KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (333) ตัวช่วย (30) SNA


         SNA = Social Network Analysis เป็นการทำแผนที่ของแบบแผนปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างสมาชิกขององค์กร   และสมาชิกของเครือข่ายขององค์กร

         เป็นการนำเอาการติดต่อ สื่อสาร สัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่ม เครือข่าย ชุมชน คอมพิวเตอร์ และเซิร์ฟเวอร์ ภายในระบบนิเวศธุรกิจ   ตามปกติสิ่งเหล่านี้แฝงตัวอยู่  มองไม่เห็น  ไม่รู้สึก   SNA ช่วยให้มองเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นรูปธรรม   และช่วยให้เห็นว่าใครเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคมนี้   ใครเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใด   ใครเป็นผู้สร้างคุณค่าด้านใด   ช่วยให้เป็นที่รู้กันว่าเมื่อต้องการความรู้หรือสารสนเทศหนึ่งจะติดต่อขอจากใคร

         SNA ไม่ใช่แค่วิเคราะห์เชิงคุณภาพ  แต่มีการวิเคราะห์เชิงปริมาณหรรือความเข้มข้นของการสื่อสารได้ด้วย   SNA สามารถบอกความรู้ที่มีคุณค่าต่อไปนี้
- ตำแหน่งของ node สำคัญ  ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีคนติดต่อสื่อสารด้วยบ่อยมาก   อันเป็นข้อบ่งชี้ว่าเขาน่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   หรืออาจเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิด
- นักข้ามพรมแดนความรู้ (boundary spanner) ซึ่งทำงานเชื่อมโยงเครือข่ายและมักจะทำงานข้ามเครือข่ายด้วย
- คอขวด หรือจุดปิดกั้นการเชื่อมโยงและการไหลเวียนความรู้
- กลุ่มภายในเครือข่าย หรือกลุ่มของเครือข่าย
- ความเข้มแข็งของการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล


แนวทางการดำเนินการ
ตัวอย่างของคำถามที่ใช้ในการทำ SNA
- บุคคลใดบ้างที่ทำหน้าที่ "ผู้เชื่อมโยง" (connector) ที่มีความสัมพันธ์กว้างขวาง   ทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชน
- แบบแผน (pattern) ของการสร้างความสัมพันธ์โดย "ผู้เชื่อมโยง" เป็นอย่างไร   ทั้งความสัมพันธ์โดยตรงและความสัมพันธ์โดยอ้อม
- สมาชิกของชุมชนอยู่ห่างกันกี่ช่วงเมื่อนับเป็นช่วงเชื่อมต่อ   คล้าย ๆ กับว่าคนเราสามารถสัมพันธ์กันได้แค่ 2 ช่วง  คือติดต่อกับบุคคลที่ 3 ผ่านคนที่ตนรู้จักคุ้นเคย
- ใครเป็นบุคคลที่มีระยะห่างสั้นที่สุด กับสมาชิกของชุมชนคนอื่น ๆ
- ใครเป็น "นักข้ามพรมแดนความรู้" (boundary spanner)
- ทักษะสำคัญ ๆ ของ "ผู้เชื่อมโยง" มีอะไรบ้าง
- "ผู้เชื่อมโยง" จะช่วยเหลือคนที่ไม่ค่อยสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างไร


         วิธีทำ SNA ง่ายมาก  มี software มาตรฐานให้ใช้

         เครือข่ายสังคมจะแน่นแฟ้นในกลุ่มบุคคลที่มีความเชื่อ คุณค่า และพฤติกรรมร่วมกัน   เครือข่ายสังคมเป็นตัวช่วยให้เกิดการ ลปรร. ภายในองค์กร

         KM ภายในองค์กรจะเข้มแข็งหากพนักงานรวมตัวกันเป็นกลุ่ม  เครือข่ายและเชื่อมโยงเข้าหากัน

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 5 เม.ย.50

 

หมายเลขบันทึก: 100694เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท