การเมืองเรื่องงบประมาณวิจัยของประเทศ



          ระบบการวิจัยที่ดีเปรียบเสมือนระบบสมองของประเทศ   เวลาร่างกายมนุษย์อยู่ในภาวะคับขันขาดเลือด จะมีกลไกธรรมชาติรักษาให้เลือดไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอ เพื่อรักษาสมองไว้

          แต่ในระดับประเทศ ระบบการเมืองและราชการไทยกลับทำตรงกันข้าม   เมื่อประเทศขาดเงิน งบประมาณส่วนแรกที่โดนตัดคืองบวิจัย    สมองของประเทศเป็นระบบแรกที่นักการเมืองและสำนักงบประมาณตัดเงิน   หรือโดนตัดเงินงบประมาณในสัดส่วนสูงที่สุด

          ผมมาเกี่ยวข้องกับระบบวิจัยของประเทศเป็นเวลาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว   กระบวนทัศน์นี้ของประเทศไม่เปลี่ยนแปลงเลย   คือสังคมของเรามองการใช้เงินวิจัยว่าเป็นค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพื่อหล่อเลี้ยงนักวิจัย นักวิชาการ    ไม่มองว่านี่คือการลงทุนเพื่อความเข้มแข็งของประเทศในระยะยาว  

         จะโทษนักการเมือง และเจ้าหน้าที่ของสำนักงบประมาณเสียทั้งหมดก็คงจะไม่ถูก   เพราะงานวิจัยส่วนที่เขาสัมผัสโดยตรงก็อาจเป็นเช่นนั้นจริงๆ   คือเป็นการวิจัยที่ไร้ทิศทาง ไร้คุณค่าต่อสังคม   และงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อบ้านเมืองระยะยาวจริงๆ คนเหล่านี้ก็มองไม่เห็นคุณค่า    ถ้าจะโทษพวกผมก็น่าจะโทษได้ ว่าเราไม่มีความสามารถในการทำ public communication ให้สังคมเห็นคุณค่าของงานวิจัยคุณภาพสูงได้

          ปัญหาจริงๆ คือ สังคมไทยเราแยกแยะระหว่างงานวิจัยไร้สาระไร้คุณค่า กับงานวิจัยเปี่ยมคุณค่าไม่ออก   หรืองานวิจัยไร้สาระมันมีมากเสียจนผู้คนในสังคมมองเห็นแต่ส่วนนี้

          กลายเป็นการต่อสู้ระหว่างงานวิจัยไร้สาระ กับงานวิจัยเปี่ยมคุณค่า   ซึ่งคนกลุ่มพวกผมจะต้องรับใช้สังคมในการหาทางทำให้สังคมแยกแยะออก   และผลักดันผู้จัดทรัพยากรของชาติให้ลงทุนในงานวิจัยเปี่ยมคุณค่า

 
 
วิจารณ์ พานิช
     
         

 

หมายเลขบันทึก: 344780เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท