ประชาธิปไตยในฐานะเครื่องมือของการเรียนรู้ของชาวบ้าน


         การเข้าฟังการประชุม International Conference on Alternative Development and Sufficient Economy ในวันที่ 12 ก.ค. 50     หัวข้อ Deepening Democracy and Extending Capabilities ทำให้ผมเกิดความเข้าใจเรื่อง ประชาธิปไตย ว่าเป็นสิ่งเดียวกันกับ การเรียนรู้    มุมมองนี้น่าจะดีกว่ามุมมองประชาธิปไตย ในฐานะ อำนาจ      การที่ประเทศไทยพัฒนาประชาธิปไตยได้ช้า อาจเป็นเพราะเราไปเน้นที่อำนาจ  ไม่เน้นที่การเรียนรู้  

         ที่ประชาธิปไตยไทย ไม่สร้างการเรียนรู้ เพราะเราหลงทาง     เราหลงงมงายอยู่กับ ประชาธิปไตยแบบตัวแทน แบบเน้นเลือกผู้แทน  ยกอำนาจในการดำเนินการกิจกรรมสาธารณะให้นักการเมืองทั้งหมด     ไม่ได้พัฒนาการเมืองภาคประชาชน หรือประชาธิปไตยทางตรง     ที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการหรือกำหนดนโยบายสาธารณะ หลากหลายรูปแบบ   

         ตัวประชาธิปไตยทางตรง     หรือการเมืองภาคประชาชน นี่แหละครับ ที่จะเปิดกะลาครอบ ที่ครอบงำประชาชน     เปิดโอกาสของการเรียนรู้ จากการที่ประชาชนรวมตัวกันเข้าไปร่วมดำเนินการกิจการสาธารณะ    แล้วใช้ KM เป็นเครื่องมือ ลปรร. ระหว่างกลุ่ม     มีการเชื่อมกันเป็นเครือข่ายเรียนรู้     ใช้พลัง ICT ในการ ลปรร. สาธารณะ อย่างกว้างขวาง

         การใช้ KM เป็นเครื่องมือ ลปรร. การเมืองภาคประชาชนนี้มีข้อดี หรือจุดแข็ง    ตรงที่เครื่องมือ KM เน้น positive learning     เน้นเรียนรู้จากความสำเร็จจากมิตรภาพ     ไม่เน้นเรียนรู้จาก การเรียกร้องหรือต่อต้าน   

วิจารณ์ พานิช
12 ก.ค. 50

 

หมายเลขบันทึก: 113663เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2007 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท