KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (379) วัฒนธรรมไทยเป็นอุปสรรคต่อ KM หรือไม่ – (3) ศาสนาพุทธ


       มงคลชัย วิริยะพินิจ  บอกว่าการนับถือพุทธศาสนาทำให้คนไทยมีลักษณะ
• ไม่กล้าตัดสินใจว่าอะไรถูก อะไรผิด     และเชื่อในพรหมลิขิต
• ชอบทำกิจกรรมกลุ่มที่วัด

      แน่นอนที่สุด ลักษณะของคนไทยถูกหล่อหลอมโดยศาสนาพุทธแบบไทยๆ อยู่มาก     และความเชื่อ ความศรัทธา  การตีความ  การใช้พลังของ “ภาษาพระ” มีประโยชน์ต่อการดำเนินกิจกรรม KM อย่างแน่นอน 

     ผมมองว่าศาสนาพุทธ ได้สร้างลักษณะของคนไทยที่มีความซับซ้อนมากในด้าน ศรัทธา  ความเชื่อ  อารมณ์     ซับซ้อนกว่าในบทความของมงคลชัยอย่างมากมาย      พลังของพุทธศาสนาสามารถนำมาใช้ในการดำเนินการกิจกรรม KM ได้ดังต่อไปนี้

• ใช้ในการตีความสภาวะ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง     เพื่อหาหลักการ (explicit knowledge) มาอธิบาย     เช่น อิทธิบาท 4,  สังคหวัตถุ 4,  สัปปุริสธรรม 6, เป็นต้น     พอเราอธิบายให้คนไทยฟังโดยอ้างคำเหล่านี้ ก็จะเข้าใจได้ง่าย    หรือเมื่ออธิบายลึกลงไปในรายละเอียดของหลักธรรมเหล่านี้ ผู้ฟังจะรู้สึกพอใจ มีความสุข เป็นมงคล
• ศาสนาทุกศาสนามุ่งให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข    ทุกศาสนามุ่งใช้กระบวนการกลุ่ม หรือพลังกลุ่ม ด้วยกันทั้งสิ้น    รวมทั้งศาสนาพุทธ    กระบวนการกลุ่มของทางศาสนาสามารถนำมาประยุกต์ใช้    หรือเป็นตัวอย่างของการประยุกต์ใช้ ในกิจกรรม KM ได้     เช่น ในวัดพระจะอยู่ร่วมกันเป็น “สังฆะ” คือหมู่พระสงฆ์     มีกฎเกณฑ์กติกาในการอยู่ร่วมกัน    และเรียนรู้ร่วมกัน     มีการนำเอาประสบการณ์การปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนกัน
• ศาสนาพุทธเน้นการเรียนรู้ ด้วยองค์สาม คือ  ปริยัติ  ปฏิบัติ ปฏิเวธ     ใช้ทั้ง 3 องค์ประกอบกัน     ซึ่งตรงกับ KM     ผมมองว่าทั้งศาสนาพุทธ และ KM ต่างก็ใช้วิธีการเรียนรู้ที่เป็นไปตามธรรมชาติ     คือใช้การเรียนเชิงปฏิบัตินำ  หนุนด้วยการเรียนเชิงทฤษฎี  และชโลมใจด้วยผลที่เกิดขึ้น ที่สัมผัสได้ด้วยตนเอง สัมผัสได้ตลอดเวลา (ปฏิเวธ) 
• พุทธศาสนาเน้นการเรียนรู้ที่เรียกว่า spiritual learning หรือจิตตปัญญาศึกษา      KM จะเข้มแข็งมากหาก “คุณอำนวย” มีทักษะในการนำ พลังของจิตตปัญญา (contemplation) มาใช้ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   
• การอ้างถ้อยคำของพระผู้ใหญ่ที่ผู้คนเคารพนับถือ (เช่น ท่านพุทธทาส   พระพรหมคุณาภรณ์)    หรือพุทธสุภาษิต ในสุนทรียสนทนา      ช่วยสร้างบรรยากาศที่คนไทยรู้สึกว่าสุขเย็น    สร้างอารมณ์ดี  
   
       ผมคงจะนึกและเขียนพลังของพุทธศาสนา ที่จะช่วยเพิ่มพลัง KM ได้ต่อไปเรื่อยๆ     แต่ผมจะหยุด     เพื่อเชิญชวนให้ ท่านทั้งหลายช่วยกันเล่าเพิ่มเติม ออกมาจากประสบการณ์ตรงของท่าน

        เชิญครับ

วิจารณ์ พานิช
27 ก.ค. 50
    

 

 

หมายเลขบันทึก: 116483เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2007 08:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนท่านอาจารย์ค่ะ

 จากประสบการณ์การทำงานมายาวนาน ดิฉันใช้พลังของศาสนา มาเป็นหลักในการทำงานและพัฒนางานได้อย่างมากมายทั้งโดยส่วนตัว  งานของบริษัท และของครอบครัว

ในครั้งนี้ ดิฉันนึกถึง

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )ค่ะ

เห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อยู่ในศีลในธรรม  พากเพียรชอบ สติชอบ สมาธิชอบ

ตั้งแต่เริ่มแรกของการตัดสินใจจะดำเนินกิจการอุตสาหกรรมอาหาร   คณะกรรมการฯ ประชุมกันเขียนไว้ในวัตถุประสงค์เลยค่ะ  (พวกเราเข้าวัดเดียวกันทั้งหมด เป็นชาววัดจนบัดนี้)

ว่าเราจะไม่ทำกิจการที่จะเป็นทางล่อแหลมเข้าไปในสิ่งที่ผิดศีลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับอบายมุขโดยเด็ดขาด

ทุกเช้า ที่โรงงานจะมีการยืนพรอมกันทั้งโรงงาน เคารพธงชาติ มีพระมาเทศน์เดือนละครั้งด้วย

ต่อด้วยการประชุม 20 นาที กล่าวถึงผลการทำงานเมื่อวาน มีข้อบกพร่อง และจะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง เพื่อมิให้เกิดขึ้นอีก และเปิดโอกาสให้คนงาน สามารถเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับงานของเขาได้ มีข้อคิดเห็นดีๆที่เราได้รับจากเขาค่ะ งานมีการพัฒนาตลอดเวลา

ต่อจากนั้น เราจัดอบรมเขาทุกวันว่า เขาจะต้องมีความรับผิดชอบ มีสมาธิและสติในการทำงานอย่างไรบ้าง เรามีเป้าหมาย ให้อุบัติเหตุเป็น 0 ค่ะ

จริงๆก็มีอุบัติเหตแทบทุกเดือน เช่น มือถูก conveyor line หนีบ ถูกไอน้ำพ่นใส่บ้างเล็กน้อย  ถูกภาชนะบรรจุบาดบ้าง ถูกหีบห่อในคลังสินค้าตกใส่บ้าง เป็นต้น เดือนไหนอุบัติเหตุเป็น 0 เราเลี้ยงอาหารกลางวันฉลองเลย

ที่โรงงานเปิดเพลงให้พนักงานฟัง ระหว่างทำงาน จะได้ไม่เครียด มีสมาธิ ผลงานจะได้ออกมาดี เป็นต้น

สรุปว่า เรามีการฝึกอบรมกันเป็นประจำ ทีละเล็กละน้อย โดยแทรกธรรมะเข้าไปในงานทุกวัน

ผลปรากฏว่า สินค้าเรามีคุณภาพดี เป็นที่เชื่อถือ ของลูกค้าทั่วโลก เราได้การรับรองISO และได้รางวัลจากทางราชการหลายครั้งค่ะ  พนักงานก็มีความสุขที่อยู่กับเรา และพัฒนาฝีมือการทำงานยิ่งๆขึ้น

ทางบริษัททำการอบรมกันเอง เป็นวิทยากรเอง มาหลายปีมาก เพราะพนักงานคล่องกันมาก เป็นin house training มีห้องประชุมอย่างดี พวกพนักงานภูมิใจกันมาก

ขออนุญาตให้เครดิตพนักงานที่ส่วนใหญ่เป็น ชาวเมืองกาญจน์ ณ ที่นี้ ค่ะ พวกเขาฉลาดและหัวไวมากค่ะ ดิฉันภูมิใจพวกเขาจริงๆค่ะ

แม้แต่ลูกค้าชาวต่างประเทศที่มาอบรมการควบคุมคุณภาพให้เร ก็เอ่ยปากชมทุกคนว่า พนักงานเรา สอนง่าย และมีวินัยค่ะ

 

 
 
 
 
 
...
 
 

เรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ที่เคารพครับ 

ผมต้องขออภัยล่วงหน้าครับ เพราะอาจไม่ใช่การเล่าต่ออย่างที่ท่านเชิญ แต่อย่างน้อยก็ได้มาเรียนรู้ และผมเห็นด้วยกับ ท่าน

P
เป็นตัวอย่างที่นำไปใช้กับงานจริง "ขอชื่มชม" ครับ ที่ใช้หลักของพุทธศาสนา "อริยมรรคมีองค์ ๘" ซึ่งเป็นวิธีขจัดความไม่รู้ ขจัดความอยาก  เพื่อทำให้การทำงานบรรลุผล คือ "ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร" เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ได้อย่างดี ครับ
ขอแสดงความนับถือ 
วิชิต ชาวะหา

เรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ที่เคารพครับ 

ผมต้องขออภัยล่วงหน้าครับ เพราะอาจไม่ใช่การเล่าต่ออย่างที่ท่านเชิญ แต่อย่างน้อยก็ได้มาเรียนรู้ และผมเห็นด้วยกับ ท่าน

P
เป็นตัวอย่างที่นำไปใช้กับงานจริง "ขอชื่มชม" ครับ ที่ใช้หลักของพุทธศาสนา "อริยมรรคมีองค์ ๘" ซึ่งเป็นวิธีขจัดความไม่รู้ ขจัดความอยาก  เพื่อทำให้การทำงานบรรลุผล คือ "ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร" เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ได้อย่างดี ครับ
ขอแสดงความนับถือ 
วิชิต ชาวะหา

เรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ที่เคารพครับ 

ผมต้องขออภัยล่วงหน้าครับ เพราะอาจไม่ใช่การเล่าต่ออย่างที่ท่านเชิญ แต่อย่างน้อยก็ได้มาเรียนรู้ และผมเห็นด้วยกับ ท่าน

P
เป็นตัวอย่างที่นำไปใช้กับงานจริง "ขอชื่มชม" ครับ ที่ใช้หลักของพุทธศาสนา "อริยมรรคมีองค์ ๘" ซึ่งเป็นวิธีขจัดความไม่รู้ ขจัดความอยาก  เพื่อทำให้การทำงานบรรลุผล คือ "ให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร" เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ ได้อย่างดี ครับ
ขอแสดงความนับถือ 
วิชิต ชาวะหา

สวัสดีค่ะอาจารย์ ได้อ่านบันทึกของอาจารย์ และข้อคิดของคุณพี่ศศินันท์เช้านี้ รู้สึกเป็นการเริ่มต้นวันที่ดีค่ะ

ข้อสังเกตของคุณมงคลชัยอาจมองแค่ผู้นับถือศาสนาพุทธที่มุ่งสายศรัทธา มากกว่าสายปัญญา และยิ่งกระแสเครื่องลางตอนี้ก็คงทำให้ผู้ที่ไม่เคยศึกษาถึงแก่นของพุทธศาสนาเข้าใจผิดว่านี่คือลักษณะของคนที่นับถือพุทธจริงๆ

• ไม่กล้าตัดสินใจว่าอะไรถูก อะไรผิด    

  • และเชื่อในพรหมลิขิต

เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหลักการแก่นแท้ของพุทธศาสนาอย่างยิ่ง

ประสบการณ์ด้วยตนเองในเรื่องการปฏิบัติธรรมและการใช้KM สอดคล้องและหนุนเนื่องกันมากอย่างที่อาจารย์อธิบายจริงๆค่ะ เช่นเรื่องของการเจริญสติ ที่ทำให้จิตไม่ปรุงแต่งตามอารมณ์ ได้ช่วยให้มี การฟังที่ลึกซึ้ง ฟังอย่างไม่ตัดสิน และไม่เกิดโทสะเมื่อพบคำพูดไม่ถูกใจ ทำให้ได้ยินสาระมาพิจารณา มีความละเอียดในการนำข้อมูลมาตัดสินใจ มองเห็นความเกี่ยวเนื่องของเรื่องราว คน และบริบทตามความเป็นจริง มองเห็นความเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งเป็นหลักของโยนิโสมนสิการ และไม่ยึดถือดึงดันว่าความคิดเห็นของตนเองถูกที่สุดด้วยเข้าใจเรื่องของอัตตา

ศาสนาพุทธเน้นการลงมือปฏิบัติ ดังนั้น ข้อที่ว่าเชื่อในพรหมลิขิต ยิ่งห่างไกลจากพุทธศาสนา ซึ่งกล่าวว่าทุกอย่างไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้ ข้อนี้แหละค่ะที่ตนเองได้ใช้กำกับในใจในการโต้แย้งในหลักวิชาการในสายวิชาการที่เรียนที่คนส่วนใหญ่(ฝรั่ง)ไม่ได้มองอย่างเรา แต่เมื่อตนเองคิดว่าสิ่งที่ได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ แม้เป็นมุมที่หลบซ่อนอยู่ หรือเป็นจุดเล็กๆที่ได้ค้นพบ ก็ไม่คิดว่าจะต้องไปเสนอตามกระแสหลัก แม้มีความมั่นใจ แต่ก็ทำด้วยสติ ไม่อวดดี คิดว่าตนดีกว่าคนอื่น ภาษาพระเรียกว่าไม่มี"มานะ"

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อยากมาร่วมเล่าที่แสดงว่าตนเองได้นำสองสิ่งมาใช้ในชีวิต ให้มีความสุขและความสำเร็จได้จริงๆค่ะ

ประสบการณ์ของคุณพี่ศศินันท์ยอดเยี่ยมมาก หากทุกษริษัทดูแลลูกน้องอย่างนี้ สังคมเราคงมีความสุข และเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท