KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (358) ความยั่งยืน


         องค์กรต้องเผชิญคลื่นการเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมซัดสาดเข้ามา   ยิ่งเป็นองค์กรที่ถูกกระแสโลกาภิวัตน์   การเผชิญความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนยิ่งรุนแรง   สิ่งที่องค์กรต้องกระทำคือสร้างพลังความเข้มแข็งภายในองค์กร   ที่จะสามารถเผชิญความไม่แน่นอนในอนาคตได้   โดยการสร้างพลังทางสังคมภายในองค์กร   เพื่อสร้างพลังแห่งการสนธิพลัง (synergy)

         ในสภาพเช่นนี้ KM จะถูกท้าทายยิ่งในการทำหน้าที่แก่องค์กรใน 4 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ adapt, facilitate, build, และ assist ดังนี้
1. Adapt ปรับขีดความสามารถขององค์กรในการทำความเข้าใจระบบนิเวศของตน  สามารถรับสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงก่อนที่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะมาถึง   ทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้จากอนาคตที่ไล่ตามมา
2. Facilitate  อำนวยความสะดวกต่อการ ลปรร. เพื่อทำความเข้าใจ "สุขภาพ" ขององค์กร   และทำความเข้าใจความสามารถในการประกอบการขององค์กรในภาพรวม  รวมทั้งช่วยส่งเสริมให้องค์กรมีเป้าหมายตรงกับเป้าหมายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งมวล
3. Build  เพื่อช่วยให้องค์กรเติบโตและเข้มแข็งโดยสร้างต่อจากฐานส่วนที่เข้มแข็งอยู่เดิม   และในขณะเดียวกันก็สร้างการเปลี่ยนแปลง (transition) องค์กรอย่างราบรื่น
4. Assist  ช่วยให้องค์กรสามารถเอาชนะแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงให้อยู่กับที่   อันเกิดจากความสำเร็จในอดีต   โดยการปลดปล่อยความอัจฉริยะภายในองค์กรออกมาสร้างนวัตกรรมเชิงองค์กรอย่างรวดเร็ว

         KM ยุคใหม่ต้องมีความร่วมมือกับพันธมิตรภายนอกองค์กร   และพนักงานที่ทำหน้าที่สื่อสาร เรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้ามพรมแดน (Boundary Spanner) มีค่ายิ่ง

         จะต้องหาทางให้พนักงานที่เป็น boundary spanner เข้ามาอยู่ทีมพัฒนาองค์กรอย่างเป็นทางการ   เพื่อสร้างความรู้และสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องยั่งยืน

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 24 มิ.ย.50

หมายเลขบันทึก: 108538เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท