ครูดี ครูนัก "ปั่น..."


ครูดี จึงมีหน้าที่ "ต๊าบเกลียว" ให้ลูกศิษย์

บุคลิกสำคัญของครูดี ครูควรจะทำหน้าที่ "ปั่น" ความรู้ให้ "ลูกศิษย์...

ครูต้องรู้จัก "ปั่น" หัว เพื่อ "คั่ว" ความรู้และประสบการณ์

การสอน การบรรยายนั้นศิษย์จะได้แค่ "ความจำ"

แต่การปั่นความรู้ให้ลูกศิษย์นั้น จะเป็น "ความรู้" ที่นำไปใช้ตลอดไป

ความรู้ที่คุณครูแสดงบทบาท "นักปั่น" นั้น จะทำศิษย์ต้อง "คิด" อยู่ตลอดเวลา

การตั้งคำถาม การชง การตบ เป็นหน้าที่ของ "ครูดี"

ในบทชีวิตนั้นไม่มีสูตรหรือสมการตายตัว

การปั่นหัวลูกศิษย์นั้นจึงเป็นเทคนิคที่ให้ความรู้แบบยืดหยุ่นและหดตัว เพื่อให้ลูกศิษย์สามารถเอาตัวรอดในวันหน้า

การปั่นความรู้ของครู ก็คือ การทำหน้าที่ของ "เครื่องต๊าบเกลียว"

เด็กหรือลูกศิษย์ที่เข้ามาเรียนนั้นก็เปรียบเสมือนเหล็กแท่งกลม ๆ ราบเรียบ ไม่มีริ้ว ไม่มีรอย

ครูดี จึงมีหน้าที่ "ต๊าบเกลียว" ให้ลูกศิษย์

เมื่อเหล็กหรือท่อแป๊บมีเกลียวแล้ว ก็สามารถเข้าไปขัน เข้าไป "ต่อ" เข้าไปเชื่อมโยงความรู้กับ "ชีวิต"

เครื่องต๊าบเกลียดจะประกอบด้วยปลายเหล็กที่แข็งและแหลม พร้อมที่ทิ่มแทงเหล็กให้เป็นเกลียว

อีกส่วนหนึ่งคือ มอเตอร์ที่มีหน้าที่ "ปั่น" หรือหมุน ให้เหล็กหรือแป๊บนั้นสัมผัสจนเหล็กนั้นกลายเป็น "เกลียว"

ถ้าปั่นดีแป๊บท่อนนั้นก็จะสามารถนำไปขัน ไปต่อกับแป๊บหรือหัวน๊อตต่าง ๆ ได้

ถ้าปั่นไม่ดีก็จะกลายบังเกิดมีริ้ว เกิดมีรอย นำไปสวมไปต่อกับอะไรก็ไม่ได้ ต้องเจียร ต้องขัด เอาขี้เหล็ก เอาริ้ว เอารอยออกให้หมด...

ครูดีจึงมีหน้าที่ "ปั่น" ความรู้ให้ "ลูกศิษย์"

เพื่อให้ศิษย์นี้สามารถนำชีวิตของตนเองไปต่อยอดตามความต้องการที่ตนอยากเป็น

ปั่นดี เกลียวดี

เกลียวที่ดีย่อมสอดประสานกับประสบการณ์ดี ๆ

ประสบการณ์ดี นำชีวิตดี

ความดีนั้นจะพาชีวี "เจริญ..."

หมายเลขบันทึก: 299075เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2009 22:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ครูดี จึงมีหน้าที่ "ต๊าบเกลียว" ให้ลูกศิษย์

อืม..ครูข้างต้นที่ท่านว่านี่...เด็กนะ จะบอกว่าดุมาก...

แต่ดุ เป็นดุแบบไม่เกลียดชัง ดุ...ที่ดุเพราะดุ เพราะปั่นเจ้าความไม่รู้ของเด็ก ให้เบิกตามีปัญญา ไม่โง่งม

สังเกตว่าเด็กคนไหนดีก็จะน้อมนำไป ทำไป...

เด็กบางคนอวดดี ก็จะ...ต้าน ต้าน ครูต้องออกแรงมาก แต่ครูก็ไม่ปล่อยมือจากเด็ก เพราะครูน่ะเป็นไปด้วยจิตวิญญาณแห่งการสอนสั่ง ครูจะคิดพลิกแพลง อยู่หลายตลบเพื่อจะให้เด็กนั้นเป็นศิษย์ที่ดีได้อย่างไรน๊า? คิดคิด...อย่างกะเป็นเรื่องของตัวเอง คิดทุ่มเทเพื่อหาวิธี "ต๊าบ" เด็ก

ที่สำคัญน่ะ...

ทั้งครูทั้งเด็ก...น่ะ ได้ฝึกฝนตนทางจิตปัญญา

ครูก็ได้ฝึกตนไปด้วยในขณะที่ฝึกเด็ก สอนสั่งเด็ก

เด็กก็ได้แปรเปลี่ยนตนเองไปในทางที่เจริญขึ้น ก้าวออกจากความไม่รู้ไปสู่ความรู้มากขึ้น

ครู...เหล่านี้...ทำงานแบบเพื่อการงานอย่างแท้

เป็นครูด้วยจิตวิญญาณ ไม่ใช่เป็นครูด้วยตำแหน่ง...

แต่ก็น่าสนใจนะ...

เราจะค้นหา...ครูเหล่านี้ได้อย่างไรน๊า...?

มองด้วยตาเปล่านี่...ก็มองยากเหมือนกันน๊า...?

 

 

เราจะค้นหา...ครูเหล่านี้ได้อย่างไรน๊า...?

จุดเริ่มต้นแห่งการค้นหา ควรจะเริ่มต้นจากครูผู้ประเสริฐ นั่นคือ "พระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า..." ซึ่งท่านเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ของโลก

จากนั้นก็ไล่เรียงลงมาตั้งแต่พระอริยสาวก

การดูต้นแบบของ "ครู" จากท่านเหล่านี้ ต้องถอดบทเรียนของ "การประพฤติ" การสั่งสอน ยกเว้นการดูแบบ "ปัจเจก" หรือดูชื่อ ดูนาม

ดูวิธีการสอน วิธีการประพฤติ แล้วนำมา "Proof" กับ "คน" ในปัจจุบัน

ข้อเน้นว่า "คน" นะ คือ ไม่เทียบแต่เฉพาะคนที่สวมหัวโขนว่าเป็น "ครู"

คนใดเมื่อเรา Proof แล้วว่ามีคุณสมบัติ ลักษณะ "ใช่" กับที่พระพุทธเจ้าและพระอริยสาวก รวมถึง มหาอุบาสก มหาอุบาสิกา แต่ตั้งครั้งพุทธกาลเคยประพฤติ ปฏิบัติเมื่อครั้งก่อนแล้ว ก็ถือได้ว่าบุคคลผู้นั้นสมควรเรียกได้ว่าเป็น "ครู..."

นำความประพฤติทั้งหลายของท่านเหล่านี้มา "ต๊าบเกลียว" ด้วยมือของเราเอง

นำท่านมาเป็น "ต้นแบบ"

นำ "บารมีทั้ง 10" ประการที่ท่านได้กระทำ น้อมนำมาเป็นเข็มทิศในการดำเนินชีวิต...

มองด้วยตาเปล่านี่...ก็มองยากเหมือนกันน๊า...?

ครูนะไม่ใช่ "ผี" จะได้มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น... 555

แต่ที่จริงนะ คนที่เป็นครูจริง ๆ มองปุ๊บก็รู้ปั๊บ

คนที่เรามองแล้ว อื่ม...นี่แหละครู คนนั้นก็คือ "ครู" ที่แท้จริง...

ผมอ่านบันทึกของท่านแล้วชวนให้นึกถึงครูสตรีท่านหนึ่ง 
ครูธรรมดาที่ไม่ธรรมดาปรารถนาให้ลูกศิษย์ได้ดี
ตามวิธีการในแบบฉบับของเธอไม่อินังขังขอบกับสภาพรอบข้าง
ไม่มีทฤษฎีรูปแบบตายตัวทำหน้าที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยที่นี่ครับ
http://gotoknow.org/blog/atworker/298307


โอ้อ่านแล้ว รู้สึกสำนึกในบุญคุณของ ครูบาอาจารย์

ท่านอดทนสอนสั่ง อย่างตั้งใจ

ใช้กุศโลบาย มากมาย เพื่อให้ศิษย์ เกิดปัญญา

ทั้งดึง ทั้งทึ้ง ให้รอยหยักในสมองเกิดองค์ความรู้

ขัดเกลาจิตใจลูกศิษย์ให้ผ่องใสเบิกบาน

ควรแก่การงาน และทำประโยชน์ให้กับสรรพสิ่ง

ที่สำคัญท่านสอนหลาย อย่างแบบไม่สอน

คือทำให้ดู เป็นต้นเป็น อันงดงาม

ปั่นเกลียวความรู้ทั้งภายนอกและภายใน ให้ปรากฏในศิษย์

อย่าง มิได้หวังสิ่งตอบแทน

ขอน้อมบูชา คุณความดีของครูเหล่านี้ด้วยเศียรเกล้า

มองแตกต่างได้ไหม...เอ่ย...

ครูดี..นี่มองปุ๊บรู้ปั๊บน๊า...!

เพียงแต่เรามองปั๊บแล้ว เราจะถอดรหัสอะไรออกมาเพื่อบอก เพื่อน้อมนำชี้ นำพาให้ผู้คนได้มาเห็นเรา ... เหมือนคนตาดีที่มองเพชร ก็รู้ปั๊บว่านี่น่ะนะคือ เพชรแท้...

นอกเสียจากว่า คนไม่มีประสบการณ์ดูเพชร เลยก็อาจจะไปคว้าได้เพชรเทียมๆ มาแทน...

จริงๆ แล้วคนไปมองไปคนหานี่สำคัญนะ...อาชีพการมองการค้นหานี่ก็สำคัญนะ

ไม่ใช่ได้สักแต่ว่ามอง...หากแต่คนมองต้องซึ้งลงไปในใจต่อสิ่งที่เขาจะมองน่ะนะ

อีกรอบนะท่าน..

เห็นด้วยนะ...ว่าเราจะใช้กระจกไหนไปส่องไปหา ที่ท่านเสนอมาก็...อืม...น่าคิด

แต่ส่วนใหญ่นะเราไม่มีกระจกส่อง...เราจึงค้นหาครูเพื่อศิษย์ ที่เพื่อศิษย์จริงๆ ยากแท้

แต่ก็ต้องดูกันไปล่ะนะ ...

หากคนไปค้นไปส่อง ... เข้าใจคำว่าครูเพื่อศิษย์ได้อย่างถ่องแท้นี่จะเกิดประโยชน์มากเลยนะท่าน ... ใครทีได้เคยเจอครูแท้ ครูที่ทำเพื่อศิษย์ เพื่อศิษย์จริ๊ง..จริงนี่จะรู้ซึ้งเลยว่า เขาจะไปหาไปเจอครูเพื่อศิษย์คนอื่นๆ ได้จากที่ไหนบ้าง...

เดี่ยวหากว่า...พอมีเวลาพอมีเวลา

จะลองถอดรหัส...ครูเพื่อศิษย์ออกมาดูว่านี่เป็นอย่างไรกันน๊า...

ไม่ต้องไปถอดที่ไหนไกลหรอก ถอดจากคนที่บ้านนี่แหละ ใกล้ตัว...อบรมสอนสั่งไม่ใช่เพียงแค่ลูก หากแต่มีศิษย์มากมาย จะลองถอดออกมาน่ะนะว่า ท่านทำอย่างไรน๊า...ลูกศิษย์ท่านจึงได้ดีกัน ได้ดีแบบภายในและภายนอกมีความเท่าเทียมพอๆ กัน

และอะไรกันเล่าที่ทำให้ท่านได้ทำงาน...เพื่อศิษย์จนท่านแก่เฒ่า...

เดี๋ยวเอาไว้...ไปนั่งถอดรหัสจากท่าน...

ได้ความว่าอย่างไรจะนำมาบอกกล่าว...แล้วมาโสเร่ (คุยกัน) กันใหม่นะเจ้าคะ

ก่อนอื่นต้องขออภัย เพราะไม่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนในบันทึกนี้...

ถอดรหัสเหรอ เป็นแนวคิดที่เยี่ยม เป็นการกระตุกจิตที่ดี การถอดรหัส "ครูดี" เป็นสิ่งที่เรา "พึงกระทำ"

ถอดรหัส ถอดเพื่อเรา ถอดเพื่อใคร...?

ถอดแล้ว รู้แล้ว เราควรจะกระทำตามเป็นลำดับแรก

ลองทำดูก่อน ทำแล้วเป็นอย่างไร จากนั้นมา "เล่าสู่กันฟัง"

ทดลอง ไตร่ตรอง "พิจารณา"

ถอดบทเรียนจากตัวเอง โดยมีต้นแบบของ "ครูดี"

ครูดีเขาทำอะไร ถอดแบบแล้ว เราต้องลองทำดูก่อน

การลองทำ หรือทำจริง ๆ ไปเลยนั้น จึงได้เรียกว่าเป็นการ "ต๊าบเกลียว" ความรู้

ถอดบทเรียน ถอดรหัสมาเฉย ๆ เราก็จะกลายเป็นแค่ "นักข่าว" คือ ไปสื่อเอาสารมาขยายความเฉย ๆ

เราต้องเป็นมากกว่านักข่าวนะ

เราต้องกลับมาเป็น "นักศึกษา" นักศึกษาที่แท้ต้อง ค้นคว้า ทดลอง "วิจัย"

คุณสมบัติของครูดีใด ๆ จักต้องรู้ไว้แล้ว "ทดลอง..."

คำตอบนี้วนเวียนอยู่กับการ "ทดลอง" นะ

ต้องทดลอง ทดลอง และทดลอง...

  • มาเรียนรู้ครับ
  • ขอบพระคุณ

เข้ามาอ่านเพราะสนใจความคิดมากๆ ที่ ka - Poom เสนอมาก็น่าคิดนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท