KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (338) ตัวช่วย (34) T&T


         T&T = Texonomies & Thesauri  เป็นระบบจัดหมวดหมู่หรือแยกประเภทความรู้เพื่อสะดวกในการจัดเก็บ ค้นหา และใช้งาน

         Taxonomy ก็คือระบบ classification   ซึ่งในที่นี้นำมาใช้จัดหมวดหมู่ความรู้   ในระบบนี้ ความรู้จะได้รับการจัดกลุ่มความหมาย (ตามการใช้งาน) เป็นกลุ่มย่อย   หลาย ๆ กลุ่มย่อยร่วมกันอยู่ในกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น   เป็นลำดับชั้นของความรู้ขององค์กร  ซึ่งมีหลายลำดับชั้น   Taxonomy เป็นหลักหรือกฎเกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่และลำดับชั้นดังกล่าว   หลัก Taxonomy ที่ใช้ใน KM นำมาจากแนวความคิดด้าน taxonomy ที่ใช้ทำอนุกรมวิธานของสิ่งมีชีวิตและมาจากระบบจำแนกหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด

         Thesaurus เป็นรายชื่อคำศัพท์ชุดหนึ่งพร้อมคำอธิบายย่อ ๆ ของแต่ละคำ   มีการจัดหมวดหมู่และความสัมพันธ์ของคำ  ช่วยทำให้ความหมายลึก ๆ ที่อยู่เบื้องหลังคำศัพท์เหล่านั้นเป็นที่เข้าใจแจ้งชัด   thesaurus ช่วยการทำดัชนี,  การจัดหมวดหมู่ และการสืบค้น content ของความรู้

         การจัดหมวดหมู่ความรู้โดยใช้ taxonomy และ/หรือ thesaurus มีประโยชน์ดังต่อไปนี้
- ทำให้การจัดทำดัชนีความรู้มีระบบ
- ช่วยให้ค้นหาความรู้ง่ายขึ้น   โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้จากกิจกรรมที่ซับซ้อนมาก ๆ
- การค้นหาความรู้โดยการไล่หัวข้อ
- ทำความเข้าใจความรู้ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งให้ลึกซึ้งมากขึ้น  โดยการทำความเข้าใจหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อให้สมาชิกขององค์กรมีความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งตรงกัน  ซึ่งจะช่วยการไหลเวียนของความรู้ภายในองค์กรและออกไปนอกเขตแดนองค์กร

เอกสารที่ช่วยในการพัฒนา thesaurus ได้แก่
- ISO 2788 กำหนดมาตรฐานในการพัฒนา thesaurus
- AS ISO 15489.2  แนะนำวิธีจัดหมวดหมู่ธุรกิจ

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 18 เม.ย.50

หมายเลขบันทึก: 101691เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2007 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ด้วยความนับถือท่านเพราะความใส่ใจในทุกเรื่องอย่างละเอียดอ่อน มีความพอ(ใจ)ในความรู้พร้อมเป็นผู้ให้ในทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้น เป็นธรรมชาติโดยแท้ในตัวตนของท่าน วันนี้ใคร่ขอความคิดของท่านในเรื่องTaxonomy ที่ใช้ทำอนุกรมวิธานของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะพืช ในประเทศไทย มีข้อสงสัยว่าเราได้สำรวจพืชทั่วประเทศหรือยัง ถ้าสำรวจยังไม่หมดทำอย่างไรจึงสำรวจหมด เราก็คงพูดได้ไม่เต็มปากว่าเรามีพืชกี่ชนิด การจัดหมวดหมู่ก็คงสมบูรณ์ได้ยาก ที่น่าสับสนไปกว่านั้นคือพืชตัวเดียวกันยังเรียกชื่อต่างกันในแต่ภูมิภาคและต่างกันอีกในท้องถิ่น จึงอาศัยชื่อทางวิทยาศาสตร์มาตัดสินในที่สุดต่างชาติได้รับข้อมูลความรู้ในเรื่องนี้ไปเต็ม ๆแต่คนไทยน้อยคนนักที่จะได้มีโอกาสนี้ ถ้ามองมุมกลับตามกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติแล้วคนในท้องถิ่นย่อมรู้จัและเข้าใจธรรมชาติรอบตัวเขาได้ดีกว่า หากเราใส่ใจคนท้องถิ่นให้เขารักธรรมชาติของเขาควรให้เขาเป็นฝ่ายให้ความรู้เกี่ยวกับพืชตัวนั้นแล้วพัฒนาให้เกิดประโยชน์โดยผู้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาร่วมกันทำความกระจ่างที่ให้คำตอบทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไม่ข้อสงสัย จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ของเราอย่างแท้จริง ความภูมิใจไทยทำจะก่อให้เกิดความรู้อีกมากมายที่จะเป็นประโยชน์มิเพียงแต่คนไทยแต่เผื่อแผ่แก่เพื่อนร่วมโลกอีกด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท