารพนับถือ ชฏิล สามพี่น้อง อยู่
พระองค์ จึงต้องไปโปรด สามพี่น้อง ซ้ะก่อน

เมื่อพระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรมโปรด ชฎิล สามพี่น้อง
ก็ได้สละลัทธิความเชื่อดังเดิมนั้น มาเป็นสาวกของพระองค์
แล้วก็ได้พา สาวกใหม่ จำนวน 1000 รูป
ไปพักยังสวนตาลหนุ่ม ใกล้เมืองราชคฤห์

เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร ได้สดับข่าวนี้
จึงเสด็จพร้อมประชาชนจำนวนมาก
ไปยังสวนตาลหนุ่ม ก็ได้เห็นอาจารย์ของตน นั่งคุกเข่า
ครองอัญชลี (ประนมมือไหว้) ต่อพระพุทธเจ้า
ประกาศเหตุผล ที่สละลัทธิความเชื่อถือเดิม
หันมานับถือพระพุทธศาสนา ก็จึงหายสงสัย
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว นับถือพระรัตนตรัย
และถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า พร้อมภิกษุสงฆ์
ที่พระราชวังในวันรุ่งขึ้น

หลังจากนั้นไม่กี่วัน ก็ถวายสวนไผ่นอกเมือง
ให้เป็นวัดแห่งแรก ในพระพุทธศาสนา
เรียกว่า
วัดเวฬุวัน




พระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใส ทรงหลั่งน้ำ
ถวายวัดเวฬุวันเป็นปฐมสังฆาราม



หลังจากถวายวัดเวฬุวันแล้วคืนนั้น
พระเจ้าพิมพิสารทรงฝันร้าย
เห็นพวกเปรตมาร่ำร้องอยู่ต่อหน้า
น่าเกลียดน่ากลัวมาก รุ่งเช้าขึ้นมา
พระองค์เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
เมื่อทรงทราบว่าเปรตเหล่านั้น
เคยเป็นพระญาติของพระองค์
มาขอส่วน บุญ และได้รับคำแนะนำให้
กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา



วันต่อมาพระเจ้าพิมพิสาร
จึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์
ไปเสวยภัตตาหารในพระราชวัง
แล้ว กรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศล
แก่พวกเปรตเหล่านั้น ตกดึกคืนนั้น
พวกเปรตมาปรากฏโฉมอีก
แต่คราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
ขอบคุณที่แบ่งส่วนบุญให้
แล้วก็อันตรธานหายวับไป

*************************
สำหรับ เรื่อง กรวดน้ำ นี้
( ท่าน ว.วัชรเมธี) พระมหาวุฒิชัย
เคยตอบคำถามของญาติโยม เอาไว้ว่า

การกรวดน้ำ

เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการทำบุญ
เมื่อปักใจถวายหรือให้ทานอะไรแล้วก็ตาม
ถ้าอยากให้ผลบุญที่เกิดขึ้นไปตกอยู่ที่ใคร
ก็ให้ตั้งจิตอธิษฐานแล้วกรวดน้ำไปให้

(ว่าแล้วท่านก็ยกตัวอย่าง เรื่องพระเจ้าพิมพิสาร ขึ้นมา
จากชาดกที่สาธยายมาข้างบนนั้น พระเจ้าพิมพิสาร
ทำบุญ ถวายวัดเวฬุวันแด่พระพุทธเจ้า แต่ไม่ได้อุทิศ
ส่วนบุญส่วนกุศลให้ใคร เหล่าญาติที่เป็นเปรตจึงมาเข้าฝัน
พระพุทธเจ้าจึงแนะนำให้กรวดน้ำ แผ่ส่วนกุศลไปให้ดังกล่าว )

ท่าน ว. ได้อธิบายให้ญาติธรรมฟังต่อว่า
“ ถ้าเราทำบุญโดยตั้งจิตอธิษฐานให้ใครอยู่แล้ว
จะกรวดน้ำหรือไม่ ส่วนบุญนั้นก็ไปถึง
จุดหมายปลายทางอยู่แล้ว เพราะสิ่งที่จะถึงผู้รับ
ไม่ใช่ “น้ำ” แต่เป็น “เจตนา”
แต่ถ้าจะกรวดน้ำ ก็ดี พิธีกรรมจะทำให้
เราตั้งสมาธิได้แน่วแน่ยิ่งขึ้น ”

**********************
เพราะฉะนั้น อย่าไปเข้มงวดกวดขัน
กับ ลูกๆ หลานๆ ว่า " ต้อง" มากรวดน้ำ
ต้องมาแตะไหล่ แตะเอว เวลาทำพิธีกรวดน้ำ..เด้อ
(เดี๋ยวบุญไม่ไหลไปถึง ทำอย่างกับบุญมันไหลไปตามแขนตามขาได้)
ขอแค่...ตั้งจิตอธิษฐานอุทิศหรือแผ่ส่วนกุศลไปให้ ก็ใช้ได้แล้ว

เพราะถ้าส่วนบุญ ที่จะไปถึงผู้รับขึ้นอยู่กับ "น้ำ"
เราอาจลำบากกว่าที่เห็นและเป็นอยู่
เพราะถ้ามีญาติเป็นเปรตเยอะ
คงต้องกรวดน้ำกันแบบนี้แน่ๆเลย..ฮิฮิ



ท้ายนี้ ขอนำเพลงนี้ มาฝากพี่น้องทุกท่าน..เด้อ..
และขอให้มีความสุข กันทุกๆคน ทั่วๆกัน เชียว..จุ๊บๆๆ


เพลง  ทำบุญร่วมชาติ / ชาย เมืองสิงห์

ชาติก่อนเราเพียง คู่เคียง เก็บดอกไม้ร่วมต้น
แต่ว่าเราสองคน ไม่สนใจ ใส่บาตรร่วมขัน
ชาตินี้เราสอง เราสอง จึงต้องโศกศัลย์
รักกันชอบกัน ไม่ได้กัน บุญเรานั้นไม่มี

พี่จะทำบุญ ก่อทุน ไว้ตามน้องชาติหน้า
ชาตินี้พี่ต้องลา ก่อนหนา น้องจ๋าคนดี
ก่อนลาน้องจ๋า น้องจ๋า จงได้ปราณี
ขอหอมซักที เถิดคนดี ก่อนพี่จะจากไป

พี่จากน้องไป น้องเอ๋ย อย่าได้กังวล
พี่จะอุทิศตน โกนหัว นุ่งห่มผ้าไตร
อโหสิกรรม เถิดหนา ถ้าพี่พลั้งไป
บุญมีพบกันชาติใหม่ อย่าได้ อย่าได้อาวรณ์

พี่บวชเป็นพระ จะมา บิณทบาตรโปรดเจ้า
ถ้าหากนงเยาว์ ใส่ข้าว พี่ก็จะให้พร
ชาตินี้วันนี้ บุญพี่ ไม่ถึงบังอร
ขอลางามงอน ด้วยอาวรณ์ ด้วยรักซ้อน พี่อ่อนใจ

SOLO 15 bars..14...15...

พี่จากน้องไป น้องเอ๋ย อย่าได้กังวล
พี่จะอุทิศตน โกนหัว นุ่งห่มผ้าไตร
อโหสิกรรม เถิดหนา ถ้าพี่พลั้งไป
บุญมีพบกันชาติใหม่ อย่าได้ อย่าได้อาวรณ์

พี่บวชเป็นพระ จะมา บิณทบาตรโปรดเจ้า
ถ้าหากนงเยาว์ ใส่ข้าว พี่ก็จะให้พร
ชาตินี้วันนี้ บุญพี่ ไม่ถึงบังอร
ขอลางามงอน ด้วยอาวรณ์ ด้วยรักซ้อน พี่อ่อนใจ

( ขอขอบคุณเรื่องราว.......จาก คุณเริงศักดิ์ น้ะครับ
ภาพเขียนสวยๆโดย อ.เหม เวชกร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่
เพลงเพราะๆโดย ศิลปินแห่งชาติ คุณ ชาย เมืองสิงห์
ตาติ๊ก..................ขออนุญาต เก็บมาเล่าต่อน๊ะครับ )

คำสำคัญ (Tags): #กรวดน้ำ
หมายเลขบันทึก: 269055เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับ จะได้เลิกข้องใจเรื่องกรวดน้ำซะที ขออนุญาติคัดไปให้คนข้างตัวอ่านด้วยนะครับ

ป.ล. รูปด้านล่างเห็นกีทีก็ ฮา ท่าทางยายแกเอาจริงนะนั่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท